หน้าแรก | ประเภทกิจการ BOI

หมวด : ประเภทกิจการ : กอง : ค้นคำในประเภทกิจการ :  
ค้นหา : หมวด 7
(ค้นหาได้ครั้งละ 1 เงื่อนไข)

ประเภทกิจการ และเงื่อนไขสิทธิ
ประโยชน์
กอง
รับผิดชอบ
หมวด 7 สาธารณูปโภคกสท.3
7.1กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐานกสท.3
7.1.1กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะ หรือเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel)A1กสท.3
7.1.2กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ เป็นต้น ยกเว้นขยะหรือเชื้อเพลิงจากขยะA2กสท.3
กรณีกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ต้องมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ไม่น้อยกว่า 200 กิโลวัตต์ ในแต่ละจุดจำหน่ายไฟฟ้า
7.1.3กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากไฮโดรเจนA2กสท.3
7.1.4กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานอื่นๆA4กสท.3
ต้องใช้ระบบ Cogeneration หรือกรณีใช้ถ่านหิน ต้องเป็นประเภทเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology) เท่านั้น
7.1.5กิจการผลิตน้ำประปา น้ำเพื่ออุตสาหกรรม หรือไอน้ำจากน้ำเสียA2กสท.3
ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 101 ได้แก่ โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central Waste Treatment)
7.1.6กิจการผลิตน้ำประปา น้ำเพื่ออุตสาหกรรม หรือไอน้ำA3กสท.3
7.1.7กิจการบริการด้านจัดการพลังงาน (Energy Service Company: ESCO)A1กสท.3
ต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงาน ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
7.1.8กิจการแปรรูปวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ (Recycle) หรือนำกลับคืนมาใหม่ (Recovery)A2กสท.3
1.ต้องดำเนินการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น
2.ต้องมีกระบวนการคัดแยกหรือแปรรูปวัสดุที่ไม่ใช้แล้วด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.ต้องตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม
7.1.9กิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Sorting) กรณีตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมA3กสท.3
1.ต้องดำเนินการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น
2.ต้องมีกระบวนการคัดแยกด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ลำดับที่ 105 ได้แก่ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่มีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
7.1.10กิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Sorting)A4กสท.3
1.ต้องดำเนินการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น
2.ต้องมีกระบวนการคัดแยกด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ลำดับที่ 105 ได้แก่ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่มีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
4.ต้องมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท
7.1.11กิจการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel)A2กสท.3
1.ต้องตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม ยกเว้นกรณีที่ไม่มีการใช้ความร้อน (Thermal) ในการหลอมหรือเผาไหม้ในกรรมวิธีการผลิต
2.ต้องดำเนินการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น
3.ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
7.1.12กิจการบำบัดหรือกำจัดของเสียA2กสท.3
กรณีกำจัดของเสียด้วยวิธีฝังกลบ จะให้การส่งเสริมเฉพาะการฝังกลบของเสียอันตราย และต้องได้รับความเห็นชอบในรายงานด้านสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
7.2กิจการพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจการอุตสาหกรรมกสท.3
7.2.1กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมA3กสท.3
1.ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.ไม่ให้การส่งเสริมในกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ
3.ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 500 ไร่
4.ที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงงานต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และไม่เกินร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด ยกเว้นกรณีมีที่ดินทั้งหมดเกิน 1,000 ไร่ ให้กำหนดตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
5.เงื่อนไขอื่นมีดังนี้
5.1มาตรฐานของถนนหลัก
-กรณีที่ดินเกินกว่า 1,000 ไร่ ขึ้นไป ต้องมีถนน 4 ช่องทาง เขตทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 14 เมตร มีเกาะกลางถนนและทางเท้าไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง นอกจากนี้ ต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอที่จะให้รถยนต์จอดฉุกเฉิน
-กรณีที่ดินเกินกว่า 500 - 1,000 ไร่ ต้องมีถนน 2 ช่องทาง เขตทางไม่น้อยกว่า 20 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 7 เมตร มีทางเท้าไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง นอกจากนี้ต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอที่จะให้รถยนต์จอดฉุกเฉิน
5.2มาตรฐานของถนนสายรอง ต้องมีผิวจราจรไม่น้อยกว่า 8.50 เมตร ไหล่ถนนไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง
5.3ระบบบำบัดน้ำเสียต้องเหมาะสมตามลักษณะสมบัติของน้ำเสีย และการบำบัดน้ำเสียต้องเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีบ่อเก็บน้ำทิ้งหลังการบำบัดด้วย
5.4ระบบระบายน้ำเสียต้องแยกออกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด
5.5ต้องจัดให้มีที่รวบรวม จัดเก็บ และกำจัดขยะที่เหมาะสมตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
5.6โรงงานที่เข้าใช้พื้นที่ ต้องเป็นโรงงานที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมต้องห้าม ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
5.7ต้องมีบริการสาธารณูปโภค โดยมีไฟฟ้า น้ำประปาและน้ำใช้ โทรศัพท์ และการไปรษณีย์ แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าไปอยู่ในเขตอุตสาหกรรมใช้ได้เพียงพอ
5.8ต้องจัดปรับปรุงที่ดินประมาณร้อยละ 25 ของที่ดินทั้งหมด หรือตามจำนวนที่คณะกรรมการเห็นชอบ ให้มีความพร้อมในด้านบริการสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ออกบัตรส่งเสริม
7.2.2กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัจฉริยะA2กสท.3
1.ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.ต้องจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ Smart Facilities, Smart IT, Smart Energy, Smart Economy และบริการระบบอัจฉริยะด้านอื่นๆ อย่างน้อยอีก 1 ใน 3 ด้าน ดังนี้ Smart Good Corporate Governance, Smart Living และ Smart Workforce
3.ต้องได้รับความเห็นชอบแผนการพัฒนาเป็นนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัจฉริยะ จากคณะกรรมการร่วมระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน
4.ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 250 ไร่
5.ที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงงานต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และไม่เกินร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด ยกเว้นกรณีมีที่ดินทั้งหมดเกิน 1,000 ไร่ ให้กำหนดตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
6.เงื่อนไขอื่น ทั้งกรณีเป็นผู้ดำเนินการเองหรือจัดให้มี ดังนี้
6.1มาตรฐานของถนนหลัก
-กรณีที่ดินเกินกว่า 1,000 ไร่ขึ้นไป ต้องมีถนน 4 ช่องทาง เขตทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 14 เมตร มีเกาะกลางถนนและทางเท้าไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง นอกจากนี้ต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอที่จะให้รถยนต์จอดฉุกเฉิน
-กรณีที่ดินเกินกว่า 250 - 1,000 ไร่ ต้องมีถนน 2 ช่องทาง เขตทางไม่น้อยกว่า 20 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 7 เมตร มีทางเท้าไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง นอกจากนี้ต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอที่จะให้รถยนต์จอดฉุกเฉิน
6.2มาตรฐานของถนนสายรอง ต้องมีผิวจราจรไม่น้อยกว่า 8.50 เมตร ไหล่ถนนไม่น้อย กว่า 2 เมตรต่อข้าง
6.3ระบบบำบัดน้ำเสียต้องเหมาะสมตามลักษณะสมบัติของน้ำเสีย และการบำบัดน้ำเสียต้องเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีบ่อเก็บน้ำทิ้งหลังการบำบัดด้วย
6.4ระบบระบายน้ำเสียต้องแยกออกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด
6.5ต้องจัดให้มีที่รวบรวม จัดเก็บ และกำจัดขยะที่เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
6.6โรงงานที่เข้าใช้พื้นที่ ต้องเป็นโรงงานที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมต้องห้าม ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
6.7ต้องมีบริการสาธารณูปโภค โดยมีไฟฟ้า น้ำประปาและน้ำใช้ โทรศัพท์ และการไปรษณีย์ แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าไปอยู่ในเขตอุตสาหกรรมใช้ได้เพียงพอ
6.8ต้องจัดปรับปรุงที่ดินประมาณร้อยละ 25 ของที่ดินทั้งหมด หรือตามจำนวนที่คณะกรรมการเห็นชอบ ให้มีความพร้อมในด้านบริการสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ออกบัตรส่งเสริม
7.ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่ได้รับความเห็นชอบ ภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันมีรายได้ครั้งแรกของโครงการ
8.หากตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
7.2.3นิคมอุตสาหกรรมเฉพาะทางกสท.3
7.2.3.1กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม ด้านนวัตกรรมอาหารA1กสท.3
1.ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.ต้องเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่พร้อมสนับสนุนการวิจัยพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น ห้องปฏิบัติการวิจัยพัฒนา โรงงานต้นแบบ พื้นที่ทดลองผลิต พื้นที่ทดสอบตลาด (Living Lab) และพื้นที่ให้เช่า สำหรับจัดตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของภาคเอกชน เป็นต้น
4.ต้องมีห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab) ที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวมทั้งมีนักเทคนิค (Technician) ประจำเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่พร้อมสนับสนุนการท้าวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของภาคเอกชน
5.ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ เช่น ห้องประชุมสัมมนา ระบบการสื่อสาร ระบบไฟฟ้าสำรอง เป็นต้น
6.ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสม ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
7.2.3.2กิจการนิคมหรือเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Park)A1กสท.3
1.ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.ต้องมีศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ (Incubation Center)
3.ต้องมีระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมในประเทศและระหว่างประเทศ
4.ต้องมีระบบไฟฟ้าสำรองจ่ายแบบต่อเนื่อง
5.ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
7.2.3.3กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับA3กสท.3
1.ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 100 ไร่
3.ต้องมีพื้นที่สำหรับการประกอบอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด
4.ต้องมีพื้นที่สำหรับการค้าขายอัญมณีและเครื่องประดับ
5.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม ต้องมีห้องประชุมและห้องแสดงสินค้ารวมทั้งศูนย์ธุรกิจ
7.2.3.4กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Park)A3กสท.3
1.ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 200 ไร่ และมีการลงทุนก่อสร้างคลังสินค้าให้เช่าหรือขาย โดยมีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 50,000 ตารางเมตร
3.ต้องตั้งในพื้นที่รัศมีไม่เกิน 50 กิโลเมตรจากบริเวณท่าเรือ ท่าอากาศยาน ด่านชายแดนศุลกากร สถานีตรวจปล่อยและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ (Inland Container Depot: ICD) หรืออยู่ในเขตประกอบการเสรีหรือเขตปลอดอากร (Free Zone)
4.ต้องจัดให้มีพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมด เป็นเขตประกอบการเสรีหรือเขตปลอดอากร (Free Zone)
5.ต้องจัดให้มีสถานีเปลี่ยนถ่ายขึ้น-ลงตู้คอนเทนเนอร์ หรือสถานีรถบรรทุกและสถานีเก็บและรับฝากตู้คอนเทนเนอร์ ไม่น้อยกว่า 50 ตู้
6.ต้องมีระบบโทรคมนาคมหลักที่มีการวางสายสื่อสารแบบความเร็วสูง จากเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไปยังศูนย์กลางสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศและระหว่างประเทศ
7.2.3.5กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอากาศยานหรืออวกาศA3กสท.3
1.ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 100 ไร่
3.ต้องจัดให้มีพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมด เป็นเขตคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) หรือเขตปลอดอากร (Free Zone)
4.ต้องจัดให้มีพื้นที่รองรับศูนย์ซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วน
5.ต้องจัดให้มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการ ได้แก่ ระบบถนน ระบบระบายน้ำฝนและป้องกันน้ำท่วม ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า ระบบดับเพลิงและป้องกันอุบัติภัย ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม และระบบรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
7.2.3.6กิจการนิคมหรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารA3กสท.3
1.ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.ไม่ให้การส่งเสริมในกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ
3.ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ โดยพื้นที่สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และไม่เกินร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด
4.ต้องมีพื้นที่เป็นสถานประกอบการในอุตสาหรรมเกษตร เกษตรแปรรูปอาหาร กิจการที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตร ผลพลอยได้ เศษหรือของเสียจากการเกษตร เป็นวัตถุดิบหลัก รวมทั้งบริการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากร ในสัดส่วนพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ที่เป็นสถานประกอบการทั้งหมด
5.ต้องมีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ ดังนี้
-ห้องปฏิบัติการ/ทดสอบ
-สถาบันฝึกอบรมหรือพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรหรืออาหาร
-ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน หรือรายละเอียดตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
7.2.4กิจการพัฒนาอาคารสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และ/หรือ คลังสินค้าA2กสท.3
ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเท่านั้น


views 16,228
Total pageviews 4,040,768 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.