ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 คำถามคำตอบ IC Call Center  : งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
   เครื่องจักร | สั่งปล่อยวัตถุดิบ | ตัดบัญชีวัตถุดิบ | ฐานข้อมูลวัตถุดิบ | ฝึกอบรมสัมมนา | ลงทะเบียนฝึกอบรม | บัญชี/การเงิน

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ถาม 1 : หัวคอลัมน์ ของการจัดเตรียมไฟล์ข้อมูลตัดบัญชี บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนเองได้หรือไม่
ตอบหัวคอลัมน์แต่ละไฟล์ ให้ใช้ตามรูปแบบที่ระบบ กำหนด เนื่องจากโปรแกรมจะตรวจสอบด้วย

ถาม 2 : หลักการบันทึกชื่อไฟล์ข้อมูลที่ใช้ตัดบัญชีวัตถุดิบปัจจุบัน บริษัทจะต้องบันทึกโดยกำหนดชื่อไฟล์อย่างไร
ตอบการกำหนดชื่อไฟล์ที่ใช้ในการตัดบัญชี บริษัทสามารถเลือกกำหนดได้ 2 กรณี ดังนี้
1.กรณีตัดบัญชีโดยใช้เอกสารการส่งออกก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ให้บริษัทกำหนดชื่อไฟล์ (BIRTEXP)
2.กรณีตัดบัญชีโดยใช้เอกสารการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ให้บริการกำหนดชื่อไฟล์ (EXPORT)


ถาม 3 : กรณีเป็นบริษัท Vendor ได้รับแจ้งจากผู้ส่งออกทางตรงว่าโอนสิทธิ์ให้แล้ว เมื่อเข้าเมนู Down Load ข้อมูล Vendor ไม่ปรากฏข้อมูลเนื่องจากอะไร
ตอบ1.ผู้โอนอาจลืมโอนสิทธิ์แต่เข้าใจว่าตัวเองโอนสิทธิ์ให้ Vendor
2.เนื่องจากผู้โอนระบุเลข Ven_ID ของ Vendor ไม่ถูกต้องระบบก็ไม่สามารถดึงข้อมูลได้


ถาม 4 : หากบริษัทส่งข้อมูลทาง Flash Drive หรือ Disk จะสามารถตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เมนูใด
ตอบคลิ๊กเลือก เมนูตรวจสอบผลก ารพิจารณาตัดบัญชี Disk/FlashDrive โดยจะต้องระบุวัน/เดือน/ปี ที่ ยื่นให้ถูกต้อง หากเลือกเมนูตรวจสอบข้อมูล จะไม่พบเนื่องจากเมนูนี้จะใช้สำหรับตรวจสอบผ่านระบบ Online เท่านั้น

ถาม 5 : การเตรียมไฟล์ BIRTEXP หรือ EXPORT บริษัทจะต้องระบุว่าเป็นสูตรการผลิต REVISION ใดหรือไม่
ตอบในระบบ RMTS R2 เมื่อบริษัทบันทึกข้อมูลสูตรการผลิตในระบบครั้งแรกระบบจะจัดเก็บฐานข้อมูล ว่าเป็น Version 1 และเมื่อบริษัทมีการแก้ไขภายใต้ชื่อสูตรการผลิตเดิมระบบจะบันทึกเป็น Version 2 ดังนั้น ใน การตัดบัญชีบริษัทจะต้องระบุ REVISION ของสูตรการผลิตที่ต้องการตัดบัญชีทุกครั้ง ระบบจะทำการตัดบัญชีให้ ตาม REVISION ที่บริษัทต้องการ

ถาม 6 : การเตรียมไฟล์ VENDOR หรือ BIRTVEN ในช่อง VEN_ID หมายถึงอะไร
ตอบคือเลขที่นิติบุคคลของบริษัท Vendor ที่ผู้โอนจะต้องนำมาคีย์ เพื่อเมื่อตัดบัญชีโอนสิทธิ์แล้ว ผู้รับโอน (Vendor) จะสามารถ Download ข้อมูลได้

ถาม 7 : การตัดบัญชีในระบบ RMTS R2 บริษัทยังคงต้องใช้เอกสารประกอบหรือไม่
ตอบปัจจุบันการตัดบัญชีบริษัทสามารถดำเนินการดังนี้
กรณีเอกสารส่งออกก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2561
หากข้อมูลการตัดบัญชีถูกต้องตรงกับข้อมูลการส่งออกของกรมศุลกากร บริษัทสามารถใช้เพียงหนังสือบริษัท ประทับตราบริษัท พร้อมลงนามของผู้มีอำนาจ
หากข้อมูลการตัดบัญชีไม่ตรงกับข้อมูลการส่งออกของกรมศุลกากร ให้บริษัทดำเนินการโดยใช้เอกสาร ประกอบการตัดบัญชีประกอบด้วย
1. หนังสือขออนุมัติตัดบัญชีวัตถุดิบ
2. หลักฐานการส่งออกประกอบด้วย ใบขนสินค้าขาออก เอกสารการโอนสิทธิ์กรณีขายในประเทศ (Report V) และหลักฐานการส่งออกอื่น ๆ ที่หน่วยงานออกให้
3. สำเนาใบกำกับสินค้า หรืออินวอยซ์ขาออก (กรณีรายละเอียดในใบขนไม่ชัดเจน)
4. เอกสารแนบอื่นๆแล้วแต่กรณี

กรณีเอกสารส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561
การตัดบัญชีจะเป็นแบบ Paperless ไม่ต้องใช้เอกสารประกอบเว้นแต่เป็นกิจการประเภทกิจการจิวเวอร์รี่ หรือเอกสารเป็นประเภทหนังสืออนุมัติ ตามที่สำนักงานสั่งการ ยังคงต้องใช้เอกสารประกอบการตัดบัญชี


ถาม 8 : การตัดบัญชีแบบ PAPERLESS เมื่อบริษัททำการส่งข้อมูลผ่านระบบ ONLINE ตรวจสอบข้อมูลแล้วระบบ แจ้งว่าพบข้อผิดพลาด บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบบริษัทสามารถดำเนินการได้ 2 แบบ คือ
1. หากตรวจสอบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องจริง ให้ทำการแก้ไขและส่งคำร้องเข้าระบบใหม่อีกครั้ง
2. การบริษัทประสงค์จะส่งคำร้องให้กับเจ้าหน้าที่ BOI สามารถคลิ๊กส่งต่อคำร้องให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อ พิจารณาได้


ถาม 9 : ระบบ RMTS R2 บริษัทสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหว MML ได้หรือไม่
ตอบบริษัทสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของข้อมูลได้ตลอดเวลาที่ต้องการ โดยคลิ๊กรับข้อมูล MML ผ่านระบบ ONLINE โดยจะเป็นรูปแบบ EXCEL ไฟล์

ถาม 10 : บริษัทยื่นตัดบัญชี กรณีเข้าข่ายที่จะต้องแนบเอกสาร บริษัทจะต้องยื่นเอกสารภายในกี่วัน นับตั้งแต่วันยื่น ข้อมูล
ตอบให้บริษัทดำเนินการนำเอกสารมายื่นให้กับสมาคม ภายใน 5 วันทำการนับจากวันยื่นข้อมูล

ถาม 11 : การส่งข้อมูลและเอกสารเพื่อขอตัดบัญชีวัตถุดิบกับสมาคมในระบบ RMTS R2 มีกี่ช่องทาง
ตอบระบบ RMTS R2 บริษัทสามารถส่งข้อมูลการตัดบัญชีได้ 2 ช่องทาง คือ ผ่านเคาน์เตอร์ให้บริการ หรือ ผ่านระบบ ONLINE ส าหรับบริษัทที่ไม่สะดวกใช้บริการทั้ง 2 ช่องทางดังกล่าว สามารถใช้บริการเคาน์เตอร์ เซอร์วิส (มีค่าบริการเพิ่มเติม)

ถาม 12 : เอกสารการส่งออกที่บริษัทสามารถนำมาตัดบัญชี มีการกำหนดอายุของเอกสารหรือไม่
ตอบอ้างถึงประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป. 8/2561 ลงวันที่ 3 กันยายน 2561 ซึ่งเป็นการยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป.3/2556 ไม่กำหนดอายุของเอกสารการ ส่งออก

ถาม 13 : กรณีบริษัทยื่นไฟล์ข้อมูลเพื่อตัดบัญชีและระบบแจ้งว่าเมื่อตัดบัญชีแล้วทำให้มี Balance ติดลบ บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบเบื้องต้นระบบจะไม่อนุญาตให้ตัดบัญชี ดังนั้นในการตัดบัญชีแนะนำให้บริษัททำการคำนวณปริมาณ ก่อนการตัดบัญชีทุกครั้ง ว่าจะต้องโอนสิทธิ์หรือไม่ หรือตัดบัญชีแล้วปริมาณคงเหลือเท่าไหร่ ซึ่งหากบริษัทมีการซื้อ วัตถุดิบภายในประเทศจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจะต้องทำการโอนสิทธิ์การตัดบัญชีด้วย ทั้งนี้การขออนุมัติ บัญชีวัตถุดิบและสูตรการผลิตกับสำนักงาน BOI ให้ขออนุมัติเฉพาะรายการที่เกี่ยวข้องกับ BOI เท่านั้น

ถาม 14 : การดาวน์ข้อมูลการส่งออกหรือดาวน์โหลดข้อมูล VENDOR นั้นช่วงวันที่ของการดาวน์โหลดเป็นการ กำหนดจากวันที่อะไร
ตอบต้องแก้ไขวันที่ในไฟล์ข้อมูลให้ถูกต้องก่อน ซึ่งวันที่จะต้องตรงกับเอกสารและทำการส่งไฟล์เข้าระบบใหม่อีกครั้ง

ถาม 15 : กรณีบริษัทพบว่ายื่นเอกสารตดบัญชีผ่านการรับเรื่องประมวลผลแล้วแต่ ในขั้นตอนกำรตรวจสอบเอกสารพบว่า บริษัทแนบใบขนสินค้าขาออก เป็น Status 02 หรือ Status 03 กรณีนี้บริษัทจะต้องดำเนินการแก้ไข อย่างไร
ตอบบริษัทแก้ไขโดยแนบใบขนสินค้าขาออกที่เป็น Status 04 หรือ 0409 แทน และนำกลับมายื่นให้กับพนักงานสมาคม โดยไม่จำเป็นต้องยกเลิก (กรณีเป็นเอกสารส่งออกก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2561)

ถาม 16 : ตัดบัญชีกรณีเอกสารส่งออกก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2561 การส่งไฟล์ข้อมูล BIRTEXP, BIRTEXL สามารถส่งไฟล์ทีละคำร้องได้หรือไม่
ตอบไม่ได้ บริษัทต้องใช้เลขที่ใบขนสินค้าขาออกฉบับจริงที่มี status 04 หรือ 0409 เท่านั้น

ถาม 17 : กรณีบริษัทส่งข้อมูลตัดบัญชีด้วยสื่อบันทึกข้อมูล (FLASH DRIVE) บริษัทจะสามารถตรวจสอบสถานะของข้อมูลจากระบบ ONLINE ได้หรือไม่อย่างไร
ตอบบริษัทสามารถตรวจสอบสถานะของข้อมูล โดยคลิ๊กเลือก เมนูตรวจสอบผลการพิจารณาตัดบัญชี DISKETTE/FLASH DRIVE

ถาม 18 : กรณีบริษัทส่งข้อมูลตัดบัญชีสำหรับใบขนขาออกที่ส่งออกก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2561 พบว่าระบบแจ้ง Error ไฟล์ EXl งวดที่ 000001 จำนวนใบขนที่ระบุมาไม่ถูกต้อง (1) หมายถึงอะไร
ตอบความหมายถึง Error ดังกล่าว ระบบพบว่าบริษัทคีย์ไฟล์ BIRTEXl ช่อง EXP_AMONT ระบุจำนวน ใบขนไม่ตรงกับไฟล์ BIRTEXP

ถาม 19 : กรณีบริษัทยื่นตัดบัญชีและมีการโอนสิทธิ์ REPORT-V ให้บริษัท VENDOR พบภายหลังว่าคีย์ชื่อบริษัท ผู้รับโอนไม่ถูกต้อง บริษัทในฐานะผู้โอนสิทธ์จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบผู้โอนจะต้องทำการแก้ไขเอกสารการโอนสิทธิ์ดังกล่าว ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอแก้ไขเอกสารการโอนสิทธิ์จาก website สมาคม www.ic.or.th

ถาม 20 : กรณีบริษัทยื่นตัดบัญชีในระบบ ONLINE ระบบแจ้งข้อผิดพลาด ไม่พบชื่อผลิตภัณฑ์และรหัสผลิตภัณฑ์ ในฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ หมายความว่าอะไรและบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบหมายถึงข้อมูลที่บริษัทคีย์ตัดบัญชี เกี่ยวกับชื่อผลิตภัณฑ์หรือรุ่นผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวยังไม่มีในระบบ ฐานข้อมูลของสมาคม ดังนั้นบริษัทจะต้องทำการบันทึกข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนการตัดบัญชี

ถาม 21 : สาเหตุที่บริษัทไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลการส่งออกได้เนื่องจาดสาเหตุใด และบริษัทควรดำเนินการเช่นไร
ตอบกรณีส่งออกทางตรง
- ไม่ระบุสิทธิ BOI ในช่องใบขนสินค้าขาออก กรณีส่งออกผ่าน Treding
- ไม่ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (Tax ID) ของผู้ขาย เป็นเลข 13 หลักแรก ในช่อง Remark ส่งกรมศุลกากร
- ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (Tax ID) ของผู้ขายในช่อง Remark ส่งกรมฯ ผิด และไม่ใช่ เลข 13 หลักแรก


ถาม 22 : ปัจจุบันระยะเวลาที่บริษัทจะสามารถดาวน์โหลดข้อมูลการส่งออกได้นั้น กำหนดระยะเวลากี่วัน
ตอบบริษัทตรวจสอบสถานะของใบขนสินค้าขาออกที่ระบบ e-Tracking ของกรมศุลกากร ว่าเป็นสถานะ 0409 วันที่ไหน นับจากวันที่ดังกล่าวประมาณ 30-45 วัน จะสามารถดาวน์โหลดใบขนสินค้าขาออกได้

ถาม 23 : กรณีหน่วยผลิตภัณฑ์ที่ดาวน์โหลดจากข้อมูลส่งออกไม่ตรงกับหน่วยผลิตภัณฑ์ในระบบฐานข้อมูลของ สมาคม เช่น ข้อมูลส่งออกหน่วย KGM แต่หน่วยในระบบฐานข้อมูลเป็นหน่วย TON กรณีนี้บริษัทจะต้อง คำนวณปริมาณก่อนคีย์ตัดบัญชี หรือระบบจะทำการคำนวนให้ เนื่องจากเป็น DIMENSION เดียวกัน
ตอบ1.คอลัมน์ QTY บริษัทจะต้องคำนวณปริมาณและแก้ไขปริมาณให้เป็นหน่วยเดียวกันกับที่ได้รับ อนุมัติจาก BOI
2.คอลัมน์ UOP ให้แก้ไขเป็นหน่วยที่ได้รับอนุมัติจาก BOI


ถาม 24 : การตัดบัญชีวัตถุดิบทั้งแบบ MANUAL หรือ PAPERLESS เลขที่ใบขนสินค้าขาออก 1 ฉบับบริษัท สามารถนำมาตัดบัญชีซ้ำได้หรือไม่ เนื่องจากมีบางรายการ Model ยังไม่ได้รับการอนุมัติจาก สกท
ตอบเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ 1 เลขที่ส่งออกบริษัทสามารถนำมาตัดบัญชีได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นในกรณีนี้ แนะทำให้บริษัททำการขออนุมัติสูตรการผลิตกับ สกท. และนำมาข้อมูลมาบันทึกในระบบฐานข้อมูลของสมาคมให้ เรียบร้อยก่อนการตัดบัญชี

ถาม 25 : หากบริษัทต้องการทราบว่าปริมาณที่บริษัทจะต้องทำการตัดบัญชีเหลือเท่าไหร่ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้หรือไม่อย่างไร
ตอบบริษัทสามารถตรวจสอบได้จาก MASTER LIST ( MML) โดยตรวจสอบปริมาณในช่อง ปริมาณ วัตถุดิบคงเหลือ (BALANCE)

ถาม 26 : บริษัทส่งคำร้องขอตัดบัญชีด้วยระบบ ONLINE ระบบแจ้งว่าเมื่อทำการตัดบัญชีแล้วจะทำให้มี ปริมาณวัตถุดิบคงเหลือติดลบ (BALANCE ติดลบ) หมายถึงอะไร
ตอบหมายถึง ปริมาณที่บริษัททำการตัดบัญชีเมื่อระบบคำนวนตามปริมาณการใช้วัตถุดิบแล้ว พบว่ามีปริมาณมากกว่า ปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ (BALANCE) โดยเงื่อนไขการตัดบัญชีสามารถตัดบัญชีได้เท่าปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ (BALANCE)

ถาม 27 : บริษัทได้รับสิทธิ์มาตรา 30 จะต้องทำการตัดบัญชีอย่างไร เนื่องจากบริษัทไม่มีใบขนสินค้าขาออก
ตอบมาตรา 30 เป็นการใช้สิทธิ์นำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตและขายภายในประเทศ ดังนั้นจึงไม่มีใบขนสินค้า ขาออกแต่อย่างใด โดยผู้ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวจะทำการตัดบัญชีรอบปีละ 1 ครั้ง โดยทำการสรุปบันทึกปริมาณการใช้ ในรอบปี เพื่อให้ สกท.พิจารณาและสั่งการให้ทำการตัดบัญชีกับสมาคมต่อไป

ถาม 28 : เนื่องจากบริษัทได้รับหนังสืออนุมัติส่วนสูญเสียในรูปผลิตภัณฑ์จาก สกท. เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2562 บริษัทจะทำการตัดบัญชีต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบบริษัทสามารถตัดบัญชีได้โดยเตรียมไฟล์ EXPORT และทำการส่งข้อมูล ผ่านระบบ ONLINE โดย เลือกเมนูเอกสารอื่นๆ และนำเอกสารมายื่นที่สมาคมเพื่อทำการตัดบัญชีต่อไป

ถาม 29 : การคีย์ข้อมูลการตัดบัญชีในไฟล์ EXPORT ช่อง REVISION หมายถึงอะไร และบริษัทจะต้องระบุอย่างไร
ตอบความหมายของคำว่า REVISION คือ VERSION ของสูตรการผลิต เมื่อใดก็ตามหากบริษัทมีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลในสูตรการผลิต สกท. อนุมัติและบริษัทนำข้อมมูลมาบันทึกในระบบฐานข้อมูลของสมาคม ระบบก็จะทำการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวเป็น REVISION เป็น 1 , 2, 3 ,… ดังนั้นเมื่อบริษัทจะทำการตัดบัญชีจะต้อง ระบุเพื่อแจ้งระบบว่าต้องการตัดบัญชีใน REVISION ใด

ถาม 30 : บริษัทเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภทกิจการจิวเวอร์รี่ หากต้องการยื่นตัดบัญชีจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบสำหรับกลุ่มกิจการจิวเวอร์รี่ ให้ทำการส่งข้อมูลตัดบัญชี ONLINE เลือกประเภท ใบขนและนำ เอกสารการส่งออกมายื่นที่สมาคมภายใน 5 วันทำการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


Total pageviews 4,415,092 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.