การขอรับการส่งเสริม : ภาพรวม
หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ
ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566
ผู้ที่จะได้รับการส่งเสริม จะต้องเป็นบริษัท สหกรณ์ หรือมูลนิธิที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น
แต่หากยังไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
จะยื่นคำขอรับการส่งเสริมในนามบุคคลก่อน แล้วจึงจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในภายหลังก่อนที่จะขอรับบัตรส่งเสริมก็ได้
การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
-
1. | การยื่นคำขอรับการส่งเสริม |
2. | การชี้แจงโครงการ |
3. | การตอบรับมติการให้ส่งเสริม |
4. | การขอรับบัตรส่งเสริม |
การยื่นคำขอรับการส่งเสริม
การขอรับการส่งเสริม สามารถยื่นทางออนไลน์ ผ่าน ระบบสนับสนุนงานส่งเสริมการลงทุน (e-Investment Promotion) ของ BOI สำหรับคำขอ 4 ประเภท คือ
- คำขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั่วไป (F PA PP 01-08)
- คำขอรับการส่งเสริมการลงทุน (บริการ) (F PA PP 03-09)
- คำขอรับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการด้านดิจิทัล (F PA PP 04-09)
- คำขอรับการส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) (F PA PP 29-05)
ส่วนคำขอรับการส่งเสริมอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ จะต้องยื่นเป็นเอกสาร ต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
แบบฟอร์มคำขอรับการส่งเสริม เอกสารประกอบคำขอ และเอกสารแนบต่างๆ
คำขอรับการส่งเสริม มีทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยการกรอกข้อมูลในคำขอรับการส่งเสริม จะกรอกเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
กรณีที่ผู้ขอรับการส่งเสริมมีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ จะยื่นคำขอรับการส่งเสริมผ่านสำนักงาน BOI ในต่างจังหวัดหรือในต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ดูแลการส่งเสริมลงทุนในพื้นที่นั้นๆ ก็ได้
กรณีที่ผู้ขอรับการส่งเสริม ต้องการปรึกษาวิธีการกรอกคำขอรับการส่งเสริม สามารถติดต่อขอปรึกษาได้ที่ศูนย์บริการเพื่อการลงทุน โทร 02-553-8111 ได้
ทั้งนี้ การปรึกษาวิธีการกรอกคำขอ กับ BOI ตลอดจนการยื่นคำขอรับการส่งเสริมนี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น
ข้อควรทราบในการกรอกคำขอ
ในการกรอกคำขอรับการส่งเสริม ผู้ขอควรทราบความหมายในการกรอกข้อมูลในส่วนที่สำคัญ ดังนี้
-
1. ชนิดผลิตภัณฑ์ / กำลังผลิต / เวลาทำงาน
ตัวอย่างที่ 1
ผลิตภัณฑ์ | กำลังผลิต (ต่อปี) | เวลาทำงาน |
หม้อหุงข้าว | 1,000,000 เครื่อง | 8 ชม./วัน 300 วัน/ปี |
-
ชนิดผลิตภัณฑ์ : หมายถึง รายการสินค้าที่ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถจำหน่ายได้โดยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ เป็นต้น
โครงการตามตัวอย่างที่ 1 จะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเฉพาะหม้อหุงข้าวเท่านั้น ไม่สามารถจำหน่ายหม้อนึ่ง หม้ออบ หรือหม้อไฟฟ้าชนิดอื่น ตลอดจนไม่สามารถจำหน่ายชิ้นส่วนของหม้อหุงข้าวได้
กำลังผลิต : หมายถึง กำลังผลิตสูงสุดของโครงการที่จะสามารถใช้สิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และคำนวณปริมาณอนุมัติสูงสุดของวัตถุดิบ (Max Stock) โดยกำลังผลิตนี้จะคำนวณจากกำลังผลิตสูงสุดของเครื่องจักร ไม่ใช่แผนการตลาดหรือปริมาณที่คาดว่าจะผลิต
โครงการตามตัวอย่างที่ 1 จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายหม้อหุงข้าวปีละไม่เกิน 1,000,000 เครื่องเท่านั้น ส่วนที่เกินกว่านี้จะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล และจะได้รับอนุมัติ Max Stock ของวัตถุดิบ สำหรับการผลิต 4 เดือน คือ 333,333 เครื่อง
เวลาทำงาน : หมายถึง เวลาทำงานของเครื่องจักรที่จะใช้เป็นฐานในการคำนวณกำลังผลิตสูงสุดของโครงการ
กรณีที่ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องการผลิตหม้อไฟฟ้าต่างๆ และจะจำหน่ายชิ้นส่วนด้วย ควรกรอกคำขอรับการส่งเสริมตามตัวอย่างที่ 2 โดยระบุกำลังผลิตตามกำลังผลิตสูงสุดของเครื่องจักร ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2
ผลิตภัณฑ์ | กำลังผลิต (ต่อปี) | เวลาทำงาน |
หม้อไฟฟ้า | 1,500,000 เครื่อง | 8 ชม./วัน 300 วัน/ปี |
ชิ้นส่วนหม้อไฟฟ้า | 4,000,000 ชิ้น |
-
2. กรรมวิธีการผลิต
-
ตัวอย่างที่ 3
กรรมวิธีการผลิตหม้อไฟฟ้า
- | นำแผ่นเหล็กมาปั๊มขึ้นรูปเป็นหม้อชั้นในและชั้นนอก |
- | ประกอบชิ้นส่วนทางไฟฟ้า เช่น สวิตซ์ตัดต่อ และฟิวส์ เป็นต้น |
- | ประกอบชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นส่วนพลาสติก และชิ้นส่วนไฟฟ้าเข้าด้วยกัน |
- | ตรวจสอบ ปรับแต่ง บรรจุหีบห่อ จำหน่าย |
กรรมวิธีการผลิต : เป็นขั้นตอนในการผลิตสินค้าที่ผู้ได้รับส่งเสริมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน ไม่สามารถผลิตสินค้าโดยมีขั้นตอนมากกว่าหรือน้อยกว่าที่ยื่นขอรับส่งเสริมนี้
นอกจากนี้ ในการอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า จะพิจารณาอนุมัติรายการเครื่องจักรและวัตถุดิบซึ่งสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตนี้เท่านั้น
โครงการที่มีขั้นตอนการผลิตตามตัวอย่างที่ 3 จะต้องผลิตหม้อชั้นในและชั้นนอกขึ้นเองภายในโรงงาน ไม่สามารถซื้อหม้อชั้นในหรือชั้นนอกที่ปั๊มขึ้นรูปแล้วมาใช้ในการผลิตได้
กรณีที่ผู้ขอรับส่งเสริมประสงค์จะทำการว่าจ้างผลิต หรือต้องการผลิตชิ้นส่วนบางส่วนขึ้นเองและนำเข้าบางส่วน จะต้องระบุในกรรมวิธีการผลิตให้ชัดเจน ตามตัวอย่างที่ 4 ดังนี้
-
ตัวอย่างที่ 4
กรรมวิธีการผลิตหม้อไฟฟ้า
- | นำแผ่นเหล็กไปว่าจ้างผู้ประกอบการในประเทศให้ตัดตามขนาดที่ต้องการ |
- | ปั๊มขึ้นรูปเป็นหม้อชั้นในและชั้นนอก โดยอาจนำเข้าหม้อชั้นในบางส่วนจากต่างประเทศมาใช้ในการผลิต |
- | ประกอบชิ้นส่วนทางไฟฟ้า เช่น สวิตซ์ตัดต่อ และฟิวส์ เป็นต้น |
- | นำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผู้ประกอบการในประเทศให้ฉีดขึ้นรูปชิ้นส่วนพลาสติกบางรายการ |
- | ประกอบชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นส่วนพลาสติก และชิ้นส่วนไฟฟ้าเข้าด้วยกัน |
- | ตรวจสอบ ปรับแต่ง บรรจุหีบห่อ จำหน่าย |
การชี้แจงโครงการ
หลังจากยื่นคำขอรับการส่งเสริมแล้ว ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำกองบริหารสิทธิและประโยชน์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบคำขอนั้นๆ เพื่อนัดหมายกำหนดวันชี้แจงโครงการ
จากนั้น ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ (หรือผ่านระบบออนไลน์) เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรืออาจมอบหมายให้ผู้อื่นไปชี้แจงโครงการแทนก็ได้
ในการชี้แจงโครงการ ผู้ขอรับการส่งเสริมควรนำบุคคลที่มีความเข้าใจรายละเอียดของโครงการที่ขอรับการส่งเสริม ทั้งในด้านการผลิต การเงิน และการตลาด ร่วมเดินทางไปชี้แจงโครงการด้วย เนื่องจากจะทำให้การชี้แจงโครงการมีความถูกต้องชัดเจน และจะทำให้การพิจารณาคำขอรับการส่งเสริมเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
กรณีที่ข้อมูลในคำขอรับการส่งเสริมไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่อาจขอให้บริษัทแก้ไขคำขอรับการส่งเสริม หรืออาจให้จัดทำเอกสารชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
การอนุมัติโครงการ
หลังจากการชี้แจงโครงการสิ้นสุดลง เจ้าหน้าที่จะสรุปรายงานการขอรับส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว และนำเสนอต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามขนาดการลงทุนของโครงการนั้นๆ โดยมีกำหนดเสร็จ 15-90 วันทำการ ดังนี้
ขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) | ผู้พิจารณา | กำหนดเสร็จ |
เกินกว่า 2,000 ล้านบาทและจำหน่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ | คณะกรรมการ | 90 วันทำการ |
เกินกว่า 2,000 ล้านบาท และส่งออกเป็นส่วนใหญ่ | คณะอนุกรรมการ | 60 วันทำการ |
200-2,000 ล้านบาท |
80- 200 ล้านบาท | สำนักงาน
| 60 วันทำการ |
ไม่เกิน 80 ล้านบาท | สำนักงาน
| 40 วันทำการ |
ไม่เกิน 40 ล้านบาท | สำนักงาน | 15 วันทำการ |
กิจการซอฟต์แวร์ทุกขนาดการลงทุน |
กิจการกลุ่ม B ในทุกขนาดการลงทุน ยกเว้นกรณีที่มีการนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในโครงการ | สำนักงาน | 40-60 วันทำการ |
กิจการสถานพยาบาล กิจการโรงแรม และกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในทุกขนาดการลงทุน |
โครงการที่ดำเนินการอยู่เดิมในทุกขนาดการลงทุน ซึ่งเป็นโครงการที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ และ/หรือ มาตรการยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ Smart และ Sustainability ด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เฉพาะกรณีการใช้พลังงานทดแทนโดยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล |
บริการที่ปรึกษา และขอรับการส่งเสริมการลงทุน BOI
|