ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 วัตถุดิบ มาตรา 30 : บัญชีรายการวัตถุดิบและปริมาณอนุมัติสูงสุด

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

บัญชีรายการวัตถุดิบ และปริมาณอนุมัติสูงสุด (Max Stock) ตามมาตรา 30

      Max Stock คือบัญชีรายการวัตุดิบและวัสดุจำเป็น และปริมาณอนุมัติสูงสุด ที่สามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ซึ่งเมื่อนำเข้ามาเต็มยอดปริมาณอนุมัติสูงสุดแล้ว จะไม่สามารถนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าได้อีก


หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น
ประกาศ สกท ที่ ป.9/2544

  1. ต้องเป็นวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่ไม่มีผู้ลิตในประเทศ ตามที่สำนักงานประกาศกำหนด (บัญชีแนบท้ายประกาศ สกท ที่ ป.7/2543)
  2. ต้องเป็นวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม
  3. กรณีเป็นวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่ไม่มีผู้ผลิตในประเทศ แต่ผู้ผลิตในประเทศมีศักยภาพที่จะทำการผลิตได้ เช่น ชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูป, ชิ้นส่วนโลหะทุบขึ้นรูป, ชิ้นส่วนโลหะหล่อ, ชิ้นส่วนพลาสติกขึ้นรูป, ชิ้นส่วนยางขึ้นรูป เป็นต้น จะอนุมัติแบบมีเงื่อนไข 1 ปี สำหรับปีแรก เพื่อให้ผู้ได้รับการส่งเสริมมีระยะเวลาติดต่อหาผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ สำหรับใช้ในการผลิตในปีต่อไป
          ทั้งนี้ ในปีถัดไปจะไม่อนุมัติรายการดังกล่าวให้อีก เว้นแต่จะมีหนังสือยืนยันจากผู้ผลิตในประเทศว่าไมสามารถผลิตวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นดังกล่าวได้ จึงจะพิจารณาอนุมัติต่อให้อีกเป็นปีๆ ไป
  4. กรณีที่เป็นวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม แต่เป็นวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่เป็นชิ้นส่วนซึ่งไม่มีผลิตในประเทศ และนำมาใช้ในการประกอบ หากเป็นการประกอบอย่างยาก หรือ Engineering Assembly ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่มีความละเอียดสูง จะต้องมีการวัด ตรวจสอบคุณภาพ จับคู่ชิ้นส่วนให้ได้ Tolerance รวมทั้งมีการทดสอบหลังการประกอบ เพื่อให้ได้ตามข้อกำหนดต่างๆ อย่างเคร่งครัด โดยใช้เครื่องทดสอบเป็นการเฉพาะ จึงจะพิจารณาอนุมัติ

ขั้นตอนการการอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น
ประกาศ สกท ที่ ป.10/2544

  1. ยื่นแบบคำขออนุมัติรายการวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น และตัวอย่างหรือภาพถ่ายของวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น ก่อนการนำเข้าไม่น้อยกว่า 2 เดือน สําหรับการขออนุมัติในครั้งแรก
  2. ยื่นแบบคำขอขยายเวลารับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 30 พร้อมยื่นแบบขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น และตัวอย่างหรือภาพถ่ายของวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่ประสงค์จะใช้สิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับรอบปีถัดไปก่อนสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าไม่น้อยกว่า 2 เดือน


บัญชีปริมาณอนุมัติสูงสุด

  1. เป็นสต๊อกแบบไม่หมุนเวียน (Max Import) คือ เมื่อนำเข้าโดยลดหย่อนอากรขาเข้าครบตามปริมาณอนุมัติสูงสุดแล้ว จะไม่สามารถนำเข้ามาโดยได้รับลดหย่อนในรอบปีนั้นได้อีก
  2. จะอนุมัติให้ตามกำลังผลิตสูงสุด 1 ปีตามที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
  3. หากโครงการดังกล่าวได้รับสิทธิ์ตามมาตรา 36 จะต้องหักส่วนที่จะขอใช้สิทธิ์ตามมาตรา 36 (1) ออกจากปริมาณที่จะขอใช้สิทธิ์ตามมาตรา 30 ด้วย
  4. วัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่เหลือค้างจากการผลิตในรอบปีก่อน สามารถนำไปใช้ในการผลิตในรอบปีถัดไปได้ โดยจะหักจากปริมาณอนุมัติสูงสุดที่จะให้นำเข้าในรอบปีถัดไป

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 14,052
Total pageviews 4,488,966 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.