ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 วัตถุดิบ มาตรา 36 : การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากรวัตถุดิบ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากรวัตถุดิบ มาตรา 36

      ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกัน แทนการชำระอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการผลิตส่งออกได้ ในกรณีต่าง ๆ เช่น

  1. ยังไม่ได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบ
  2. ปริมาณนำเข้าเกินกว่าปริมาณสูงสุดที่จะอนุญาตให้นำเข้าได้
  3. อยู่ระหว่างการขอขยายเวลามาตรา 36
  4. ยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริม แต่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมและตอบรับมติให้การส่งเสริมแล้ว
  5. รายการวัตถุดิบไม่ตรงกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ


หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. กรณีที่ยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริม จะต้องได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมและตอบรับมติให้การส่งเสริมแล้ว
  2. จะต้องได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36
  3. กรณีที่ยังไม่ได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบ จะให้ค้ำประกันเฉพาะอากรขาเข้าเท่านั้น
  4. กรณีที่ได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบแล้ว จะให้ค้ำประกันอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะรายการวัตถุดิบเท่านั้น ส่วนรายการวัสดุจำเป็นจะค้ำประกันให้เฉพาะอากรขาเข้า
  5. จะอนุญาตให้ใช้การค้ำประกันอากรขาเข้าเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่อนุญาต และจะต้องดำเนินการถอนค้ำประกันให้เสร็จภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ค้ำประกัน
  6. เป็นการนำเข้ามาก่อนที่จะได้รับอนุมัติบัญชีปริมาณสต๊อกสูงสุด หรือปริมาณวัตถุดิบที่นำเข้ามาเกินกว่าปริมาณสต๊อกสูงสุด
  7. กรณีเป็นวัตถุดิบที่นำเข้ามาระหว่างขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต จะต้องยื่นเรื่องขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิตก่อน
  8. กรณีที่ระยะเวลาการนำเข้าวัตถุดิบสิ้นสุดลงแล้ว แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาขยายเวลา จะผ่อนผันให้ใช้การค้ำประกันอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากไม่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา จะต้องชำระภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบที่ค้ำประกันไว้

เอกสารที่ต้องใช้

  • กรณีก่อนออกบัตรส่งเสริม
    1. แบบคำขอผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกันวัตถุดิบ ตามมาตรา 36 (ในกรณีก่อนออกบัตรส่งเสริม) (F IN IR 03)
    2. สำเนาอินวอยซ์ จำนวน 2 ชุด
    3. สำเนาแพคกิ้งลิตส์ จำนวน 2 ชุด (ถ้ามี)
    4. สำเนาหนังสือตอบรับมติให้การส่งเสริม

    ทั้งนี้ เอกสารทุกฉบับจะต้องลงนามรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ประทับตราบริษัท

  • กรณีออกบัตรส่งเสริมแล้ว
    1. แบบคำขอผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกันวัตถุดิบ ตามมาตรา 36 (ในกรณีมีบัตรส่งเสริมแล้ว) (F IN IR 04)
    2. สำเนาอินวอยซ์ จำนวน 2 ชุด
    3. สำเนาแพคกิ้งลิตส์ จำนวน 2 ชุด (ถ้ามี)

    ทั้งนี้ เอกสารทุกฉบับจะต้องลงนามรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ประทับตราบริษัท

  • เอกสารในส่วนของ BOI
    1. รายงานข้อเสนอในแบบพิจารณาคำขอผ่อนผันใช้การค้ำประกันแทนการชำระอากรขาเข้า (F IN IR 11)
    2. กรณีก่อนออกบัตรส่งเสริม
      -การขอผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นเพื่อการส่งออก (F IN IR 15)
    3. กรณีมีบัตรส่งเสริม แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติบัญชีรายการและปริมาณวัตถุดิบ
      -การขอผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นเพื่อการส่งออก (F IN IR 30)
    4. กรณีมีบัตรส่งเสริม และได้รับอนุมัติบัญชีรายการและปริมาณวัตถุดิบแล้ว
      -การขอผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระอากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นเพื่อการส่งออก (F IN IR 16)

การขยายเวลาใช้ธนาคารค้ำประกัน แทนการชำระภาษีอากรวัตถุดิบ

      กรณีที่การอนุมัติบัญชีรายการสต๊อควัตถุดิบ หรือการขยายเวลาการใช้ประโยชน์วัตถุดิบตามมาตรา 36 ยังไม่แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่อนุญาตให้ใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากรวัตถุดิบไว้แล้วนั้น
      BOI จะพิจารณาผ่อนผันการขยายเวลาใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากรวัตถุดิบออกไปอีก และส่งให้แก่กรมศุลกากร ดังนี้

  1. กรณีที่ได้รับการคํ้าประกันอากรขาเข้าอย่างเดียว
    • หนังสืออนุญาตขยายเวลาคํ้าประกันอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบจำเป็นเพื่อการส่งออก (F IN IR 19)
  2. กรณีที่ได้รับการคํ้าประกันอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • หนังสืออนุญาตขยายเวลาคํ้าประกันอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบจำเป็นเพื่อการส่งออก (F IN IR 20)

      แต่หาก BOI พิจารณาไม่อนุญาตให้ขยายเวลาการใช้ธนาคารค้ำประกันภาษรอากรวัตถุดิบ ก็จะมีหนังสือไม่อนุญาตให้ขยายเวลาคํ้าประกันอากรขาเข้า (F IN IR 21) แจ้งให้กรมศุลกากรดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 10,170
Total pageviews 4,454,379 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.