ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
การส่งเสริมการลงทุน : หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

สำหรับโครงการที่ยื่นคำขอตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2566

      โครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน อาจได้รับสิทธิและประโยชน์ต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ดังนี้

  1. สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร ได้แก่
    - มาตรา 25      ให้นำช่างฝีมือต่างด้าว คู่สมรส และบุคคลที่อยู่ในอุปการะเข้ามาในราชอาณาจักร
    - มาตรา 26ให้ช่างฝีมือและผู้ชำนาญการที่เป็นคนต่างด้าวทำงานได้
    - มาตรา 27ให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
    - มาตรา 37ให้บุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรนำหรือส่งเงินออกไปต่างประเทศได้

  2. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร ได้แก่
    - มาตรา 28ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
    - มาตรา 29ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรกึ่งหนึ่ง
    - มาตรา 30ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบไม่เกิน 90% ของอัตราปกติเพื่อการผลิตจำหน่ายในประเทศ
    - มาตรา 30/1ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง
    - มาตรา 31ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่เกิน 8 ปี
    - มาตรา 31/1ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่เกิน 13 ปี
    - มาตรา 34ยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผล
    - มาตรา 35(1)ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 50%
    - มาตรา 35(2) ให้หักค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าขนส่งในอัตรา 2 เท่า
    - มาตรา 35(3)  ให้หักค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในอัตรา 25% นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ
    - มาตรา 36(1)ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก
    - มาตรา 36(2)ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไปต่างประเทศ
สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ (Activity-based Incentives)

      แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่ม A ได้แก่ กลุ่มกิจการที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล เครื่องจักร วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
    • กลุ่ม A1+
      • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10-13 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด
      • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
      • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
    • กลุ่ม A1
      • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด
      • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
      • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
    • กลุ่ม A2
      • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี เป็นสัดส่วน 100% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
      • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
      • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
    • กลุ่ม A3
      • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี เป็นสัดส่วน 100% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน (ยกเว้นบางกิจการที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด)
      • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
      • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
    • กลุ่ม A4
      • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วน 100% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
      • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
      • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก

  2. กลุ่ม B ได้แก่ กลุ่มกิจการที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์เฉพาะด้านเครื่องจักร วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร ดังนี้
    • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
    • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
หมายเหตุ:
  1. สิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตส่งออก จะให้ได้รับครั้งแรกเป็นเวลา 1 ปี และจะขยายเวลาให้ครั้งละ 2 ปี (หรือ 1 ปีสำหรับบางกิจการ เช่น ITC)
  2. กิจการทุกกลุ่ม จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร ได้แก่ การนำเข้าช่างฝีมือต่างด้าว การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการให้นำหรือส่งเงินออกนอกประเทศ

สรุปสิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ

กลุ่มภาษีเงินได้อากรเครื่องจักรอากรวัตถุดิบnon-tax
A1+10-13 ปี
ไม่ cap วงเงิน
OOO
A18 ปี
ไม่ cap วงเงิน
OOO
A28 ปี
cap วงเงิน
OOO
A35 ปี
cap วงเงิน
OOO
A43 ปี
cap วงเงิน
OOO
B-OOO

การให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม
  1. สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
         กรณีตั้งสถานประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุนที่มีรายได้ต่ำ 20 จังหวัด (ตามเขตส่งเสริมการลงทุนข้อ 4) ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้
    1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 3 ปี
           แต่หากเป็นกิจการกลุ่ม A1 หรือ A2 ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีอยู่แล้ว จะให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5 ปี ตามมาตรา 35(1) นับแต่วันที่กำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง
    2. ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นเวลา 10 ปี ตามมาตรา 35(2)
    3. ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก 25% จากกำไรสุทธิ นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ ตามมาตรา 35(3)

  2. สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม
         กรณีตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริม ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี
         แต่ไม่รวมถึงกิจการที่มีเงื่อนไขบังคับว่าตั้งตั้งในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริม
เขตส่งเสริมการลงทุน
  1. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
  2. เขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564
  3. พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่โครงการเมืองต้นแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
  4. พื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ พัทลุง แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
  5. เขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Park) รวมถึงพื้นที่ย่านนวัตกรรมที่ได้รับการส่งเสริมหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

     ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม สำหรับเขตส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เป้าหมายนั้นๆ

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการให้สิทธิประโยชน์
  1. กรณีที่ผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องในโครงการเดียวกัน จะพิจารณาให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ขั้นสูง ตามประเภทกิจการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำ ตามความเหมาะสม
  2. ระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะได้รับจากมาตรการที่ให้สิทธิและโยชน์เพิ่มเติม เมื่อรวมกับสิทธิและประโยชน์ตามประเภทกิจการและมาตรการอื่นๆ แล้ว จะให้ได้รับไม่เกิน 8 ปี
         เว้นแต่กรณีกิจการกลุ่ม A1+ และกรณีซึ่งมาตรการหรือเงื่อนไขของประเภทกิจการที่ให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมนั้น ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น แต่ไม่ว่ากรณีใดๆ จะให้ได้รับไม่เกิน 13 ปี
  3. โครงการจะสามารถได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 35 (1) ต่อเมื่อโครงการนั้นได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมกันแล้วไม่เกิน 8 ปี
  4. ระยะเวลาการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 35 (1) ที่จะได้รับจากมาตรการที่ให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม เมื่อรวมกับมาตรการอื่นๆ แล้ว จะให้ได้รับไม่เกิน 5 ปี
  5. การลงทุน ค่าใช้จ่าย และการดำเนินการใด ที่จะต้องกระทำเพื่อให้ได้รับการส่งเสริมตามประเภทกิจการ หรือเพื่อให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการใดแล้ว การลงทุน ค่าใช้จ่าย หรือการดำเนินการเดียวกันนั้น ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมอื่นๆ ได้อีก
สิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม

     อนุญาตให้นำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ในกรณีดังนี้

  1. เครื่องจักรที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา
  2. เครื่องจักรที่ใช้ในการป้องกันหรือกำจัดมลพิษ
  3. เครื่องจักรที่ใช้ในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในโครงการเดิม ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้วหรือไม่ก็ตาม

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 60,550
Total pageviews 4,415,045 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.