หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ IPO กิจการศูนย์จัดซื้อจัดหาชิ้นส่วน
ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน เดือนกรกฎาคม 2556 ถ้าจะกล่าวถึงประเภทกิจการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย จะพบว่า กว่า 10 ปีที่ผ่านมา กิจการประเภทศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ หรือ International Procurement Office (IPO) เป็นกิจการที่ครองตำแหน่งอันดับหนึ่งตลอดกาล ด้วยจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 480 โครงการ และเป็นโครงการที่มีนักลงทุนชาวญี่ปุ่นถือหุ้นข้างมากกว่าร้อยละ 97 กิจการประเภทศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ หรือ International Procurement Office - IPO แท้จริงแล้ว คือ คนกลางระหว่างโรงงานผู้ผลิตและซัพพลายเออร์นั่นเองโดย IPO จะทำหน้าที่เหมือนหน่วย Sourcing หรือ ฝ่ายจัดหาจัดซื้อของผู้ผลิตดำเนินการจัดหาวัตถุดิบที่ผู้ผลิตต้องการ และพร้อมที่จะจัดส่งให้ตามเวลาที่ต้องการ และ IPO จะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและเก็บจำนวนวัตถุดิบไม่ให้ขาด จากอดีตถึงปัจจุบัน บีโอไอ เริ่มให้การส่งเสริมกิจการ IPO ตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งขณะนั้น ใช้ชื่อว่า ศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดหาจัดซื้อและกระจายสินค้า รวมทั้งพัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงและเครือข่ายในการจัดหาจัดซื้อของอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม (SMEs) เนื่องจาก SMEs มีโอกาสที่จะปรับตัวและยกระดับตนเองให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของ IPO อันนำไปสู่การซื้อขายระหว่างประเทศได้ ในระยะแรกนี้วัตถุดิบที่ IPO จะจัดหาจัดซื้อนั้นยังจำกัดอยู่เฉพาะ ชิ้นส่วน ส่วนประกอบ หรือวัตถุดิบ ที่ต้องนำไปผสมประกอบหรือผลิตต่อเท่านั้น
ต่อมาในปี 2552 บีโอไอได้เปลี่ยนชื่อประเภทกิจการ เป็นกิจการศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ เพื่อให้ขอบข่ายการจัดหาจัดซื้อของ IPO กว้างขึ้น และเพื่อให้ลักษณะของ IPO มีความชัดเจน รวมทั้งกำหนดให้ IPO ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท และกำหนดเงื่อนไขการให้ส่งเสริมกิจการ IPO ไว้ดังนี้
ต้องมีหรือเช่าคลังสินค้า และบริหารจัดการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กิจกรรมของ IPO นั้น เริ่มจากการรับคำสั่งจากลูกค้า โดย IPO จะไปจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม ตรงกับข้อกำหนดของลูกค้า นำมาจัดเก็บเพื่อรอจัดส่งไปยังลูกค้า ดังนั้น IPO จึงจำเป็นต้องมีคลังสินค้าเพื่อเก็บรักษาสินค้าและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในคลังสินค้า ซึ่งขนาดของคลังสินค้านั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณ และขนาดของสินค้า กรณีที่ IPO ไม่มีพื้นที่มากพอที่จะจัดเก็บสินค้า IPO สามารถไปเช่าคลังสินค้าของผู้ให้บริการคลังสินค้าได้ โดยต้องมีการเช่าระบุพื้นที่พร้อมค่าเช่าที่แน่นอนในแต่ละเดือน มีระบบการบริหารสินค้าคงคลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย สามารถสืบค้นสินค้าตามชั้นวางต่างๆ ภายในคลังสินค้าได้ และบริษัทสามารถตรวจสอบปริมาณสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของบริษัทหรือระบบเชื่อมโยงอื่นได้ ต้องมีกิจกรรมการจัดหาสินค้า การตรวจสอบ คุณภาพสินค้า และการบรรจุสินค้า เมื่อสินค้ามาถึงคลังสินค้าแล้ว IPO มีหน้าที่ ที่จะต้องตรวจคุณภาพของสินค้าด้วยอุปกรณ์ สินค้าบางอย่างอาจต้องตรวจทุกชิ้น สินค้าบางอย่างอาจจะมีการสุ่มตรวจในแต่ละครั้ง สินค้าเมื่อได้รับการตรวจสอบแล้ว IPO จะทำการจัดเป็นชุด หรือ แยกเป็นกล่องย่อย พร้อมที่จะส่งไปยังลูกค้า มีแหล่งจัดหาสินค้าจากหลายราย และอย่างน้อยต้องมีแหล่งจัดหาจากในประเทศด้วย IPO นั้นสามารถที่จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศ หรือจำหน่ายไปยังประเทศที่ 3 รวมทั้ง สามารถซื้อสินค้าจากในประเทศเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน สิทธิและประโยชน์ที่ได้รับจากการส่งเสริมการลงทุน
สำหรับผู้ได้รับการส่งเสริมฯ เป็น IPO แล้วนั้น จะมีระยะเวลาเตรียมตัวเพื่ให้บีโอไอตรวจสอบการปฎิบัติตามเงื่อนไขเป็นเวลา 36 เดือน นับแต่วันที่ออกบัตรส่งเสริมฯ โดยควรเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
|
|