ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 ภาษีเงินได้นิติบุคคล : สิทธิประโยชน์มาตรา 31

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

มาตรา 31

      ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ทั้งนี้ ให้พิจารณากำหนดเป็นสัดส่วนของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ซึ่งต้องมีกำหนดเวลาไม่เกินแปดปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น

      ในกรณีที่กิจการใดเป็นกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดให้ผู้ได้รับการส่งเสริมในกิจการดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินแปดปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น

      รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ให้รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร

      ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี คณะกรรมการอาจอนุญาตให้ผู้ได้รับการส่งเสริมนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้

      การคำนวณเงินลงทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด


ข้อควรรู้เกี่ยวกับมาตรา 31

  • ในช่วงเวลาที่ผู้ได้รับส่งเสริมได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 31 จะไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้ แต่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ควรติดต่อกับสรรพากรท้องที่เพื่อหารือวิธีปฏิบัติ เช่น อาจให้ผู้ให้บริการว่ามีหนังสือยืนยันว่า การให้บริการนั้นเป็นตามโครงการที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามสิทธิประโยชน์ของ BOI ซึ่งไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นต้น
  • จะต้องจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายสำหรับโครงการที่ได้รับส่งเสริมแยกจากกิจการส่วนอื่นไม่ว่าจะได้รับส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิที่จะได้รับยกเว้นภาษี     กรณี่ที่ไม่สามารถแยกรายได้หรือรายจ่ายได้อย่างชัดเจน ให้ใช้แนวทางดังนี้
    1. รายได้จากผลิตภัณฑ์เดียวกัน
      • แบ่งตามความสามารถของเครื่องจักรตามที่ติดตั้งจริง เป็นต้น
    2. รายจ่ายที่แยกไม่ได้และไม่มีเกณฑ์เฉลี่ย เช่น เงินเดือนผู้บริการ
      • เฉลี่ยตามสัดส่วนรายได้ของแต่ละกิจการ เป็นต้น
  • รายได้ครั้งแรกที่จะเริ่มใช้สิทธิ ต้องไม่เป็นรายได้ก่อนวันได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม และจะเริ่มใช้สิทธิได้หลังจากที่ได้รับบัตรส่งเสริม
  • การเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่เกี่ยวข้องกับวันเปิดดำเนินการ
  • รายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และส่วนสูญเสีย ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นไปตามชนิดและปริมาณที่ระบุในบัตรส่งเสริม โดยไม่ได้แปรรูปเป็นอย่างอื่น

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


 ภาษีเงินได้นิติบุคคล : สิทธิประโยชน์มาตรา 34

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

มาตรา 34

      เงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับส่งเสริมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น


ข้อควรรู้เกี่ยวกับมาตรา 34

  • จะได้รับสิทธิเฉพาะเงินปันผลส่วนที่จ่ายจากโครงการที่ได้รับส่งเสริม
  • ต้องเป็นเงินปันผลที่จ่ายและได้รับ ในช่วงเวลาที่ได้รับสิทธิตามมาตรา 31
  • ไม่ต้องหัก ภาษี ณ ที่่จ่าย สำหรับเงินปันผลนั้น
  • กรณีที่มีกำไรสุทธิจากกิจการที่ได้รับส่งเสริมและไม่ได้รับส่งเสริม จะเลือกจ่ายเงินปันผลจากกิจการใดจำนวนเท่าใดก็ได้ โดยการระบุไว้ในบันทึกการประชุม แต่หากไม่ระบุ ให้เฉลี่ยเงินปันผลตามสัดส่วนกำไรสุทธิของแต่ละโครงการ
  • สามารถจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น และไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


 ภาษีเงินได้นิติบุคคล : สิทธิประโยชน์มาตรา 35

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

มาตรา 35

      เพื่อส่งเสริมการลงทุนในท้องที่หรือเขตพื้นที่ใด คณะกรรมการจะกำหนดท้องที่หรือเขตพื้นที่นั้นเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนก็ได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

      นอกจากสิทธิและประโยชน์ตามมาตราอื่น คณะกรรมการมีอำนาจให้ผู้ได้รับการส่งเสริมที่ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมในท้องที่หรือเขตพื้นที่ที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ได้รับสิทธิและประโยชน์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้

      (1) การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละห้าสิบของอัตราปกติมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปี โดยนับจากวันที่กำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี สิ้นสุดลง หรือนับจากวันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

      (2) การอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาสองเท่าของจำนวนเงินที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้เสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามเงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด

      (3) การอนุญาตให้หักเงินที่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณากำหนดจากกำไรรวมทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินที่ลงทุนแล้วในการนั้น โดยผู้ได้รับการส่งเสริมจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีรายได้จากการลงทุน ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ


ข้อควรรู้เกี่ยวกับมาตรา 35

  • มาตรา 35 (1)
    1. การนับวันที่เริ่มใช้สิทธิมาตรา 35 (1)
          จะเริ่มนับต่อจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 31 หรือนับต่อจากวันที่ใช้สิทธิครบตามวงเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้มาตรา 31 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะวันใดจะถึงก่อนกัน
    2. การใช้สิทธิตามมาตรา 35 (1) ไม่มีกรอบวงเงินสูงสุดในการลดหย่อนภาษีเงินได้

  • มาตรา 35 (2)
    1. การหักค่าขนส่งเป็น 2 เท่า
      • ให้หักเฉพาะค่าขนส่งในประเทศเท่านั้น ได้แก่ ค่าขนส่งสินค้า เครื่องจักร และวัตถุดิบ แต่ไม่รวมถึงค่าขนส่งพนักงาน
      • การหักค่าขนส่งในประเทศในประเทศ ให้หักเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงเท่านั้น เช่น
        • ค่าน้ำมันยานพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้า
        • เงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถขนส่ง
        • ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษายานพาหนะขนส่งสินค้า
        • ค่าเสื่อมราคาของยานพาหนะขนส่งสินค้า
        • ค่าเบี้ยประกันของยานพาหนะขนส่งสินค้า เป็นต้น
    2. การหักค่าไฟฟ้าเป็น 2 เท่า
      • กรณีที่ซื้อ
        หักตามต้นทุนจริง โดยไม่รวมค่าบำรุงมิเตอร์
      • กรณีผลิตใช้เอง
        ให้จัดทำบัญชีแยกค่าไฟฟ้าจากบัญชีอื่นๆ
    3. การหักค่าประปาเป็น 2 เท่า
      • กรณีที่ซื้อ
        หักตามต้นทุนจริง โดยไม่รวมค่าบำรุงมิเตอร์
      • กรณีผลิตใช้เอง
        หากมีการซื้อน้ำมันดิบ ให้หักค่าใช้จ่ายตามต้นทุนการซื้อน้ำมันดิบ และต้นทุนการทำน้ำดิบให้เป็นน้ำประปา

  • มาตรา 35 (3)
    • การติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่
      • ค่าติดตั้งหรือก่อสร้างระบบคมนาคม เช่น ถนน ท่าเทียบเรือ ทางรถไฟ และการวางท่อสำหรับการขนส่ง เป็นต้น
      • ค่าติดตั้งหรือก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการที่ได้รับส่งเสริม เช่น ระบบไฟฟ้า (การปักเสา พาดสาย) หรือระบบน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม เป็นต้น

    หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 80,239
Total pageviews 4,415,103 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.