หน้าแรก
|
เว็บบอร์ด
|
อ่านกระทู้ถามตอบ
การตัดบัญชีวัตถุดิบด้วยระบบ RMTS
โครงการที่นำวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าตามมาตรา 36 จะต้องนำไปผลิตเป็นสินค้าตามบัตรส่งเสริม และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
- ส่งออกทางตรง
หมายถึง การส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศ หรือเขตฟรีโซน ซึ่งจะมีหลักฐานการส่งออกตามแต่กรณีนั้นๆ
- ส่งออกทางอ้อม
หมายถึง การส่งสินค้าไปจำหน่ายให้กับโรงงานหรือบริษัทตัวกลาง เพื่อนำไปผลิตหรือจัดการส่งออกต่างประเทศ หรือเขตฟรีโซน ซึ่งกรณีผู้ที่จำหน่ายรายแรกจะไม่มีหลักฐานการส่งออก
เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมผลิตสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศ (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) จะต้องนำหลักฐานมาตัดบัญชีวัตถุดิบ เพื่อลดยอดปริมาณวัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยยกเว้นภาษีอากร โดยแบ่งการตัดบัญชีออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
- การตัดบัญชีทางตรงแบบไม่มี Vendor
คือการที่บริษัทนำวัตถุดิบเข้ามาเอง และผลิตส่งออกโดยตรง ดังนั้น จึงจะตัดบัญชีวัตถุดิบของตนเองเท่านั้น
- การตัดบัญชีทางตรงแบบมี Vendor
คือการที่บริษัทซื้อวัตถุดิบบางส่วนหรือทั้งหมดมาจากผู้ขาย (Vendor) ในประเทศที่ได้รับสิทธิ BOI แล้วนำมาผลิตส่งออกโดยตรง ดังนั้น จึงจะต้องตัดบัญชีพร้อมกับโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับ Vendor รายนั้นด้วย
- การตัดบัญชีทางอ้อมแบบไม่มี Vendor
คือการที่บริษัทนำวัตถุดิบเข้ามาเอง แล้วผลิตจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการในประเทศที่ได้รับสิทธิ BOI เพื่อส่งออกทางอ้อม ดังนั้น บริษัทจะต้องรับใบโอนสิทธิตัดบัญชี (Report-V) จากผู้ส่งออกมาตัดบัญชีวัตถุดิบของตนเองต่อไป
- การตัดบัญชีทางอ้อมแบบมี Vendor
คือการที่บริษัทซื้อวัตถุดิบบางส่วนหรือทั้งหมดจากผู้ขาย (Vendor) ในประเทศที่ได้รับสิทธิ BOI แล้วนำมาผลิตจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการในประเทศที่ได้รับสิทธิ BOI เพื่อส่งออกทางอ้อม ดังนั้น บริษัทจะต้องรับใบโอนสิทธิตัดบัญชี (Report-V) จากผู้ส่งออกมาตัดบัญชี พร้อมกับโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับ Vendor อีกทอดหนึ่งต่อไป
การเตรียมข้อมูลเพื่อตัดบัญชี
- การตัดบัญชีแบบไม่มี Vendor
เตรียมไฟล์ข้อมูลประกอบด้วย
- Birtexp.xls คือ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่งออก
- Birtexl.xls คือรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสืออนุมัติ
- การตัดบัญชีแบบมี Vendor
- Birtexp.xls คือ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่งออก
- Birtexl.xls คือรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสืออนุมัติ
- Birtven.xls คือ รายละเอียดเกี่ยวกับการโอนวัตถุดิบ และชื่อผู้รับโอนวัตถุดิบ (Report-V)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับไฟล์แต่ละชนิด
ไฟล์ Birtexp.xls
ชื่อ Field | ประเภท | ความยาว | คำอธิบาย |
Proj_Code | ตัวอักษร | 8 | รหัสโครงการ / ต้องเหมือนกันทุกบรรทัด |
Doc_No | ตัวอักษร | 8 | งวดที่ยื่นขออนุมัติ ต้องไม่ซ้ำกับงวดที่เคยขออนุมัติแล้ว |
Exp_Entry | ตัวอักษร | 15 | เลขที่ใบขนขาออก หรือเอกสารโอนสิทธิ ต้องไม่ซ้ำกับเลขที่เคยตัดบัญชีแล้ว หากซ้ำ ต้องยกเลิกของเก่าก่อน |
Exp_Date | วันที่ DD/MM/YYYY | 10 | วันที่ส่งออก (วันที่รับบรรทุก) เช่น 25/03/2013 |
Model | ตัวอักษร | 50 | ชื่อรุ่นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่ต้องการตัดบัญชี |
Model_Desc | ตัวอักษร | 254 | ชื่อผลิตภัณฑ์ส่งออกที่ต้องการตัดบัญชี ต้องตรงกับในฐานข้อมูล |
Qty | ตัวเลข | 20 หลัก และ 8 ทศนิยม | ปริมาณที่ขอตัดบัญชีของผลิตภัณฑ์แต่ละโมเดล |
Uop | ตัวอักษร | 3 | หน่วยของสินค้าที่ส่งออก ต้องตรงกับในฐานข้อมูล |
Revision | ตัวอักษร | 3 | เวอร์ชั่นของสูตรที่ต้องการใช้ตัดบัญชี เช่น 1, 2, .. หากวันที่ส่งออกเป็นวันที่สูตรมีผลใช้งาน จะคีย์เป็นค่าว่างก็ได้ โดยระบบจะดึงสูตรเวอร์ชั่นที่มีผลใช้งานในวันที่ส่งออกมาใช้ตัดบัญชี
แต่หากต้องการตัดบัญชีด้วยสูตรเวอร์ชั่นที่ไม่ตรงกับวันที่ส่งออก จะต้องคีย์เวอร์ชั่นด้วย |
ไฟล์ Birtexl.xls
ชื่อ Field | ประเภท | ความยาว | คำอธิบาย |
Proj_Code | ตัวอักษร | 8 | รหัสโครงการ / ต้องเหมือนกันทุกบรรทัด |
Doc_No | ตัวอักษร | 8 | งวดที่ยื่นขออนุมัติ / ต้องตรงกับในไฟล์ Birtexp |
Let_No | ตัวอักษร | 25 | เลขที่หนังสือบริษัทที่ยื่นขอตัดบัญชี (ไม่เป็นค่าว่าง) |
Let_Date | วันที่ DD/MM/YYYY | 10 | วันที่หนังสือบริษัทที่ยื่นขอตัดบัญชี |
Exp_Amt | ตัวอักษร | 4 | จำนวนใบขนที่ยื่นขออนุมัติตัดบัญชีในงวดนั้น เป็นค่าว่างได้ ต้องเท่ากับจำนวนใบขนในไฟล์ Birtexp |
Ven_Amt | ตัวอักษร | 4 | จำนวนเอกสารโอนสิทธิที่ยื่นขอตัดบัญชีในงวดนั้น เป็นค่าว่างได้ ต้องเท่ากับจำนวนเอกสารโอนสิทธิ์ในไฟล์ Birtexp |
Cancel | ตัวอักษร | 1 | เป็นการยกเลิกคำร้องเก่าเพื่อยื่นตัดบัญชีใหม่หรือไม่
| Y : ใช่ |
| N หรือ ค่าว่าง : ไม่ใช่ |
|
App_No | ตัวอักษร | 19 | เลขที่ อก. ของหนังสืออนุมัติฉบับเดิมที่ต้องการยกเลิก ระบุเฉพาะกรณีที่ Cancel เป็น Y |
App_Date | วันที่ DD/MM/YYYY | 10 | วันที่ของหนังสืออนุมัติฉบับเดิมที่ต้องการยกเลิก ระบุเฉพาะกรณีที่ Cancel เป็น Y |
ไฟล์ Birtven.xls
ชื่อ Field | ประเภท | ความยาว | คำอธิบาย |
Proj_Code | ตัวอักษร | 8 | รหัสโครงการ / ต้องเหมือนกันทุกบรรทัด |
Doc_No | ตัวอักษร | 8 | งวดที่ยื่นขออนุมัติ / ต้องตรงกับในไฟล์ Birtexp |
Grp_No | ตัวอักษร | 6 | หมายเลขกลุ่มวัตถุดิบที่ต้องการโอนสิทธิตัดบัญชี |
Ven_Name | ตัวอักษร | 80 | ชื่อบริษัท Vendor ที่ต้องการโอนสิทธิให้ |
Ven_ID | ตัวอักษร | 13 | เลขที่นิติบุคคลของ Vendor เป็นค่าว่างได้ หาก Ven_Type เป็นค่าว่าง |
Ven_Type | ตัวอักษร | 1 | ประเภทของ Vendor
| B : Vendor เป็น BOI |
| ค่าว่าง : Vendor ไม่ใช่ BOI |
|
Ven_Qty | ตัวเลข | 20 หลัก และ 8 ทศนิยม | ปริมาณที่ต้องการโอนสิทธิให้ Vendor ซึ่งต้องไม่เกินปริมาณที่ตัดบัญชีได้ |
Ven_Model | ตัวอักษร | 50 | Model ที่ตรงกับของ Vendor เป็นค่าว่างได้ หาก Ven_Type เป็นค่าว่าง |
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
ไฟล์ Birtexp.xls
Proj_Code | Doc_no | Exp_Entry | Exp_Date | Model | Model_Desc | Qty | UOP | Revision |
12345611 | 00001 | A0030550200009 | 15/02/2013 | MIT01 | Cover Plate | 100 | SET | |
12345611 | 00001 | A0030550200009 | 15/02/2013 | MIT02 | Cover Plate | 200 | SET | |
12345611 | 00001 | 13-V-000001 | 30/12/2013 | MIT02 | Cover Plate | 200 | SET | |
ไฟล์ Birtexl.xls
Proj_Code | Doc_no | Let_No | Let_Date | Exp_amt | Ven_Amt | Cancel | App_No | App_Date |
12345611 | 00001 | 1/2556 | 20/02/2013 | 1 | 1 | | | |
12345611 | 00002 | 2/2556 | 25/02/2013 | 1 | 1 | Y | 0907R550112345678 | 17/02/2013 |
ไฟล์ Birtven.xls
Proj_Code | Doc_No | Grp_No | Ven_Name | Ven_ID | Ven_Type | Ven_Qty | Ven_Model |
12345611 | 00001 | 000001 | ABC Precision | 1234567890123 | B | 200 | CTX00001 |
12345611 | 00001 | 000001 | XYZ Industry | | | 300 | |
การบันทึกข้อมูล
- การยื่นตัดบัญชีโดยไม่มีการโอนสิทธิให้ Vendor ไม่ต้องยื่นไฟล์ Birtven.xls
- ชุดไฟล์ข้อมูล 1 ชุด (Birtexp.xls, Birtexl.xls, Birtven.xls) สามารถตัดบัญชีได้หลายใบขน
- หากต้องการบันทึกไฟล์ข้อมูลมากกว่า 1 ชุด ใน Flash Drive เดียวกัน ให้บันทึกเลขที่ต่อท้าย คือ
Birtexp_1.xls, Birtexl_1.xls, Birtven_1.xls
Birtexp_2.xls, Birtexl_2.xls, Birtven_2.xls เป็นต้น
เอกสารประกอบการตัดบัญชี
- หนังสือขออนุมัติตัดบัญชี (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มตัดบัญชีวัตถุดิบ)
- ใบขนสินค้าขาออก หรือเอกสารการโอนสิทธิ (Report-V)
- อินวอยซ์ขาออก (กรณีใบขนไม่ชัดเจน)
- เอกสารอื่นๆ เช่น หนังสือชี้แจง และหนังสือรับรองต่างๆ
* เอกสารข้างต้นใช้อย่างละ 1 ฉบับ โดยจะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้ได้รับมอบอำนาจลงนามและประทับตราบริษัททุกฉบับ
ประเด็นที่จะต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง
- ชื่อบริษัทผู้ส่งออก และชื่อผู้รับโอนสิทธิ
- เลขที่ใบขนสินค้าขาออก หรือเอกสารการโอนสิทธิ (Report-V)
- ชื่อผลิตภัณฑ์และสูตรการผลิต
- ปริมาณและหน่วยของสินค้า
- รูปแบบของใบขนสินค้าขาออกแบบ Paperless ครบถ้วนถูกต้อง คือ
- ระบุชื่อผู้ส่งออกชัดเจน
- มีวันที่ส่งออก คือ วันที่ Load ที่ระบุด้านหลังใบขน
- มีข้อความ "ขอรับรองข้อมูลถูกต้อง" ระบุท้ายใบขน
- หากมีการระบุ Status ในใบขน จะต้องเป็น 04,0409 เท่านั้น
- ระบุชื่อผลิตภัณฑ์ และสูตรการผลิตที่ส่งออกไว้ชัดเจน ตรงตามที่ขออนุมัติไว้กับ BOI
- ระบุปริมาณและหน่วยส่งออกถูกต้องชัดเจน
- ลายมือชื่อผู้ลงนามรับรอง และตราประทับของบริษัท
- ประเภทของใบขนสินค้าขาออก และสิทธิประโยชน์
- การระบุข้อความโอนสิทธิ ต้องตรงตามรายชื่อและจำนวนใน Report-V
การตัดบัญชีโอนสิทธิ
- การโอนสิทธิในรูปใบขนสินค้าขาออก
ผู้ส่งออกต้องจัดทำใบขนโดยระบุข้อความการโอนสิทธิให้ชัดเจน ดังนี้ "ขอโอนสิทธิการตัดบัญชีให้แก่บริษัท ............................... ปริมาณ ............... หน่่วย ............. Model ............." ซึ่งปกติจะเป็นการโอนสิทธิใบขนสินค้าขาออกทั้งฉบับ หรือทั้งรายการ
และหากมี Vendor ที่ต้องโอนสิทธิให้หลายราย ผู้ส่งออกสามารถทำหนังสือรับรองแนบเรื่องเพื่อประกอบการตัดบัญชีก็ได้
- การโอนสิทธิในรูปเอกสารโอนสิทธิ (Report-V)
ผู้ส่งออกต้องนำใบขนสินค้าขาออกมาตัดบัญชี โดยป้อนข้อมูลทั้ง 3 ไฟล์ คือ Birtexp.xls, Birtexl.xls และ Birtven.xls จากนั้นต้องแจกจ่าย Report-V ให้แก่ Vendor แต่ละราย โดยผู้โอนจะต้องระบุรายชื่อ Vendor ในส่วนหมายเหตุท้ายหนังสือขออนุมัติตัดบัญชี ให้ตรงกับชื่อและจำนวนของ Vendor ที่ต้องการโอน
วิธีการยื่นข้อมูลขอตัดบัญชี
- บันทึกข้อมูลโดยส่งผ่านระบบ Online หรือบันทึกข้อมูลใน Flash Drive / Diskette แล้วนำมายื่นที่เคาน์เตอร์ตัดบัญชี
- เอกสารตัวจริงที่ใช้ประกอบการตัดบัญชี ที่มีการลงนามโดยผู้มีอำนาจและประทับตรารับรองทุกหน้า
- เมื่อยื่นเรื่องแล้ว สามารถตรวจสอบสถานะของเอกสารจากระบบ Online
ข้อควรรู้ในการตัดบัญชี
- การตัดบัญชี 1 ใบขน หลายโครงการ
- ใช้ใบขนสินค้าขาออก หรือเอกสารการโอนสิทธิ 1 ชุด
- ต้องเตรียมหนังสือขออนุมัติตามจำนวนโครงการ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าเป็นการตัดบัญชีกี่โครงการ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
- สร้างไฟล์ข้อมูลตามจำนวนโครงการ เช่น ถ้าตัดบัญชี 2 โครงการ ก็ต้องบันทึกข้อมูลเป็น 2 ไฟล์ เช่น Birtexp_1.xls และ Birtexp_2.xls เป็นต้น
- ควรยื่นตัดบัญชีให้แล้วเสร็จในคราวเดียวกัน
- แจ้งพนักงานประมวลผลของสมาคม IC ทุกครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด
- หน่วยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับโอน ไม่ตรงกับหน่วยของผู้รับโอน
- ให้ผู้โอนทำหนังสือรับรองหน่วยให้กับผู้รับโอน พร้อมลงนามโดยผู้มีอำนาจและประทับตราบริษัท หรือ
- ให้ผู้รับโอนทำการรับรองหน่วยได้ด้วยตนเอง
- หลังจากสมาคม IC ได้รับเรื่อง จะส่งให้ BOI พิจารณาอนุมัติก่อน จึงจะดำเนินการตัดบัญชีให้
- Model ที่ได้รับโอน ไม่ตรงกับ Model ในฐานข้อมูลของผู้รับโอน
- หากโอนสิทธิโดยระบุชื่อผลิตภัณฑ์ของผู้รับโอนในไฟล์ Birtven.xls ให้ผู้โอนทำหนังสือรับรองชื่อรุ่นผลิตภัณฑ์นั้น โดยสมาคม IC จะส่งเรื่องให้ BOI พิจารณาอนุมัติก่อน จึงจะตัดบัญชีให้
- หากผู้โอนระบุชื่อผลิตภัณฑ์ (Model) ไม่ถูกต้อง ให้แก้ไขในเอกสาร คือ Report-V และ VL ให้ถูกต้องก่อนนำไปให้ผู้รับโอน
- สูตรการผลิตในเอกสารการส่งออก ไม่ตรงกับฐานข้อมูล
- ขอแก้ไขใบขนสินค้าขาออกกับกรมศุลกากร โดย
- ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ณ ด่านที่ทำการตรวจปล่อย
- เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทำการแก้ไขข้อมูลในระบบ และทำการพิมพ์ใบขนฉบับที่แก้ไข
- ลงนามกำกับในใบขนที่มีการแก้ไขทุกครั้ง
หรือ
- ทำหนังสือรับรอง โดย
- บริษัททำหนังสือรับรองชื่อสูตรการผลิต พร้อมลงนามและประทับตราบริษัท
- สมาคม IC จะส่งเรื่องให้ BOI พิจารณาอนุมัติก่อน จึงจะดำเนินการตัดบัญชีให้
- ข้อมูลที่ผู้รับโอนสิทธิจะต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง
- ชื่อบริษัท (Co.,Ltd.), (Company Ltd.), (Company Limited)
- Type (BOI)
- Model ปริมาณ และหน่วย ที่ได้รับโอน
- ใบขนขาออกระบุรายละเอียดการส่งออกไม่ชัดเจน
- หากใบขนขาออกระบุเพียงชื่อผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ได้ระบุสูตรการผลิตที่ส่งออก บริษัทต้องแนบอินวอยซ์ขาออกฉบับผ่านพิธีการที่ระบุ Model ส่งออกให้ชัดเจน
- ชื่อ Model เกินกว่า 50 ตัวอักษร
- บริษัทยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขออนุมัติใช้ชื่อย่อของชื่อรุ่น (Model)
- แก้ไขข้อมูลที่แผนกบริการฐานข้อมูลของสมาคม IC
- ในการตัดบัญชี ให้แนบสำเนาหนังสืออนุมัติของ BOI ด้วยทุกครั้ง หรือสำเนาให้แผนกตัดบัญชีของสมาคม IC เก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานตรวจสอบ 1 ฉบับ และให้บริษัทระบุหมายเหตุในหนังสือขออนุมัติว่า "บริษัทได้นำส่งสำเนาไว้ที่แผนกตัดบัญชีแล้ว"
- เอกสารติดปัญหา ซึ่งต้องทำการยกเลิก
- ปริมาณการส่งออกไม่ถูกต้อง
- สูตรการผลิตไม่ถูกต้อง
- เอกสารติดปัญหา ซึ่งสามารถขอแก้ไขได้
- กรณีที่ชื่อ Vendor Name หรือ Vendor Model ไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขได้โดย
- ทำหนังสือขอแก้ไขชื่อ Vendor Name หรือ Vendor Model (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม, ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
- เอกสารที่ขอแก้ไข ได้แก่ Report_V, Report_VL (ต้นฉบับ) โดยพิมพ์เครื่องหมาย ////// ทับชื่อ หรือข้อความที่ไม่ถูกต้อง และพิมพ์ชื่อหรือข้อความที่ถูกต้องแทน
- แนบเอกสารการซื้อขายประกอบการพิจารณา
- กรณีพิมพ์เลขที่ใบขนหรือเอกสารการโอนสิทธิ ไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขได้โดย
- ทำหนังสือขอแก้ไขเลขที่ใบขนหรือเอกสารโอนสิทธิ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
- เอกสารที่ขอแก้ไข ได้แก่ Report_S, Report_T, Report_U (ต้นฉบับ) โดยพิมพ์เครื่องหมาย ////// ทับชื่อ หรือข้อความที่ไม่ถูกต้อง และพิมพ์ชื่อหรือข้อความที่ถูกต้องแทน
- แนบเอกสารตัดบัญชีทั้งฉบับ
- เอกสารตัดบัญชีสูญหาย
สามารถขอรับรองสำเนา โดยใช้เอกสารดังนี้
- หนังสือบริษัทเรื่องขอรับรองเอกสารการตัดบัญชีวัตถุดิบ
- ใบแจ้งความเอกสารฉบับจริงสูญหาย
- หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจเพื่อกระทำการแทนบริษัท
- ยื่นเอกสารที่งานธุรการของสมาคม IC โดยใช้เวลาดำเนินการ 3 วันทำการ
ข้อควรรู้อื่นๆ
- ก่อนการส่งออก จะต้องขออนุมัติสูตรจาก BOI และบันทึกผลการอนุมัติที่สมาคม IC ก่อน
- การตัดบัญชีโดยเลือกใช้ Revision ของสูตรการผลิตที่นอกเหนือจากค่า default จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน
- ไม่สามารถตัดบัญชีให้ยอดคงเหลือ (Balance) ติดลบ
หากจะเกิดยอดติดลบ ให้ตรวจสอบว่ามีการซื้อในประเทศจากบริษัทที่ไม่ต้องใช้สิทธิตัดบัญชี (Vendor ประเภท Local) หรือไม่
หากมี ให้บันทึก Ven_Type เป็นค่าว่าง ซึ่งระบบจะบันทึกปริมาณยอดคงเหลือติดลบที่โอนให้ Vendor ประเภท Local นี้ไว้เพื่อตรวจสอบในภายหลัง
- การเตรียมไฟล์ข้อมูล ต้องตั้งชื่อ Field Name ให้ถูกต้องตามกำหนดในระบบ
- ต้องระบุเลขทะเบียนนิติบุคคลของ Vendor (Vendor_ID) ให้ถูกต้อง
- เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ต้องมาติดต่อรับหนังสืออนุมัติภายใน 30 วัน มิฉะนั้น สมาคม IC จะส่งเอกสารไปยังบริษัททางไปรษณีย์ โดยหักค่าส่งจากค่าใช้บริการในสิ้นเดือนนั้นๆ
- ต้องนำใบขนขาออกหรือเอกสารโอนสิทธิมาตัดบัญชีภายใน 1 ปี นับจากวันที่ส่งออก
หน้าแรก
|
เว็บบอร์ด
|
อ่านกระทู้ถามตอบ
|