ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
เครื่องจักร : ภาพรวม

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

      โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อาจได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

      ในการนำเครื่องจักรเข้ามาจากต่างประเทศโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิประโยชน์โดยเคร่งครัด

      กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทั้งหมดหรือบางส่วนที่ให้ไว้แก่ผู้ได้รับส่งเสริมได้ ซึ่งหากเป็นการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทั้งหมด จะถือว่าผู้ได้รับส่งเสริมไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาตั้งแต่ต้น และจะต้องเสียภาษีอากรตามสภาพเครื่องจักร ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ

      ผู้ได้รับส่งเสริมจึงจำเป็นต้องศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิ เพื่อจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อไป

นิยามของเครื่องจักร

      พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดความหมายของเครื่องจักรไว้ดังนี้

      มาตรา 4 "เครื่องจักร" หมายความว่า เครื่องจักรที่จำเป็นที่ต้องใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม และเครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งรวมถึงส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และโครงโรงงานสำเร็จรูปที่นำมาติดตั้งเป็นโรงงานด้วย

คำจำกัดความของส่วนประกอบและอุปกรณ์

      ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.1/2546 กำหนดคำจำกัดความ ของส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ไว้ดังนี้

  • ส่วนประกอบ (Part and Component)
    หมายถึง ชิ้นส่วนต่างๆ รวมทั้งอะไหล่ ที่ใช้ประกอบขึ้นเป็นเครื่องจักร ซึ่งหากแยกชิ้นส่วนหนึ่งชิ้นส่วนใดออกจากกันแล้ว จะทำให้เครื่องจักรดังกล่าวไม่สามารถทำงานได้

  • อุปกรณ์ (Accessory)
    หมายถึง ชิ้นส่วนที่นำมาประกอบกับเครื่องจักร เพื่อให้ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ หากขาดอุปกรณ์แล้วเครื่องจักรยังคงทำงานได้ แต่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ รวมถึงแม่พิมพ์และอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนแม่พิมพ์หรือต้นแบบ (Master Mould) แม่แบบ และอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน (Jig and Fixtue) ที่ใช้สำหรับการทำงานที่มีการผลิตจำนวนมาก

  • เครื่องมือ (Tool)
    หมายถึง ของที่ใช้งานโดยอิสระ หรือที่ใช้งานร่วมกับเครื่องจักร

  • เครื่องใช้ (Implement)
    หมายถึง ของที่ใช้สนับสนุนกรรมวิธีการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

  • โครงโรงงานสำเร็จรูป (Pre-Fabricated Factory Structure)
    หมายถึง โครงโรงงานสำเร็จรูปซึ่งสามารถถอดออกได้ เพื่อนำมาติดตั้งหรือประกอบเป็นโรงงาน
แนวการนำเข้าเครื่องจักรโดยยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร
  1. ต้องเป็นเครื่องจักรไม่มีผลิตหรือประกอบได้ในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับชนิดที่ผลิตในต่างประเทศ และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้
    บัญชีรายการเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีผลิตหรือประกอบในราชอาณาจักร
  2. ต้องนำเข้ามาในะยะเวลาที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร
  3. ต้องใช้ในกระบวนการผลิตโดยตรง เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบและควบคุมคณภาพผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการขนส่งผลิตภัณฑ์ขึ้นยานพาหนะ โดยพิจารณาตามการติดตั้งใช้จริงเท่านั้น
  4. กรณีไม่ได้ใช้ในกระบวนการผลิตโดยตรง แต่จำเป็นต้องใช้ในกิจการ ให้ถือว่าอยู่ในข่ายที่จะได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร โดยพิจารณาตามการใช้จริงเท่านั้น เช่น เครื่องใช้ภายในสำนักงาน เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง การติดต่อสื่อสาร การกำจัดมลพิษ การวิจัยและพัฒนา การประหยัดพลังงาน การซ่อมบำรุง การให้ความปลอดภัยแก่พนักงาน และการรักษาความปลอดภัยในโรงงาน เป็นต้น
  5. กรณีเป็นอะไหล่ จะนำเข้ามาพร้อมกับเครื่องจักรหรือไม่ก็ได้
  6. จะเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิมก็ได้
  7. กรณีเป็นเครื่องจักรเก่า ต้องได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่าในบัตรส่งเสริม และมีใบรับรองประสิทธิภาพจากสถาบันที่เชื่อถือได้ แต่จะไม่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร
คำถามน่ารู้
ถาม : การนำเครื่องจักรเก่าเข้ามาจากต่างประเทศโดยชำระภาษีอากรเอง จะต้องทำใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรด้วยหรือไม่?
ตอบ : ต้อง
      และจะต้องได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการด้วย มิฉะนั้น จะไม่นับรวมเป็นเครื่องจักรในโครงการที่ได้รับส่งเสริม

ถาม : การนำเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติให้ตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีแล้ว ไปใช้เพื่อการอื่นหรือจำหน่าย จะต้องขออนุญาตจาก BOI หรือไม่?
ตอบ : ต้อง
      การตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี เป็นการตรวจสอบอายุเครื่องจักรว่าได้นำเข้ามาใช้งานเกินกว่า 5 ปี และปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็จะตัดรายการเพื่อให้ปลอดจากภาระภาษีไป
      แต่ถึงแม้ว่าจะได้รับอนุมัติให้ตัดรายการเพื่อปลอดภาระภาษีไปแล้วก็ตาม เครื่องจักรนั้นก็ยังจะต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมต่อไป หากจะนำไปใช้เพื่อการอื่นหรือจะจำหน่าย จะต้องได้รับอนุมัติก่อน
ถาม : บริษัทนำเครื่องมือ-เครื่องใช้ที่ใช้แล้วสิ้นเปลือง เช่น ใบมีด ดอกสว่าน สายไฟ รองเท้านิรภัย ฯลฯ เข้ามาในราชอาณาจักรโดยสั่งปล่อยในข่ายเครื่องจักร เมื่อเครื่องมือ-เครื่องใช้เหล่านั้นเสื่อมสภาพไป บริษัทจะต้องทำอย่างไร?
ตอบ : จะต้องขออนุมัติทำลายและตัดบัญชีก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายเศษซากของเครื่องมือ-เครื่องใช้ดังกล่าวได้
      แต่หากจำหน่ายไปโดยไม่ได้ยื่นขออนุมัติ ถือว่ามีความผิด คือ นำเครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ไปใช้เพื่อการอื่นหรือจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะมีภาระภาษีตามสภาพ ณ วันที่จำหน่ายออกจากโครงการ พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ (ถ้ามี)
ถาม : กรณีที่นำเครื่องจักรเข้ามาเกินกว่ากำลังผลิตที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม จะสามารถขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้หรือไม่?
ตอบ
  1. กรณีที่ยังไม่เปิดดำเนินการครบตามโครงการ
          BOI จะตรวจสอบกำลังผลิตของเครื่องจักรที่มีอยู่จริง ณ วันที่บริษัทขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการ ซึ่งหากพบว่ากำลังผลิตของเครื่องจักรมีมากเกินกว่าบัตรส่งเสริม ก็จะอนุญาตให้บริษัทขอแก้ไขกำลังผลิตให้ตรงกับความเป็นจริง
  2. กรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้ว
          ไม่สามารถแก้ไขกำลังผลิตได้อีก เพราะถือว่าทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงยอมรับกำลังผลิตสูงสุดที่ได้มีการตรวจสอบ ณ วันเปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้ว
ถาม : การจำหน่ายเครื่องจักรที่มีอายุใช้งานเกินกว่า 5 ปี จะต้องทำอย่างไร?
ตอบ
  1. กรณีเป็นเครื่องจักรหลัก
          หาก BOI ตรวจสอบเงื่อนไขทางบัญชีถูกต้องแล้ว (บริษัทไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไข) จะอนุญาตให้จำหน่ายได้โดยไม่มีภาระภาษี
          แต่หากการจำหน่ายเครื่องจักรหลัก มีผลกระทบต่อกรรมวิธีการผลิต หรือทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% จะต้องยื่นเรื่องขอแก้ไขโครงการเพื่อลดกำลังผลิตหรือลดขั้นตอนการผลิตก่อน หรือจะต้องมีการซื้อเครื่องจักรมาทดแทนกรรมวิธีผลิต/กำลังผลิตในส่วนนั้น จึงจะอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องจักรหลักได้
  2. กรณีไม่ใช่เครื่องจักรหลัก
          คือ เครื่องจักรที่ไม่มีผลกระทบต่อกำลังผลิตหรือกรรมวิธีการผลิตของโครงการ เช่น แม่พิมพ์ Jig&Fixture อะไหล่เครื่องจักรฯลฯ ให้ยื่นเรื่องเพื่อขอจำหน่ายเครื่องจักรโดยไม่มีภาระภาษีได้โดยตรง
ถาม : การจำหน่ายเครื่องจักรที่มีอายุใช้งานไม่เกิน 5 ปี มีภาระภาษีหรือไม่ อย่างไร?
ตอบ: เครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร จะปลอดภาระภาษีเมื่อใช้ในโครงการเป็นเวลาครบ 5 ปีนับจากวันนำเข้า หรือเมื่อส่งคืนกลับไปยังต่างประเทศ
      แต่หากจะจำหน่ายในประเทศโดยใช้งานไม่ครบ 5 ปี จะมีภาระภาษีตามสภาพ ณ วันที่อนุมัติให้จำหน่าย
      ยกเว้นในกรณีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข อาจถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด และต้องชำระภาษีตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ โดยถือว่าบริษัทไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรตั้งแต่ต้น
ถาม : บริษัทได้รับส่งเสริม 2 โครงการ แต่โครงการที่ 2 ยังนำเครื่องจักรเข้ามาไม่ครบ จึงนำเครื่องจักรในโครงการที่ 1 มาใช้ในการผลิตเป็นการชั่วคราว จะถือเป็นการผิดเงื่อนไขหรือไม่?
ตอบ : หากบริษัทยังนำเครื่องจักรหลักในโครงการที่ 2 เข้ามาไม่ครบ แต่นำเครื่องจักรในโครงการที่ 1 มาใช้ผลิตในโครงการที่ 2 ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข และรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในส่วนนี้ ก็ไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถาม : การจำหน่ายเศษซากเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติให้ทำลาย จะต้องชำระภาษีตามสภาพเศษซากหรือไม่?
ตอบ : ไม่มีภาระภาษี ทั้งกรณีเศษซากจากการทำลายเครื่องจักรที่นำเข้ามาเกินกว่า 5 ปีแล้ว หรือยังไม่เกิน 5 ปีก็ตาม

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 61,952
Total pageviews 4,488,978 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.