ถาม 1 : | บริษัทเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนรำยใหม่ และได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและสูตรการผลิตจาก สกท. แล้วต้องการใช้บริการของสมาคม จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง |
| ตอบ | 1. ผู้ใช้บริการรายใหม่สามารถสมัครเป็นผู้ใช้บริการผ่าน www.ic.or.th
2. เข้ารับการอบรมตามที่สมาคมกำหนด
3. ยื่นแบบฟอร์มเพื่อขอรหัสโครงการ โดยใช้แบบฟอร์ม “ขออนุมัติ Project Code” เพื่อให้ สามารถใช้บริการงานบริการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นได้ โดยยื่นผ่าน e-mail : cus_service@ic.or.th
4. สามารถดำเนินการได้แต่ละส่วนงานตามลำดับคือ งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
|
ถาม 2 : | การยื่นงานฐานข้อมูล บริษัทจะต้องจัดเตรียมไฟล์ข้อมูลอะไรบ้างเพื่อบันทึกข้อมูลวัตถุดิบ |
| ตอบ | มีทั้งหมด 3 ไฟล์ ประกอบด้วย
1.ไฟล์ BIRTMML หมำยถึง โครงสร้างไฟล์ข้อมูลที่ใช้บันทึกข้อมูลบัญชีรายการวัตถุดิบและปริมาณสต๊อกสูงสุด ซึ่งจะบันทึกเฉพำะชื่อวัตถุดิบชื่อหลักของแต่ละรายการเท่านั้น หรือวัตถุดิบ 1 รายการจะ มีชื่อวัตถุดิบซึ่งเป็นชื่อหลักเพียงชื่อเดียวเท่านั้น
2. ไฟล์ BIRTDESC หมายถึงโครงสร้างไฟล์ข้อมูลที่ใช้บันทึกข้อมูลบัญชีรายการวัตถุดิบที่เป็น ชื่อรองหรือชื่อที่ใช้ในการสั่งปล่อย ซึ่งจะอยู่ภายใต้รายการวัตถุดิบเดียวกันกับชื่อหลัก
3. ไฟล์ BIRTFRM หมายถึงโครงสร้างไฟล์ข้อมูลที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลสูตรการผลิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
|
ถาม 3 : | เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นฐานข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง |
| ตอบ | กรณียื่นเอกสารครั้งแรก
1. สำเนาบัตรส่งเสริมบัตรหลัก (ใช้ในกรณียื่นครั้งแรกสำหรับโครงการใหม่)
2. หนังสือข้อตกลงใช้งานระบบ RMTS R2
3. ใบลงทะเบียนขอใช้บริการสั่งปล่อยและตัดบัญชีวัตถุดิบ
4. จดหมายบริษัทเรื่อง ขอยื่นรายการวัตถุดิบและสูตรการผลิต แบบฟอร์มจดหมายขอยื่นงาน
5. สำเนาหนังสืออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและสูตรการผลิตจากสำนักงาน
6. สื่อบันทึกข้อมูลไฟล์ BIRTMML, BIRTDESC และ BIRTFRM
กรณียื่นปกติ
1. จดหมายบริษัทเรื่อง ขอยื่นรายกาวัตถุดิบและสูตรการผลิตแบบฟอร์มจดหมายขอยื่นงาน
2. สำเนาหนงสืออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและสูตรการผลิตจากสำนักงาน
3. สื่อบันทึกข้อมูลไฟล์ BIRTMML, BIRDESC และ BIRTFRM
|
ถาม 4 : | ระยะเวลาในการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลเข้าระบบของแผนกฐานข้อมูลใช้เวลาในการดำเนินการกี่วัน |
| ตอบ | สมาคมกำหนดเงื่อนไขกำรให้บริการงานฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน 2 วันทำการนับจำกวันที่ รับเรื่องจากบริษัท
|
ถาม 5 : | บริษัทสามารถตรวจสอบผลการยื่นเอกสารและข้อมูลกับแผนกบริการฐานข้อมูลตรวจได้ทางไหนได้บ้าง |
| ตอบ | บริษัทสามารถตรวจสอบผลการบันทึกข้อมูลได้ 2 ช่องทางคือ
1. เช็คได้ทาง Website สมาคมฯ ตรวจสอบได้ที่ www ic.or.th
2. โทรศัพท์สอบถามได้ที่ 02 – 9361429 ต่อ 700
|
ถาม 6 : | การบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์ม BIRTDESC บริษัทไม่ทราบพิกัดศุลกากร (Tariff) หรือบันทึกข้อมูลไม่ ถูกต้องตามความเป็นจริงสามารถเพิ่มเติมหรือแก้ไขมาภายหลังได้หรือไม่ และจะมีผลต่อการสั่งปล่อยวัตถุดิบ หรือไม่ |
| ตอบ | ในกรณีที่ยังไม่ทราบ หรือระบุพิกัดศุลกากร (Tariff) ผิด บริษัทสามารถบันทึกข้อมูลขอแก้ไขหรือ เพิ่มเติมได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติแก้ไขกับบีโอไอ กรณีไม่ได้บันทึกไว้ สามารถบันทึกในไฟล์ Birtdesc ในช่อง Type ใส่อักษร “A” แต่ถ้ากรณีบันทึกผิดบริษัทจะต้องทำการ Delete ก่อน และทำการบันทึกใหม่อีกครั้ง และข้อมูลดังกล่าวไม่มีผลต่อการสั่งปล่อยวัตถุดิบของชื่อนั้น ๆ เนื่องจากระบบไม่ได้ส่งไปให้กรมศุลกากร
|
ถาม 7 : | การตั้งชื่อ Model ในระบบ RMTS R2 ซ้ำกันได้หรือไม่ |
| ตอบ | การตั้งชื่อ Model ในระบบ RMTS R2 สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้แต่เมื่อรวมกับ Model Description แล้วจะต้องไม่ซ้ำกัน
|
ถาม 8 : | การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในสูตรการผลิตจะต้องดำเนินการอย่างไร และสูตรเดิมจะหายไป หรือไม่ |
| ตอบ | ในระบบ RMTS-R2 จะเก็บสูตรการผลิตเป็น Revision หมายความว่าสูตรการผลิตที่มีการใช้ งานอยู่แล้ว เมื่อมีการแก้ไข เช่นปริมาณ หรือเพิ่ม / ลด รายการวัตถุดิบ ซึ่งอยู่ภายใต้ชื่อสูตรเดิม ระบบจะ สร้างสูตรนั้นขึ้นมาใหม่เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันมีวันที่เริ่มต้นใช้งาน (Start Date) เท่ากับวันที่ยื่นคำขอสูตรการ ผลิตกับสำนักงานฯ ส่วนสูตรเดิมยังคงเก็บไว้ให้บริษัทสามารถนำใบขนที่มีวันที่ส่งออกอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับ สูตรการตัดบัญชีได้ มีขั้นตอนดังนี้
1.ขออนุมัติแก้ไขสูตรการผลิตกับสำนักงาน
2. คีย์ข้อมูลสูตรการผลิตที่ต้องการแก้ไขในแบบฟอร์ม BIRTFRM โดยคีย์เฉพาะสูตรการผลิตที่ต้องการแก้ไขเท่านั้น แล้วนำมาส่งสมาคมเพื่อดำเนินงานตามขั้นตอนต่อไป
|
ถาม 9 : | ขั้นตอนการขอแก้ไขปริมาณสต๊อกสูงสุด ต้องทำอย่างไร |
| ตอบ | 1. บริษัทยื่นเรื่องขอแก้ไขที่สำนักงานบีโอไอ ตามสำนักบริหารการลงทุนที่ท่านสังกัด
2. เมื่อได้รับการอนุมัติจากบีโอไอ แล้วคีย์ข้อมูลในฟอร์ม BIRTMML เพื่อแก้ไขปริมาณโดยคีย์ เฉพาะรายการที่ต้องการแก้ไขเท่านั้น การคีย์ข้อมูลให้คีย์ทุกช่องยกเว้นช่อง Start_Qty ไม่ต้องระบุข้อมูลใด ๆ ส่วนช่อง TYPE ให้ระบุอักษร “C”
|
ถาม 10 : | การแก้ไขหน่วยวัตถุดิบสามารถแก้ไขได้หรือไม่และต้องทำอย่างไร |
| ตอบ | การขอแก้ไขหน่วยวัตถุดิบจะต้องได้รับอนุมัติมาจากสำนักงานฯ โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1
วัตถุดิบรายการนั้น ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือไม่มีการสั่งปล่อยและตัดบัญชีมาก่อน ให้แก้ไขได้โดยคีย์ข้อมูลรายการนั้นมาให้ครบทุกช่อง และใส่หน่วยใหม่ที่ต้องการแก้ไขส่วนช่อง TYPE ให้ใส่อักษร “C”
กรณีที่ 2
วัตถุดิบรายการนั้น มีการเคลื่อนไหวหรือมีการสั่งปล่อยและตัดบัญชีวัตถุดิบไปแล้วให้
ดำเนินการดังนี้
2.1 ขออนุมัติขอกรุ๊ปที่ขึ้นต้นด้วย U หรือเป็นกรุ๊ปวัตถุดิบใหม่กับสำนักงานฯ ที่สำนักบริหารการลงทุนที่ท่านสังกัด (หากต้องการยกปริมาณ บริษัทจะต้องหมายเหตุตอนยื่นขออนุมัติกับ Boi ว่าต้องการโอนยอด ปริมาณจากกรุ๊ปใดมากรุ๊ปใด)
2.2 คีย์รายการวัตถุดิบตัวเดิม เช่น 000002 ช่อง MAX_STOCK ให้เป็นศูนย์ และ ใส่ TYPE “C” ในแบบฟอร์ม BIRTMML
2.3 คีย์รายการวัตถุดิบขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งรายการโดยช่องกรุ๊ป (Group_no) ขึ้นต้นด้วยอักษร "U" นำหน้าแล้วตามด้วยเลข เช่น U00002 หรือเป็นกรุ๊ปใหม่ตามที่ได้รับอนุมัติ ใส่ MAX_STOCK เป็นปริมาณ ตามหนังสืออนุมัติที่ได้รับการแก้ไขหน่วยใหม่
2.4 ให้นำยอดคงเหลือ (BALANCE) ของรายการ 000002 เดิม ยกมาเป็นค่าเริ่มต้น (START_QTY) ของรายการ U00002 หรือเป็นกรุ๊ปใหม่ตามที่ได้รับอนุมัติ โดยปริมาณที่ยกมาต้องมีการแปลงปริมาณตามหน่วยใหม่
2.5 แก้ไขข้อมูลในสูตรการผลิต โดยใช้แบบฟอร์ม BIRTFRM ซึ่งจะเป็นการแก้ไขเฉพาะสูตรการ ผลิตที่มีรายการวัตถุดิบที่แก้ไขหน่วยเท่านั้น โดยการคีย์รายการวัตถุดิบเดิม (000002) ช่อง Type = “D” และคีย์รายการวัตถุดิบใหม่ (U00002หรือเป็นกรุ๊ปใหม่ตามที่ได้รับอนุมัติ) ช่อง Type= “I”
|
ถาม 11 : | บริษัทต้องการแก้ไขเปลี่ยนสถานะวัตถุดิบ (ESS_MAT) จากวัสดุจำเป็น เป็นวัตถุดิบ หรือจากวัตถุดิบเป็น วัสดุจำเป็น มีวิธีปฏิบัติอย่างไร |
| ตอบ | 1. ขออนุมัติแก้ไขกับสำนักงาน ที่สำนักบริหารการลงทุนที่ท่านสังกัด
2. คีย์ข้อมูลในแบบฟอร์ม BIRTMML และแนบหนังสืออนุมัติมาขอแก้ไขที่สมาคม โดยคีย์ ข้อมูลให้ครบทุกช่อง แก้ไขช่อง Ess_Mat ตามที่ต้องการ N = วัตถุดิบ, Y= วัสดุจำเป็น ส่วนช่อง Type ให้ใส่อักษร “C”
|
ถาม 12 : | บริษัทต้องการยกเลิก บางรายการในสูตรการผลิตจะต้องดำเนินการอย่างไร |
| ตอบ | 1. ขออนุมัติแก้ไขกับ สกท.
2. คีย์ข้อมูลไฟล์ BIRTFRM เฉพาะรายการที่ต้องการยกเลิก โดยระบุ TYPE ให้ใส่อักษร “D”
|
ถาม 13 : | ชื่อรหัสผลิตภัณฑ์ (ชื่อรุ่น) ของบริษัทมีความยาวเกิน 35 ตัวอักษร จะป้อนข้อมูลในระบบได้อย่างไร |
| ตอบ | ระบบ RMTS R2 รับข้อมูลรุ่นผลิตภัณฑ์ได้ไม่เกิน 35 ตัวอักษร กรณีที่ข้อมูลของบริษัทยาวเกิน ให้บริษัทแนบแบบฟอร์มขอแก้ไขข้อมูลรุ่นของผลิตภัณฑ์ (Model) ที่มีชื่อรุ่นเกิน 35 ตัวอักษร และกำหนดชื่อย่อใหม่ตามที่บริษัทต้องการในแบบฟอร์มที่สมาคมกำหนด ซึ่งสำมำรถดำวน์โหลได้ที่ www.ic.or.th แล้วนำส่งที่สมาคม เพื่อสมาคมดำเนินงานนำส่งให้สำนักงานพิจารณาอนุมัติและบันทึกในระบบต่อไป
|
ถาม 14 : | การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ในสูตรการผลิตจะต้องดำเนินการอย่างไร |
| ตอบ | 1. ขออนุมัติแก้ไขสูตรการผลิตกับ สกท.
2. คีย์ข้อมูลสูตรการผลิตที่ต้องการแก้ไขในแบบฟอร์ม BIRTFRM โดยคีย์เฉพาะสูตรการผลิตและ รายการวัตถุดิบที่ต้องการขอแก้ไขปริมาณเท่านั้น ส่วนช่อง TYPE ให้ใส่อักษร “C” แล้วนำมาส่งที่สมาคม
|
ถาม 15 : | เอกสารประกอบการขอปรับยอดวัตถุดิบที่เกิดจากส่วนสูญเสียจะต้องประกอบด้วยเอกสารอะไรบ้าง |
| ตอบ | 1. หนังสือบริษัท เรื่องขออนุมัติปรับยอดวัตถุดิบที่เกิดจากการสูญเสียจากการผลิต
2. หนังสืออนุมัติให้ตัดบัญชีวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่สูญเสียจากการผลิตพร้อมตารางสรุปการ ตัดยอดของวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น
3. แผ่นบันทึกข้อมูล ชื่อไฟล์ BIRTADJ โดยในช่อง DESC ให้ระบุสาเหตุของการปรับยอดให้ ชัดเจน เช่น (ADJ SCARP 1306/00123456) ลงวันที่ 10 มกราคม 2562
|
ถาม 16 : | กรณีบริษัทนำวัตถุดิบเข้ามาในประเทศแล้วปรากฏว่า วัตถุดิบตัวนั้นไม่สามารถนำมาผลิตได้ บริษัทจะ ต้องการดำเนินการอย่างไร |
| ตอบ | วัตถุดิบที่นำเข้ามาแล้วใช้งานไม่ได้ อาจมีสำเหตุมาจาก วัตถุดิบผิด Spec หรือเสียหายจากการขนส่ง เป็นต้น บริษัทจะต้องขอส่งคืนวัตถุดิบนั้นออกไปต่างประเทศ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้
1.ยื่นเรื่องขออนุมัติส่งวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นออกไปต่างประเทศกับทางสำนักงานฯ
2. เมื่อได้รับอนุมัติให้ส่งคืนจากสำนักงานแล้วให้ทำการส่งออกวัตถุดิบดังกล่าวที่กรมศุลกากร แล้วนำเอกสารต่าง ๆ มาขอปรับยอดส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศกับสมาคม โดยมีเอกสารดังนี้
2.1 แบบฟอร์มจดหมายขอยื่นงานฐานข้อมูล
2.2 หนังสืออนุญาตให้ส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศของสำนักงาน (ฉบับจริง)
2.3 สำเนาใบขนสินค้าขาออก (ระบุรายการเป็นวัตถุดิบ) พร้อมลงนามและประทับตราจากผู้มีอำนาจ
2.4 INVOICE และ PACKING LIST
2.5 แผ่นบันทึกข้อมูลไฟล์ BIRTADJ
|
ถาม 17 : | กรณีนำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศโดยการมาทำการสั่งปล่อยวัตถุดิบกับสมาคมฯ และบริษัทสามารถ ขายวัตถุดิบให้กับบริษัทในภายในประเทศได้หรือไม่ (กรณีขายต่ำกว่าราคาทุน) |
| ตอบ | บริษัทสามารถขายภายในประเทศได้ แต่ต้องนำวัตถุดิบตัวนั้นไปทำเรื่องขอชำระภาษีอากรที่ สกท. และ สกท.จะออกหนังสือให้ชำระภาษีอากรให้บริษัทนำไปยื่นเรื่องที่กรมศุลกากร และจะได้ใบเสร็จมาปรับยอดประเภทชำระภาษีอากรกับสมาคม โดยการเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
1. หนังสือขออนุมัติให้เรียกเก็บภาษีอากร
2. หนังสืออนุมัติให้ชำระภาษีอากร
3. แบบฟอร์มจดหมายขอยื่นงานฐานข้อมูล
4. ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง พร้อมสำเนา
5. ไฟล์ข้อมูล BIRTADJ
|
ถาม 18 : | ตัวเลขในช่องปริมาณนำเข้าคงเหลือ คำนวณได้อย่างไร |
| ตอบ | วิธีการคำนวณหาตัวเลขในช่องปริมาณนำเข้าคงเหลือ คำนวณได้จาก Max_Stock - Balance = Approved_Qty (ปริมาณที่สามารถนำเข้าได้)
|
ถาม 19 : | กรณีบริษัทต้องการโอนย้ายฐานข้อมูลจากกรุงเทพ เพื่อไปใช้บริการที่ชลบุรี จะต้องดำเนินการอย่างไร |
| ตอบ | 1. บริษัทแจ้งต่อ สกท. เพื่อขอย้ายฐานข้อมูล
2. สกท.สั่งการสมาคม เพื่อดำเนินการโอนย้ายฐานข้อมูล
3. สมาคมประสานงานบริษัท ให้ตรวจสอบว่ามีงานค้างที่ กทม.หรือไม่เพื่อไม่ให้มีเอกสาร ตกค้าง ก่อนทำการโอนย้ายระบบงานฐานข้อมูลไปยังชลบุรี
|
ถาม 20 : | กรณีหน่วยวัตถุดิบของบริษัทไม่ตรงกับหน่วยวัตถุดิบในระบบ RMTS R2 บริษัทจะต้องดำเนินการเช่นไร |
| ตอบ | บริษัทแจ้งต่อ สกท. เพื่อพิจารณาว่าหน่วยดังกล่าวใกล้เคียงกับหน่วยใด สามารถใช้ร่วมกันได้ หรือไม่ หรือหาก สกท. พิจารณาแล้วเห็นควรให้เพิ่มหน่วยวัตถุดิบในระบบ RMTS R2 จะสั่งการเพื่อให้ สมาคมดำเนินการต่อไป
|
ถาม 21 : | รหัสโครงการที่บริษัทจะนำมาใช้ในระบบ RMTS R2 ใครเป็นผู้กำหนดให้กับบริษัท |
| ตอบ | รหัสโครงการดังกล่าว บริษัทจะได้จาก สกท. เป็นตัวเลข 6 หลัก ส่วนหลักที่ 7 และ 8 บริษัทเป็นผู้กำหนด โดยหลักที่ 7 หมายถึง มาตราที่บริษัทต้องการใช้สิทธิ์ตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม โดยระบุเป็น
มาตรา 36 (1) = 1
มาตรา 36 (2) = 2
มาตรา 30 = 3
หลักที่ 8 หมายถึง ประเภทบัญชี ดังนี้
ประเภท หมุนเวียน = 1
ประเภท ไม่หมุนเวียน = 2
ประเภท หมุนเวียนและไม่หมุนเวียน = 3
|
ถาม 22 : | กรณีบริษัททำการขยายระยะเวลานำเข้า แต่สิทธิ์ขาดเกิน 6 เดือนนับตั้งแต่วันสิ้นสุดสิทธิและประโยชน์
มาตรา 36(1) บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร |
| ตอบ | เงื่อนไขกรณีสิทธิ์ขาดเกิน 6 เดือน บริษัทจะต้องดำเนินการในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. ติดต่อสำนักงานเพื่อขอรับสิทธิ์การส่งเสริมเพิ่มเติม
2. ขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและสูตรการผลิตกับ สกท. ใหม่
3. ขอกำหนดรหัสโครงกำสรเพื่อใช้ในระบบ RMTS R2 ใหม่ โดยหลักที่ 8 จะถูกเปลี่ยนจาก ตัวเลข เป็นอักษร “A” เช่น 1234561A โดยมาดำเนินการที่สมาคม
4. ขอกำหนดระยะเวลาใหม่เพื่อใช้สำหรับโครงการ 1234561A จากนั้นบริษัทสามารถทำธุรกรรมต่างๆภายใต้รหัสโครงการดังกล่าวได้ ซึ่งได้แก่ ฐานข้อมูล สั่งปล่อย ตัดบัญชี
5. สำหรับรหัสโครงการเดิม หากพบว่ามีปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ (Balance) ให้บริษัททำการเคลียร์ตัวเลข เช่น การตัดบัญชีวัตถุดิบ หรือปรับยอดวัตถุดิบ (ตามที่ สกท. อนุมัติ) ยกเว้นการสั่งปล่อยวัตถุดิบ
6. กรณีโครงการเดิมบริษัทพบว่าไม่มีใบขนขาออก ที่จะนำมาตัดบัญชี หรือไม่มีเอกสารที่จะนำมาปรับยอดแล้ว แต่มีปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ บริษัทจะต้องแจ้งต่อ สกท. เพื่อขอชำระภาษีอากรต่อไป
|
ถาม 23 : | กรณีบริษัทต้องการยื่นสูตรการผลิตที่ได้รับอนุมัติจาก สกท. เอกสารที่ใช้จะต้องเป็นหนังสืออนุมัติฉบับจริง หรือไม่ |
| ตอบ | กรณีบริษัทประสงค์จะยื่นบัญชีรายการวัตถุดิบ ชื่อหลัก ชื่อรอง หรือสูตรการผลิต เอกสารที่ใช้ ประกอบเป็นสำเนาหนังสืออนุมัติ ยกเว้นงานปรับยอดกรณีต่างๆจะต้องเป็นหนังสืออนุมัติฉบับจริงเท่านั้น
|
ถาม 24 : | กรณีบริษัทได้รับบัตรส่งเสริมฉบับใหม่ ซึ่งเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการใช้พลังงาน ทดแทน นัน บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง |
| ตอบ | 1. บริษัทติดต่อขอรับบัตรส่งเสริมฉบับใหม่ กับ สกท.
2. สกท. สั่งการสมาคมทำการตั้งบัญชีใหม่ให้กับบริษัท ภายใต้รหัสโครงการ และเลขที่บัตรส่งเสริมฉบับใหม่
3. สมาคม ทำการตั้งบัญชีวัตถุดิบชื่อหลัก ชื่อรอง ให้กับบริษัทและทำการโอนข้อมูลจากรหัส โครงการเดิมไปยังรหัสโครงใหม่ โดยรหัสโครงการเดิมจะถูกระงับสิทธิ์
4. บริษัททำหนังสือขอโอนสูตรการผลิตจากรหัสโครงการเดิม ไปยังรหัสโครงการใหม่ตามแบบฟอร์มที่สมาคมกำหนด
5. การกำหนดระยะเวลา ให้ใช้วันที่เริ่มต้นระยะเวลาตามบัตรเดิม และสิ้นสุดสิทธิ์ตามคำสั่งการในบัตรใหม่
|
ถาม 25 : | กรณีบริษัทมีชื่อวัตถุดิบที่เป็นชื่อหลักซ้ำกัน แต่หน่วยวัตถุดิบต่างกันจะต้องดำเนินการอย่างสามารถใช้ สิทธิ์ได้หรือไม่ |
| ตอบ | กรณีดังกล่าวบริษัทจะต้องยื่นขออนุมัติบัญชีวัตถุดิบกับ สกท. โดยจะต้องขออนุมัติภายใต้ วัตถุดิบชื่อเดียวกันแต่แบ่งเป็น 2 กรุ๊ป โดยมีหน่วยวัตถุดิบที่ต่างกัน
|
ถาม 26 : | บริษัทประสงค์จะทำการส่งคืนวัตถุดิบออกไปต่างประเทศจะต้องดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับเอกสาร |
| ตอบ | 1. แจ้งต่อ สกท. เพื่อขออนุมัติส่งคืนวัตถุดิบออกไปต่างประเทศ
2. ทำการส่งออกตำมขั้นตอนพิธีการศุลกากร โดยใบขนสินค้าขำออก จะต้องระบุ เลขที่หนังสือ อนุมัติให้ส่งคืน และแต่ละรายการจะต้องระบุใช้สิทธิ์ BOI
3. นำเอกสารมาดำเนินการปรับยอดกับสมาคม
|
ถาม 27 : | เนื่องจากบริษัทเปลี่ยนพนักงานปฏิบัติงาน จึงต้องการทราบความเคลื่อนไหวของโครงการที่บริษัทได้มา ดำเนินการกับสมาคม จะต้องดำเนินการอย่างไรได้บ้าง |
| ตอบ | บริษัทสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอรับบริการข้อมูลวัตถุดิบส่วนงานเคาน์เตอร์เซอร์วิส เพื่อขอข้อมูลความเคลื่อนไหวในเรื่องต่างๆตามที่บริษัทต้องการ เช่น ข้อมูลการสั่งปล่อย การตัดบัญชี การ ปรับยอด หรือข้อมูลรวมทั้งหมด
|
ถาม 28 : | กรณีบริษัทได้รับหนังสือแจ้งจาก BOI เรื่องการเพิกถอนบัตรส่งเสริมและแจ้งว่ามีภาระภาษีนั้น บริษัทจะต้องทำอย่างไร |
| ตอบ | กรณีนี้บริษัทจะต้องดำเนินการขอชำระภาษีกับกรมศุลกากร และนำเอกสารหลักฐานมาทำการ ปรับยอดชำระภาษีกับสมาคม
|
ถาม 29 : | กรณีบริษัทขอเพิ่มรายการวัตถุดิบในสูตรการผลิต ซึ่งได้รับอนุมัติจาก BOI แล้ว จะต้องคีย์ข้อมูลเพื่อยื่นกับสมาคมอย่างไร |
| ตอบ | บริษัทคีย์ไฟล์ BIRTFRM โดยคีย์เฉพาะรายการที่ต้องการเพิ่ม เช่น Model : 123A ประกอบด้วยวัตถุดิบรายการที่ 1 ,2 และ 3 ดังนั้นหากบริษัทได้รับอนุมัติภายใต้ Model : 123A โดยเพิ่ม รายการที่ 4 ให้บริษัทคีย์ข้อมูลเฉพาะรายการที่ 4 ระบุ TYPE “I”นั่นหมายความว่า Model : 123A REVISION 2 ประกอบด้วยวัตถุดิบรายการที่ 1 ,2 ,3 และ 4
|
ถาม 30 : | กรณีบริษัทขอรับการส่งเสริมผ่านระบบ e-Investment ของ BOI และบริษัทจะใช้บริการของสมาคม พบว่า รหัสโครงการที่ได้รับจาก สกท. มีอักษร E นำหน้าเลขรหัสโครงการ เช่น E123456 กรณีบริษัทจะต้อง กำหนดรหัสโครงการเพื่อใช้งานระบบ RMTS R2 อย่างไร |
| ตอบ | รหัสโครงการที่ได้รับจาก สกท. สำหรับบริษัทที่ยื่นขอรับการส่งเสริมแบบ MANUAL จะได้รับ ตัวเลข 6 หลัก ส่วนหลักที่ 7 (มาตรา) และหลักทื่ 8 (ประเภทบัญชี) บริษัทจะเป็นผู้กำหนดเอง แต่สำหรับบริษัทที่ขอรับการส่งเสริมผ่านระบบ e-Investment จะได้รับรหัสโครงการทั้งหมด 7 หลัก ดังนั้น เมื่อจะนำมาใช้งานในระบบ RMTS 2 ให้ย้ายอักษร ‘E’ ไปไว้ในหลักที่ 8 แทนประเภทบัญชี เช่น 1234561E
|