หน้าแรก | สาระน่ารู้

กฎระเบียบควรรู้ : นานาสาระกับบีโอไอ

ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน เดือนธันวาคม 2555
โดย : คุณสถาปนา พรหมบุญ
นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน ระดับชำนาญการ
สำนักบริหารการลงทุน 1


  1. ถ้าหากยื่นขอรับการส่งเสริมฯ แล้วโครงการไม่ได้รับการอนุมัติ ผู้ขอฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร
    ตอบ : หากโครงการไม่ได้รับอนุมัติ บีโอไอจะมีหนังสือไปถึงผู้ขอฯ โดยระบุสาเหตุที่ไม่อนุมัติโครงการ หากบริษัทได้แก้ไขสาระสำคัญของโครงการ ที่เป็นสาเหตุของการไม่ได้รับการอนุมัติ สามารถยื่นคำขอรับการส่งเสริมฯ เข้ามาให้บีโอไอพิจารณาใหม่ได้
  2. ถ้าจะยื่นขอขยายกำลังผลิตต้องทำอย่างไรบ้าง‡
    ตอบ : หากต้องการจะขยายกำลังการผลิตของโครงการเดิม จะต้องยื่นคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ แต่หากเป็นการขยายกิจการโดยการลงทุนใหม่ สามารถยื่นคำขอรับการส่งเสริมฯ เข้ามาใหม่ได้
  3. กิจการ Freight Forwarder สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้หรือไม่ˆ
    ตอบ : กิจการ Freight Forwarder หากมีกิจกรรมรับฝากและกระจายสินค้า สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้ในประเภท 7.10 กิจการศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และประเภท 7.11 กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย (International Distribution Center)
  4. กิจการ IPO ต่างจากกิจการ Trading ทั่วๆ ไปอย่างไร
    ตอบ : กิจการ IPO สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้ในประเภท 7.12 กิจการศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ (International Procurement Office) กิจการหลักของ IPO คือ การจัดหาสินค้าหรือชิ้นส่วนโดยนำเข้ามาในชื่อของบริษัทผู้ประกอบการ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 (1) และ (2) ซึ่งรายได้เกิดจากการขายสินค้า และจัดส่งให้กับบริษัทลูกค้า จะต้องมีหรือเช่า Warehouse มีกิจกรรมตรวจสอบคุณภาพสินค้า บรรจุสินค้า มีระบบควบคุมสินค้าคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ และต้องมีการจัดหาสินค้าที่หลากหลายทั้งจากในและต่างประเทศ
        ในขณะที่กิจการ Trading ไม่อยู่ในประเภทกิจการที่ให้ได้รับการส่งเสริมฯ เป็นการให้บริการเป็นตัวแทนส่งออกและนำเข้าสินค้า
  5. ความแตกต่างระหว่างกิจการ International Procurement Office (IPO) และ Distribution Center (DC) แตกต่างกันอย่างไร
    ตอบ : กิจการ International Procurement Office - IPO (7.12) บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมฯ จะเป็นผู้นำเข้าสินค้ามาเอง โดยใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 และจำหน่ายให้กับลูกค้า
        ในขณะที่ Distribution Center - DC (7.10) เป็นการรับฝากสินค้าที่เสียอากรขาเข้าหรือใช้สิทธิ์ยกเว้นอากรขาเข้าโดยผ่านพิธีศุลกากรแล้ว และนำมากระจายให้แก่ลูกค้า โดยที่สินค้าไม่ได้เป็นของตนเอง
  6. บริษัทที่มีหุ้นไทยข้างมากกับบริษัทที่มีหุ้นต่างชาติข้างมาก จะได้สิทธิและประโยชน์เท่ากันหรือไม่ˆ
    ตอบ : สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับภาษีอากรได้เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่มีหุ้นไทยข้างมากกับบริษัทที่มีหุ้นต่างชาติข้างมาก แต่สิทธิและประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีนั้น บริษัทที่มีหุ้นต่างชาติข้างมากจะมีสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 27 เพื่อให้สามารถถือครองที่ดินได้
  7. ระยะเวลาในการพิจารณาโครงการมีข้อกำหนดเป็นอย่างไร
    ตอบ : ใช้เวลา 15 - 90 วันทำการ ตามขนาดของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ดังนี้
    • ขนาดการลงทุนไม่เกิน 40 ล้านบาท ใช้เวลาพิจารณา 15 - 40 วันทำการ
    • ขนาดการลงทุน 40 - 200 ล้านบาท ใช้เวลาพิจารณาภายใน 40 วันทำการ
    • ขนาดการลงทุน 200 - 750 ล้านบาท ใช้เวลาพิจารณาภายใน 60 วันทำการ
    • ขนาดการลงทุนมากกว่า 750 ล้านบาท ใช้เวลาพิจารณาภายใน 90 วันทำการ
  8. อัตราอากรขาเข้าในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศจีนเป็นเท่าใด
    ตอบ : ไทยและจีนได้ลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีสินค้าผักและผลไม้ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2546 ให้ลดอากรขาเข้าของ 2 ประเทศ ให้ลงเหลือร้อยละ 0 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546
  9. ภาษีและอากรแตกต่างกันอย่างไร
    ตอบ : โดยทั่วไปแล้ว ภาษี หมายถึง ภาษีปลายทางที่รัฐเก็บจากธุรกรรมทางการค้าโดยกรมสรรพากร เช่น ภาษีเงินได้
        ส่วนอากร (ขาเข้า) หมายถึง ภาษีต้นทางที่รัฐเก็บจากสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศโดยกรมศุลกากร
  10. Free Zone คืออะไร
    ตอบ : Free Zone หรือ เขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรี หมายถึงเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าว จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากร ตามที่กฎหมายบัญญัติ เขตปลอดอากรสามารถตั้งได้ทั้งในนิคมและเขตอุตสาหกรรม
  11. บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมฯ กับบริษัทที่ตั้งอยู่ใน Free Zone ได้สิทธิและประโยชน์ต่างกันอย่างไร
    ตอบ : สิทธิและประโยชน์ของเขตประกอบการเสรี (Free Zone) และบีโอไอ บางอย่างจะเหมือนกัน เช่น การนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ เป็นต้น ผู้ประกอบการสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิและประโยชน์ตาม พรบ.ของหน่วยงานใด โดยพิจารณาจากขั้นตอนที่มีความสะดวกสำหรับผู้ประกอบการมากที่สุด
        แต่ทั้งนี้ สิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มีเฉพาะตาม พรบ. ส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น ผู้ประกอบการที่ตั้งใน Free Zone จึงจะต้องยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ด้วย เพื่อขอรับสิทธิและประโยชน์ดังกล่าว
  12. อยากทราบตารางการจัดสัมมนาของบีโอไอ สามารถดูได้จากที่ไหน
    ตอบ : การจัดการสัมมนาของบีโอไอในแต่ละครั้ง จะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ www.boi.go.th ในหัวข้อปฏิทินกิจกรรม
        นอกจากนั้น ทางสมาคมสโมสรนักลงทุนก็มีการจัดอบรมสัมมนาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการขอรับการส่งเสริมฯ อยู่เป็นระยะ สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของสมาคมฯ www.ic.or.th
  13. บีโอไอมีสำนักงานในต่างประเทศหรือไม่ˆ
    ตอบ : บีโอไอมีสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศ 13 แห่ง ใน 9 ประเทศ ได้แก่ กรุงโตเกียว นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ นครกว่างโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย นครแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน นครนิวยอร์ก และนครลอสแองเจลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา
        โดยสำนักงานในต่างประเทศนี้จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และชักจูงนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ให้คำปรึกษา แนะนำ อำนวยความสะดวก และให้บริการข้อมูลแก่นักลงทุน รวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลข่าวสาร ติดตามสถานการณ์ การเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งติดตามและรวบรวมสถิติการลงทุนในต่างประเทศ และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  14. บีโอไอช่วยให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างไร
    ตอบ : บีโอไอให้สิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากร เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ และได้ให้ข้อมูลและคำปรึกษาทางด้านการลงทุน ช่วยให้ผู้ประกอบการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ และมีบริการจัดหาผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้รับจ้างผลิต และผู้สนใจร่วมทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขยายตลาดให้กับสินค้าและบริการของประเทศไทย และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจไทยมากยิ่งขึ้น
  15. ตามบัตรส่งเสริมฯ มีเงื่อนไขเฉพาะโครงการว่าจะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายใน 2 ปี นับแต่วันเปิดดำเนินการ แต่หากบริษัทได้ขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการออกไป บริษัทจะต้องยื่นแบบรายงานผลการปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO เมื่อใด
    ตอบ : หากบริษัทได้รับการอนุมัติให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการออกไป ระยะเวลาการรายงานผลการปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO ก็จะขยายออกไปด้วย โดยบริษัทมีเวลา 2 ปี นับจากวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ ในการดำเนินการให้ได้รับใบรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ISO
  16. หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ ในเรื่องของมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ จะใช้เฉพาะบริษัทที่ประกอบกิจการอยู่เดิม หรือบริษัทที่ตั้งใหม่ˆ
    ตอบ : หลักเกณฑ์เรื่องมูลค่าเพิ่มจะใช้ในการพิจารณาให้การส่งเสริมฯ ทุกโครงการว่าจะต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ยกเว้นกิจการในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร และกิจการในหมวดอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
  17. บริษัทได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 แต่ต้องการใช้สิทธิและประโยชน์ในการนำเข้าของ Free Zone แทน บริษัทจำเป็นจะต้องแจ้งบัญชีรายการเครื่องจักรผ่านระบบ eMT หรือไม่ เนื่องจากเครื่องจักรที่จะนำเข้าจะใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ถ้าต้องแจ้งจะต้องดำเนินการภายในเมื่อใด
    ตอบ : ในกรณีนี้ บริษัทไม่ต้องยื่นรายการเครื่องจักรผ่านระบบ eMT แต่อย่างใด ส่วนรายการเครื่องจักรที่นำเข้ามาใช้ในโครงการนั้น บีโอไอจะตรวจสอบเมื่อบริษัทยื่นขออนุญาตเปิดดำเนินการ
  18. หากบริษัทมีการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาก่อนยื่นคำขอรับการส่งเสริมฯ บริษัทจะสามารถรวมมูลค่าเครื่องจักรนั้นๆ รวมเป็นมูลค่าการลงทุนในโครงการได้หรือไม่ˆ
    ตอบ : โดยปกติแล้ว เครื่องจักรที่จะใช้ในโครงการจะต้องได้มาหลังจากวันยื่นคำขอรับการส่งเสริมฯ แต่หากมีเครื่องจักรที่ได้มาก่อน ในขั้นตอนการชี้แจงโครงการ บริษัทจะต้องแจ้งให้ทราบว่ามีเครื่องจักรอะไรบ้างที่ได้มาก่อน และแสดงหลักฐานการได้มาของเครื่องจักร
        เครื่องจักรที่จะนำมารวมในโครงการได้จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ยังไม่ผ่านการใช้งานในประเทศและยังไม่มีรายได้จากเครื่องจักรนั้นๆ โดยตรวจจากหลักฐานทางบัญชี และจากการไปตรวจสภาพเครื่องจักรที่โรงงาน หากได้รับการอนุญาตให้ใช้ในโครงการได้ บริษัทก็สามารถนำมูลค่าของเครื่องจักรดังกล่าวมารวมเป็นเงินลงทุนได้ แต่ทั้งนี้ หากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยชำระอากรขาเข้าไปแล้วก่อนยื่นคำขอรับการส่งเสริมฯ จะสามารถใช้ในโครงการได้ โดยไม่สามารถขอคืนอากรขาเข้าได้

(ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2555)


ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน เดือนตุลาคม 2555
โดย : คุณสถาปนา พรหมบุญ
นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน ระดับชำนาญการ
สำนักบริหารการลงทุน 1


  1. กิจการผลิตหรือถนอมอาหารจากพืช ผัก ผลไม้ สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้หรือไม่
    ตอบ : สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้ในประเภทกิจการ 1.11 กิจการผลิตหรือถนอมอาหาร หรือสิ่งปรุงแต่งอาหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (ยกเว้นการผลิตน้ำด-มและไอศกรีม) ประเภทย่อย 1.11.2 กิจการผลิตหรือถนอมอาหารจากพืช ผัก ผลไม้ ซึ่งจะไดรั้บสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ (จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ทุกเขต ส่วนสิทธิและประโยชน์อ-นๆ ให้ได้รับตามเกณฑ์ที่ตั้ง)
  2. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้หรือไม่
    ตอบ : ขอรับการส่งเสริมฯ ได้ในประเภทกิจการ 1.15 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร (ยกเว้น ยา สบู่ ยาสระผม และเครื่องสำอาง) ซึ่งจะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
  3. กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะ สามารถขอรับการส่งเสริมได้ฯ หรือไม่
    ตอบ : ขอรับการส่งเสริมฯ ได้ในประเภทกิจการ 4.3 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ รวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ ซึ่งจะไดรั้บสิทธิและประโยชน์ตามเกณฑ์ที่ตั้ง
  4. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้หรือไม่
    ตอบ : ขอรับการส่งเสริมฯ ได้ในประเภทกิจการ 6.12 กิจการผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือเคลือบด้วยพลาสติก โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีกระบวนการขึ้นรูปหรือเคลือบด้วยพลาสติก ซึ่งจะไดรั้บสิทธิและประโยชน์ตามเกณฑ์ที่ตั้ง
  5. สิทธิการถือหุ้นของชาวต่างชาติในกิจการบริการ สามารถถือหุ้นข้างมากได้หรือไม่
    ตอบ : จะต้องพิจารณาเป็นรายประเภทกิจการไป มีกิจการบริการหลายประเภทที่ต่างชาติสามารถถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้
  6. กิจการ ROH สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้หรือไม่ และได้รับสิทธิและประโยชน์อะไรบ้าง
    ตอบ : ขอรับการส่งเสริมฯ ได้ในประเภทกิจการ 7.13 กิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Ragional Operating Headquarter - ROH) ซึ่งมีเงื่อนไข
    1. จะต้องกำกับดูแลกิจการของสาขาหรือบริษัทในเครือในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 3 ประเทศ
    2. จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
    3. อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้
    4. จะต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินการจากหนJวยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
    5. จะตอ้ งมีแผนดำเนินการและขอบขา่ ยธุรกิจ ตามที่คณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบ
      1. การบริหารงานทั่วไป การวางแผนทางธุรกิจ และประสานงานธุรกิจ
      2. การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน
      3. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
      4. การสนับสนุนด้านเทคนิค
      5. การส่งเสริมด้านการตลาดและการขาย
      6. การบริหารด้านบุคคลและการฝึกอบรมในภูมิภาค
      7. การให้คำปรึกษาและแนะนำในการประกอบธุรกิจด้านต่างๆ เช่น ด้านการเงิน การตลาด ระบบบัญชี เป็นต้น
      8. การวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
      9. การจัดการและควบคุมสินเชื่อ
      10. การให้บริการสนับสนุนอื่นๆ ตามที่บีโอไอเห็นสมควร ซึ่งจะพิจารณาเป็นกรณีไป
        ทั้งนี้ ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้ในการวิจัยพัฒนา และฝึกอบรม
  7. การยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ต้องใช้เอกสารใดบ้าง มีค่าใช้จ่ายหรือไม่
    ตอบ : การขอรับการส่งเสริมฯ หรือการติดต่อกับบีโอไอในเรื่องอื่นๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ผู้ขอรับการส่งเสริมฯ จะต้องจัดทำเอกสารจำนวน 3 ชุด โดยยื่นให้บีโอไอจำนวน 2 ชุด และอีก 1 ชุดเก็บไว้สำเนาหลักฐาน (ทั้งนี้ ไม่ได้เป็นการบังคับว่าจะต้องยื่น 3 ชุด โดยมี 2 ชุดก็สามารถยื่นได้ แต่ควรจะมีสำเนาเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง)
    • กรณีที่บริษัทจัดตั้งแล้ว จะต้องแนบหนังสือรับรองฉบับล่าสุดและงบการเงินปีล่าสุดมาด้วย
    • กรณีที่มีขนาดการลงทุนเกิน 500 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) จะต้องแนบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) (ถ้าลงทุนเกิน 80 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท ก็ต้องแนบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้วยเช่นกัน แต่ให้ทำเฉพาะหัวข้อความต้องการของผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับการส่งเสริมฯ และความเหมาะสมของโครงการด้านการเงิน)
    • กรณีใช้เครื่องจักรเกิน 10 ปี จะต้องแนบแบบประกอบการพิจารณาเครองจักรใช้แล้ว อายุเกิน 10 ปี (F PA PP 16)
    • กรณีประเภทกิจการมีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องแนบแบบประกอบการพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (F PA PP 15)
    • กรณีที่ขอรับสิทธิและประโยชน์ตามนโยบายพิเศษอื่น ซึ่งอาจจะมีแบบประกอบคำขอในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ ก็ให้แนบมาด้วย
  8. นโยบาย SMEs มีประเภทอะไรบ้าง และจะให้การส่งเสริมฯ อีกหรือไม่
    ตอบ : นโยบายให้การส่งเสริมฯ โครงการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของบีโอไอ ได้สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ปัจจุบันยังไม่มีประกาศฉบับใหม่ออกมา แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดดังกล่าว สามารถยื่นขอในเงื่อนไขตามเกณฑ์ปกติของบีโอไอได้
  9. กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์สำหรับใช้ในการเกษตร สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้หรือไม่
    ตอบ : ขอรับการส่งเสริมฯ ได้ในประเภทกิจการ 4.2 กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วน ประเภทย่อย 4.2.2 กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ สำหรับใช้ในการเกษตร (Farm Machinery) และอุตสาหกรรมผลิตอาหาร (Food Processing Machinery) ซึ่งจะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ (จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ทุกเขต โดยไม่กำหนดสัดส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนสิทธิและประโยชน์อื่น ๆ ให้ได้รับตามเกณฑ์เขตที่ตั้ง)
  10. กิจการโลจิสติกส์ได้สิทธิและประโยชน์อะไรบ้าง
    ตอบ : กิจการที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ มีหลายประเภท ซึ่งสิทธิและประโยชน์ก็แตกต่างกันไป เช่น
          7.1.4 กิจการขนถ่ายสินค้าสำหรับเรือเดินทะเล จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
          7.1.5 กิจการสถานที่ตรวจปล่อยและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออกออก หรือโรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้า และบรรจุของขาออกที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์นอกเขตท่าเทียบเรือ (รพท.) จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
          7.1.6 กิจการสนามบินพาณิชย์ จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
          7.3.1 กิจการบริการที่จอดเรือท่องเที่ยว จะได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรทุกเขต ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี หากตั้งในเขต 1 ยกเว้นภาษีเงินไดนิ้ติบุคคล 7 ปี หากตั้งในเขต 2 และยกเว้น ภาษีเงินไดนิ้ติบุคคล 8 ปี หากตั้งในเขต 3 ส่วนสิทธิและประโยชน์อื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่ตั้ง
          7.3.2 กิจการเดินเรือท่องเที่ยวหรือให้เช่าเรือท่องเที่ยว จะได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรทุกเขต ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี ทุกเขต ส่วนสิทธิและประโยชน์อื่นๆ ตามเกณฑ์เขตที่ตั้ง
          7.9 กิจการขนส่งมวลชนและสินค้าขนาดใหญ่ จะแบ่งเป็นประเภทย่อย ดังนี้
                7.9.1 กิจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและหรือรถไฟขนส่ง (เฉพาะระบบรางหรือระบบร่วมรางและถนน) จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
                7.9.2 กิจการขนส่งทางท่อ จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
                7.9.3 กิจการขนส่งทางอากาศ จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
                7.9.4 กิจการขนส่งทางเรือ จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
                7.9.5 กิจการเรือเฟอร์รี่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
                7.9.6 กิจการเรือกลดันลากจูง (Tug Boat) จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
          7.10 กิจการศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบที่ทันสมัย (Distribution Center – DC) จะได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรเฉพาะการยกเว้นขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต
          7.11 กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย (International Distribution Center – IDC) จะได้รับสิทธิและประโยชน์ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต และหากตั้งโรงงานในเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี หากตั้งโรงงานนอกเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี ทุกเขต
  11. กิจการคลังสินค้า (Warehouse) สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้หรือไม่
    ตอบ : กิจการคลังสินค้าที่จะยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ได้ จะต้องมีการดำเนินกิจการให้เข้าข่ายเงื่อนไขประเภทกิจการที่ระบุไว้ โดยประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมฯ มีดังนี้
          7.10 กิจการศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบที่ทันสมัย (Distribution Center – DC) เป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัย ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ และรับฝากสินค้านำเข้าได้เฉพาะที่เสียภาษีอากรหรือของที่ใช้สิทธิและประโยชน์อิ่นซึ่งผ่านพิธีการศุลกากรแล้ว เช่น สินค้าที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนหรือของอื่น ๆ ตามที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
          7.11 กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย (International Distribution Center – IDC) จะต้องเป็นศูนย์กระจายสินค้าไปต่างประเทศที่ให้บริการขนส่ง จัดส่ง เก็บรักษา บรรจุ และบริหารสินค้าคงคลังของลูกค้า
          โดยจะต้องกระจายสินค้าไปต่างประเทศไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ มีอุปกรณ์จัดเก็บและขนถ่ายที่ทันสมัย มีระบบควบคุมบริหารคลังสินค้าด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และมีระบบติดตามสินค้าแบบ Online (Track & Trace) ตามที่คณะกรรมการสง่ เสริมการลงทุนให้ความเห็นชอบ และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
          7.12 กิจการศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ (International Procurement Office – IPO) จะต้องมีหรือเช่าคลังสินค้า และมีระบบจัดการสินค้าคงคลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องมีกิจกรรมการจัดหาสินค้า การตรวจสอบคุณภาพสินค้า และการบรรจุสินค้า จะต้องมีแหล่งจัดหาสินค้าจากหลายราย และอย่างน้อยจะต้องมีแหล่งจัดหาจากในประเทศด้วย และจะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท

(ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2555)


ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน เดือนกันยายน 2555
โดย : ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน


  1. พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
    ตอบ : ปัจจุบันการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้แบ่งพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    1. เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone) คือ เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม การบริการ หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือการบริการ
    2. เขตประกอบการเสรี (IEAT Free Zone) คือ เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรมเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ การรักษาความมั่นคงของรัฐ สวัสดิภาพของประชาชน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หรือความจำเป็นอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายบัญญัติ
  2. เขตปลอดอากร (Free Zone) คืออะไร
    ตอบ : เขตปลอดอากร หมายถึง เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ เขตปลอดอากรสามารถตั้งได้ทั้งในนิคมอุตสาหกรรม และเขตอุตสาหกรรม
  3. การตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะได้รับสิทธิและประโยชน์อะไรบ้าง
    ตอบ : ผู้ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมได้รับ สิทธิและประโยชน์ ดังนี้
    1. การประกอบกิจการบริการต่างๆ สามารถดำเนินการในเขตอุตสาหกรรมได้ โดย กนอ. ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรม ด้วยการให้บริการที่ครบวงจร และจำเป็นต่อการประกอบอุตสาหกรรม อาทิเช่น การบริการด้านขนส่ง คลังสินค้า ศูนย์ฝึกอบรม สถานพยาบาล ฯลฯ โดยผู้ประกอบการจะสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปได้
    2. สิทธิประโยชน์ทั่วไป (Non Tax) สำหรับผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป มีดังนี้
      • สิทธิการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม
      • สิทธิในการนำเข้าช่างฝีมือต่างชาติเข้ามาทำงาน และนำคู่สมรส และบุคคลในอุปการะเข้ามาอยู่ในประเทศ
      • สิทธิในการส่งเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ
        ผู้ลงทุนในเขตประกอบการเสรี (IEAT Free Zone) ภายใต้กฎหมาย กนอ. ฉบับล่าสุด จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และการอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ดังนี้
    1. สิทธิประโยชน์
      • ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี จะได้รับสิทธิประโยชน์โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการส่งออกสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร และได้รับความสะดวกมากขึ้นในการนำของหรือวัตถุดิบเข้าไปในเขตประกอบการเสรี
      • ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพิ่มขึ้น
      • ลดภาระภาษี สำหรับการนำผลิตภัณฑ์ออกจากเขตประกอบการเสรี เพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศ โดยที่หากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น มีส่วนผสมหรือส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ ซึ่งเดิมไม่มีสิทธิ์ได้คืนหรือยกเว้นอากร ก็จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำราคาวัตถุดิบนั้นๆ มาคิดค่าภาษีอากร
          ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี ได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ. กนอ. เช่นเดิมด้วย ดังนี้
      • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร อาทิ การยกเว้นอากรขาเข้า ส่งออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ ส่วนประกอบ วัตถุดิบ ของที่นำเข้ามาผลิต และสินค้า
      • สิทธิประโยชน์ทั่วไป ประกอบด้วย สิทธิ์ในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน การนำช่างเทคนิค ผู้ชำนาญการ เข้ามาทำงาน การนำครอบครัวและผู้อยู่ในอุปการะเข้ามาอยู่ในประเทศ และการโอนเงินตราต่างประเทศกลับประเทศได้
    2. ความสะดวกในการประกอบการ
      • อำนวยความสะดวกในการนำสินค้าและวัตถุดิบ เข้ามาในประเทศและเข้าไปในเขตประกอบการเสรี เพื่อผลิตสินค้าหรือเพื่อการค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องระบุความเป็นเจ้าของ
      • อำนวยความสะดวกในการดำเนินการส่งออกสินค้าจากเขตประกอบการเสรีไปต่างประเทศ ด้วยการกำหนดให้การนำของหรือวัตถุดิบ เข้าไปในเขตประกอบการเสรี เพื่อการผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใด ได้รับความสะดวกมากขึ้น โดยมิต้องขอหรือมีใบอนุญาตนำเข้า และการควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐานตามกฎหมายอื่น ตลอดจนการประทับตราหรือเครื่องหมายใดๆ ทั้งนี้ไม่รวมถึงกฎหมายศุลกากร
          นอกจากนั้น ผู้ประกอบการยังสามารถขอรับสิทธิและประโยชน์ ที่ได้รับตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ผู้ประกอบการต้องขอรับการส่งเสริมฯ ด้วย) โดยสิทธิและประโยชน์จะขึ้นอยู่กับเขตที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่
  4. การถือหุ้นของคนต่างชาติ (กิจการโรงแรม) มีหลักเกณฑ์อย่างไร
    ตอบ : การถือหุ้นข้างมากในกิจการโรงแรมของคนต่างชาติ ตามบัญชีสามท้าย พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามปกติต้องมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ยกเว้นหากได้รับการส่งเสริมฯ หรือได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต่างชาติจะสามารถถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่งได้
  5. การถือหุ้นของคนต่างชาติในกิจการตามบัญชีท้าย พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวมีหลักเกณฑ์อย่างไร
    ตอบ : กิจการในสามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว คนต่างด้าวถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 51 ยกเว้นกิจการในบัญชีสอง หากได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คนต่างด้าวจะถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 60 แต่หากได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี จะถือหุ้นได้ถึงร้อยละ 75
          ส่วนในบัญชีสามหากได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะสามารถถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่ง หรือถือหุ้นทั้งสิ้นได้ (แต่ถ้าได้รับการส่งเสริมฯ จะสามารถถือหุ้นทั้งสิ้นได้ทั้งบัญชีสองและสาม)
  6. บริษัทที่มีหุ้นไทยข้างมาก และบริษัทที่มีหุ้นต่างชาติข้างมาก หากขอรับการส่งเสริมฯ จะได้สิทธิและประโยชน์เท่ากันหรือไม่
    ตอบ : สิทธิและประโยชน์ที่เกี่ยวกับภาษีอากรได้เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหุ้นไทยหรือหุ้นต่างชาติข้างมาก แต่บริษัทที่มีหุ้นต่างชาติข้างมากจะได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มขึ้นมา ซึ่งหากเป็นบริษัทไทยจะสามารถถือครองที่ดินได้อยู่แล้ว
  7. หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นต่างชาติ จะต้องแจ้งบีโอไอหรือไม่
    ตอบ : การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ที่ไม่กระทบสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติ ควรจะแจ้งให้บีโอไอทราบทุกครั้ง ถึงแม้ไม่มีผลต่อสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติ บริษัทควรจะมีหนังสือแจ้งมาที่บีโอไอ แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น จากหุ้นไทยเป็นหุ้นต่างชาติ จะต้องให้บีโอไออนุมัติก่อน จึงจะดำเนินการได้ โดยยื่นเรื่องขอแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งแนบหนังสือยินยอมให้บริษัทมีผู้ถือหุ้นข้างมากจากผู้ถือหุ้นไทยทุกราย หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นไทย และหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทฉบับล่าสุดมาพร้อมกันด้วย
  8. บริษัทต่างชาติ จะสามารถทำกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ได้หรือไม่
    ตอบ : ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน ไม่อนุญาตให้ต่างชาติทำธุรกิจนี้
  9. การถือหุ้นของต่างชาติในกิจการบริการ สามารถถือหุ้นข้างมากได้หรือไม่
    ตอบ : จะต้องพิจารณาเป็นรายประเภทกิจการไป มีกิจการบริการหลายประเภทที่ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้
  10. หากบริษัทต่างชาติต้องการนำซอฟต์แวร์จากต่างประเทศมาพัฒนาและใช้ในประเทศไทย จะสามารถขอรับการส่งเสริมฯ จากบีโอไอได้หรือไม่ และได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไร
    ตอบ : หากบริษัทขอรับการส่งเสริมฯ จัดอยู่ในประเภท 5.8 กิจการซอฟต์แวร์ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • มีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
    • โครงการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
    • ได้รับใบรับรองมาตรฐานจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน Capability Maturity Model Integration (CMMI) หรือเทียบเท่า ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่เปิดดำเนินการ
    • รายได้จากการจำหน่ายหรือบริการที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นรายได้ที่ได้รับการส่งเสริมฯ หากกิจการของบริษัทเข้าข่ายดังกล่าว ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้
      -สิทธิและประโยชน์ตามกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ
      -ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
        เมื่อนักลงทุนได้รับการส่งเสริมฯ แล้ว นักลงทุนสามารถนำเอกสารไปยื่นกับสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามมาตรา 12 เพื่อขอรับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ หรือหากนักลงทุนไม่ต้องการยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ก็สามารถไปดำเนินการจดทะเบียนการค้าที่กระทรวงพาณิชย์ และนำเอกสารไปยื่นกับสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามมาตรา 17 เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวได้
  11. ต้องการยกเลิกบริษัท จะต้องทำอย่างไร
    ตอบ : สำหรับขั้นตอนในการปฏิบัติมี 2 ขั้นตอน คือ
    1. การจดทะเบียนเลิกบริษัท
          ขั้นตอนแรก ต้องเรียกประชุมผู้เป็นหุ้นส่วน โดยการส่งจดหมายลงทะเบียนหรือลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เพื่อเรียกประชุม และกำหนดวันเวลาว่าจะประชุมเมื่อใด
          เมื่อถึงกำหนดวันเวลา เริ่มจัดทำการประชุมกันเพื่อตกลงว่า ต้องการเลิกบริษัท แต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ผู้สอบบัญชี ผู้ถือหุ้นลงลายมือชื่อในคำขอเลิกบริษัท
          จากนั้นจึงไปจดทะเบียนเลิกบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจแล้วต้องดำเนินการ ดังนี้
      • ลงประกาศหนังสือพิมพ์ว่า บริษัทได้เลิกกิจการแล้ว มีใครคัดค้านหรือไม่
            ถ้าบริษัทจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
        • ต้องจัดทำเอกสาร ภพ.09 และเอกสารอื่นๆ ที่ใช้ในการจดทะเบียนเลิกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกำหนดให้จดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ต้องการจดทะเบียนเลิก
        • จัดทำงบดุล งบกำไรขาดทุนต่างๆ ยื่นที่สรรพากรให้เรียบร้อย
    2. การจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี เมื่อได้จัดทำรายการข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ
      • ลงประกาศหนังสือพิมพ์ว่า บริษัทเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ชำระบัญชีต่างๆ เรื่องเสร็จการชำระบัญชี
      • เมื่อประชุมแล้ว ผู้ชำระบัญชี ก็ไปจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี
      • เมื่อจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว ก็เป็นการเสร็จสิ้นในการปิดบริษัท

ข้อมูล ณ วันที่ 28 กันยายน 2555

หน้าแรก | สาระน่ารู้


views 34,993
Total pageviews 4,027,810 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.