ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 การเปิดดำเนินการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

การเปิดดำเนินการ

การตรวจสอบเงื่อนไขตามบัตรส่งเสริม

      การเปิดดำเนินการ จะยื่นขอเปิดเนินการก่อนครบกำหนดหรือเมื่อครบกำหนดแล้วก็ได้ โดยจะมีการตรวจสอบเงื่อนไขให้เป็นไปตามบัตรส่งเสริมอย่างถูกต้อง ดังนี้

  1. เครื่องจักรที่ใช้ในโครงการ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้
    1. เครื่องจักรทั้งหมดของโครงการ ต้องได้มานับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม จนถึงวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ
    2. กรณีที่ได้เครื่องจักรมาก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม ต้องได้รับอนุมัติให้ใช้ในโครงการ จึงจะสามารถนำมาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้
    3. สภาพของเครื่องจักร (เครื่องจักรใหม่ หรือเครื่องจักรใช้แล้ว) จะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ไม่ว่าจะได้มาโดยใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้น/ลดหย่อนภาษีอากรหรือไม่ก็ตาม
    4. เครื่องจักรในโครงการ ต้องสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ ไม่ว่าจะได้มาโดยใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้น/ลดหย่อนภาษีอากรหรือไม่ก็ตาม
    5. เครื่องจักรเก่าใช้แล้วที่ใช้ในโครงการ จะต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า ไม่ว่าจะนำเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้น/ลดหย่อนภาษีอากรหรือไม่ก็ตาม
    6. เครื่องจักรที่ซื้อในประเทศจะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่เท่านั้น เว้นแต่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมเป็นอย่างอื่น
            ทั้งนี้ เครื่องจักรในประเทศ หมายความรวมถึง เครื่องจักรที่ผ่านพิธีการนำเข้าจากเขตส่งออกของการนิคมอุตสาหกรรม เขตปลอดอากร (Free Zone) ของกรมศุลกากร หรือพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะในทำนองเดียวกันด้วย
    7. กรณีเป็นโครงการโยกย้ายสถานประกอบการ จะต้องมีเครื่องจักรตามรายการและจำนวนที่ได้รับอนุมัติให้โยกย้ายสถานประกอบการ แต่หากไม่ตรงตามที่ได้รับอนุมัติ จะต้องมีเครื่องจักรครบตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม
    8. ต้องครอบครองเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้น/ลดหย่อนภาษีอากร ตามฐานข้อมูลการสั่งปล่อยเครื่องจักรของ BOI

  2. ทุนจดทะเบียน และการเรียกชำระมูลค่าหุ้น
    1. จะต้องมีทุนจดทะเบียน และเรียกชำระมูลค่าหุ้นในวันเปิดดำเนินการ ไม่ต่ำกว่าที่กำหนดเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม

  3. สัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลไทย
    1. กรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขการถือหุ้นของบุคคลที่มีสัญชาติไทย จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขนั้น

  4. ชนิดผลิตภัณฑ์หรือบริการ และกำลังผลิต
    1. ผลิตภัณฑ์หรือบริการของโครงการ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
    2. กำลังผลิตที่คำนวณได้จากเครื่องจักรในขั้นตอนการผลิตหลักที่ติดตั้งอยู่จริง จะต้องเป็นไปตามกำลังผลิตที่กำหนดในบัตรส่งเสริม

  5. กรรมวิธีการผลิต
    1. ต้องมีกรรมวิธีการผลิตหรือการบริการ เป็นตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม

  6. ขนาดการลงทุน
    1. จะต้องมีขนาดการลงทุนขั้นต่ำ (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่าเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
    2. รายการเงินลงทุน จะต้องเป็นการลงทุนที่เกิดขึ้นจริง นับตั้งแต่วันที่ยื่นขอรับส่งเสริม จนถึงวันที่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ และทั้งนี้ สินทรัพย์ตามรายการเงินลงทุนดังกล่าว จะต้องมีอยู่ และใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมนั้นจริง ณ สถานประกอบการในวันตรวจสอบเปิดดำเนินการ
    3. การคำนวณรายการเงินลงทุน ให้เป็นไปตามประกาศ สกท ที่ ป. 1/2545 เรื่อง การกำหนดความหมายรายการเงินลงทุน
    4. โครงการที่มีเงื่อนไขให้ปรับเปลี่ยนเงินลงทุนในวันเปิดดำเนินการ เพื่อปรับเปลี่ยนวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องตรวจสอบยืนยันมูลค่าเงินลงทุนที่แท้จริง เพื่อปรับเปลี่ยนวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
    5. โครงการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามนโยบาย STI ที่ยังไม่ได้ตรวจสอบผลการปฏิบัติการตามเงื่อนไขว่าถูกต้องหรือไม่ จะต้องตรวจสอบยืนยันมูลค่าเงินลงทุนที่แท้จริง เพื่อคำนวณว่ามีค่าใช้จ่ายด้าน STI เป็นไปตามสัดส่วนของมูลค่าเงินลงทุนที่แท้จริงหรือไม่

  7. ที่ตั้งโรงงานหรือสถานประกอบการ
    1. จะต้องตั้งโรงงานหรือสถานประกอบการในท้องที่ตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม

  8. เงื่อนไขอื่น ๆ
        จะต้องดำเนินการให้ได้ตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนดในบัตรส่งเสริม เช่น
    1. กรณีมีเงื่อนไขจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในด้านมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับความเห็นชอบในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ ENVIRONMENTAL IMPACT ASSESSMENT (EIA)
    2. กรณีมีเงื่อนไขจะต้องได้รับความเห็นชอบด้านสิ่งแวดล้อมจากกระทรวงอุตสาหกรรม จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือมีใบอนุญาตประกอบกิจการ (รง.4) ในส่วนที่ขออนุญาตเปิดดำเนินการนั้น

  9. เงื่อนไขวันเปิดดำเนินการ
    1. จะต้องเปิดดำเนินการภายในเวลาตามเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริม หรือหนังสืออนุญาตให้ขยายเวลาเปิดดำเนินการ

การตรวจสอบสถานประกอบการ

    ในการตรวจสอบโรงงาน/สถานประกอบการ BOI จะตรวจสอบในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

  1. ที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ จะต้องตรงตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม
  2. กรรมวิธีการผลิต จะต้องตรงตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม
  3. เครื่องจักรและอุปกรณ์ จะตรวจสอบดังนี้
    1. รายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ จะต้องตรงกับที่ระบุในแบบขออนุญาตเปิดดำเนินการ (F PM OP 01) และจะต้องอยู่ในสถานประกอบการครบทุกรายการ เว้นแต่ได้รับอนุมัติไว้เป็นอย่างอื่น
    2. เครื่องจักรและอุปกรณ์ ทั้งที่ซื้อในประเทศ และที่นำเข้าโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้น/ลดหย่อนอากรเข้า จะต้องสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ และครบทุกกระบวนการผลิต
  4. ชนิดผลิตภัณฑ์หรือบริการ จะต้องตรงตามเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริม
  5. กำลังผลิต จะตรวจสอบกำลังผลิตของโครงการในประเด็นดังนี้
    1. ขั้นตอนการผลิตที่สำคัญของโครงการ
    2. ชื่อและจำนวนเครื่องจักรที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตที่สำคัญของโครงการ
    3. คำนวณกำลังผลิตสูงสุดของเครื่องจักร ตามข้อ 2) โดยใช้ข้อมูล เช่น การจับเวลาทำงานจริงของเครื่องจักร รายงานผลการผลิตประจำวัน/สัปดาห์/เดือน Spec ของเครื่องจักร และเวลาทำงานตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม
            ทั้งนี้ ในการคำนวณกำลังผลิตให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ตั้งแต่ 0.8 - 1.0 ตามข้อเท็จจริงของแต่ละอุตสาหกรรม โดยคำนึงเผื่อถึงระยะเวลาต่างๆ เช่น การซ่อมบำรุง การเปลี่ยนแม่พิมพ์ และการทำความสะอาดเครื่องจักร เป็นต้น

      อนึ่ง โครงการที่ใช้ยานพาหนะเพื่อให้บริการ หรือโครงการไม่มีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่ง เช่น กิจการขนส่งทางเรือ กิจการประมงน้ำลึก เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขพื้นฐานถูกต้องแล้ว จะออกใบอนุญาตเปิดดำเนินการให้ก่อน แล้วจึงจะทำการตรวจสอบในภายหลังเมื่อยานพาหนะนั้นอยู่ในประเทศ


การพิจารณากำหนดกำลังผลิตของโครงการ

      กรณีที่ตรวจสอบโรงงาน/สถานประกอบการ แต่พบว่ากำลังผลิตที่คำนวณได้ ไม่ตรงกับกำลังการผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม จะพิจารณาดังนี้

  1. ถือว่ากำลังผลิตครบโครงการ
          เมื่อกำลังผลิตที่คำนวณได้ อยู่ระหว่าง 80% - 120% ของกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม
  2. ถือว่ากำลังผลิตน้อยกว่าโครงการ
          เมื่อกำลังผลิตที่คำนวณได้ ต่ำกว่า 80% ของกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม
  3. ถือว่ากำลังผลิตมากกว่าโครงการ
          เมื่อกำลังผลิตที่คำนวณได้ เกินกว่า 120% ของกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม

      กรณีที่กำลังผลิตตามที่คำนวณได้ ไม่ตรงกับบริษัทยื่นขอเปิดดำเนินการ บริษัทสามารถทำการชี้แจงเพิ่มเติมได้ และเมื่อกำลังผลิตตามที่คำนวณได้เป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่ายแล้ว BOI จะเปิดดำเนินการตามที่ตรวจพบและบริษัทยอมรับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

กำลังผลิตที่ตรวจพบ น้อยกว่า
โครงการ
ต่ำกว่า 80% ลดกำลังผลิตเป็นเท่าที่ตรวจพบและบริษัทยืนยัน
ครบโครงการ 80%-100% เปิดตามบัตรส่งเสริม หรือลดกำลังผลิตเป็นเท่าที่ตรวจพบและบริษัทยืนยัน
100%เปิดตามบัตรส่งเสริม
100%-120% เปิดตามบัตรส่งเสริม หรือเพิ่มกำลังผลิตเป็นเท่าที่ตรวจพบและบริษัทยืนยัน
มากกว่า
โครงการ
มากกว่า 120% เพิ่มกำลังผลิตเป็นเท่าที่ตรวจพบและบริษัทยืนยัน

      กรณีเป็นโครงการโยกย้ายสถานประกอบการ จะตรวจสอบรายการและจำนวนเครื่องจักรว่าตรงตามที่ยื่นคำขอโยกย้ายสถานประกอบการหรือไม่
      หากไม่ตรง จะต้องมีเครื่องจักรครบถ้วนตามขั้นตอนการผลิต และจะกำหนดกำลังผลิตของโครงการตามเครื่องจักรที่โยกย้ายมาติดตั้งอยู่จริง เท่านั้น แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินกำลังผลิตของบัตรส่งเสริมโยกย้ายสถานประกอบการ


การกำหนดวันเปิดดำเนินการ

ในการอนุมัติเปิดดำเนินการ จะกำหนดวันเปิดดำเนินการ ดังนี้
  1. กรณียื่นขอเปิดดำเนินการก่อนครบกำหนด
    ให้ใช้วันที่ BOI รับเรื่องการขอเปิดดำเนินการ เป็นวันเปิดดำเนินการ

  2. กรณียื่นขอเปิดดำเนินการในวันครบกำหนด หรือหลังจากวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ
    ให้ใช้วันครบกำหนดเปิดดำเนินการ เป็นวันเปิดดำเนินการ

การแก้ไขโครงการในขั้นตอนการเปิดดำเนินการ

      กรณีที่ผลการตรวจสอบเปิดดำเนินการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริม บริษัทจะต้องขอแก้ไขโครงการให้ถูกต้อง โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้

  1. กรณีที่อนุญาตให้แก้ไขได้ โดยระบุรายละเอียดในคำขออนุญาตเปิดดำเนินการ เช่น
    • การลดขนาดกิจการตามที่มีอยู่จริงและตรวจสอบพบ โดยไม่มีผลกระทบต่อสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร
    • การเพิ่มกำลังผลิตตามที่มีอยู่จริงและตรวจสอบพบ
    • การเพิ่มกำลังผลิตจากการเพิ่มเวลาทำงาน
    • การยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์ สำหรับโครงการที่มีขนาดการลงทุนไม่เกิน 750 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน หรือโครงการที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ทุกขนาดกิจการ

  2. กรณีที่อนุญาตให้แก้ไขได้ โดยการยื่นขอแบบคำขอแก้ไขโครงการ ทั้งนี้ ให้ถือว่าเป็นเอกสารแนบที่ยื่นเข้ามานับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขออนุญาตเปิดดำเนินการ เช่น
    • สัดส่วนผู้ถือหุ้น
    • ทุนจดทะเบียน
    • ที่ตั้งโรงงานหรือสถานประกอบการ
    • ชนิดผลิตภัณฑ์
    • สภาพเครื่องจักร
    • กรรมวิธีการผลิต เป็นต้น

การตรวจสอบมูลค่าเงินลงทุนเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

      โครงการที่มีเงื่อนไขปรับเปลี่ยนเงินลงทุนเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และโครงการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามนโยบาย STI แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบผลการปฏิบัติการตามเงื่อนไขว่าถูกต้องหรือไม่ จะดำเนินการตรวจสอบ ดังนี้

  1. วิธีการตรวจสอบรายการเงินลงทุน
          ผู้มีหน้าที่ในการจัดทำบัญชีของบริษัท จะต้องนำทะเบียนสินทรัพย์ และหลักฐานประกอบการซื้อและการชำระเงิน เช่น ใบส่งของ/ใบกำกับสินค้า ใบขนสินค้าขาเข้า ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น ไปยื่นต่อ BOI เพื่อพิสูจน์รายการเงินลงทุน ตามประกาศ สกท ที่ ป.1/2545 เรื่อง การกำหนดความหมายรายการเงินลงทุน

  2. BOI จะตรวจสอบมูลค่าเงินลงทุนเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
    1. จะนับขนาดเงินลงทุนเฉพาะรายการที่มีอยู่ใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมนั้นจริง ณ สถานประกอบการในวันตรวจสอบ และมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า
      • เป็นการลงทุนเฉพาะของโครงการนี้
      • จะต้องได้มา นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมจนถึงวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ โดยพิจารณาจากวันที่นำเข้าตามใบขนฯ หรือวันที่ได้มา (วันรับมอบ)
      • กรณีที่ได้มาก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม จะต้องได้รับอนุมัติให้ใช้ในโครงการ
      • มีการลงทุนจริงตามรายการเงินลงทุน ตามประกาศ สกท ที่ ป. 1/2545 เท่านั้น หรือเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนด

    2. จะพิจารณาตามแนวทางอื่นๆ ที่ BOI ใช้ปฏิบัติ เช่น
      • แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ และการตรวจสอบเงื่อนไข STI และการตรวจสอบเงื่อนไขเปิดดำเนินการ
      • แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบวงเงินภาษีฯ กรณีโอน-รับโอนกิจการ
      • แนวทางการนับขนาดเงินลงทุนและการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

    3. รายละเอียดการคำนวณขนาดเงินลงทุนเพื่อกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

การยืนยันมูลค่าเงินลงทุนเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

      เมื่อตรวจความถูกต้องของรายการเงินลงทุนในคำขออนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว กรรมการผู้มีอำนาจลงนามหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ จะต้องลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท และเจ้าหน้าที่ BOI ผู้ตรวจสอบ จะลงนามกำกับผลการตรวจสอบ เพื่อยืนยันมูลค่าเงินลงทุนเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล


เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาตเปิดดำเนินการ

  • คำขออนุญาตเปิดดำเนินการ (F PM OP 01)
  • หนังสือรับรองบริษัท
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
  • งบการเงิน
  • ผังแสดงขั้นตอนการผลิต (Process Chart)
  • ผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร (Machine Layout)

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 68,824
Total pageviews 4,415,051 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.