ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 กิจการที่มีเงื่อนไขเป็นพิเศษ : กิจการ IPO

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

การขอรับส่งเสริมกิจการ IPO

      กิจการประเภท 7.12 กิจการศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ (International Procurement Office - IPO) กำหนดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ในการให้การส่งเสริมไว้ดังนี้

เงื่อนไข

  1. จะต้องมีหรือเช่าคลังสินค้า และมีระบบการจัดการสินค้าคงคลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์
  2. จะต้องมีกิจกรรมการจัดหาสินค้า การตรวจสอบคุณภาพสินค้า และการบรรจุสินค้า
  3. จะต้องมีแหล่งจัดหาสินค้าจากหลายรายและอย่างน้อยจะต้องมีแหล่งจัดหาจากในประเทศด้วย
  4. จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
สิทธิและประโยชน์
  1. ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรทุกเขต
  2. ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าเพื่อการผลิตส่งออก ตามมาตรา 36(1) และ 36(2)
  3. สิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร เช่น การนำเข้าช่างฝีมือต่างด้าว และการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน


ข้อควรรู้ในการขอรับส่งเสริมกิจการ IPO

ข้อควรรู้ตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม

  1. จะต้องมีหรือเช่าคลังสินค้า
    -จะมีคลังสินค้าในหลายท้องที่ก็ได้ แต่ในบัตรส่งเสริมจะต้องระบุจังหวัดที่ตั้งนั้น ๆ ด้วย
    -คลังสินค้าจะมีพื้นที่ขั้นต่ำเท่าใดก็ได้ ขึ้นกับชนิดของสินค้านั้น ๆ
    -จะใช้คลังสินค้าร่วมกับโครงการอื่นที่ได้รับส่งเสริมอยู่แล้วก็ได้ แต่จะต้องจัดเก็บแยกจากวัตถุดิบและสินค้าของโครงการนั้นๆ

  2. จะต้องมีระบบจัดการสินค้าคงคลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์
    -ต้องเป็นระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการสินค้าคงคลังโดยเฉพาะ ไม่ใช่โปรแกรมเอนกประสงค์ เช่น Excel
    -จะมีระบบ Barcode หรือไม่ก็ได้

  3. จะต้องมีกิจกรรมจัดหาสินค้า ตรวจสอบคุณภาพ และบรรจุสินค้า
    -จะต้องนำสินค้ามาพักที่คลังสินค้าเพื่อตรวจสอบหรือบรรจุก่อน คือไม่สามารถซื้อมาขายไป โดยไม่นำสินค้าเข้าคลังสินค้าได้

  4. จะต้องมีแหล่งจัดหาสินค้าจากหลายราย โดยต้องมีแหล่งจัดซื้อในประเทศด้วย
    -สามารถจัดซื้อชิ้นส่วน A1 จากบริษัท A (ต่างประเทศ) เพื่อจำหน่ายให้ B (ในประเทศ) และซื้อชิ้นส่วน B1 จากบริษัท B (ในประเทศ) เพื่อส่งออกไปจำหน่ายให้บริษัท A (ต่างประเทศ) ก็ได้
    -สินค้าที่จัดซื้อในประเทศจะต้องเป็นสินค้าตามโครงการ ไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ หรืออุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ
    -การนำสินค้าไปว่าจ้างผู้อื่นผลิต ไม่ถือว่าผู้รับจ้างผลิตเป็นแหล่งจัดซื้อในประเทศ

  5. จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท และเรียกชำระให้ครบ 10 ล้านบาทก่อนเปิดดำเนินการ
    -กรณีเป็นโครงการริเริ่ม จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทก่อนออกบัตรส่งเสริม และเรียกชำระเต็มมูลค่าหุ้นก่อนเปิดดำเนินการ
    -กรณีเป็นโครงการขยาย หากโครงการเดิมมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทอยู่แล้ว จะต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกก็ได้ แต่จะต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น ไม่เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด

ข้อควรรู้อื่นๆ

  1. สินค้าตามโครงการจะต้องเป็นวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนเท่านั้น ไม่อนุญาตให้จัดซื้อจัดจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูป
  2. จะต้องไม่ดำเนินการที่เข้าข่ายนายหน้าหรือตัวแทน
  3. จะต้องเป็นการจำหน่ายในลักษณะค้าส่ง เช่น จำหน่ายให้กับโรงงานเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ หรือจำหน่ายให้กับบริษัท IPO รายอื่น เป็นต้น
  4. จะจำหน่ายให้กับผู้ใช้งานขั้นสุดท้ายในลักษณะค้าปลีกไม่ได้
  5. จะไม่ส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศเลยก็ได้ แต่ส่วนที่ไม่ได้ส่งออกนั้น จะต้องไม่ใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีอากรวัตถุดิบตามมาตรา 36
  6. มูลค่ายอดขายสินค้าที่จัดซื้อในประเทศ จะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของยอดขายทั้งสิ้นในแต่ละปี
          - แต่ทั้งนี้ จะใช้เป็นแนวทางพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมเท่านั้น โดยไม่กำหนดเป็นเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม
  7. กิจการ IPO จะมีสินค้าหลายประเภทในโครงการเดียวกันก็ได้ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานพาหนะ ชิ้นส่วนพลาสติก เป็นต้น
  8. สามารถมีขั้นตอนผลิตง่ายๆ หรือขอนำสินค้าไปว่าจ้างผลิตในบางขั้นตอนได้ โดยไม่ทำให้สาระสำคัญของสินค้าเปลี่ยนแปลงไป
          - แต่ทั้งนี้ จะต้องระบุไว้ในคำขอรับส่งเสริม หรือขอแก้ไขโครงการให้ถูกต้อง
  9. โดยหลักการ ไม่อนุญาตให้นำเครื่องจักรไปใช้ในการว่าจ้าง
  10. บัญชีปริมาณอนุมัติสูงสุด (Max stock) ของวัตถุดิบ เป็นแบบสต๊อกหมุนเวียน (Revolving Stock)
  11. การอนุมัติ Max stock จะพิจารณาจากหลักฐานคำสั่งซื้อ เช่น หากไตรมาสแรกมีคำสั่งซื้อ 1 ล้านชิ้น ไตรมาสที่สองมีคำสั่งซื้อ 2 ล้านชิ้น ก็จะได้รับ Max stock 3 ล้านชิ้น และหากไตรมาสที่สามมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ก็สามารถขอแก้ไขเพิ่ม Max stock ได้อีก
  12. ไม่สามารถรวมบัญชีสต๊อควัตถุดิบกับโครงการตามบัตรส่งเสริมอื่นได้ เว้นแต่เป็นการรวมบัญชีของบัตรส่งเสริมในกิจการ IPO ด้วยกันเอง
          - ประเด็นนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่เคยมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน
  13. ต้องทำสูตรการผลิตสินค้าทุกโมเดล ในอัตรา 1 ต่อ 1

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 30,767
Total pageviews 4,489,024 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.