ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 ภาษีเงินได้นิติบุคคล : รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

      รายได้ที่ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผลิตผล หรือรายได้จากการให้บริการตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม และมีปริมาณไม่เกินกำลังผลิตที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม

      แต่นอกเหนือจากรายได้ดังกล่าว ผู้ได้รับส่งเสริมยังอาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่เกิดขึ้นจากรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมได้อีกด้วย

      ในปี พ.ศ. 2530 BOI และกรมสรรพากรได้ร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากกิจการที่ได้รับส่งเสริมโดยตรง แต่ควรให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย กรมสรรพากรจึงมีประกาศ เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณารายได้ที่จะนำไปคำนวณกำไรสุทธิจากการประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริม ประกอบด้วยรายได้ ดังนี้

  1. รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผลิตผล หรือการให้บริการตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ไม่เกินปริมาณการผลิตต่อปี หรือไม่เกินขนาดของกิจการที่ให้บริการตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม

          ในกรณีของกิจการที่มีรายได้อันเกี่ยวเนื่องตามลักษณะของกิจการที่ได้รับส่งเสริม แต่ไม่ได้ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมโดยตรง คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาให้ถือว่ารายได้จากการนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งสามารถใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ด้วย เช่น

    • กรณีที่บริษัทรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ได้รับส่งเสริม โดยมีกระบวนการผลิตครบถ้วนตามโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ถือว่ารายได้จากการรับจ้างดังกล่าวเป็นรายได้จากกิจการ ซึ่งสามารถใช้สิทธิการยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ด้วย แต่ทั้งนี้ ต้องมีปริมาณไม่เกินที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม
    • กรณีที่ได้รับส่งเสริมกิจการเขตอุตสาหกรรม รายได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่
      • รายได้จากการขายหรือให้เช่า หรือให้เช่าซื้อ เฉพาะที่ดินทั้งหมดในเขตอุตสาหกรรม
      • รายได้จากการให้บริการสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งการกำจัดน้ำเสีย การจำหน่ายน้ำดี และการกำจัดขยะที่ให้บริการแก่โรงงานอุตสาหกรรม
    • แต่เนื่องจาก รายได้ดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมโดยชัดเจนว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้น ในการใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอให้ BOI ออกหนังสือเพื่อรับรองว่ารายได้ดังกล่าวสามารถใช้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ด้วย

  2. รายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร

          กรณีที่ได้รับส่งเสริมในกิจการอุตสาหกรรม คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ผู้ได้รับส่งเสริมทุกรายได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 31 วรรคสาม โดยจะให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายผลพลอยได้ ได้แก่ เศษหรือของเสียจากขบวนการผลิต โดยจะระบุข้อความดังกล่าวไว้ในบัตรส่งเสริมด้วย

          แต่ในกรณีที่เป็นกิจการซึ่งที่ไม่มีขบวนการผลิต ผู้ขอรับส่งเสริมจะต้องระบุไว้ในคำขอให้ชัดเจนด้วยว่า จะเกิดผลพลอยได้ตามโครงการเกิดขึ้น โดยระบุชนิดและปริมาณให้ชัดเจน เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว

          ในส่วนของสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ผู้ขอรับส่งเสริมจะต้องระบุไว้ในคำขอให้ชัดเจนเช่นเดียวกันด้วยว่า โครงการที่ขอรับส่งเสริมจะมีการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปด้วยหรือไม่ โดยมีชนิดและปริมาณอย่างไร เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปนี้ด้วย

          ในบางกรณี คณะกรรมการอาจพิจารณาอนุมัติให้ผู้ได้รับส่งเสริมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายผลพลอยได้และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปโดยไม่กำหนดชนิดและปริมาณ ในกรณีนี้ ผลพลอยได้และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องเป็นชนิดและปริมาณที่เกิดขึ้นจริงจากการผลิตสินค้าตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมเท่านั้น

          และทั้งนี้ เศษและของเสียจากขบวนการผลิตที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องเป็นเศษและของเสียที่ยังไม่ได้แปรสภาพเป็นอย่างอื่นเท่านั้น

  3. รายได้จากการจำหน่ายเครื่องจักร

          รายได้จากการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ อาจอยู่ในข่ายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามเงื่อนไขดังนี้

    • เป็นเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ซึ่งหมดสภาพหรือไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไป
    • ต้องไม่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือเครื่องตกแต่งในสำนักงานของผู้ได้รับส่งเสริม
    • ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
    • กรณีที่มีการนำเครื่องจักร หรือ เครื่องมือ เครื่องใช้เหล่านั้น ไปใช้ในกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ให้เฉลี่ยรายได้จากการจำหน่ายเครื่องจักร ฯลฯ นั้น เพื่อคำนวณรายได้ที่พึงจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

  4. รายได้จากดอกเบี้ย หรือรายได้อื่นที่เกิดจากการอันเป็นปกติธุระในการประกอบกิจการ

          รายได้อื่นที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการและกรมสรรพากร ประกอบด้วย

    1. กรณีดอกเบี้ยเงินฝากที่จะถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
            จะต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการนำเงินทุนหมุนเวียนที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากธนาคารหรือสถาบันการเงิน และเฉพาะการฝากเงินประเภทออมทรัพย์ที่ไม่ใช้เช็คในการถอน โดยคำนวณดอกเบี้ยรวมกันไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้ทั้งสิ้นของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
            สำหรับเงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวไม่รวมถึงเงินกู้ยืมที่นำมาใช้ในกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

    2. รายได้จากกำไรจากการปริวรรตเงินตราต่างประเทศที่เกิดขึ้นตั้งแต่ผู้ได้รับส่งเสริมเริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยประกอบด้วยรายได้จากการปริวรรตเงินตรา ดังนี้
      • ก. กำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการที่ผู้ได้รับการส่งเสริมนำเงินกู้ยืมซึ่งเป็นเงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้ในกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม
      • ข. กำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการนำรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ไปชำระหนี้เงินกู้ที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
      • ค. กำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการนำเงนิกู้ยืมเงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้ในกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม เฉพาะส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริม และไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เว้นแต่จะสามารถพิสูจน์ได้ชัดแจ้งว่า เงินกู้ยืมส่วนที่ยังคงเหลืออยู่นั้น มีข้อผูกพันที่จะต้องนำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมอย่างแท้จริง
      • ง. กำไรจากการปริวรรตเงินตราที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นรายได้ของกิจการที่ได้รับการส่งเสริม หรือของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ให้เฉลี่ยรายได้นั้นตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ

  5. รายได้จากเงินชดเชยภาษีอากร

          รายได้จากเงินชดเชยภาษีอากรที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องเป็นรายได้จากการรับเงินชดเชยตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 ตามจำนวนที่ปรากฎในบัตรชดเชยภาษีอากรที่ผู้ได้รับส่งเสริมได้รับจริง

          กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมได้รับเงินชดเชยค่าดอกเบี้ยที่บริษัทผู้ร่วมลงทุนจากต่างประเทศไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมเพื่อใช้ในกิจการได้ตามสัญญา หรือได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัยที่จ่ายค่าชดเชยในกรณีทรัพย์สินของกิจการที่เอาประกันภัยเสียหาย ไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริม และไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

โปรดทราบ! การจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ กรุณาตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 66,969
Total pageviews 4,489,078 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.