ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 วัตถุดิบ มาตรา 36 : ส่วนสูญเสียและเศษซาก

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ส่วนสูญเสีย และเศษซาก ตามมาตรา 36

  • ส่วนสูญเสีย หมายถึง
    1. วัตถุดิบก่อนที่จะใช้หรือที่เหลือจากการผลิต ที่มีตำหนิ ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้
    2. เศษวัตถุดิบหรือของที่เกิดขึ้นในขบวนการผลิต
    3. ผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ หรือของที่ผลิตจากวัตถุดิบดังกล่าว ที่มีตำหนิ ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้

  • เศษซาก หมายถึง ส่วนสูญเสียที่ถูกทำลายจนไม่อยู่ในสภาพเดิม

ประเภทของส่วนสูญเสีย

      ส่วนสูญเสีย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
          หมายถึง เศษวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าในอัตราที่แน่นอน จึงอนุญาตให้รวมอยู่ในสูตรการผลิตได้ เช่น เศษโลหะที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการปั๊มขึ้นรูปแผ่นโลหะ เป็นต้น
          ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต จะอนุมัติเฉพาะวัตถุดิบที่นำเข้าโดยมีหน่วยนับเป็น "น้ำหนัก" "ปริมาตร" หรือ "พื้นที่" เท่านั้น
          แต่ทั้งนี้ เศษวัตถุดิบที่สามารถนำไป Recycle เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น เศษพลาสติก จะไม่อนุญาตให้นำมารวมคำนวณเป็นส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
          ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิตจะได้รับการตัดบัญชี เมื่อมีการตัดบัญชีผลิตภัณฑ์จากการส่งออก ดังนั้น จึงไม่ต้องนำมาขอตัดบัญชีอีก
          ส่วนสูญเสียในสูตรมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องขอชำระภาษีอากรตามส่วนสูญเสียนั้นๆ ก่อน จึงจะจำหน่ายในประเทศได้

  2. ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
          หมายถึง เศษวัตถุดิบที่ไม่สามารถคำนวณล่วงหน้าได้แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นในอัตรามากน้อยเพียงใด จึงไม่อนุญาตให้รวมอยู่ในสูตรการผลิต และจะต้องทำการพิสูจน์ชนิดและปริมาณให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะอนุญาตให้ตัดบัญชี (ปรับยอด) ในภายหลังได้
          ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต มีดังนี้
    • วัตถุดิบก่อนการผลิตหรือที่เหลือจากการผลิต ซึ่งมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้
    • สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต หรือผลิตเสร็จแล้ว แต่ตรวจสอบพบว่ามีคุณภาพหรือมาตรฐานที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้ เป็นต้น
    • เศษวัตถุดิบหรือของที่เกิดขึ้นในขบวนการผลิต ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต

ตัวอย่างส่วนสูญเสียนอก / ในสูตรการผลิต

A : เป็นสินค้าที่ผลิตโดยการปั๊มขึ้นรูปแผ่นโลหะ มีจำนวน 10 ชิ้น (รวมชิ้นที่เป็น NG) น้ำหนักชิ้นละ 500 กรัม รวมเป็น 5,000 กรัม

B : คือ ส่วนที่เหลือจากการปั๊มขึ้นรูปแผ่นโลหะ ซึ่งมีปริมาณที่แน่นอนสามารถคำนวณล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง จัดเป็นส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต มีน้ำหนัก 2,000 กรัม

C : เป็นเศษตัดขอบ หรือเป็นส่วนหัว/ท้ายของม้วนโลหะ มีปริมาณที่ไม่แน่นอน จัดเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต

NG : คือ สินค้าที่ผลิตขึ้นแล้วมีตำหนิ มีปริมาณไม่แน่นอน จัดเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
สูตรการผลิตของ Model นี้ คือ
=น้ำหนักสินค้า + น้ำหนักส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
จำนวนสินค้า
=(5,000+2,000) / 10
=700 กรัม / ชิ้น


การตัดบัญชีส่วนสูญเสีย และชำระภาษีอากรส่วนสูญเสียและเศษซาก

  1. ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
    • ไม่ต้องนำมายื่นขอตัดบัญชี เนื่องจากได้รับตัดบัญชีในสูตรการผลิตเมื่อมีการส่งผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศแล้ว
    • สามารถกำจัดได้ตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก BOI
    • กรณีส่วนสูญเสียในสูตรมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ และประสงค์จะโอนหรือจำหน่ายภายในประเทศ
      • ยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขอให้มีหนังสือแจ้งเก็บภาษีไปยังกรมศุลกากร
      • กรมศุลกากรอาจขอตรวจสอบชนิดและปริมาณส่วนสูญเสียดังกล่าวได้
      • การชำระภาษีอากร จะใช้พิกัดศุลกากรในปัจจุบัน ตามสภาพส่วนสูญเสียนั้นๆ
      • จะต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายได้
      • ไม่ต้องขอทำลาย เนื่องจากมีสภาพเป็นเศษวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
    • กรณีส่วนสูญเสียในสูตรมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ และประสงค์จะส่งออกไปต่างประเทศ
      • ยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขออนุญาตส่งส่วนสูญเสียในสูตรไปต่างประเทศ
      • สามารถจำหน่ายไปต่างประเทศโดยไม่มีภาระภาษี
      • ไม่ต้องนำใบขนขาออกมายื่นขอตัดบัญชีอีก เนื่องจากได้รับตัดบัญชีในสูตรการผลิตเมื่อมีการส่งผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศแล้ว

  2. ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
    • จัดทำบัญชีรายการส่วนสูญเสีย ประกอบด้วย ชนิด ปริมาณ หรือน้ำหนัก มูลค่า และสาเหตุของการสูญเสีย
    • จัดเก็บส่วนสูญเสียอย่างมีระบบ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
    • สามารถตัดบัญชีโดยไม่มีภาระภาษี ตามวิธีการดังนี้
      1. กรณีทำลาย
        • ยื่นขออนุมัติวิธีการทำลาย และวิธีกำจัดเศษซากหลังทำลายที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ฝังกลบ หรือจ้างให้ผู้ประกอบการรับไปกำจัดต่อ เป็นต้น
              ทั้งนี้ การทำลายส่วนสูญเสียชนิดเดิมในครั้งต่อๆไป ด้วยวิธีเดิมที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว ไม่ต้องขออนุมัติวิธีการทำลายอีก
        • ติดต่อบริษัท Inspector ที่ได้รับมอบหมายจาก BOI ให้ตรวจสอบชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสีย และดำเนินการควบคุมการทำลาย และการกำจัดเศษซาก ให้เป็นไปตามที่ BOI อนุมัติ
        • กรณีที่เศษซากหลังการทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ และบริษัทประสงค์จะขอจำหน่ายหรือโอนเศษซากดังกล่าวภายในประเทศ จะต้องดำเนินการดังนี้
          • ขอให้ BOI มีหนังสือแจ้งเก็บภาษีไปยังกรมศุลกากร
          • กรมศุลกากรอาจขอตรวจสอบชนิดและปริมาณเศษซากดังกล่าวได้
          • การชำระภาษีอากร จะใช้พิกัดศุลกากรในปัจจุบัน ตามสภาพเศษซากนั้นๆ
          • จะต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายเศษซากนั้นได้
        • จัดส่งรายละเอียด พร้อมทั้งหนังสือรับรองจากบริษัท Inspector และหลักฐานการชำระภาษี (กรณีที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์) ให้กับ BOI เพื่อขอตัดบัญชี
      2. กรณีส่งออก
        • จะต้องยื่นขออนุญาตจาก BOI ก่อนการส่งออก
        • จัดส่งหลักฐานการส่งออกให้กับ BOI เพื่อขอตัดบัญชี
      3. กรณีบริจาค
        • ยื่นแบบคำร้องขอบริจาคต่อ BOI
        • จะต้องบริจาคให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์การสาธารณกุศล ที่ BOI เห็นชอบ
        • ต้องเป็นส่วนสูญเสียที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามลักษณะกิจกรรมของผู้รับบริจาค
        • การบริจาคต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ BOI หรือบริษัท Inspector ที่ได้รับมอบหมาย
        • ผู้รับบริจาคต้องออกหนังสือการรับบริจาคไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุส่วนสูญเสียที่รับบริจาคให้ชัดเจน
        • จัดส่งหลักฐานต่างๆ ให้กับ BOI เพื่อขอตัดบัญชี
    • กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามวิธีข้างต้น ให้ดำเนินการชำระภาษี ดังนี้
      1. ยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อให้มีหนังสือแจ้งเก็บภาษีไปยังกรมศุลกากร ในลักษณะของการชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
      2. จะต้องชำระภาษีอากรตามพิกัดกรมศุลกากร ตามสภาพและราคาของ "วัตถุดิบ" ที่เป็นอยู่ ณ วันนำเข้า
      3. จัดส่งเอกสาร และหลักฐานการชำระภาษี ให้กับ BOI เพื่อขอตัดบัญชี

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 68,374
Total pageviews 4,415,065 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.