ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
การขอรับส่งเสริม : การโอน / รับโอนกิจการ

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

      เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมโอนหรือขายกิจการที่ได้รับส่งเสริมให้กับผู้อื่น บัตรส่งเสริมฉบับนั้นจะใช้ต่อไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่โอนหรือขายกิจการ

      ในกรณีที่ผู้รับโอนกิจการ ประสงค์จะรับช่วงดำเนินการที่ได้รับส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม ผู้รับโอนกิจการจะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมเพื่อขอรับโอนกิจการดังกล่าว โดยคณะกรรมการจะพิจารณาให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่ยังเหลืออยู่เดิม

ขั้นตอนการโอน - รับโอนกิจการ

      การโอน - รับโอนกิจการมีขั้นตอน และแนวทางพิจารณา ดังนี้

  1. ผู้รับโอนกิจการจะต้องยื่นคำขอรับส่งเสริมเพื่อรับโอนกิจการ พร้อมกับผู้ที่โอนกิจการจะต้องยื่นหนังสือเพื่อขอโอนกิจการ โดยยื่นเรื่องเข้ามาพร้อมกัน
  2. การยื่นคำขอรับโอนกิจการ ควรยื่นก่อนที่จะทำการโอน-รับโอนกิจการ เนื่องจากหากมีการโอนกิจการไปแล้วก่อนยื่นคำขอรับโอนกิจการ บัตรส่งเสริมฉบับเดิมจะสิ้นสุดภายใน 3 เดือนนับจากวันที่โอนกิจการ ซึ่งอาจทำให้บัตรส่งเสริมเดิมสิ้นสุดอายุไปก่อนก็ได้
  3. กรณีที่อนุมัติให้โอนกิจการ ผู้ที่รับโอนกิจการจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ตามโครงการเดิม และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดอยู่เดิม
  4. ภายหลังจากรับโอนกิจการไปแล้ว หากปรากฎในภายหลังว่ามีการปฏิบัติผิดเงื่อนไขซึ่งจะต้องเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางภาษีบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่ว่าการปฏิบัติผิดเงื่อนไขนั้น จะก่อนหรือหลังการรับโอนกิจการก็ตาม ผู้รับโอนกิจการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทางด้านภาษีอากรทั้งหมด
  5. การโอน - รับโอนกิจการจะโอนทั้งบัตรส่งเสริม หรือโอนเฉพาะบางส่วนของบัตรส่งเสริมก็ได้ เช่น โครงการที่ได้รับส่งเสริมผลิตสินค้า A และ B อาจขอโอนโครงการเฉพาะผลิตภัณฑ์ B ให้กับผู้รับโอนก็ได้ โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
ข้อควรระวังในการรับโอนกิจการ

      เนื่องจากผู้รับโอนกิจการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระภาษีทั้งหมดหากมีการปฏิบัติผิดเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ไม่ว่าความผิดนั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการรับโอนกิจการ

      ดังนั้น ผู้รับโอนกิจการจึงควรตรวจสอบสถานะของโครงการที่จะรับโอนอย่างละเอียดรอบคอบก่อนการรับโอนโครงการ ตัวอย่างเช่น

      บริษัท A จะรับโอนกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากบริษัท B โดยบริษัท A ได้ตรวจสอบทรัพย์สินของบริษัท B แล้ว ตกลงจะซื้อทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยเครื่องจักร 10 เครื่อง และวัตถุดิบ (ผ้า) ทั้งหมดในบัญชีทรัพย์สินจำนวน 100,000 ตารางหลา

      แต่หากหลักฐานทางบัญชีเครื่องจักรและวัตถุดิบของ BOI ปรากฏว่า บริษัท B นำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้ารวมทั้งสิ้น 12 เครื่อง และนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งยังไม่ได้นำหลักฐานการส่งออกมาตัดบัญชี จำนวน 250,000 ตารางหลา BOI ก็จะพิจารณาว่า บริษัท A ได้รับโอนเครื่องจักรและวัตถุดิบตามบัญชีทั้งหมดจากบริษัท B แล้ว และต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระภาษีของเครื่องจักรและวัตถุดิบดังกล่าว

      หากปรากฎหลักฐานในภายหลังว่า โครงการนี้มีการนำเครื่องจักร 2 เครื่องไปจำหน่ายในประเทศ และนำวัตถุดิบจำนวน 150,000 ตารางหลา ไปผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการใช้สิทธิประโยชน์ BOI จะพิจารณาว่า ผู้ได้รับส่งเสริมในปัจจุบัน (บริษัท A) จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระภาษีอากรของเครื่องจักรและวัตถุดิบดังกล่าว ไม่ว่าการกระทำผิดเงื่อนไขนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม

      ในกรณีดังกล่าวนี้ BOI จะแจ้งให้กรมศุลกากรดำเนินการเรียกเก็บภาษีจากบริษัท A ในฐานะผู้รับโอนกิจการต่อไป

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 30,079
Total pageviews 4,489,084 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.