ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 ภาษีเงินได้นิติบุคคล : การคำนวณวงเงินลงทุนที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

      ตามประกาศ สกท ที่ ป.12/2544 โครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2544 เป็นต้นไป จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 โดยกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุน โดยในเบื้องต้นจะกำหนดให้ตามขนาดการลงทุนในคำขอรับส่งเสริม แต่จะปรับเปลี่ยนวงเงินในวันเปิดดำเนินการ

      ค่าใช้จ่ายที่นับเป็นขนาดการลงทุนซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ จะแตกต่างกันในกรณีโครงการริเริ่ม และโครงการขยาย ดังนี้

รายการค่าใช้จ่ายโครงการริเริ่มโครงการขยาย
สำนักงาน / โรงงานซื้อ / ก่อสร้างใหม่OO
เช่า (สัญญามากกว่า 3 ปี)OO
ใช้อาคารเดิมที่ไม่ได้ใช้งานมาก่อนOO
ใช้ร่วมกับกิจการเดิมXX
เครื่องจักรซื้อ / เช่าซื้อOO
เช่า (สัญญาเกินกว่า 1 ปี)OO
บริษัทแม่ให้มาOO
ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการค่าจัดตั้งบริษัท อื่นๆOX
ทรัพย์สินอื่นๆอุปกรณ์สำนักงาน และยานพาหนะOX
ค่าที่ดินXX
ค่าวิชาการXX
เงินทุนหมุนเวียนXX

  1. ค่าก่อสร้างอาคาร
    1. กรณีก่อสร้างเอง
          ได้แก่ ค่าก่อสร้างโรงงานและอาคารสำนักงาน โดยรวมถึงค่าสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมถึงค่าปรับปรุงและต่อเติมอาคารเดิมด้วย
          ใช้ราคาทุนที่ได้มา ดังนี้
      1. กรณีว่าจ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
            ต้นทุนคือจำนวนเงินที่กิจการตกลงตามสัญญาก่อสร้าง
      2. กรณีที่ก่อสร้างเอง
            การคำนวณต้นทุนเริ่มตั้งแต่ค่าเขียนแบบ ค่าธรรมเนียมขออนุญาต ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง ค่าทำฐานราก จนกระทั่งอาคาร/โรงงานเสร็จ
    2. กรณีซื้ออาคาร
          ใช้มูลค่าตามสัญญาซื้อขาย
    3. กรณีใช้อาคารที่มีอยู่เดิมโดยเป็นอาคารที่ไม่ได้ใช้งานมาก่อน
          ใช้ราคาสุทธิตามบัญชีของงวดบัญชีก่อนยื่นคำขอรับการส่งเสริม
    4. กรณีเช่าอาคารโรงงาน
          ใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่า ซึ่งต้องมีระยะเวลาการเช่ามากกว่า 3 ปี และจดทะเบียนกับสำนักงานที่ดินแล้ว

  2. ค่าเครื่องจักร ค่าติดตั้ง ค่าทดลองเครื่อง
        หมายถึง เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เป็นไปตามคำจำกัดความตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และประกาศ สกท ที่ ป.1/2546 ซึ่งต้องมีใช้อยู่ในโครงการนั้นจริงในวันเปิดดำเนินการ
    1. กรณีซื้อเครื่องจักร
          ใช้ราคาทุน / ราคาที่ได้มาของค่าเครื่องจักร ค่าติดตั้ง ค่าทดลองเครื่อง ค่าวิชาการที่รวมอยู่ในต้นทุนเครื่องจักร เช่น ค่าวิศวการ ค่าออกแบบ และในกรณีที่ได้รับส่งเสริมในกิจการซอฟต์แวร์หรือกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้รวมถึงค่าเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมด้วย
      1. กรณีบันทึกบัญชีเป็นทรัพย์สิน
            ต้องแสดงไว้ในงบการเงินที่มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองการมีอยู่จริงของสินทรัพย์ในรอบบัญชีนั้น
      2. กรณีบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย หรือไม่ได้บันทึกบัญชีเป็นทรัพย์สิน
            ต้องแนบเอกสารหลักฐานการซื้อขาย
    2. กรณีเช่าซื้อและเช่าแบบลีสซิ่ง
          ให้ใช้มูลค่าตามสัญญาเช่าซื้อ หรือเช่าแบบลีสซิ่ง โดยบันทึกบัญชีไว้ และจะต้องแนบสัญญาเช่านั้น
    3. กรณีเช่าเครื่องจักร
          ให้ใช้มูลค่าตามสัญญาเช่า ซึ่งต้องมีระยะเวลาเช่ามากกว่า 1 ปี โดยบันทึกบัญชีไว้ และจะต้องแนบสัญญาเช่านั้น
    4. กรณีเครื่องจักรที่บริษัทในเครือให้มาโดยไม่คิดค่าตอบแทน และได้ระบุไว้ในคำขอรับการส่งเสริม
          ให้ใช้มูลค่าตามบัญชีของบริษัทที่ให้เครื่องจักร โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม และจะต้องแนบเอกสารหลักฐานการนำเข้าเครื่องจักรนั้น
    5. กรณีจำนองเครื่องจักร
          ให้ใช้ราคาทุน / ราคาที่ได้มาเช่นเดียวกับเครื่องจักร เช่นเดียวกับกรณีซื้อเครื่องจักร

  3. ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ
        หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทใหม่ ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียม และค่าหนังสือบริคณฑ์สนธิ
        ใช้มูลค่าที่บันทึกบัญชี และเอกสารหลักฐานนั้น

  4. มูลค่าทรัพย์สินอื่นๆ
    1. ค่าอุปกรณ์สำนักงาน และยานพาหนะ
          ให้นับเฉพาะกรณีขอรับส่งเสริมในนามบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ และกรณีคำขอโยกย้ายสถานประกอบการเท่านั้น โดยใช้มูลค่าที่บันทึกบัญชี และเอกสารหลักฐานนั้น
    2. ค่าสัมปทาน ค่าประทานบัตร และสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติที่จ่ายให้กับรัฐ
          ใช้มูลค่าที่บันทึกบัญชี และเอกสารหลักฐานนั้น

      แต่ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นโครงการโยกย้ายสถานประกอบการ จะไม่อนุญาตให้นำมูลค่าเครื่องจักรที่โยกย้ายจากสถานประกอบการเดิม มาคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการในที่ตั้งแห่งใหม่


เอกสารประกอบการตรวจสอบ

  1. ทะเบียนทรัพย์สิน
  2. หลักฐานประกอบการซื้อขายและการชำระเงิน เช่น ใบส่งของ ใบกำกับสินค้า ใบขนสินค้าขาเข้า ใบเสร็จรับเงิน
  3. งบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีรับรอง
  4. ภงด.50 สำหรับปีที่บริษัทได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว
  5. สัญญาเช่าทรัพย์สิน เช่น สัญญาเช่าอาคาร สัญญาเช่าเครื่องจักร

แนวทางการตรวจสอบ

  1. จะตรวจสอบมูลค่าการลงทุนโดยพิจารณาจากงบการเงินในหมวดทรัพย์สิน
  2. กรณีที่บริษัทมีทรัพย์สินเพิ่มเติมจากวันปิดงบการเงินจนถึงวันเปิดดำเนินการ จะตรวจสอบเอกสารสำคัญอื่นเพิ่มเติม เช่น ใบส่งของ ใบเสร็จรับเงิน ใบขนสินค้าขาเข้า
  3. เครื่องจักรตามทะเบียนทรัพย์สิน จะต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่นำเข้าหรือซื้อมาก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม
          กรณีที่นำเข้าหรือซื้อมาก่อนวันที่ยื่นคำขอ จะต้องระบุไว้ในขั้นยื่นคำขอรับการส่งเสริมด้วย แต่หากไม่ได้ระบุไว้ จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เครื่องจักรดังกล่าวยังไม่เคยก่อให้เกิดรายได้ก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม
  4. เครื่องจักรตามทะเบียนทรัพย์สิน จะต้องไม่เป็นเครื่องจักรเก่าใช้แล้ว เว้นแต่จะมีเงื่อนไขอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วได้
  5. วันที่เปิดดำเนินการ คือ
    • วันครบกำหนดเปิดดำเนินการตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม หรือ
    • วันที่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาเปิดดำเนินการ หรือ
    • วันที่บริษัทพร้อมเปิดดำเนินการ แต่ต้องไม่หลังจากวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ
  6. มูลค่าทรัพย์สินที่จะนำมาคำนวณการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องนำเข้าหรือซื้อมาก่อนวันที่เปิดดำเนินการเท่านั้น ดังนั้น หากบริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไขให้เป็นไปตามโครงการได้ภายหลังจากวันที่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ จะคำนวณมูลค่าการลงทุนตามวันที่ครบกำหนดเปิดดำเนินการเท่านั้น
  7. กรณีที่บริษัทได้รับส่งเสริมหลายโครงการ มูลค่าเงินลงทุนที่ตรวจสอบจะต้องเป็นมูลค่าการลงทุนของแต่ละโครงการเท่านั้น


คำถามน่ารู้

Q : เครื่องจักรที่จะนำมาคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการ จะนับเฉพาะเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 28 และ 29 ใช่หรือไม่?
A : ไม่ใช่
      แต่จะนับรวมทั้งเครื่องจักรที่นำเข้าโดยยกเว้นภาษีหรือชำระภาษีเข้ามาเอง และรวมถึงเครื่องจักรที่มีการซื้อภายในประเทศด้วย แต่ทั้งนี้ จะต้องมีสภาพใหม่/เก่าตามเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริมเท่านั้น

Q : เครื่องจักรที่บริษัทได้จำหน่ายไปก่อนวันที่เปิดดำเนินการ จะนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุนจริงได้หรือไม่?
A : ไม่ได้
      เครื่องจักรและทรัพย์สินที่จะนำมาคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุนเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องปรากฎในบัญชีทรัพย์สินและบริษัทถือครองจริง ณ วันเปิดดำเนินการเท่านั้น หากมีการซื้อมาจริงแต่จำหน่ายไปก่อนหน้านั้น จะไม่นำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุนจริง

Q : การจำหน่ายเครื่องจักรภายหลังจากเปิดดำเนินการแล้ว จะต้องมีการคำนวณมูลค่าการลงทุนจริงใหม่อีกครั้งหนึ่งหรือไม่?
A : ไม่ต้อง
      เมื่อได้มีการตรวจสอบปรับเปลี่ยนมูลค่าการลงทุนจริงในวันเปิดดำเนินการแล้ว จะไม่มีการแก้ไขตัวเลขดังกล่าวอีก แม้ว่าหลังจากนั้น บริษัทจะจำหน่ายเครื่องจักรนั้นออกไปจากโครงการก็ตาม

Q : เนื่องจากค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทใหม่ ดังนั้น ในกรณีที่ผู้บริหารชาวต่างชาติเดินทางมาในประเทศไทยเพื่อติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะนำค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าที่พักในช่วงเวลาดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการได้หรือไม่?
A : ได้ ?

Q : กรณีที่บริษัทจ่ายค่าทรัพย์สิน เช่น แม่พิมพ์ที่จ้างให้บริษัทในต่างประเทศทำการฉีดหรือปั๊มชิ้นงานให้ โดยแม่พิมพ์อยู่ในบริษัทผู้รับจ้างในต่างประเทศ จะนำค่าทรัพย์สินดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นขนาดการลงทุนได้หรือไม่?
A : ไม่ได้
จะต้องเป็นสินทรัพย์ที่อยู่ในประเทศเท่านั้น

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 35,319
Total pageviews 4,415,095 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.