Home | สาระน่ารู้

กรุณาตรวจสอบความถูกต้องจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อีกครั้งหนึ่ง ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. การกำหนดมูลค่าการลงทุนที่นำมาคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (Cap)
 1.1ค่าก่อสร้างอาคาร
 1.1.1การใช้อาคารซึ่งเคยใช้ประโยชน์อยู่แล้ว ไม่ได้  
1.1.2การใช้อาคารเดิมซึ่งพิสูจน์ได้ว่ายังไม่ได้ใช้ประโยชน์มาก่อนได้1.ใช้การปันส่วนตามพื้นที่หรือตามกำลังผลิต โดยให้ใช้มูลค่าตามสัญญาซื้อขายหรือราคาสุทธิตามบัญชีของงวดบัญชีก่อนยื่นคำขอรับส่งเสริมแล้วแต่กรณี (ข้อ 1.1.2 ของประกาศที่ ป. 1/2545) และต้องแสดงหลักฐานว่าอาคารในส่วนที่ขอนับวงเงินฯ ยังไม่เคยนับเป็นเงินลงทุนในบัตรอื่นมาก่อน
2.ต้องแจ้งข้อมูลเรื่องอาคารเดิมไว้ในขั้นที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม จึงจะพิจารณานับมูลค่าดังกล่าวในขั้นตอนการเปิดดำเนินการ
1.1.3การก่อสร้างอาคารใหม่ หรือก่อสร้างเพิ่มเติมเพื่อรองรับโครงการขยาย

ได้ 
1.2ค่าเช่าอาคาร
 1.2.1กรณีสัญญาเช่ามีระยะเวลามากกว่า 3 ปี และจดทะเบียนกับสำนักงานที่ดิน/กรมที่ดินได้1.ให้ตามมูลค่าการเช่าตามที่ระบุในสัญญา แต่ต้องไม่เกินจำนวนปีที่ได้รับสิทธิ ม.31 เช่น กรณีที่ทำสัญญาเช่า 10 ปี แต่ได้รับสิทธิ ม.31 เป็นเวลา 7 ปี จะคำนวณมูลค่าตามระยะเวลา 7 ปี
2.กรณีเช่าอาคารก่อนวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริมต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นการเช่าเพื่อใช้สำหรับโครงการที่ขอส่งเสริม
1.2.2สัญญาเช่าอาคารมากกว่า 3 ปี แต่ไม่ได้ทำการจดทะเบียนกับ สำนักงานที่ดิน/กรมที่ดิน ไม่ได้  
1.2.3การเช่าอาคารพร้อมที่ดิน
-มีการแยกค่าเช่าระหว่างอาคารและที่ดินได้ให้คำนวณเฉพาะค่าเช่าอาคาร
-ไม่ได้แยกค่าเช่าระหว่างอาคารและที่ดิน ไม่ได้ ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 139) อาคารถือเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน หากไม่แยก ถือว่าเป็นการเช่าที่ดิน จึงนำมาคำนวณเป็นขนาดการลงทุนเพื่อวงเงินภาษีไม่ได้

1.3ค่าเครื่องจักร
 1.3.1กรณีมีการลงทุนเครื่องจักรแต่เครื่องจักรนั้นใช้งานอยู่ที่บริษัทผู้รับจ้าง เช่น การลงทุนแม่พิมพ์แล้วนำไปไว้ที่โรงงานของผู้รับจ้างเพื่อให้ผลิตชิ้นส่วนให้
-ผู้รับจ้างอยู่ในประเทศได้ต้องได้รับอนุมัติกรรมวิธีการผลิตที่เป็นการนำเครื่องจักรไปว่าจ้างผู้อื่นผลิตด้วย
-ผู้รับจ้างอยู่ต่างประเทศ ไม่ได้  
-กิจการที่มีการให้บริการระหว่างประเทศตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ เช่น กิจการขนส่งทางอากาศ กิจการขนส่งทางเรือ

ได้ 
1.3.2กรณีที่ไม่มีการลงทุนเครื่องจักร (ไม่มีการบันทึกเป็นสินทรัพย์)
-กรณีที่บริษัทในเครือหรือบริษัทแม่ให้มาได้1.ต้องแจ้งในคำขอรับการส่งเสริมครั้งแรกเท่านั้น
2.กรณีขอแก้ไขโครงการ ไม่นับวงเงินลงทุน แต่จะนับเฉพาะกำลังผลิตเท่านั้น
3.เป็นไปตามประกาศที่ ป. 1/2545 ข้อ 1.2.4 (เครื่องจักรที่จะนับวงเงินฯ ต้องเป็นเครื่องจักรที่มาจากบริษัทในเครือที่อยู่ในต่างประเทศ)
4.กรณีบริษัทในเครือหรือบริษัทแม่ให้มาถือว่าเป็นการลงทุน เนื่องจากในทางบัญชี สามารถตีมูลค่าเครื่องจักรเป็นทุนจดทะเบียนได้
-กรณีที่บริษัทลูกค้าในต่างประเทศให้มา ไม่ได้ 1.นับเป็นกำลังผลิตให้
2.แต่ไม่นับวงเงินเนื่องจากไม่ถือเป็นเงินลงทุน เพราะไม่มีความสัมพันธ์ในเชิงการถือหุ้น ซึ่งแตกต่างจากบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือ

1.4ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ
1.4.1ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนต่างๆ เช่น การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนผู้ประกอบการธุรกิจคนต่างด้าว หรือ การขออนุญาตอื่นๆ เป็นต้น

 ไม่ได้ ประกาศที่ ป. 1/2545 กำหนดให้นับเฉพาะกรณีเป็นบริษัทตั้งใหม่ และเป็นค่าเดินทาง ค่าทนายความค่าธรรมเนียม และค่าหนังสือบริคณห์สนธิเท่านั้น
2. การใช้สิทธิฯ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31
 2.1กรณีที่ขนาดการลงทุนขั้นต่ำยังไม่ถึง 1 ล้านบาท (หรือตามที่กำหนดในบัตร) แต่ยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ จะใช้สิทธิฯ ยกเว้นภาษีฯ ได้หรือไม่ ไม่ได้ -ให้ใช้สิทธิฯ ได้ นับจากวันที่มีขนาดลงทุนครบ 1 ล้านบาท (หรือตามที่กำหนดในบัตร) แต่เริ่มนับระยะเวลาการใช้สิทธิฯ ตั้งแต่วันที่มีรายได้ครั้งแรก
-เนื่องจากยังไม่เป็นตามหลักเกณฑ์ในการให้การส่งเสริม
2.2กรณีที่ขนาดการลงทุนขั้นต่ำ ถึง 1 ล้านบาท (หรือตามที่กำหนดในบัตร) และมีการลงทุนเกินกว่า 1 ล้านบาทแล้ว แต่ในรอบปีต่อมามีการขายสินทรัพย์ออกไป ทำให้ขนาดการลงทุนขั้นต่ำไม่ถึง 1 ล้านบาท แต่ยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ จะใช้สิทธิฯ ยกเว้นภาษีฯ ได้หรือไม่ได้ให้ใช้สิทธิได้ในช่วงที่มีขนาดการลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทเท่านั้น
2.3หลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ (ตรวจสอบวงเงินแล้ว) หลังจากนั้น ขายสินทรัพย์ออกไป ทำให้ขนาดการลงทุนขั้นต่ำไม่ถึง 1 ล้านบาท จะใช้สิทธิฯ ยกเว้นภาษีฯ ได้หรือไม่ ไม่ได้ -เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม
-จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ผิดเงื่อนไข

2.4บริษัทฯ ไม่ได้ยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ ที่ BOI แต่ไปยื่น ภงด. 50 ใช้สิทธิฯ ที่กรมสรรพากร จะยื่นขอใช้สิทธิฯ ย้อนหลังได้หรือไม่ ไม่ได้  
2.5การขายสินค้ากึ่งสำเร็จรูป
2.5.1ปริมาณการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจะนับอย่างไร
1.กรณีที่ระบุปริมาณสินค้ากึ่งสำเร็จรูปในบัตรส่งเสริม ใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ไม่เกินปริมาณที่ระบุในบัตรส่งเสริม ตามประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530
2.กรณีที่ไม่ระบุปริมาณสินค้ากึ่งสำเร็จรูปในบัตรส่งเสริม ใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ไม่จำกัดปริมาณ
2.5.2หากยังไม่มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูป จะใช้สิทธิฯ ยกเว้นภาษีฯ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ได้หรือไม่

 ไม่ได้ เป็นไปตามเจตนาที่จะให้การส่งเสริมการผลิตสินค้าสำเร็จรูปตามบัตรส่งเสริม

3. การใช้สิทธิฯ ตามมาตรา 35(1)
 3.1การเริ่มใช้สิทธิฯ ตามมาตรา 35(1) ให้สิทธิฯ ต่อจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลาการใช้สิทธิฯ หรือวันที่ใช้วงเงินหมด

 ต้องใช้สิทธิฯ ต่อทันที นับจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของ ม.31 หรือวันที่ใช้วงเงินหมด แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะสิ้นสุดก่อน

4. การใช้สิทธิฯ ตามมาตรา 35(2) ค่าขนส่ง ไฟฟ้า ประปา
 4.1ค่าขนส่ง คิดอย่างไร ให้เฉพาะค่าขนส่งที่เกิดขึ้นในประเทศ สำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบ และสินค้าของโครงการนั้น (ตามข้อหารือการประชุมร่วมระหว่างบีโอไอกับกรมสรรพากร เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2541 และตามประกาศสำนักงานที่ ป. 4/2537)
4.1.1ค่ารถรับส่งพนักงาน ไม่ได้  
4.1.2กรณีที่ใช้ศูนย์กระจายสินค้า ไม่ได้ ให้นับค่าขนส่งเฉพาะจากโรงงานไปยังศูนย์กระจายสินค้าเท่านั้น เนื่องจากสินค้าที่เก็บอยู่ในศูนย์กระจายสินค้ามาจากหลายแหล่งและอาจมีการนับค่าขนส่งซ้ำซ้อน
4.2ค่าไฟฟ้า ประปา
4.2.1กรณีที่ไม่ได้จ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจได้ต้องมีหลักฐานการจ่ายให้กับหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐหรือรัฐวิสาหกิจให้ดำเนินการแทน
4.2.2ค่าบำรุงรักษาที่เรียกเก็บแยกรายการมาพร้อมกับค่าไฟฟ้า ประปา ไม่ได้  
4.3ค่าขนส่ง ไฟฟ้า ประปา
4.3.1สามารถนับรวมค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนโรงงานและสำนักงานได้เฉพาะกรณีที่ตั้งในที่ตั้งเดียวกัน
4.3.2สามารถนับรวมค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนที่ได้รับส่งเสริมและไม่ได้รับส่งเสริมใช่หรือไม่

ได้เฉพาะส่วนที่ได้รับการส่งเสริม โดยให้ปันส่วนตามสัดส่วนของรายได้

5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
 5.1ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา -ใช้แนวทางตามนโยบาย STI ซึ่งกำหนดโดยอ้างอิงจากการหักค่าใช้จ่าย 2 เท่าของกรมสรรพากร/สวทช.
-เฉพาะค่าเครื่องมือ/อุปกรณ์ ให้รวมทั้งเงินลงทุนด้านเครื่องจักรและ ค่าเช่าใช้งาน ตามแผนการวิจัยและพัฒนาที่ได้รับอนุมัติ
5.2กรณีอนุญาตให้เปิดดำเนินการก่อนครบกำหนดตรวจสอบเงื่อนไข STI

 ให้ตรวจสอบเปิดดำเนินการตามปกติแต่ให้เขียนข้อความในหนังสือแจ้งบริษัทฯ โดยระบุวงเงินภาษีที่ตรวจสอบได้ ณ วันเปิดดำเนินการไว้พร้อมแจ้งให้ทราบว่าหากไม่สามารถทำตามเงื่อนไข STI ได้ จะกลับไปกำหนดวงเงินภาษีตามที่แจ้งไว้ในหนังสือฯ

6. การปรับวงเงินภาษีฯ
 6.1กรณีเปลี่ยนที่ตั้งสถานประกอบการ และยังไม่ได้ตรวจเปิดดำเนินการ จะปรับเปลี่ยนวงเงินฯ ในขั้นเปิดดำเนินการในสถานที่ตั้งใหม่เท่านั้นได้(อาคารหรือส่วนปรับปรุงในที่ตั้งเดิมแม้จะสร้างใหม่หรือเช่าก็ตามจะไม่นับรวมมูลค่าวงเงินฯ) นับตามมูลค่าเงินลงทุน ณ วันที่ตรวจสอบวันเปิดดำเนินการ
6.2กรณีเปิดดำเนินการโดยปรับวงเงินแล้วต่อมาย้ายที่ตั้งปรากฏว่าการลงทุนลดลงจะพิจารณาปรับวงเงินอีกหรือไม่

 ไม่ได้ เนื่องจากได้ถือว่าบริษัทปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแล้ว ณ วันเปิดดำเนินการ

7. การใช้สิทธิฯ ม. 31 กรณีโยกย้ายสถานประกอบการ
 7.1กรณีบริษัทขอโยกย้ายสถานประกอบการ และในช่วงแรก (ไม่เกิน 2 ปี) หากมีรายได้ทั้งในที่ตั้งเดิม และที่ตั้งใหม่จะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ ทั้ง 2 ที่ตั้ง หรือไม่ได้ในกรณีที่ที่ตั้งเดิมสิทธิฯ ม.31 ยังไม่สิ้นสุด :ปริมาณการจำหน่ายที่ใช้สิทธิฯได้ของทั้ง 2 แห่งรวมกันต้องไม่เกินกำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริมโยกย้ายสถานประกอบการ ตามนโยบาย กำหนดให้ปิดโรงงานในที่ตั้งเดิมและเปิดดำเนินการในที่ตั้งใหม่ภายใน 2 ปี จึงใช้สิทธิฯได้ทั้ง 2 ที่ตั้ง
 ไม่ได้ ในกรณีที่ที่ตั้งเดิมไม่ได้รับสิทธิฯ ม.31 / สิทธิฯ ม.31 สิ้นสุดแล้ว: ปริมาณการจำหน่ายที่ใช้สิทธิฯได้ จะต้องเป็นสินค้าที่ผลิตในที่ตั้งใหม่ เท่านั้น โดยต้องไม่เกินกำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม และไม่เกินกำลังผลิตที่โยกย้ายไปติดตั้งจริง เนื่องจากได้รับสิทธิฯ ม. 31 จากการโยกย้ายฯ จึงใช้สิทธิฯได้เฉพาะรายได้ที่เกิดจากการผลิตในที่ตั้งใหม่เท่านั้น

8.การโอนกิจการ
 8.1ผู้รับโอนกิจการสามารถเริ่มใช้สิทธิภาษีเงินได้ ตั้งแต่เมื่อไหร่ ตั้งแต่วันที่ผู้รับโอนทำการผลิตและจำหน่ายจริง คือสามารถใช้สิทธิฯ ม. 31 ได้ต่อเนื่อง เพราะไม่มีการระบุวันที่อนุมัติให้การส่งเสริมในบัตรฯ
8.2สินค้าสำเร็จรูปที่ได้รับโอนมาเมื่อนำออกขายจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้หรือไม่ ไม่ได้ 1.ในการโอนกิจการ มีการซื้อ-ขายสินค้าเกิดขึ้น ตามที่ระบุเป็น “สินค้าคงเหลือตามราคาตลาด” ใน ภพ. 09 จึงถือว่าผู้โอนกิจการได้ใช้สิทธิฯ ยกเว้นภาษี ไปแล้ว
2.ผู้รับโอน เป็นผู้ซื้อสินค้ามาจำหน่าย จึงไม่เป็นรายได้ตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม ไม่สามารถสิทธิฯ ซ้ำซ้อนได้


views 11,423
Total pageviews 4,474,370 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.