ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 การดำเนินการอื่นๆ : การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

กรปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO

      โครงการที่มีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งยื่นคำขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป จะต้องดำเนินการให้ได้ใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายในระยะเวลา 2 ปีนับจากวันเปิดดำเนินการ

      หากไม่สามารถดำเนินการให้ได้รับใบรับรอง ISO ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี

      มาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่ากับระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 เช่น

  1. มาตรฐาน QS 9000 หรือ ISO / TS 16949 สำหรับการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
  2. มาตรฐาน ISO 13485 หรือ ISO 13488 สำหรับผลิตอุปกรณ์การแพทย์
  3. มาตรฐาน GMP และ HACCP สำหรับผู้ผลิตอาหาร
  4. มาตรฐาน JAR 21 Subpart G
  5. มาตรฐาน GMP สำหรับผู้ผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งรวมถึงสบู่ ยาสีฟัน การผลิตยา และวัตถุออกฤทธิ์ และการผลิตเครื่องมือแพทย์
  6. มาตรฐาน ISM Code สำหรับกิจการเดินเรือ
  7. มาตรฐาน HA สำหรับกิจการโรงพยาบาล
  8. มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดสำหรับกิจการเลี้ยงสัตว์
  9. มอก.17025-2543
  10. มาตรฐาน WRAP
  11. มาตรฐานอื่นที่กำหนดในบัตรส่งเสริม

การนับเวลาครบกำหนดปฎิบัติตามเงื่อนไข ISO

      การดำเนินการให้ได้ใบรับรอง ISO จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการ ซึ่งหมายถึงภายใน 2 ปี นับจากวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ

      ดังนั้น หากโครงการได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาเปิดดำเนินการออกไป การนับเวลาครบกำหนดตามเงื่อนไข ISO ก็จะนับขยายเวลาออกไปด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง :

      บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมลงวันที่ 1 เมษายน 2552 โดยมีเงื่อนไขต้องเปิดดำเนินการครบตามโครงการภายใน 36 เดือนนับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม คือ วันที่ 1 เมษายน 2555

      ในกรณีนี้ บริษัทจะต้องดำเนินการให้ได้ใบรับรองมาตรฐาน ISO ภายใน 2 ปีนับจากวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ คือ ภายในวันที่ 1 เมษายน 2557

      แต่หากบริษัทได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาเปิดดำเนินการออกไปอีก 1 ปี คือ ถึงวันที่ 1 เมษายน 2556 กำหนดเวลาที่ต้องได้ใบรับรองมาตรฐาน ISO ก็จะเลื่อนออกไปอีก คือ เป็นวันที่ 1 เมษายน 2558


การตรวจสอบเงื่อนไข ISO

  1. จะตรวจสอบเพียงครั้งเดียว ภายใน 2 ปีหลังจากวันเปิดดำเนินการ
  2. จะต้องเป็นใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานอื่นตามที่ BOI กำหนด
  3. ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ได้รับใบรับรอง จะต้องตรงกับชื่อและสถานประกอบการที่ระบุในบัตรส่งเสริม
  4. ขอบเขตการรับรองที่ระบุในใบรับรอง จะต้องตรงกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ระบุในบัตรส่งเสริม
  5. ระยะเวลาของใบรับรอง จะต้องอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
  6. จะต้องได้รับใบรับรอง ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม

เอกสารที่ใช้

  • แบบรายงานผลการปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO (F PM AC 01)
  • เอกสารใบรับรองระบบคุณภาพที่บริษัทได้รับ

ข้อควรรู้

Q : โครงการที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องดำเนินการให้ได้ใบรับรองระบบคุณภาพ ISO หรือไม่
A : ไม่ต้อง โครงการที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ จะไม่มีการกำหนดเงื่อนไข ISO ในบัตรส่งเสริม

Q : ขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) 10 ล้านบาท ที่ใช้กำหนดเงื่อนไข ISO จะคำนวณมูลค่าการลงทุนจากตัวเลขใด
A : จะคำนวณมูลค่าการลงทุนจากตัวเลขในคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน

Q : โครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมโดยมีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) เกินกว่า 10 ล้านบาท และมีเงื่อนไขให้ต้องได้ใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO หากต่อมามีการลงทุนจริงไม่ถึง 10 ล้านบาท จะขอยกเลิกเงื่อนไข ISO ได้หรือไม่
A : ไม่ได้ เนื่องจากเป็นเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นตามขนาดการลงทุนในคำขอรับการส่งเสริม
      ดังนั้น ในทางกลับกัน โครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมโดยมีขนาดการลงทุนต่ำกว่า 10 ล้านบาท และไม่มีเงื่อนไข ISO แต่ต่อมามีขนาดการลงทุนเพิ่มขึ้นเกินกว่า 10 ล้านบาท ก็จะไม่มีการกำหนดเงื่อนไข ISO เพิ่มเติม

Q : กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี และใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครบ 3 ปีไปแล้ว หากปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO ไม่ได้ จะมีผลอย่างไร
A : จะถูกเพิกถอนสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 1 ปี คือเหลือเพียง 2 ปี ซึ่งจะมีผลย้อนหลังทำให้ถูกเพิกถอนการยกเว้นภาษีเงินได้ในปีที่ 3 ซึ่งได้ใช้สิทธิประโยชน์ไปแล้ว

Q : กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี แต่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครบตามวงเงินในปีที่ 5 หากปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO ไม่ได้ จะมีผลอย่างไร
A : จะถูกเพิกถอนสิทธิภาษีเงินได้ 1 ปี คือเหลือเพียง 6 ปี แต่ในกรณีนี้จะไม่กระทบกับการใช้สิทธิยกเว้นภาษีที่ใช้ครบตามวงเงินไปแล้วตั้งแต่ปีที่ 5

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 20,043
Total pageviews 4,415,111 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.