ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
เครื่องจักร : สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ปรับปรุงล่าสุด : 5 มกราคม 2566

      ผู้ได้รับการส่งเสริมอาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ดังนี้

มาตรา 28
      ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ แต่เครื่องจักรนั้นต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่ผลิตหรือประกอบได้ในราชอาณาจักร ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับชนิดที่ผลิตในต่างประเทศ และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้

มาตรา 29
      เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การให้การส่งเสริมแก่กิจการใดหรือแก่ผู้ขอรับการส่งเสริมรายใดไม่สมควรให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 28 คณะกรรมการจะให้การส่งเสริมแก่กิจการนั้นหรือผู้ขอรับการส่งเสริมรายนั้น และรายต่อๆไป โดยให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรเพียงกึ่งหนึ่ง หรือจะไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรเลยก็ได้
เครื่องจักรที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิและประโยชน์

      เครื่องจักรที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามมาตรา 28 หรือมาตรา 29 จะต้องเป็นเครื่องจักรดังต่อไปนี้

  1. ไม่เป็นเครื่องจักรที่ผลิตหรือประกอบได้ในราชอาณาจักร ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับชนิดที่ผลิตในต่างประเทศ และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้ ตามบัญชีรายการเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีผลิตหรือประกอบในราชอาณาจักร ที่แนบท้าย ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.2/2556

    รายการเครื่องจักรที่มีผลิตหรือประกอบในประเทศ


  2. เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในกรรมวิธีการผลิตที่ยื่นขอรับการส่งเสริมและคณะกรรมการอนุมัติ

  3. เป็นเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตโดยตรงที่ใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการขนส่งผลิตภัณฑ์ขึ้นยานพาหนะ โดยพิจารณาตามการติดตั้งใช้จริงเท่านั้น

  4. เป็นอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของเครื่องจักร ตามคำจำกัดความใน ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.1/2546 ลงวันที่ 16 มกราคม 2546 เรื่อง คำจำกัดความของส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ โครงโรงงานสำเร็จรูป วัตถุดิบและวัสดุจำเป็น

  5. กรณีเป็นเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้ในกระบวนการผลิตโดยตรง จะต้องมีความจำเป็นที่ต้องใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างโรงงาน การติดต่อสื่อสาร เครื่องใช้ภายในสำนักงาน การกำจัดมลพิษ การวิจัยและพัฒนาการประหยัดพลังงาน การซ่อมบำรุง การให้ความปลอดภัยแก่พนักงานและรักษาความปลอดภัยภายในโรงงาน เป็นต้น โดยพิจารณาตามการติดตั้งใช้จริงเท่านั้น

  6. กรณีที่เป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักร เช่น น็อต สกรู สายไฟฟ้า ภายในเครื่องที่มีลักษณะการซื้อขายเครื่องจักรครบชุดและไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเช่นเดียวกับตัวเครื่องจักรที่นำเข้า

  7. เครื่องจักรที่นำเข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิม จะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า

  8. อะไหล่ของเครื่องจักร จะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ไม่ว่าจะนำเข้าพร้อมกับเครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม

  9. จะต้องมีกำลังผลิตไม่เกินกำลังผลิตสูงสุดตามที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม

  10. จะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมให้สามารถใช้เครื่องจักรใช้แล้วได้ ตามหลักเกณฑ์ของ ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 8/2565 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ข้อ 5.1.3 หลักเกณฑ์การใช้เครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศ

  11. จะต้องนำเข้ามาในราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม
การลดหย่อนอากรขาเข้าตามมาตรา 29

      ผู้ได้รับส่งเสริมที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 29 จะได้รับลดหย่อนอากรขาเข้ากึ่งหนึ่งของอัตราปกติ เฉพาะเครื่องจักรที่มีอัตราอากรขาเข้าตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปเท่านั้น แต่หากเครื่องจักรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนั้น มีอากรขาเข้าต่ำกว่าร้อยละ 10 จะไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 29 นี้ เพื่อลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรได้

      ตามหลักเกณฑ์การให้การส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบัน (ประกาศ กกท ที่ 8/2565) ไม่ได้กำหนดประเภทกิจการที่จะให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 29
      จึงจะมีแต่ผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายก่อนหน้านี้เท่านั้น ที่ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์มาตรา 29 ตามที่ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม

การค้ำประกันและถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม

      ผู้ได้รับส่งเสริมที่ได้รับอนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรโดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร ตามมาตรา 28 หรือมาตรา 29 จะได้รับอนุญาตให้ใช้หนังสือสั่งปล่อยจากสำนักงาน เป็นหนังสือค้ำประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม และเป็นหนังสือถอนค้ำประกันภาษีมูลค่าเพิ่มในฉบับเดียวกัน

      ดังนั้น ผู้ได้รับส่งเสริมจึงไม่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในขั้นเดินพิธีการนำของเข้ามาในประเทศ

การเพิกถอนสิทธิและประโยชน์

      เครื่องจักรที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามมาตรา 28 หรือ 29 จะต้องใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม กล่าวคือ จะต้องใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น

      การนำเครื่องจักรไปใช้เพื่อการอื่นนอกจากที่ได้รับการส่งเสริม หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้เครื่องจักรนั้น ซึ่งรวมถึงการจำนอง จำหน่าย โอน ให้เช่า นำไปใช้เพื่อการอื่น หรือให้บุคคลอื่นใช้ จะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน

      กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้

      ในกรณีที่คณะกรรมการสั่งเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทั้งหมด ให้ถือว่าผู้ได้รับส่งเสริมไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาตั้งแต่ต้น โดยผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้าเครื่องจักรดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ

      ในกรณีที่คณะกรรมการสั่งเพิกถอนสิทธิประโยชน์บางส่วน ให้ถือว่าผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรเพียงเท่าที่ยังคงได้รับสิทธิและประโยชน์อยู่ โดยให้เสียภาษีอากรตามสภาพ ณ วันที่คณะกรรมการมีมติให้เพิกถอนสิทธิประโยชน์บางส่วน เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากร พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ (ถ้ามี)

      นอกจากนี้ หากคณะกรรมการสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เครื่องจักรทั้งหมด จะถือเสมือนว่าผู้ได้รับส่งเสริมไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้ามาตั้งแต่ต้น ดังนั้น จึงถือว่าผู้ได้รับส่งเสริมหลบเลี่ยงการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะต้องชำระภาษีดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับในส่วนนี้อีกด้วย

การตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี

      แม้ว่าผู้ได้รับส่งเสริมจะใช้เครื่องจักรในกิจการที่ได้รับส่งเสริมมาโดยตลอด แต่หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด คณะกรรมการก็ยังคงมีอำนาจในการสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะนำเข้ามาเป็นเวลานานแล้วเพียงใดก็ตาม ซึ่งอำนาจดังกล่าวไม่สอดคล้องกับแนวทางของกรมศุลกากรที่พิจารณาว่า เครื่องจักรมีอายุการใช้งานและหมดภาระภาษีเมื่อนำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นเวลาครบ 5 ปี

      ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำนักงานจึงได้กำหนดให้ผู้ได้รับส่งเสริมที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขถูกต้องมาโดยตลอด สามารถนำเครื่องจักรที่ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าซึ่งได้นำเข้ามาเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว มายื่นขอตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีได้

      การอนุญาตให้ตัดบัญชีนี้ จะเป็นการยืนยันว่า คณะกรรมการจะไม่สั่งให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับส่งเสริมไม่ต้องกังวลว่าจะต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักรย้อนหลังไปถึงตามสภาพ ณ วันนำเข้า

คำถามน่ารู้

ถาม : กรณีที่จำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า (เครื่องจักรในบัญชี Negative List) มาในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ : หากผู้ได้รับส่งเสริมชำระอากรขาเข้าเครื่องจักรดังกล่าว ก็สามารถจะนำเครื่องจักรนั้นมาใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมได้ แต่หากเป็นเครื่องจักรเก่า จะมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้

  1. กรณีเป็นเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ จะต้องยื่นขออนุมัติเพื่อให้ใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการได้ด้วย (แม้ว่าผู้ได้รับส่งเสริมจะชำระอากรขาเข้าเครื่องจักรเองก็ตาม)
          ในกรณีที่ไม่ได้ขออนุญาตหรือไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่าดังกล่าว จะถือว่าเครื่องจักรนั้นไม่ได้เป็นเครื่องจักรในโครงการที่ได้รับส่งเสริม ซึ่งไม่สามารถนำมูลค่าเครื่องจักรมารวมเป็นขนาดการลงทุน เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ อีกทั้งหากเป็นเครื่องจักรหลัก ก็จะพิจารณาว่าโครงการนั้นมีกำลังผลิตหรือกรรมวิธีการผลิตไม่ครบตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม และอาจไม่สามารถเปิดดำเนินการให้ได้
  2. กรณีเป็นเครื่องจักรเก่าจากภายในประเทศ จะไม่อนุญาตให้ใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้รับโอนเครื่องจักรดังกล่าวจากผู้ได้รับการส่งเสริมรายอื่น

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 60,088
Total pageviews 4,415,081 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.