หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบš

การขอเป็นช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการ ในกิจการบีโอไอ

ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน เดือนมิถุนายน 2556Œ
โดย : คุณวันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์
นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน ระดับชำนาญการพิเศษ
กลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ ศูนย์บริการลงทุน™

    การทำงานของแรงงานต่างชาติสามารถเข้ามาปฏิบัติทำงานได้ภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายปิโตรเลียม กฎหมายการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กฎหมายส่งเสริมการลงทุน กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือ กฎหมายเฉพาะอื่นๆ ซึ่งไม่ว่าจะเข้ามาตามกฎหมายฉบับใด ก็ต้องมาขออนุญาตกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกรมการ จัดหางาน กระทรวงแรงงาน สำหรับแรงงาน

    ต่างชาติที่ประสงค์จะทำงานในกิจการที่ได้รับ ส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริม การลงทุน พ.ศ. 2520 บีโอไอ และประสงค์จะใช้ สิทธิ์ด้านช่างฝีมือจากบีโอไอ กิจการบีโอไอต้อง ยื่นคำร้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์งานช่างฝีมือ (e - Expert System) เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จะได้ รับหนังสือ 3 ฉบับ ประกอบด้วย หนังสือถึง กรรมการผู้จัดการของกิจการ หนังสือถึงสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหนังสือถึงกรมการจัดหางาน เพื่อไปยื่นคำร้อง ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกรมการจัดหางานต่อไป

    บทความนี้จะได้นำเสนอนิยามของคนต่างด้าว และหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาอนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการในกิจการบีโอไอ (หมายถึง กิจการที่ได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว) เข้ามาปฏิบัติงานใน ราชอาณาจักรในขั้นตอนของบีโอไอ โดยมีองค์ประกอบหลักในการ พิจารณาอะไรบ้าง

นิยามของคนต่างด้าว

    เรียกว่า ต่างชาติ แต่ภาษากฎหมายใช้คำว่า “คนต่างด้าว” ซึ่งมีความหมายปรากฏตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบ ธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ว่า

    “คนต่างด้าว” หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือ นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียน ในประเทศไทย แต่มีหุ้นทุน หรือมูลค่าหุ้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมด ถือโดยคนต่างชาติ หรือนิติบุคคลต่างประเทศ รวมถึงห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนในประเทศไทย แต่มีหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือผู้จัดการเป็นคนต่างชาติ

    นิยามคนต่างด้าวยังรวมถึงนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย แล้วมีหุ้นทุน หรือมูลค่าหุ้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมด ถือโดย คนต่างชาติ นิติบุคคลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลจดทะเบียนใน ประเทศไทยที่กล่าวมาข้างต้น ™

หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการ เข้ามาพำนัก และปฏิบัติงานในราชอาณาจักร

    การอนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาพำนัก และปฏิบัติงาน ในราชอาณาจักร มีหลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาที่ใช้อำนาจตาม มาตรา 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ประกอบด้วย

  • องค์ประกอบด้านกิจการ
        ประเภทของกิจการ ขนาดการลงทุน หุ้นไทย/ต่างชาติ ขั้นตอนการผลิต และเทคนิคในการผลิต เวลาทำงาน มูลค่าส่งออก จำนวนการจ้างแรงงานไทย เป็นต้น™

  • การอนุมัติตำแหน่งหน้าที่ˆˆ
        การอนุมัติตำแหน่งของผู้บริหาร เช่น PRESIDENT, CHAIRMAN และ CEO หรือผู้บริหารระดับสูง ด้าน FINANCE, ADMINISTRATIVE และ GENERAL AFFAIR จะพิจารณาอนุมัติในกรณีกิจการมีคนต่างด้าวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน™
    ™
        กรณีที่ได้รับการอนุมัติตำแหน่ง MANAGING DIRECTOR ไปแล้วอาจไม่อนุมัติตำแหน่ง GENERAL MANAGER ให้อีก ยกเว้น กรณีมีคนต่างด้าวถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน และมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

        กิจการที่มีคนต่างด้าวถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน และมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท อาจพิจารณาอนุมัติตำแหน่ง ASSISTANT ของผู้บริหารระดับสูง และด้านโรงงานได้ ทั้งนี้ จะพิจารณาตามความจำเป็นของโครงการ เช่น มีหลายผลิตภัณฑ์ หรือหลายโรงงานซึ่งอยู่ต่างท้องที่กัน เป็นต้น™
    ™
        การพิจารณาตำแหน่ง DIRECTOR จะอนุมัติให้ในกรณีที่ระบุว่าเป็น DIRECTOR ด้านใดด้านหนึ่งของบริษัท เช่น MARKETING DIRECTOR, FINANCIAL DIRECTOR เป็นต้น
    ™
        กรณีที่บริษัทยื่นขอตำแหน่งด้าน MARKETING, EXPORT และ SALES จะพิจารณาได้ 1 ตำแหน่ง สำหรับกิจการที่มีการผลิตเพื่อการส่งออก และอาจพิจารณาให้มากกว่า 1 ตำแหยาง ถ้ากิจการมีตลาดส่งออกแบ่งตามเขตต่างๆ เช่น EUROPE, ASIA PACIFIC, AMERICA เป็นต้น™
    ™
        กรณีบริษัทยื่นขอตำแหน่งด้านตรวจสอบคุณภาพ และควบคุมคุณภาพในสายการผลิต อาจจะพิจารณาอนุมัติให้ 1 ตำแหน่ง ทั้งนี้ หากบริษัทมีหลายผลิตภัณฑ์ และหลายสายการผลิตอาจจะพิจารณาตามความจำเป็นในกรณีต่างๆ†

กิจการหมวด 7 (กิจการบริการและสาธารณูปโภค)

  • ขอบข่ายธุรกิจที่ได้รับส่งเสริมฯ และตามความจำเป็นของกิจการนั้น ๆ††
  • กิจการซอฟต์แวร์Œ
        การอนุมัติตำแหน่งครั้งแรก และการขยายระยะเวลา ให้อนุมัติคราวละไม่เกิน 1 ปี
  • กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Support Office - TISO)
        การอนุมัติตำแหน่งครั้งแรก และการขยายระยะเวลา ให้อนุมัติคราวละไม่เกิน 1 ปี เมื่อเปิดดำเนินการแล้ว ต้องมีค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหารไม่น้อยกว่าปีละ 10 ล้านบาทตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม
  • กิจการ Call Center และกิจการธุรกิจ รับจ้างบริหารระบบธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Process Outsourcing - IBPO)
        การอนุมัติตำแหน่งครั้งแรกเมื่อได้รับส่งเสริมฯ แล้ว ให้อนุมัติเป็นเวลา 1 ปี สำหรับการขยายเวลาการทำงานในตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติให้ขยายได้เป็นเวลา 1 ปี โดยบุคคลที่จะบรรจุในตำแหน่ง Operator หรือตำแหน่งอิ่นที่มีขอบเขตลักษณะงานคล้ายคลึง หรือใกล้เคียง จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้‰‰
    • จะต้องมีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานอย่างน้อย 2 ปี หรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงาน หรือมีวุฒิบัตรผ่านการอบรมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงาน ระยะเวลาหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3 เดือน™™
    • มีความชำนาญในด้านภาษาที่ใช้ในกิจการ Call Center
    • จำนวนอัตราให้เป็นไปตามเงื่อนไขจำนวน Stations ที่ระบุในบัตรส่งเสริม
  • กรณีกิจการวิจัยและพัฒนา
        ต้องเป็นช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการที่เข้ามาทำงานในโครงการวิจัยและพัฒนาที่ได้รับส่งเสริมฯ ในตำแหน่งนักวิจัย (Researcher) ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยขยายเวลาการออกวีซ่า และใบอนุญาตทำงานให้กับผู้ชำนาญการต่างชาติ ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขข้างต้นจากเกณฑ์ปกติ 2 ปี เป็น 4 ปี ภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว หากมีความจำเป็นจะพิจารณาขยายเวลาให้อีกครั้งละไม่เกิน 2 ปี

    กรณีอนุมัติตำแหน่งหน้าที่ของคนต่างด้าวเพิ่มเติม หรือกรณี ขยายเวลาตำแหน่งหรือต่ออายุการอยู่ในประเทศของคนต่างด้าว และครอบครัว ยกเว้นกิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน พิจารณาจากเหตุผลที่บริษัทชี้แจง เช่น ™

  • กิจการมีที่ตั้งโรงงานแยกอยู่หลายแห่ง ในกรณีขออนุมัติตำแหน่งเพิ่มเติม
  • ที่ตั้งโรงงานอยู่แห่งเดียวกัน แต่มีหลายโครงการ ในกรณีขออนุมัติตำแหน่งเพิ่มเติม
  • การผลิตมีหลายกะ (SHIFTS) ในกรณีขออนุมัติตำแหน่งเพิ่มเติม
  • มีการขยายกำลังการผลิต หรือติดตั้งเครื่องจักรใหม่ˆ
  • มีการขยายตลาดส่งออก หรือมีการเพิ่มมูลค่าส่งออก
  • มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงกระบวนการผลิต หรือใช้วัตถุดิบใหม่ หรือปรับเปลี่ยนการบริหารงานในองค์กร
  • กำลังการผลิตไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก หรือต้องการรักษาระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์Œ
  • มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศ
  • กิจการประสบปัญหาต่างๆ เช่น ด้านการผลิต ด้านการดำเนินงาน เป็นต้น™
  • การอนุมัติตำแหน่งครั้งแรก และการขยายระยะเวลา ให้อนุมัติ และขยายระยะเวลาเป็นเวลา 2 ปี

กรณีขยายระยะเวลาตำแหน่ง‡‡

    กรณีที่กิจการมีความประสงค์จะขยายระยะเวลา การอยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว บริษัทจะต้องยื่นเรื่องต่อบีโอไอ ตามแบบที่กำหนดก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลาอนุญาตเดิม โดยจะต้องมีวันเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 10 วันทำการ หากเกินกำหนดจะต้องยื่นเรื่องขอบรรจุตัวใหม่กับบีโอไอ โดยต้องเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปขอวีซ่า Non - B เข้ามาใหม่

กรณีบรรจุคนต่างด้าวในตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติ (บรรจุใหม่/แทนคนเดิม)

  • ต้องบรรจุในตำแหน่งว่างที่ได้รับอนุมัติแล้ว
  • คนต่างด้าวที่ขออนุมัติต้องมีวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งหน้าที่ที่มาปฏิบัติไม่น้อยกว่า 2 ปีในระดับทั่วไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีนับถึงวันที่ยื่นบรรจุตัว และ 5 ปีในระดับผู้จัดการ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 27 ปีนับถึงวันที่ยื่นบรรจุตัว ในกรณีที่จบการศึกษาไม่ตรงกับสายงาน ต้องมีประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับ ตำแหน่งที่จะมาปฏิบัติอย่างน้อย 5 ปี
  • วีซ่าต้องเป็นประเภท NON - IMMIGRANT Type B/IB/O (กรณีคู่สมรสเป็นคนไทย)
  • บริษัทจะต้องยื่นคำร้องต่อบีโอไอตามแบบที่กำหนดก่อนกำหนดระยะเวลาอนุญาตเดิมสิ้นสุด (Non - Immigrant Visa : 90 วัน) อย่างน้อย 10 วันทำการ
  • อนุญาตให้อยู่ในประเทศได้คราวละไม่เกินระยะเวลาของตำแหน่ง ‡

กรณีอนุญาตให้คนต่างด้าวมาปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราว

  • คนต่างด้าวที่ขออนุมัติต้องมีวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งหน้าที่ที่มาปฏิบัติไม่น้อยกว่า 2 ปีในระดับทั่วไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีนับถึงวันที่ยื่นบรรจุตัว และ 5 ปีในระดับผู้จัดการ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 27 ปีนับถึงวันที่ยื่นบรรจุตัว ในกรณีที่จบการศึกษาไม่ตรงกับสายงาน ต้องมีประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งที่จะมาปฏิบัติอย่างน้อย 5 ปี ในบางกรณีจะพิจารณาตามลักษณะงาน และความจำเป็นของกิจการ
  • วีซ่าต้องเป็นประเภท NON - IMMIGRANT Type B/IB/O (กรณีคู่สมรสเป็นคนไทย)
  • บริษัทจะต้องยื่นคำร้องต่อบีโอไอตามแบบที่กำหนดก่อนกำหนดระยะเวลาอนุญาตเดิมสิ้นสุด (Non - Immigrant Visa : 90 วัน) อย่างน้อย 10 วันทำการ
  • อนุญาตให้อยู่ในประเทศได้คราวละไม่เกิน 6 เดือน ™

กรณีอนุญาตให้ครอบครัวของคนต่างด้าวเข้ามาในประเทศ

  • หัวหน้าครอบครัวต้องได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศแล้ว
  • ต้องมีเอกสารที่แสดงถึงความเกี่ยวพันของครอบครัว เช่น สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตร
  • วีซ่าต้องเป็นประเภท NON - IMMIGRANT Type O
  • กรณีเป็นบุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี
  • กำหนดระยะเวลาที่อยู่ในประเทศเท่ากับหัวหน้าครอบครัว
  • บริษัทจะต้องยื่นคำร้องต่อบีโอไอตามแบบที่กำหนดก่อนกำหนดระยะเวลาอนุญาตเดิมสิ้นสุด (Non - Immigrant Visa : 90 วัน) อย่างน้อย 10 วันทำการ

กรณีขอความร่วมมือในการประทับตราวีซ่าให้แก่คนต่างด้าวหรือครอบครัว

    จะพิจารณาตามลักษณะงาน และความจำเป็นของกิจการ

  • ในกรณีเป็นครอบครัว หัวหน้าครอบครัวต้องได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศแล้ว
  • ถ้าเป็นบุตรของช่างฝีมือต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี

กรณีแจ้งเปลี่ยนสัญชาติคนต่างด้าว

    สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ขอให้บริษัทแจ้งช่างพ้นหน้าที่และยื่นบรรจุตัวใหม่ เนื่องจากถือหนังสือเดินทางเล่มใหม่ และถือสัญชาติใหม่

กรณีอนุญาตให้คนต่างด้าวไปปฏิบัติงานเพิ่มเติมที่บริษัทในเครือเดียวกัน™™

    “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไป ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้‰

  1. ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง‡ ‡
  2. ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งที่มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด‡ ‡
  3. นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง เกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว ในกรณีที่บริษัทแรก และ/หรือบริษัทในเครือบริษัทเดียว หรือหลายบริษัท หรือบริษัทแรก และ/หรือบริษัทในเครือในลำดับชั้นแรก และ/หรือในชั้นต่อๆ ไป บริษัทเดียวหรือหลายบริษัทถือหุ้นของบริษัทใดมีจำนวนรวมกัน เกินกว่าร้อยละห้าสิบของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วให้ถือว่า บริษัทนั้นเป็นบริษัทในเครือของบริษัทแรกด้วย‡ ‡
  4. บุคคลเกินกว่ากึ่งจำนวนกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในนิติบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการ หรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในอีกนิติบุคคลหนึ่ง‡ ‡
  5. บริษัทหนึ่งมีอำนาจควบคุมเกี่ยวกับการแต่งตั้ง และถอดถอนกรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการทั้งหมด หรือโดยส่วนใหญ่ของอีกบริษัทหนึ่ง‡ ‡
  6. นิติบุคคลใดจะอยู่ในเครือกับบุคคลอื่นเมื่อนิติบุคคลนั้นควบคุม หรือถูกควบคุมโดยบุคคลื่น “ถูกควบคุม” หมายความว่า ถูกควบคุมโดยบุคคลของสมาชิกหากบุคคลนั้นมีอำนาจในการเสนอชื่อกรรมการส่วนใหญ่ หรือเป็นผู้มีอำนาจโดยถูกต้องตามกฎหมายในการกำกับการดำเนินการของบริษัท หรือเมื่อทั้งสองฝ่ายถูกควบคุมโดยบุคคลคนเดียวกัน‡ ‡

    กรณีไปปฏิบัติงานในกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ในหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะระบุในหมายเหตุด้วยว่า “โดยเป็นกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนตามมาตรา 24”

กรณีอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในพื้นที่เพิ่มเติม หรือย้ายท้องที่ทำงาน™™

    ในการพิจารณาท้องที่ที่ทำงานที่เพิ่ม หรือย้าย จะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในที่ตั้งโรงงานในบัตรส่งเสริม หรือที่ตั้งสำนักงานที่ระบุในหนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัท

กรณีอนุญาตให้คนต่างด้าว และครอบครัวนำของใช้ส่วนตัวเข้ามาในราชอาณาจักร

    ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการ และครอบครัวจะต้องมีระยะเวลาที่อนุญาต ให้อยู่ในประเทศเกินกว่า 1 ปี

กรณีคนต่างด้าวพ้นหน้าที่ˆˆ

    กิจการจะต้องยื่นคำร้องแจ้งให้บีโอไอทราบก่อนล่วงหน้า 15 วัน

กรณีอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานชั่วคราวเป็นการเร่งด่วนไม่เกิน 30 วัน™™

  • วัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก ในกรณีที่คนต่างด้าวมี ความจำเป็นต้องเข้ามาทำงานแบบเร่งด่วนในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน ตามประกาศสำนักงาน ที่ ป. 14/2540 ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2540
  • การอนุญาตจะมีระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันที่อนุญาตเท่านั้น ไม่มีการต่ออายุ ถ้าต้องการทำงานมากกว่า 30 วัน ต้องขออนุญาต ในแบบปกติ
  • ผู้ขออนุญาตจะต้องทำงานในกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนแล้วเท่านั้น
  • การอนุญาตดังกล่าวเป็นการอนุญาตให้ทำงาน ดังนั้นระยะเวลาการอยู่ในประเทศยังคงขึ้นอยู่กับระยะเวลาของวีซ่าที่คนต่างด้าวถืออยู่ ˆ
  • วีซ่าต้องเป็นประเภท NON - IMMIGRANT Type B/IB/O (กรณีคู่สมรสเป็นคนไทย)

กรณีที่มีปัญหาไม่อาจวินิจฉัยได้ตามหลักเกณฑ์นี้ ให้เสนอผู้บริหารวินิจฉัย

    เฉพาะกิจการบีโอไอเท่านั้น ที่สามารถใช้สิทธิ์ด้านช่างฝีมือของบีโอไอ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์งานช่างฝีมือ (e - Expert System) ได้ อย่างไรก็ตาม กิจการบีโอไอจะไม่ใช้สิทธิ์ช่างฝีมือนี้ก็ได้เช่นกัน แต่สามารถไปขอใช้สิทธิ์ต่อวีซ่า และใบอนุญาตทำงานในฐานะธุรกิจทั่วไป ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยหากจะใช้สิทธิ์ช่างฝีมือของบีโอไอ ก็จำเป็นต้องเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น จึงจะได้รับอนุมัติ จากนั้นสามารถไปติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกรมการจัดหางาน ต่อไป › ›


ตำแหน่งของช่างฝีมือต่างชาติภายใต้โครงการบีโอไอ

ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน เดือนตุลาคม 2554Œ
โดย : คุณวันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์
นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน ระดับชำนาญการพิเศษ
กลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ ศูนย์บริการลงทุน™

     บีโอไอ ให้การส่งเสริมการลงทุน ด้วยสิทธิประโยชน์ในรูปของภาษีอากร และที่ไม่ใช่ภาษีอากร โดยสิทธิประโยชน์ด้านช่างฝีมือเป็นสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษีอากร มีบทบาทสำคัญในการให้บริการของบีโอไอ

     งานช่างฝีมืออยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ ศูนย์บริการลงทุน บีโอไอ ตั้งอยู่ที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18 ปทุมวัน กรุงเทพฯ ซึ่งมีระเบียบหลักเกณฑ์ในการนำเข้าคนต่างด้าวมาปฏิบัติงานในตำแหน่งงานของกิจการบีโอไอ ที่จะนำเสนอต่อไปนี้

คุณสมบัติของช่างฝีมือต่างชาติ

     การนำเข้าช่างฝีมือต่างชาติภายใต้สิทธิ์ด้านช่างฝีมือของบีโอไอ เริ่มจากการมีบัตรส่งเสริมฯ เพื่อใช้สิทธิ์ตามมาตรา 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เพื่อการอยู่ และทำงานในราชอาณาจักร หากอยู่ในระหว่างขอรับการส่งเสริมฯ จะใช้สิทธิ์ตามมาตรา 24 โดยการใช้สิทธิ์ด้านช่างฝีมือ ตามมาตรา 25 กำหนดคำเฉพาะไว้ว่า ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ จึงจำเพาะช่างฝีมือ หรือผู้ชำนาญการเท่านั้น ที่จะสามารถใช้สิทธิ์ด้านช่างฝีมือของบีโอไอได้

     อย่างไรก็ตาม ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติในกิจการบีโอไอ อาจใช้สิทธิประโยชน์ด้านช่างฝีมือของบีโอไอ หรือไม่ก็ได้ กล่าวคือ มีสิทธิ์ แต่ไม่ใช้สิทธิ์ก็ได้ โดยหากไม่ใช้สิทธิ์ช่างฝีมือของบีโอไอ สามารถยื่นกรณีธุรกิจทั่วไปที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานได้โดยตรง ฉะนั้น คนต่างด้าวในกิจการบีโอไอ ไม่จำเป็นต้องอยู่ปฏิบัติงานในราชอาณาจักรภายใต้สิทธิประโยชน์ด้านช่างฝีมือของบีโอไอเสมอไป

     ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติที่ทำงานในกิจการบีโอไอ ที่สามารถใช้สิทธิ์บีโอไอได้ ต้องมีคุณสมบัติด้านอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  1. ประสบการณ์อย่างน้อย 2 ปี ในกรณีที่วุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งงานในระดับทั่วไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี นับถึงวันที่ยื่นบรรจุตัว
  2. ประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี ในกรณีที่วุฒิการศึกษาไม่ตรงกับตำแหน่งงาน หรือในกรณีที่มีตำแหน่งในระดับผู้จัดการ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 27 ปี นับถึงวันที่ยื่นบรรจุตัว

     ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติตั้งแต่ระดับผู้จัดการขึ้นไป ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 2. ไม่ว่าจะมีวุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งงานหรือไม่ก็ตาม กล่าวคือ ประสบการณ์ทำงานในด้านที่ส่งเสริม และสนับสนุนการมาปฏิบัติงานในกิจการบีโอไอไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีอายุไม่น้อยกว่า 27 ปี

     ประสบการณ์ทำงานต้องเกี่ยวพันกับตำแหน่งหน้าที่ที่ขออนุมัติ จึงจะสามารถนับเป็นประสบการณ์ทำงานได้ อีกทั้งชื่อตำแหน่งต้องมีความชัดเจน และสะท้อนงานที่ทำ เช่น Marketing Manager จะมาปฏิบัติงานด้านการตลาด เป็นต้น

     นอกจากนั้น กรณีชื่อตำแหน่งที่เจาะจง ยังบอกถึงวุฒิการศึกษาด้วย เช่น Technical Engineering Development Supervisor ต้องจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น เป็นต้น

ขั้นตอนการนำเข้าช่างฝีมือต่างชาติ

     เมื่อช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว หากกิจการประสงค์จะใช้สิทธิ์ด้านช่างฝีมือนำเข้าช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติ มาปฏิบัติงานในโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ให้ดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ

  1. ยื่นคำขออนุมัติตำแหน่งหน้าที่ก่อน เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2
  2. ยื่นเรื่องขอบรรจุช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติในตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติแล้ว

ตำแหน่งหน้าที่ของช่างฝีมือต่างชาติ

     ตำแหน่งที่จะขออนุมัติสำหรับช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติ ต้องมีความชัดเจน โดยชื่อตำแหน่งต้องบอกลักษณะงาน และระดับการบังคับบัญชาในองค์กรนั้นได้ เช่น Managing Director, Marketing Manager, Quality Control Supervisor เป็นต้น ซึ่งหากเป็นตำแหน่ง Managing Director ช่างฝีมือต้องเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนของบริษัทนั้น

     กรณีเป็นตำแหน่งด้านตลาด การส่งออก และการขายต้องให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่องของสัดส่วนการค้าภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ โดยส่งออกไปยังประเทศใดบ้าง

     กรณีเป็นตำแหน่งด้านตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพในสายการผลิต ต้องให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่องของชนิดผลิตภัณฑ์ และสายการผลิตประกอบการพิจารณาด้วย อีกทั้งช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาตินั้น จะมาควบคุม ดูแล และปฏิบัติงานในสายการผลิตใด

เหตุผลและความจำเป็นในการขออนุมัติตำแหน่งหน้าที่

     ตำแหน่งหน้าที่ของช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติที่ขออนุมัติต้องมีเหตุผล และความจำเป็นในการจ้างช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาตินั้น เช่น ขอบเขตงานในตำแหน่งนี้ ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของใคร ทำไมตำแหน่งหน้าที่นี้จึงจำเป็นต่อองค์กรในช่วงเวลาที่ยื่นคำขอ ด้วยเหตุผลอะไรจึงต้องมีตำแหน่งนี้ และเหตุใดต้องเป็นคนต่างชาติ เป็นต้น

     เหตุผล และความจำเป็นในการขออนุมัติตำแหน่งหน้าที่นั้น เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาของกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศว่าจะอนุมัติให้หรือไม่

     กรณีมีตำแหน่งหน้าที่ของช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติที่ใช้สิทธิ์บีโอไออยู่แล้ว แต่จะขอเพิ่มอัตรา คือ เพิ่มจำนวนช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติในตำแหน่งหน้าที่เดิม ให้แจ้งเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องเพิ่มอัตรา นอกจากนั้น ลักษณะงานของอัตราเดิมและอัตราใหม่ เหมือน/แตกต่างกันอย่างไร

การบรรจุช่างฝีมือต่างชาติ

     ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa ชนิด B หรือ IB (Non-B สำหรับธุรกิจ หรือ Non-IB สำหรับการลงทุนภายใต้กฎหมายว่าด้วยการลงทุน) และเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว จึงยื่นเรื่องบรรจุช่างฝีมือในตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติแล้วนั้น พร้อมกับเอกสารด้านการศึกษา และเอกสารประสบการณ์ทำงาน ซึ่งหากไม่ใช่ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ต้องแปลเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ โดยให้ศูนย์การแปลหรือสถานทูตตามสัญชาติของช่างฝีมือรับรอง และประทับตราสำคัญ ทั้งนี้ สถาบันที่แปลต้องเป็นองค์กร มิใช่บุคคล

ระยะเวลาให้อยู่และทำงานในประเทศไทย

     ระยะเวลาที่ให้อยู่ และทำงานในราชอาณาจักรแต่ละครั้งที่ขออนุมัติ ขึ้นอยู่กับการได้รับการส่งเสริมฯ ในกิจการประเภทใด จำแนกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่ม 1 ปี และกลุ่ม 2 ปี โดยกลุ่ม 1 ปี สำหรับกิจการซอฟต์แวร์ และกิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน กิจการนอกนั้น (มากกว่า 200 ประเภทที่ให้การส่งเสริมฯ) เป็นกลุ่ม 2 ปี

     กรณีเป็นกิจการวิจัยและพัฒนา จะให้ 4 ปี สำหรับช่างฝีมือในตำแหน่ง Researcher และหากต่ออายุในรอบที่ 2 เป็นต้นไป จะได้รับ 2 ปี

ระยะเวลาดำเนินการ

     ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติตำแหน่งหน้าที่ขึ้นอยู่กับจำนวนตำแหน่งที่ขออนุมัติ จำแนกเป็น ดังนี้

  • 1 – 2 ตำแหน่ง ใช้เวลาดำเนินการแล้วเสร็จไม่เกิน 5 วันทำการ
  • 3 – 10 ตำแหน่ง ใช้เวลาดำเนินการแล้วเสร็จไม่เกิน 15 วันทำการ
  • มากกว่า 10 ตำแหน่ง ใช้เวลาดำเนินการแล้วเสร็จไม่เกิน 20 วันทำการ

     ระยะเวลาดำเนินการบรรจุช่างฝีมือลงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับอนุมัติ จำนวน 5 วันทำการ

หนังสือมอบอำนาจ

     การยื่นเรื่องขออนุญาตทุกเรื่องต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ หากผู้บริหารระดับสูงที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ไม่ได้มาติดต่อด้วยตนเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจมาด้วยเสมอ

     โดยประกอบด้วยหนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองของบริษัท สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ อากรแสตมป์ 10 หรือ 30 บาทแล้วแต่กรณี (10 บาท ใช้ได้ครั้งเดียว แต่ 30 บาท จะเป็นมอบอำนาจ เพื่อให้ใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะมีการขอยกเลิก) ซึ่งต้องยื่นหนังสือมอบอำนาจต้นฉบับทั้งชุด ในการติดต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศครั้งแรกเสมอ กรณีเป็นคนต่างชาติ ให้แนบสำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่มีรูปช่างฝีมือ และหน้าการตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ยังมีอายุอยู่

     หากผู้บริหารระดับสูงที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท มาติดต่อด้วยตนเอง และเป็นคนต่างชาติ ให้แนบสำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่มีรูปช่างฝีมือ และหน้าการตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ยังมีอายุอยู่ แต่ถ้าเป็นคนไทย ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

     อำนาจที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจ ควรครอบคลุมการยื่นคำขอ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รับรอง และลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว รวมถึงทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูล ชี้แจง ให้ถ้อยคำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ บีโอไอ

     หนังสือมอบอำนาจ และหนังสือรับรองของบริษัทมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในหนังสือนั้น แต่อาจน้อยกว่า 6 เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขอำนาจ หรือรายละเอียดในหนังสือนั้น

การรับรองเอกสาร

     เอกสารทุกชุด ยกเว้นเอกสารที่ออกโดยบีโอไอ ต้องได้รับการลงนาม และประทับตราสำคัญของบริษัท โดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจนั้น

     โดยกรณีเอกสารสำคัญในการบรรจุช่างฝีมือลงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับอนุมัติ ได้แก่

  • แบบฟอร์มประวัติและรายละเอียดของการขอเข้ามาในประเทศไทยของช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ หรือครอบครัว (Bio-Data Application Form for the Alien Skilled Worker, the Expert or the Entourage Family)
  • หลักฐานการศึกษา หลักฐานการผ่านงาน รวมถึง Resume/Curriculum Vitae/Bio-Data (ถ้ามี)
  • กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท รับรองเอกสารทุกชุด และประทับตราสำคัญของบริษัท
  • ประกอบกับการลงนามของช่างฝีมือนั้นในแบบฟอร์มประวัติฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

     ด้วยระเบียบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาของกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศข้างต้น ทำให้ช่างฝีมือต่างชาติที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน ไม่สามารถใช้สิทธิ์ด้านช่างฝีมือของบีโอไอได้ อีกทั้งต้องมีวีซ่า Non-B หรือ Non-IB จึงจะสามารถทำงานได้ ด้วยระยะเวลาดำเนินการทั้ง 2 ขั้นตอน กรณี 1–2 ตำแหน่ง แล้วเสร็จได้ไม่เกิน 10 วันทำการ โดยโอกาสในการได้รับอนุมัติจะมีมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีการจ้างงานช่างฝีมือต่างชาตินั้น หากข้อมูลประกอบการพิจารณาครบถ้วน การพิจารณาก็สามารถดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

     นอกจากนั้น กลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ บีโอไอจะเริ่มทดลองใช้ระบบออนไลน์ BOI E-Expert System ประมาณเดือนตุลาคม 2554 และเริ่มใช้งานจริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ในการยื่นเรื่องช่างฝีมือทั้งระบบ ในทุกประเภทกิจการ และทุกชนิดงานช่างฝีมือที่ให้บริการของบีโอไอ เมื่อเริ่มใช้งานจริง หนังสือมอบอำนาจก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป บริษัทผู้ได้รับส่งเสริมฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบรหัส Password และเอกสารที่แนบทั้งหมดของตนเอง ซึ่งจะลดขั้นตอน ลดปริมาณเอกสาร และลดการเดินทางมาติดต่อยื่นเรื่อง อันจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการได้มากยิ่งขึ้น


เมื่อช่างฝีมือต่างชาติในกิจการบีโอไอต้องไปปฏิบัติงานยังสถานที่อื่น

ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน เดือนกันยายน 2554Œ
โดย : คุณวันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์
นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน ระดับชำนาญการพิเศษ
กลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ ศูนย์บริการลงทุน™

ประเภทของการปฏิบัติงานนอกสถานที่

      ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติงานในกิจการบีโอไอ (กิจการบีโอไอ หรือผู้ที่ได้รับการส่งเสริม ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 หมายถึง กิจการที่ได้รับบัตรส่งเสริมฯ) ด้วยสิทธิ์ด้านช่างฝีมือของบีโอไอ อาจมีความจำเป็นต้องไปปฏิบัติงานยังสถานที่อื่น ด้วยเหตุผลหลากหลาย ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. กรณีขออนุญาตให้คนต่างด้าว เพิ่ม หรือย้ายท้องที่ทำงาน
  2. กรณีขออนุญาตให้คนต่างด้าวไปปฏิบัติงานเพิ่มเติมที่บริษัทในเครือเดียวกัน
  3. กรณีขออนุญาตเพิ่มสถานที่ปฏิบัติงานที่กิจการของลูกค้า

      คนต่างด้าวเป็นคำทางกฎหมาย หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551

      ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการ เป็นคำที่อยู่ในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ที่ให้ผู้ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนได้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือ หรือผู้ชำนาญการเข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามจำนวน และกำหนดระยะเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรเท่าที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาเห็นสมควร

กรณีเพิ่ม หรือย้ายท้องที่ทำงาน

      เป็นกรณีที่กิจการบีโอไอเดียวกัน มีที่ตั้งหลายท้องที่ ซึ่งหมายถึง หลายจังหวัด แล้วประสงค์จะไปปฏิบัติงานในหลายท้องที่นั้นหรือย้ายไปปฏิบัติงานยังท้องที่อื่นของกิจการ การพิจารณาท้องที่ทำงานที่เพิ่ม หรือย้าย ต้องเป็นไปตามที่ระบุที่ตั้งโรงงานไว้ในบัตรส่งเสริม หรือที่ตั้งสำนักงานที่ระบุในหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หากที่ตั้งโรงงานเปลี่ยนแปลง ให้แก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งที่สำนักบริหารการลงทุน 1 - 4 บีโอไอ สำนักงานใหญ่ ให้เรียบร้อยก่อน จึงยื่นขออนุญาตที่กลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศภายหลัง

กรณีปฏิบัติงานเพิ่มเติมที่บริษัทในเครือเดียวกัน

      เป็นกรณีช่างฝีมือ หรือผู้ชำนาญการต่างชาติจำเป็นต้องไปปฏิบัติงานเพิ่มเติมที่บริษัทในเครือ เช่น วางแผน กำกับดูแล บริหารจัดการ ประชุม และลงนามเอกสารสำคัญ เป็นต้น โดยบริษัทในเครือ หมายถึงบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไป ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือในหลายลักษณะ และกิจการบีโอไอที่ยื่นขออนุญาตต้องพิสูจน์ความเป็นในเครืออย่างน้อย 1 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้น หรือ ผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
  2. ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง ที่มีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
  3. นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว ในกรณีที่บริษัทแรก และ/หรือ บริษัทในเครือบริษัทเดียว หรือหลายบริษัท หรือบริษัทแรก และ/หรือบริษัทในเครือในลำดับชั้นแรก และ/หรือในชั้นต่อๆ ไป บริษัทเดียว หรือหลายบริษัท ถือหุ้นของบริษัทใด มีจำนวนรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทในเครือของบริษัทแรกด้วย
  4. บุคคลเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งมีอำนาจจัดการในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งมีอำนาจจัดการในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
  5. บริษัทหนึ่งมีอำนาจควบคุมเกี่ยวกับการแต่งตั้ง และถอดถอนกรรมการ ซึ่งมีอำนาจจัดการทั้งหมด หรือโดยส่วนใหญ่ของอีกบริษัทหนึ่ง
  6. นิติบุคคลใดจะอยู่ในเครือกับบุคคลอื่น เมื่อนิติบุคคลนั้นควบคุม หรือถูกควบคุมโดยบุคคลอื่น “ถูกควบคุม” หมายความว่า ถูกควบคุมโดยบุคคลของสมาชิก หากบุคคลนั้นมีอำนาจในการเสนอชื่อกรรมการส่วนใหญ่ หรือเป็นผู้มีอำนาจโดยถูกต้องตามกฎหมยในการกำกับการดำเนินการของบริษัท หรือเมื่อ ทั้งสองฝ่ายถูกควบคุมโดยบุคคลคนเดียวกัน

      ตำแหน่งหน้าที่ที่ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติจะไปปฏิบัติงานเพิ่มเติมที่บริษัทในเครือนั้น ต้องเป็นตำแหน่งที่บริษัทในเครือไม่มี หรือแม้ว่าจะมีตำแหน่ง และว่างอยู่ ก็ไม่สามารถบรรจุลงตำแหน่งนั้นได้ เนื่องจากตำแหน่งที่ว่างนั้นเป็นตำแหน่งสำหรับช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติที่ปฏิบัติงานเป็นการประจำเท่านั้น

      การขออนุญาตไปปฏิบัติงานเพิ่มเติมที่บริษัทในเครือ จะได้รับอนุญาตหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นเป็นกรณีๆ ไป ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่สุด แม้บางกรณีจะไม่มีความสัมพันธ์ด้านการเป็นบริษัทในเครือ แต่หากมีเหตุผลและความจำเป็นที่มีน้ำหนักและสำคัญ ไม่เช่นนั้นวิสาหกิจในเครือจะไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ อาจได้รับอนุญาตก็ได้

กรณีเพิ่มสถานที่ปฏิบัติงานที่กิจการของลูกค้า

      เป็นกรณีที่ต้องมีการติดต่อ ประสานงาน และให้บริการลูกค้าที่วิสาหกิจของลูกค้า เช่น ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติในตำแหน่งด้านการตลาดและการขาย ด้านบริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เป็นต้น โดยจะได้รับอนุญาตหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุผลและ ความจำเป็นเป็นกรณีๆ ไป และรายละเอียดเอกสารสัญญาการให้บริการเพื่อประกอบการพิจารณา

หนังสือมอบอำนาจ

      การยื่นเรื่องขออนุญาตทุกเรื่องต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ หากผู้บริหารระดับสูงที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ไม่ได้มาติดต่อด้วยตนเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจเสมอ โดยประกอบด้วย

  1. หนังสือมอบอำนาจ
  2. หนังสือรับรองของบริษัท
  3. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัว ของผู้รับมอบอำนาจ
  4. อากรแสตมป์ 10 หรือ 30 บาท (10 บาท ใช้ได้ครั้งเดียว แต่ 30 บาท ใช้ได้หลายครั้ง)

      ซึ่งต้องยื่นหนังสือมอบอำนาจต้นฉบับทั้งชุดในการติดต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศครั้งแรกเสมอ กรณีเป็นคนต่างชาติ ให้แนบสำเนาหน้หนังสือเดินทางที่มีรูปช่างฝีมือ และหน้าการตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ยังมีอายุอยู่

      หากผู้บริหารระดับสูงที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท มาติดต่อด้วยตนเอง และเป็นคนต่างชาติ ให้แนบสำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่มีรูปช่างฝีมือ และหน้าการตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ยังมีอายุอยู่ แต่ถ้าเป็นคนไทย ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

      อำนาจที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจ ควรครอบคลุมการยื่นคำขอ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รับรอง และลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว รวมถึงทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ชี้แจง ให้ถ้อยคำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติ ต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศบีโอไอ

      หนังสือมอบอำนาจ และหนังสือรับรองของบริษัท มีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ในหนังสือนั้น แต่อาจน้อยกว่า 6 เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขอำนาจหรือรายละเอียดในหนังสือนั้น

      ฉะนั้น กิจการบีโอไอสามารถยื่นเรื่องขออนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติที่เข้ามาปฏิบัติงานภายใต้สิทธิประโยชน์ด้านช่างฝีมือของบีโอไอ ไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ที่ปฏิบัติงานเป็นการประจำได้ โดยให้รายละเอียด พร้อมเหตุผล และความจำเป็น ประกอบการพิจารณา อีกทั้งแนบเอกสารตามใบตรวจเอกสารของงานช่างฝีมือ ตามมาตรา 25

  • กรณีเพิ่มหรือย้ายท้องที่ทำงานเป็นข้อ 1.12
  • กรณีปฏิบัติงานเพิ่มเติมที่บริษัทในเครือเดียวกัน เป็นข้อ 1.10
  • กรณีเพิ่มการปฏิบัติงานที่กิจการลูกค้า เป็นข้อ 1.16
  • กรณีอื่นๆ ตามใบตรวจเอกสารฯ ซึ่งข้อ 1.16 ต้องมีเอกสารแนบประกอบด้วย ดังนี้
    -หนังสือของบริษัทแจ้งรายละเอียดความประสงค์ พร้อมเหตุผล และความจำเป็น
    -หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
    -บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
    -สำเนาบัตรส่งเสริมฯ และหนังสืออนุมัติเดิมที่เกี่ยวข้อง

      การปฏิบัติงานนอกสถานที่ประเภทแรกที่เพิ่ม หรือย้ายท้องที่ทำงาน เป็นการปฏิบัติงานประจำในกิจการบีโอไอที่ใช้สิทธิประโยชน์ด้านช่างฝีมือ ขณะที่ประเภท ที่สอง และสาม เป็นการไปปฏิบัติงานยังวิสาหกิจอื่น ซึ่งอาจได้รับหรือไม่ได้รับการส่งเสริมฯ ก็ได้ บริการทั้งสามของบีโอไอ เป็นการอำนวยความสะดวกให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติสามารถปฏิบัติงานตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมฯ ได้สำเร็จตามเป้าหมาย


สิทธิประโยชน์ช่างฝีมือต่างชาติภายใต้โครงการบีโอไอ

ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน เดือนสิงหาคม 2554Œ
โดย : คุณวันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์
นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน ระดับชำนาญการพิเศษ
กลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ ศูนย์บริการลงทุน™

หลักเกณฑ์ด้านช่างฝีมือในกิจการบีโอไอ

      การนำเข้าช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาติในกิจการบีโอไอเป็นไปตามมาตรา 24, 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520

      โดยมาตรา 24 เป็นกรณีการศึกษาลู่ทางการลงทุน หรือกระทำการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน หรืออยู่ในขั้นตอนการขอรับการส่งเสริมฯ

      สำหรับมาตรา 25 และ 26 เป็นกรณีที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว จึงเป็นการให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ในการอยู่และปฏิบัติงานในราชอาณาจักร

      ด้วยระเบียบกฎหมายข้างต้น ทำให้ช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาติที่เข้ามาปฏิบัติงานตามมาตรา 24 และในกิจการที่ได้รับส่งเสริมฯ ต้องปฏิบัติงานและอยู่ในราชอาณาจักรตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่บีโอไอกำหนด

กิจการบีโอไอไม่ใช้สิทธิ์ด้านช่างฝีมือได้หรือไม่

      การได้รับการส่งเสริมฯ จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 25 และ 26 เป็นการทั่วไป สำหรับการจะใช้สิทธิ์หรือไม่นั้นเป็นการดำเนินการของแต่ละธุรกิจ

      นอกจากนั้น ในกิจการบีโอไออาจมีช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาติทั้งสองกลุ่ม คือ ทั้งที่ใช้และไม่ใช้สิทธิ์บีโอไอก็ได้

      โดยกรณีใช้สิทธิ์ของธุรกิจทั่วไป สามารถดำเนินการยื่นคำขอ ต่อกรมการจัดหางานได้โดยตรง ไม่ต้องเสนอคำขอต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ บีโอไอ ซึ่งให้บริการร่วมกับกองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18 ปทุมวัน กรุงเทพฯ

เงื่อนไขการอยู่ปฏิบัติงานในธุรกิจทั่วไป

      กรณีธุรกิจทั่วไป หมายถึง กรณีธุรกิจที่ไม่ใช่กิจการบีโอไอ หรือแม้จะเป็นกิจการบีโอไอ ก็ไม่ใช้สิทธิ์ด้านช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาติของบีโอไอ คนต่างด้าวในธุรกิจทั่วไปต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการอยู่ในราชอาณาจักร และเงื่อนไขของกรมการจัดหางาน เพื่อการทำงานในราชอาณาจักรด้วย

      คนต่างด้าว ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 กำหนดให้หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

      คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 777/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 กำหนดหลักเกณฑ์กรณีเข้ามาในราชอาณาจักรด้วยเหตุจำเป็นทางธุรกิจ เช่น

-คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทอยู่ชั่วคราว
-ต้องมีรายได้ขั้นต่ำระหว่าง 25,000 - 50,000 บาทต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับสัญชาติของคนต่างด้าว)
-ต้องเป็นธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
-ธุรกิจประกอบการจริงและต่อเนื่อง
-ธุรกิจจำเป็นต้องจ้างคนต่างด้าวและธุรกิจต้องมีอัตราส่วนระหว่างจำนวนคนต่างด้าวกับพนักงานคนไทยประจำ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 4 ยกเว้นธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (สำนักงานผู้แทน) สำนักงานภูมิภาค และบริษัทข้ามชาติ (สำนักสาขา) ให้ผ่อนผันสัดส่วนเป็น 1 ต่อ 1 ได้ เป็นต้น

      ระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2552 กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ท้ายระเบียบ กรณีการทำงานกับนายจ้างซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย กำหนดหลักเกณฑ์ เช่น

      ธุรกิจมีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท โดยให้มีคนต่างด้าวได้ 1 คน และให้เพิ่มขึ้น 1 คนต่อขนาดการลงทุน ทุกๆ 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 คน ยกเว้นกรณีคนต่างด้าวมีคู่สมรสเป็นคนไทย ซึ่งจดทะเบียนสมรส และอยู่กินฉันท์สามีภรรยาโดยเปิดเผย ให้ขนาดการลงทุนลดลงกึ่งหนึ่ง เป็นต้น

หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตช่างฝีมือในกิจการบีโอไอ

      หลักเกณฑ์แรกในการยื่นคำขออนุญาตต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ บีโอไอ คือ ต้องเป็นกิจการที่อยู่ในขั้นตอนขอรับการส่งเสริมฯ หรือได้รับบัตรส่งเสริมฯ แล้ว หรือกรณีอื่นตามมาตรา 24 ที่กล่าวแล้วข้างต้น

      หลักเกณฑ์ต่อมา คนต่างด้าวต้องเป็นช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาติ อีกทั้งมีเหตุผล และความจำเป็นในการจ้างคนต่างด้าวจึงเข้ามาทำงานในกิจการบีโอไอตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ซึ่งช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาตินั้น ต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว ซึ่งคือ Non-B สำหรับธุรกิจ หรือ Non-IB สำหรับการลงทุนภายใต้กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมลงทุน

      นอกจากนั้น ยังมีหลักเกณฑ์สำคัญสำหรับช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาติที่ทำงานในกิจการบีโอไอ ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์บีโอไอได้ โดยต้องมีอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  1. ประสบการณ์อย่างน้อย 2 ปี ในกรณีที่วุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งงานในระดับทั่วไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี นับถึงวันที่ยื่นบรรจุตัว
  2. ประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี ในกรณีที่วุฒิการศึกษาไม่ตรงกับตำแหน่งงาน หรือในกรณีที่มีตำแหน่งในระดับผู้จัดการ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 27 ปี นับถึงวันที่ยื่นบรรจุตัว

เมื่อเป็นช่างฝีมือต่างชาติภายใต้โครงการบีโอไอ

      มีบางกิจการที่มีคุณสมบัติไม่เข้าเงื่อนไขของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ/หรือ กรมการจัดหางาน บีโอไอเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ธุรกิจอาจสามารถเข้าหลักเกณฑ์ของบีโอไอได้ อีกทั้งกิจการบีโอไอที่ใช้สิทธิ์บีโอไอสำหรับช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาติ ยังสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ได้อีกด้วย

      นอกจากนั้น การอยู่ปฏิบัติงานในราชอาณาจักรของช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาติ ด้วยสิทธิ์ของบีโอไอ ก็จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบีโอไอด้วย

หนังสือมอบอำนาจ

      การยื่นเรื่องขออนุญาตทุกเรื่องต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ หากผู้บริหารระดับสูงที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองของบริษัท สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ อากรแสตมป์ 10 หรือ 30 บาทตามแต่กรณี (10 บาท จะใช้ได้หนึ่งครั้ง 30 บาท สำหรับกรณีใช้เป็นการถาวร)

      ซึ่งต้องยื่นหนังสือมอบอำนาจต้นฉบับทั้งชุดในการติดต่อกับกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศครั้งแรกเสมอ กรณีเป็นคนต่างชาติ ให้แนบสำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่มีรูปช่างฝีมือ และหน้าการตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ยังมีอายุอยู่

      หากผู้บริหารระดับสูงที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท มาติดต่อด้วยตนเอง และเป็นคนต่างชาติ ให้แนบสำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่มีรูปช่างฝีมือ และหน้าการตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ยังมีอายุอยู่ แต่ถ้าเป็นคนไทย ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

      อำนาจที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจควรครอบคลุมการยื่นคำขอ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รับรอง และลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว รวมถึงทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ชี้แจง ให้ถ้อยคำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างชาติ ต่อกลุ่มผู้ชำนาญการต่างประเทศ บีโอไอ

      หนังสือมอบอำนาจ และหนังสือรับรองของบริษัท มีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ของหนังสือนั้น แต่อาจน้อยกว่า 6 เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขอำนาจหรือรายละเอียดในหนังสือนั้น

      ฉะนั้น คนต่างด้าวอาจเข้ามาอยู่ และปฏิบัติงานในราชอาณาจักร ด้วยสิทธิ์ของธุรกิจทั่วไป หรือสิทธิ์ของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนก็ได้ ซึ่งเฉพาะกิจการบีโอไอเท่านั้น ที่สามารถใช้สิทธิ์บีโอไอได้ แต่กิจการบีโอไออาจไม่ใช้สิทธิ์ของบีโอไอในการนำเข้าคนต่างด้าวก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ของบีโอไอ หรือไม่ประสงค์ที่จะใช้สิทธิ์นั้นก็ได้ บีโอไอจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการนำเข้าคนต่างด้าวมาปฏิบัติงานในกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบš


views 44,341
Total pageviews 4,474,379 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.