ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 ช่างฝีมือ : กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

1. พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521

      คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยประเภทชั่วคราวที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานได้ จะต้องมีคุณลักษณะตามมาตรา 11 ดังนี้

  1. มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน
  2. ไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติ หรือต้องห้ามตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

      การจะทำงานได้ ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน หรือเจ้าพนักงานที่ซึ่งอธิบดีมอบหมาย โดยในการอนุญาต อธิบดีหรือเจ้าพนักงานจะต้องกำหนดเงื่อนไขให้คนต่างด้าวต้องปฏิบัติไว้ด้วย

      คนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต จะมีโทษตามมาตรา 34 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน จะต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานภายใน 30 วันนับแต่วันที่คนต่างด้าวทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน โดยในระหว่างที่รอรับใบอนุญาต คนต่างด้าวสามารถทำงานไปพลางก่อนได้

      ในกรณีที่ไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน จะมีโทษตามมาตรา 35 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท


2. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2521

      เป็นพระราชบัญญัติที่ควบคุมการเดินทางของคนต่างด้าวที่เข้ามาและออกนอกราชอาณาจักร โดยให้สิทธิแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หรือเพื่อให้สิทธิถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย


3. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520

      บริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน จะได้รับอนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อทำงานในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้ อีกทั้งจะอนุญาตให้คู่สมรสและบุคคลที่อยู่ในอุปการะของช่างฝีมือและผู้ชำนาญการดังกล่าว เข้ามาในราชอาณาจักรได้อีกด้วย


4. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522

      เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม สามารถนำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรได้


5. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

      เป็นบทบัญญัติที่นำมาบังคับใช้แทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 เพื่อให้เกิดการลงทุนในประเทศไทยในธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมจะแข่งขันกับคนต่างด้าว โดยกำหนดบัญชีธุรกิจไว้เป็น 3 บัญชี ดังนี้

  1. บัญชีหนึ่ง
    หมายถึง ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยเด็ดขาด เช่น กิจการหนังสือพิมพ์ กิจการสถานนี้วิทยุโทรทัศน์ กิจการทำป่าไม้ กิจการค้าที่ดิน กิจการสกัดสมุนไพรไทย เป็นต้น
  2. บัญชีสอง
    หมายถึง ธุรกิจที่คนต่างด้าวสามารถประกอบธุรกิจได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม หัตถกรรมพื้นบ้าน และธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  3. บัญชีสาม
    หมายถึง ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว โดยคนต่างด้าวที่จะประกอบธุรกิจนี้จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมทะเบียนการค้าโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เช่น ธุรกิจการทำประมง ธุรกิจการทำป่าไม้ ธุรกิจการผลิตปูนขาว ธุรกิจการบริการทางบัญชี ธุรกิจการบริการทางกฎหมาย เป็นต้น


5. พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.2522

      เป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ซึ่งประกอบด้วย 39 อาชีพ โดยในการออกใบอนุญาตทำงาน จะไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งหรือในงานที่มีลักษณะเข้าข่ายตามพระราชกฤษฎีกานี้


6. ระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2545

      เป็นระเบียบที่เกี่ยวข้องกับจำนวนคนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้ทำงาน โดยพิจารณาจากขนาดการลงทุนของสถานประกอบการ การชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐ และขนาดของการจ้างงานคนไทย

      ปัจจุบัน การขอใบอนุญาตทำงานตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 จะใช้แนวทางพิจารณาตามระเบียบฉบับนี้

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 27,527
Total pageviews 4,454,391 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.