ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 การแก้ไขโครงการ : ภาพรวม

แบบฟอร์มการแก้ไขโครงการ

  • แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01)
  • แบบคำขออนุญาตและรายงานเรื่องแก้ไขทุนจดทะเบียน (F PA PC 09)
  • แบบคำขออนุญาตเปลี่ยน/เพิ่ม/ลด สถานที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ (F PA PC 03)
  • แบบคำขออนุญาตแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้น (F PA PC 02)
  • แบบคำขอยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิม (F PA PC 10)

ภาพรวมการแก้ไขโครงการ

    โครงการทีได้รับส่งเสริม มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขกำหนดในบัตรส่งเสริม แต่สามารถขอแก้ไขโครงการให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจได้ โดยมีแนวทางพิจารณา ดังนี้

1. ชนิดผลิตภัณฑ์ / บริการ

    เป็นเงื่อนไขที่ระบุเกี่ยวกับชนิดผลิตภัณฑ์หรือประเภทบริการที่ได้รับการส่งเสริม ตัวอย่างเช่น
   ชนิดผลิตภัณฑ์ : เบาะรถยนต์ หรือ

ชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ เป็นต้น

    กรณีผลิตสินค้าหรือให้บริการไม่ตรงกับบัตรส่งเสริม รายได้ในส่วนนั้นจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่สามารถนำผลิตภัณฑ์นั้นมาตัดบัญชีวัตถุดิบได้ อีกทั้งยังถือเป็นความผิดในการนำเครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับส่งเสริมอีกด้วย


แนวทางพิจารณา
ชนิดผลิตภัณฑ์
เพิ่มผลิตภัณฑ์โดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
-ต้องยังไม่เปิดดำเนินการ
-กิจการตามนโยบายอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะเปิดดำเนินการแล้วก็ได้
เพิ่มผลิตภัณฑ์โดยไม่ลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
-มีกำลังผลิตรวมกันเท่ากับกำลังผลิตเดิม
-กิจการตามนโยบายอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะเปิดดำเนินการแล้วก็ได้
ยกเลิกผลิตภัณฑ์
-ผลิตภัณฑ์ที่เหลืออยู่ ต้องไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการส่งเสริม เช่น มูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
-ต้องส่งเครื่องจักรและวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องไปต่างประเทศ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบการแก้ไขผลิตภัณฑ์

2. กำลังผลิต

    เป็นเงื่อนไขที่ระบุกำลังผลิตสูงสุดหรือขนาดการให้บริการสูงสุดของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม ตัวอย่างเช่น
   กำลังผลิต : มีกำลังผลิตพัดลม ปีละประมาณ 500,000 เครื่อง หรือ

มีกำลังผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ ปีละ 12,000,000 ชิ้น

    กรณีที่ผลิตหรือให้บริการเกินกว่ากำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนที่เกินกว่าบัตรส่งเสริม แต่สามารถนำกำลังผลิตส่วนที่เกินกว่าบัตรส่งเสริมมาตัดบัญชีวัตถุดิบได้


แนวทางพิจารณา
กำลังผลิต
เพิ่มกำลังผลิตโดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
-ต้องยังไม่เปิดดำเนินการ
-กิจการตามนโยบายอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะเปิดดำเนินการแล้วก็ได้
เพิ่มผลิตภัณฑ์โดยเพิ่มเวลาทำงาน
-ต้องเป็นสัดส่วนกับเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้น
เพิ่มผลิตภัณฑ์ เนื่องจากนำเครื่องจักรเข้ามาเกิน
-อนุญาตให้แก้ไขครั้งเดียวในวันเปิดดำเนินการ
ลดกำลังผลิต
-ต้องส่งเครื่องจักรและวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องไปต่างประเทศ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบการแก้ไขกำลังผลิต

3. กรรมวิธีการผลิต

    เป็นเงื่อนไขกำหนดกระบวนการผลิตสินค้า หรือกำหนดขั้นตอนการให้บริการ ซึ่งผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น
    กรรมวิธีการผลิตพัดลม มีขั้นตอนดังนี้ :
    - นำเม็ดพลาสติกและแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผู้อื่นฉีดพลาสติกขึ้นรูปเป็นใบพัด
- ปั๊มแผ่นเหล็กตามขนาด ประกอบเข้าด้วยกัน และพันขดลวดเป็นมอเตอร์
- ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน
- ตรวจสอบ ปรับแต่ง จำหน่าย

    สินค้าที่ไม่ได้ผลิตตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม จะไม่ถือเป็นสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ดังนั้น รายได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าว จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่สามารถนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตัดบัญชีวัตถุดิบได้


แนวทางพิจารณา
กรรมวิธีการผลิต
เพิ่มขั้นตอนการผลิตโดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
-ต้องยังไม่เปิดดำเนินการ
-กิจการตามนโยบายอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะเปิดดำเนินการแล้วก็ได้
เพิ่มขั้นตอนการว่าจ้าง
-ต้องขอนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรือวัตถุดิบ ไปว่าจ้างผลิต
ลดขั้นตอนการผลิต
-ต้องไม่ขัดกับหลัดเกณฑ์ขั้นต่ำในการส่งเสริม (เช่น เรื่องมูลค่าเพิ่ม)
-ต้องส่งเครื่องจักรและวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องไปต่างประเทศ
นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป
-อนุญาตให้นำเข้าไม่เกิน 10% ของการผลิตในแต่ละปี

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบการแก้ไขกรรมวิธีการผลิต

4. การว่าจ้างหรือรับจ้างผลิต

    โครงการที่ได้รับส่งเสริม จะนำเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่นำเข้ามาโดยได้รับสิทธิ์ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรไปรับจ้างผลิตไม่ได้ เว้นแต่ จะเป็นการรับจ้างผลิตสินค้าตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม และมีกรรมวิธีครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น

    การขอนำเครื่องจักรไปรับจ้างผลิตสินค้าที่ไม่ได้ระบุในบัตรส่งเสริม ไม่ถือเป็นการแก้ไขโครงการ แต่สามารถยื่นขออนุญาตในข่ายการขอนำเครื่องจักรไปใช้เพื่อการอื่นได้ โดยจะต้องเป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และรายได้ในการรับจ้างนี้ จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

    ส่วนกรณีจะนำแม่พิมพ์และวัตถุดิบไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตชิ้นส่วนให้นั้น ก็จะต้องขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิตให้มีการว่าจ้างดังกล่าวด้วย

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบการรับจ้างและว่าจ้างผลิต

5. สภาพเครื่องจักร

    โครงการที่ได้รับส่งเสริมหลังจาก พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา มีเงื่อนไขจะต้องใช้เครื่องจักรใหม่ในโครงการทั้งสิ้น

    กรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงการเพื่อใช้เครื่องจักรเก่า สามารถขอแก้ไขโครงการเพื่อใช้เครื่องจักรเก่าได้ โดยจะกำหนดเงื่อนไขให้ใช้เครื่องจักรเก่าไม่เกิน 10 ปี นับจากปีที่ผลิตถึงปีที่นำเข้า และจะต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรจากสถาบันที่เชื่อถือได้ด้วย

    กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมใช้เครื่องจักรเก่าโดยไม่มีใบรับรองประสิทธิภาพ จะไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ และหากไม่สามารถแก้ไขโครงการให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด อาจถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ทั้งหมด

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบการแก้ไขสภาพเครื่องจักร

6. เงื่อนไขที่ตั้งโรงงาน

    โครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรืออาจก่อให้เกิดปัญหามลภาวะ เช่น กิจการฟอกย้อม หรือกิจการ Recycle จะมีเงื่อนไขให้ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมตามที่คณะกรรมการกำหนด ส่วนโครงการอื่นๆ จะตั้งโรงงานในที่ตั้งใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดกับประกาศสำนักผังเมืองในเขตที่ตั้งนั้น

    กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมประสงค์จะเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงงาน หากไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ข้างต้น จะอนุญาตให้แก้ไขได้ โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิม จะเปลี่ยนแปลงไปตามเกณฑ์ที่ตั้งแห่งใหม่


แนวทางพิจารณา
ที่ตั้งโรงงาน
เปลี่ยนที่ตั้งโรงงาน
-จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ที่ตั้งใหม่ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่เดิม
เพิ่มที่ตั้งโรงงาน
-จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ที่ตั้งที่ได้รับสิทธิน้อยที่สุด

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบแก้ไขที่ตั้งโรงงาน

7. เงื่อนไขทุนจดทะเบียน

    โครงการที่ได้รับส่งเสริมจะมีเงื่อนไขเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนในขั้นออกบัตรส่งเสริม และขั้นเปิดดำเนินการเต็มโครงการ ตัวอย่าง เช่น
   ทุนจดทะเบียน : จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทก่อนออกบัตรส่งเสริม โดยจะต้องเรียกชำระเต็มมูลค่าหุ้นก่อนเปิดดำเนินการ

    กรณีที่ไม่สามารถจดทะเบียนหรือเรียกชำระทุนจดทะเบียนให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด จะไม่สามารถออกบัตรส่งเสริม หรือไม่สามารถเปิดดำเนินการให้ได้ แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับผ่อนผันให้แก้ไขเงื่อนไขดังกล่าว


แนวทางพิจารณา
ทุนจดทะเบียน
เพิ่มทุนจดทะเบียนมากกว่าเงื่อนไขในบัตร
-ไม่ต้องขอแก้ไข
ลดทุนจดทะเบียน
-ต้องไม่ขัดกับเงื่อนไขขั้นต่ำในการส่งเสริม (เช่น อัตราส่วนหนี้สิน ต่อส่วนผู้ถือหุ้น ต้องไม่เกิน 3:1)

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบการแก้ไขทุนจดทะเบียน

8. เงื่อนไขอัตราส่วนหุ้นไทย

    โครงการในกิจการเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ประมง สำรวจและทำเหมืองแร่ และกิจการตามบัญชี 1 ท้าย พรบ.ประกอบธุรกิจต่างด้าว จะต้องมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน แต่กิจการในบัญชี 2 และ 3 และกิจการอุตสาหกรรมอื่นๆ จะเป็นการลงทุนโดยหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นก็ได้

    กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขอัตราส่วนหุ้นไทย หากไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ข้างต้น จะพิจารณาผ่อนผันเงื่อนไขดังกล่าวให้ แต่หากขัดกับหลักเกณฑ์ข้างต้น อาจถูกเพิกถอนการให้การบัตรส่งเสริม


แนวทางพิจารณา
อัตราส่วนหุ้นไทย
เพิ่มหุ้นไทย
-ไม่ต้องขอแก้ไข แต่ให้รายงานการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้น
ลดหุ้นไทย
-ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย
-ต้องไม่ขัดกับเงื่อนไขขั้นต่ำในการส่งเสริม

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบการแก้ไขอัตราส่วนหุ้นไทย

9. เงื่อนไข ISO

    โครงการที่ได้รับส่งเสริมหลังปี พ.ศ. 2543 ที่มีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนเกินกว่า 10 ล้านบาท จะมีเงื่อนไขให้ต้องได้รับใบรับรองมาตรฐาน ISO 9000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายใน 2 ปีนับจากวันเปิดดำเนินการเต็มโครงการ ซึ่งหากปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวไม่ได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี

    เงื่อนไขข้อนี้ไม่สามารถขอยกเลิกได้ แม้ว่าในวันเปิดดำเนินการจะมีมูลค่าการลงทุนจริงไม่ถึง 10 ล้านบาทก็ตาม

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบแก้ไขเงื่อนไข ISO

10. การแก้ไขเงื่อนไขอื่นๆ

    นอกจากการแก้ไขโครงการข้างต้นแล้ว ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถยื่นขอแก้ไขเงื่อนไขอื่นๆ ได้ตามข้อเท็จจริงของโครงการ เช่น การแก้ไขหน่วยการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก จาก "ชิ้น" เป็น "กิโลกรัม" เป็นต้น

    ทั้งนี้ การพิจารณาการแก้ไขเงื่อนไขดังกล่าว จะพิจารณาตามข้อเท็จจริงและตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบการแก้ไขอื่นๆ


views 25,591
Total pageviews 4,489,080 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.