หน้าแรก
|
เว็บบอร์ด
|
อ่านกระทู้ถามตอบ
การขอรับส่งเสริมกิจการซอฟต์แวร์
กิจการประเภท 5.8 กิจการซอฟต์แวร์ ที่ให้การส่งเสริมการลงทุนครอบคลุมขอบข่ายดังนี้
| 5.8.1 | Enterprise Software |
| 5.8.2 | Digital Content |
| |
- Animation, Cartoon & Characters
- Computer Generated Imagery (CGI)
- Web-Based Application และ Cloud Computing
- Interactive Application
- Game: Windows-based, Mobile Platform, Console, PDA, Online Game, Massive Multi-Player Online Game (MMOG) เป็นต้น
- Wireless Location Based Service Content
- Visual Effects
- Multimedia Video Conferencing Applications
- E-Learning Content via Broadband and Multimedia
|
| 5.8.3 | Embedded Software |
การให้การส่งเสริมกิจการซอฟต์แวร์ กำหนดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ไว้ดังนี้
เงื่อนไข
- จะต้องมีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
- โครงการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวม ค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองมาตรฐานจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน Capability Maturity Model Integration (CMMI) หรือเทียบเท่า ภายใน 2 ปีนับแต่วันเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
- รายได้จากการจำหน่ายหรือการให้บริการอันเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ที่ได้รับการส่งเสริมโดยตรง ถือเป็นรายได้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
สิทธิและประโยชน์
- สิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ คือ
- ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ทุกเขตที่ตั้ง โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุดในการยกเว้นภาษี
- การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรให้ได้รับตามสิทธิและประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า คือ
- ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ทุกเขตที่ตั้ง ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม รวมถึงการนำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิม ไม่ว่าเปิดดำเนินการแล้วหรือไม่ก็ตาม
- สิทธิประโยชน์อื่นๆ ให้ได้รับตามหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการ ที่ 1/2543
ข้อควรรู้ในการขอรับส่งเสริมกิจการซอฟต์แวร์
ข้อควรรู้ตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
- กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ มีดังนี้
-
1) | การพัฒนารูปแบบ (Modeling) ได้แก่ กิจกรรมที่จำลองรูปแบบธุรกิจ หรือระบบงานอื่นๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเป็นระบบซอฟต์แวร์ หรืองานทางด้าน Digital Content รวมทั้งการทำ Domain Object Modeling การทำวิเคราะห์ระบบงานเพื่อนำไปสู่การรื้อปรับกระบวนวิธีการทำงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ทำ งานกับคอมพิวเตอร์ |
2) | การศึกษาความต้องการ (Requirement Analysis) ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และทำความเข้าใจความต้องการ (Requirement) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่พาไปสู่การสร้างความเข้าใจคุณลักษณะและความสามารถ บทบาท และหน้าที่ของระบบงานที่จะนำไปพัฒนาเป็นระบบซอฟต์แวร์ และสร้างสรรค์งาน Digital Content รวมทั้งการวิเคราะห์ และสมมุติขั้นตอนของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการทำงานของระบบ และเสนอแนะวิธีแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ |
3) | การออกแบบ (Design) ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกแบบระบบซอฟต์แวร์ การออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ที่จำเป็นในการสร้างสรรค์งาน Digital Content รวมทั้งการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ การออกแบบโปรแกรมซอฟต์แวร์ การออกแบบฐานข้อมูล การออกแบบระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลและอื่นๆ ที่จะพาไปสู่การสร้างระบบซอฟต์แวร์และสร้างสรรค์งาน Digital Content |
4) | การพัฒนาและการสร้างสรรค์โปรแกรมซอฟต์แวร์ และงาน Digital Content (Implementation) ได้แก่ กิจกรรมเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์ ที่พาไปสู่การสร้างระบบซอฟต์แวร์ และกิจกรรมสร้างสรรค์งาน Digital Content ที่มีการผสมผสานความสามารถทางศิลปะและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ |
5) | การทดสอบโปรแกรมและระบบซอฟต์แวร์ (Program and System Testing) ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสถานการณ์ เพื่อการทดสอบโปรแกรมซอฟต์แวร์ และระบบซอฟต์แวร์ และงาน Digital Content |
6) | การประยุกต์ใช้ระบบซอฟต์แวร์และการเผยแพร่งาน Digital Content (Deployment) ได้แก่ กิจกรรมที่กำหนดแนวทาง และวิธีการ รวมทั้งการพัฒนาคำสั่งบรรยายสถานการณ์ และสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการใช้ระบบซอฟต์แวร์ เพื่อให้สามารถนำระบบของซอฟต์แวร์หรืองาน Digital Content มาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบงานและเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ ทั้งขององค์กรเอง และของพันธมิตรคู่ค้าตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ |
7) | การจัดการเปลี่ยนแปลงระบบซอฟต์แวร์หรืองาน Digital Content (Configuration & Change Management) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโปรแกรม และ/หรือระบบงานอย่างเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบได้ และติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ทุกสถานการณ์ |
8) | การฝึกอบรมในลักษณะทักษะอาชีพการออกแบบและพัฒนาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ หรืองาน Digital Content (Related Professional Training for Software and Digital Content Design and Development) เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อก่อให้เกิดความชำนาญเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์สาขา Enterprise Software, Embedded Software และการสร้างสรรค์งานด้าน Digital Content ให้แก่ผู้เข้าฝึกอบรม แต่ไม่รวมถึงการฝึกอบรมเพื่อการใช้งาน เช่น Microsoft Office เป็นต้น |
ข้อควรรู้อื่นๆ
- จะต้องมีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยจะต้องเป็นการลงทุนในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นส่วนใหญ่
- จะต้องใช้เครื่องจักรใหม่ (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) เท่านั้น
- การเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ จะเริ่มใช้ได้หลังจากมีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท เท่านั้น
- กรณีที่ประกอบกิจการอยู่เดิม และต่อมายื่นขอรับการส่งเสริมเพื่อขยายกิจการ
- จะต้องมีการลงทุนใหม่ ในส่วนที่จะยื่นขอรับส่งเสริม ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน ค่าทรัพย์สิน และเงินทุนหมุนเวียน)
- กรณีที่ใช้อาคารสำนักงานร่วมกับกิจการเดิม ไม่สามารถนำมูลค่าอาคารหรือค่าเช่า มานับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ
- ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาและจำหน่ายอยู่ก่อนแล้ว ไม่สามารถนำมายื่นขอรับการส่งเสริมได้
- รายได้จากซอฟต์แวร์ที่พัฒนาและจำหน่ายอยู่ก่อนแล้ว ไม่สามารถนำมารวมเป็นรายได้ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
- จะต้องมีบุคลากรที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ตามโครงการที่ขอรับส่งเสริม แยกจากบุคลากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์เดิม แต่หากไม่สามารถแยกได้ จะต้องปันส่วนเงินเดือนค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนรายได้ของโครงการที่ได้รับส่งเสริมและไม่ได้รับส่งเสริม เพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุุคคล
การขอรับการส่งเสริมกิจการซอฟต์แวร์ตามมาตรการ SMEs
กิจการซอฟตแวร์จัดเป็นหนึ่งในกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการส่งเสริมกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามประกาศคณะกรรมการ ที่ 7/2556 ซึ่งกำหนดขนาดการลงทุนขั้นต่ำไว้ไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท และให้นำเครื่องจักรเก่าใช้แล้วในประเทศมาใช้ในโครงการได้บางส่วน แต่จะต้องเป็นหุ้นไทยข้างมาก ต้องยื่นคำขอภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยสัดส่วน 100% ของเงินลงทุนตามโครงการ ซึ่งน้อยกว่าสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ปกติของหมวด 5.8 กิจการซอฟตแวร์ ดังนั้น หากเป็นไปได้จึงควรขอรับการส่งเสริมตามเกณฑ์ปกติ จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงกว่า
หน้าแรก
|
เว็บบอร์ด
|
อ่านกระทู้ถามตอบ
|