ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 วัตถุดิบ มาตรา 36 : บัญชีรายการวัตถุดิบและปริมาณอนุมัติสูงสุด

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

อัพเดตวันที่ 1 เมษายน 2563

บัญชีรายการวัตถุดิบ และปริมาณอนุมัติสูงสุด (Max Stock) ตามมาตรา 36

      Max Stock คือบัญชีรายการวัตุดิบและวัสดุจำเป็น และปริมาณอนุมัติสูงสุด ที่สามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ซึ่งเมื่อนำเข้ามาเต็มยอดปริมาณอนุมัติสูงสุดแล้ว จะไม่สามารถนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าได้อีก


เงื่อนไขในการอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น

  1. ต้องเป็นวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ใช้ในกระบวนการผลิตตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม
  2. ต้องมีหลักฐานแสดงว่าได้มีการนำเครื่องจักรเข้ามาแล้ว
  3. กรณีเป็นกิจการ IPO จะต้องมีหลักฐานแสดงการมีคลังสินค้าและระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสินค้าคงคลังแล้ว
  4. ให้ยื่นขออนุมัติเฉพาะรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ และรายการที่ซื้อมาจากผู้ประกอบการในประเทศที่ใช้สิทธิประโยชน์จาก BOI เท่านั้น
  5. ต้องใช้หน่วยวัตถุดิบตามรหัสสถิติของกรมศุลกากร ตัวอย่างเช่น
    GRMกรัม
    MTQลูกบาศก์เมตร
    KGMกิโลกรัม
    LTRลิตร
    C62ชิ้นหรือหน่วย
    CTMกะรัต
    PRคู่
    MTKตารางเมตร
    SETชุด
    YDKตารางหลา
    MTRเมตร
    KWHกิโลวัตต์ชั่วโมง
    CMQลูกบาศก์เซนติเมตร
    TNEเมตริกตัน


การกำหนดชื่อของวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น

กำหนดให้ใช้ชื่อวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ชื่อหลัก
          คือ ชื่อของวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น เพื่อใช้ในการสร้างบัญชีรายการวัตถุดิบ ปริมาณอนุมัติสูงสุด และสูตรการผลิต โดยมีแนวทางพิจารณาดังนี้
    • วัตถุดิบ 1 รายการ จะมีชื่อหลักเพียงชื่อเดียว
    • เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกวัตถุดิบนั้นเป็นการทั่วไป
    • หน่วยของวัตถุดิบที่ขอนุมัติ จะต้องเป็นหน่วยตามรหัสสถิติของกรมศุลกากร
  2. ชื่อรอง
          คือ ส่วนแยกย่อยของชื่อหลัก โดยเป็นวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นชนิดเดียวกันที่อาจผลิตจากวัสดุที่ต่างกัน หรือมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่เหมือนกัน โดยมีแนวทางพิจารณาดังนี้
    • เป็นชื่อสำหรับการสั่งปล่อย
    • จะเพิ่มชื่อรองกี่ชื่อก็ได้
    • สามารถใช้ชื่อย่อของชื่อหลักที่ได้รับอนุมัติแล้ว หรือจะเป็นชื่อทางการค้าที่สามารถพิสูจน์ว่าเป็นรายการเดียวกับชื่อหลักก็ได้
    • ชื่อรองแต่ละชื่อ ให้ระบุพิกัดนำเข้าของกรมศุลกากร (8 หลัก) โดยจะบันทึกเพิ่มเติมในภายหลังก็ได้
    • หน่วยของชื่อรอง ต้องเป็นหน่วยเดียวกันกับหน่วยของชื่อหลัก


ตัวอย่างบัญชีปริมาณสต๊อควัตถุดิบ

รายการที่ชื่อหลักชื่อรองหน่วยพิกัดปริมาณ 6 เดือนคำอธิบาย
000001PRINTED CURCUIT BOARDPRINTED CURCUIT BOARDC62
2,000,000แผ่นวงจรพิมพ์
PCB
PRINTED WIRING BOARD
PWB
000002WASHERWASHERC62
500,000แหวนรอง
SPRING WASHER
NYLON WASHER
000003POLYOXY METHYLENEPOLYOXY METHYLENEKGM
100,000เม็ดพลาสติก
POLYACETAL
DURUCON


ประเภทของบัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบ

บัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบ แบ่ง 2 ประเภท คือ

  1. สต๊อกแบบหมุนเวียน (Revolving Stock)
          คือ บัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบ ซึ่งเมื่อนำหลักฐานการส่งออกมาตัดบัญชี ก็จะสามารถนำยอดที่ตัดบัญชีนั้นมาหมุนเวียนเป็นโควตาในการนำเข้าวัตถุดิบได้ใหม่
          การนำเข้า ส่งออก และตัดบัญชี ในระบบสต๊อกแบบหมุนเวียนนี้ จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใดก็ได้ เช่น หากปีใดบริษัทมีการผลิตเกินกว่ากำลังผลิตในบัตรส่งเสริมจากการทำงานนอกเวลา ก็สามารถนำหลักฐานส่งออกมาตัดบัญชีให้เร็วขึ้น เพื่อให้สามารถนำวัตถุดิบเข้ามาทดแทนได้อีก
          ทั้งนี้ รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในส่วนที่เกินกว่ากำลังในบัตรส่งเสริม จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นจะยังคงใช้สิทธิการยกเว้นอากรขาเข้า แม้ว่าในปีนั้นอาจมียอดนำเข้าสุทธิเกินกว่ากำลังผลิตในบัตรส่งเสริมก็ตาม
          ผู้ได้รับส่งเสริมทุกรายที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 จะได้รับอนุมัติสต๊อกแบบหมุนเวียนนี้ ดังนั้น หากไม่ได้แยกกล่าวไว้เป็นพิเศษ ปกติจะหมายความถึงสต๊อกแบบหมุนเวียนนี้เท่านั้น

  2. สต๊อกแบบไม่หมุนเวียน (Max Import)
          คือ บัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบ ซึ่งแม้จะนำหลักฐานส่งออกมาตัดบัญชี ก็ไม่สามารถนำยอดที่ตัดบัญชีมาหมุนเวียนเป็นโควตานำเข้าได้อีก
          สต๊อกประเภทนี้ จะอนุมัติให้กับโครงการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 หรือกรณีที่นำเข้าเป็นการชั่วคราวตามเหตุผลความจำเป็น เช่น ในกรณีที่เกิดปัญหาในสายการผลิต จึงจำเป็นต้องนำวัตถุดิบบางรายการเข้ามาผลิตไม่เกินจำนวนที่กำหนด เป็นต้น


การขออนุมัติบัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบสูงสุด

  1. แสดงปริมาณผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่คาดว่าจะผลิตส่งออกสำหรับกำลังผลิต 4 เดือน ของกำลังผลิตสูงสุดที่ระบุในบัตรส่งเสริม หรือตามปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้า (กรณีกิจการ ITC ซึ่งไม่ระบุกำลังผลิตสูงสุดในบัตรส่งเสริม)
  2. แสดงสูตรการผลิตที่ระบุปริมาณการใช้วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นต่อหน่วย ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด รวมทั้งปริมาณส่วนสูญเสียในการผลิต
  3. คำนวณบัญชีรายการและปริมาณสต๊อกสูงสุดสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นแต่ละรายการ
  4. อธิบายการใช้วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นแต่ละรายการ
  5. แนบภาพถ่าย ตัวอย่าง หรือเอกสารแสดงรายละเอียดวัตถุดิบ วัสดุจำเป็น และผลิตภัณฑ์ที่จะทำการผลิต


ตัวอย่างปริมาณสต๊อคสูงสุด

      บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตปากกา โดยมีกำลังผลิตสูงสุด 3,000 ชิ้น/เดือน และทำการผลิตปากการุ่น A1 และ A2 (ตาม Invoice ที่ส่งให้ลูกค้า) ปีละ 2,000 ชิ้น และ 1,000 ชิ้น ตามลำดับ

      บริษัทจึงสามารถขออนุมัติปริมาณสต๊อคสูงสุดสำหรับกำลังผลิต 4 เดือน สำหรับรุ่น A1 จำนวน 800 ชิ้น และรุ่น A2 จำนวน 400 ชิ้น ดังนี้

ลำดับที่
ตาม MML
วัตถุดิบ
(ชื่อหลัก)
รุ่น A1
ปริมาณใช้/ชิ้น
ปริมาณผลิต
800 ชิ้น
รุ่น A2
ปริมาณใช้/ชิ้น
ปริมาณผลิต
400 ชิ้น
รวม
000001หัวปากกา
(C62)
180014001,200
000002ไส้ปากกา
(C62)
180014001,200
000003หมึก
(GRM)
0.252000.5200400
000004ตัวปากกา
(C62)
180014001,200
000005ปลอกปากกา
(C62)
180000800
000006เม็ดพลาสติก
(KGM)
000.0288
000007สปริง
(C62)
001400400


ข้อควรรู้

  1. จะยื่นขออนุมัติเฉพาะบัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบสูงสุดเพียงอย่างเดียวก่อน หรือจะยื่นขออนุมัติพร้อมกับสูตรการผลิตก็ได้
  2. โครงการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งมาตรา 30 และ 36 จะต้องแยกสัดส่วนกำลังผลิตสูงสุดที่จะขอใช้สิทธิมาตรา 30 และ 36 เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณบัญชีปริมาณสต๊อคสูงสุดของแต่ละมาตรา
  3. ผลิตภัณฑ์ที่ยื่นประกอบการขออนุมัติบัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
  4. วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นในบัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบ จะต้องเป็นรายการสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมเท่านั้น
          แต่ทั้งนี้ วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ใช้ในขั้นตอนการบรรจุหีบห่อ สามารถยื่นขออนุมัติได้ แม้ว่าจะไม่ได้ขออนุมัติกรรมวิธีดังกล่าวไว้ก็ตาม
  5. โครงการที่ได้รับส่งเสริมหลายผลิตภัณฑ์ ไม่จำเป็นต้องยื่นขออนุมัติบัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบให้ครบทุกผลิตภัณฑ์ คือจะทยอยยื่นขออนุมัติและแก้ไขบัญชีปริมาณสต๊อก ตามแผนการนำเข้าวัตถุดิบและแผนการผลิตก็ได้
  6. โครงการที่ผลิตภัณฑ์มีหลายขนาด เช่น เล็ก กลาง ใหญ่ จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่เป็นหลัก เพื่อคำนวณบัญชีปริมาณสต๊อกสูงสุดก็ได้ แต่จะต้องระวังให้ครอบคลุมรายการวัตถุดิบทุกชนิดที่ต้องการ
  7. วัตถุดิบที่นำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ เช่น เม็ดพลาสติกบางชนิด ไม่อนุญาตให้รวมส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
  8. วัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่ซื้อจากบริษัทที่ได้รับส่งเสริมในประเทศ หากต้องการโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบดังกล่าวให้กับผู้ขาย จะต้องขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบดังกล่าวไว้ด้วย

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 50,135
Total pageviews 4,489,028 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.