ประเภทกิจการ และเงื่อนไข | สิทธิ ประโยชน์ | กอง รับผิดชอบ |
หมวด 3 อุตสาหกรรมเครื่องจักรและยานยนต์ | | กสท.2 |
3.1 | กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วนและการซ่อมแซมเครื่องจักรหรือ อุปกรณ์ที่ผลิตเอง | | กสท.2 |
3.1.1 | กิจการผลิตเครื่องจักร และ/หรือ อุปกรณ์อัตโนมัติ (Automation) ที่มีการออกแบบทางวิศวกรรม | | กสท.2 |
3.1.1.1 | กิจการผลิตเครื่องจักร และ/หรืออุปกรณ์อัตโนมัติ (Automation) ที่มีการออกแบบทางวิศวกรรม และมีขั้นตอนการพัฒนาและออกแบบระบบอัตโนมัติ (Automation System Integration) รวมถึงมีขั้นตอนการออกแบบระบบควบคุมการปฏิบัติงานด้วยระบบสมองกลเอง | A1 | กสท.2 |
1. | ต้องเป็นระบบหรือเครื่องจักรที่มีหน้าที่การทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ไม่น้อยกว่า 2 หน้าที่การทำงาน | | |
2. | ต้องมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้ | | |
2.1 | การพัฒนาและออกแบบระบบอัตโนมัติ (Automation System Integration) | | |
2.2 | การออกแบบระบบควบคุมการปฏิบัติงานด้วยระบบสมองกลเอง | | |
2.3 | การออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับตัวเครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วน | | |
3.1.1.2 | กิจการผลิตเครื่องจักร และ/หรืออุปกรณ์อัตโนมัติ (Automation) ที่มีการออกแบบทางวิศวกรรม และมีขั้นตอนการออกแบบระบบควบคุมการปฏิบัติงานด้วยระบบสมองกลเอง | A2 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้ | | |
1. | การออกแบบระบบควบคุมการปฏิบัติงานด้วยระบบสมองกลเอง | | |
2. | การออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับตัวเครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วน | | |
3.1.2 | กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์หรือชิ้นส่วน และ/หรือการซ่อมแซมแม่พิมพ์ | A3 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนที่ใช้ทำงานตามวัตถุประสงค์หลักของเครื่องจักรที่ผลิต และ/หรือการออกแบบทางวิศวกรรม | | |
3.1.3 | กิจการประกอบเครื่องจักร และ/หรืออุปกรณ์เครื่องจักร | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการประกอบตามที่คณะกรรมการ
เห็นชอบ | | |
3.1.4 | กิจการประกอบหุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์อัตโนมัติ และ/หรือชิ้นส่วน | A3 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการประกอบตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.1.5 | กิจการผลิตเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง รวมถึงอุปกรณ์และชิ้นส่วน และการซ่อมแซมเครื่องจักร | | กสท.2 |
3.1.5.1 | กิจการผลิตเครื่องจักรที่มี ความแม่นยำสูง | A2 | กสท.2 |
1. | ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน และ/หรือต้องมีขั้นตอนการประกอบตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
2. | ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ | | |
2.1 | ต้องเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้ Microfabrication Technology เช่น กระบวนการผลิตวงจรรวม (Integrated Circuit: IC) เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (Microelectromechanical Systems: MEMS) เป็นต้น | | |
2.2 | เครื่องจักรที่ผลิตได้ในโครงการ ต้องสามารถกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนในการผลิตชิ้นงานตามค่า International Tolerance Grades (IT) ไม่เกิน IT5 | | |
3.1.5.2 | กิจการผลิตอุปกรณ์ และชิ้นส่วนสำหรับเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง | A2 | กสท.2 |
1. | ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน และ/หรือต้องมีขั้นตอนการประกอบตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
2. | ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ | | |
2.1 | ต้องเป็นชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้ทำงานตามวัตถุประสงค์หลักของเครื่องจักร ตามประเภทกิจการ 3.1.5.1 | | |
2.2 | เครื่องจักรหลักที่ใช้ในโครงการ ต้องสามารถผลิตชิ้นงานที่มีค่าความคลาดเคลื่อนตามค่า International Tolerance Grades (IT) ไม่เกิน IT5 | | |
3.1.5.3 | กิจการซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง | A3 (ไม่กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) | กสท.2 |
1. | ต้องมีการซ่อมแซมชิ้นส่วนสำคัญที่ใช้โดยตรงต่อการทำงานตามหน้าที่ของเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง | | |
2. | ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านการซ่อมแซมเครื่องจักรไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาท ต่อปี โดยต้องเป็นการจ้างงานใหม่ หรือมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท | | |
3.2 | กิจการผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์ | | กสท.2 |
3.2.1 | กิจการผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง | A2 | กสท.2 |
| ต้องเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สามารถตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ ประมวลผลข้อมูล และรายงานผลในตัวเองได้ หรือสามารถตรวจวัดและควบคุมพารามิเตอร์โดยอัตโนมัติ | | |
3.2.2 | กิจการผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่นๆ | A3 | กสท.2 |
3.3 | กิจการผลิตเลนส์ที่ไม่เข้าข่ายเครื่องมือแพทย์ | | กสท.2 |
3.3.1 | กิจการผลิตเลนส์ที่มีขั้นตอนการขึ้นรูปต่อเนื่องจากการหลอมแก้วในโครงการเดียวกัน | A3 | กสท.2 |
| ต้องเป็นเลนส์ที่ไม่เข้าข่ายเครื่องมือแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ | | |
3.3.2 | กิจการผลิตเลนส์ เช่น เลนส์กล้อง เป็นต้น | A4 | กสท.2 |
| ต้องเป็นเลนส์ที่ไม่เข้าข่ายเครื่องมือแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ และไม่ใช่เลนส์กันแดดหรือเลนส์เพื่อความสวยงาม (Cosmetic Lenses) กรอบแว่นตา และส่วนประกอบ | | |
3.3.3 | กิจการผลิตเลนส์กันแดด หรือ เลนส์เพื่อความสวยงาม (Cosmetic Lenses) กรอบแว่นตา และส่วนประกอบ | B | กสท.2 |
3.4 | กิจการผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วน | | กสท.2 |
3.4.1 | กิจการผลิตเครื่องยนต์สำหรับยานยนต์ | | กสท.2 |
1. | ต้องมีการขึ้นรูปชิ้นส่วนไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ชิ้น ดังนี้ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod | A3 | |
2. | กรณีการประกอบเครื่องยนต์ | A4 | |
3.4.2 | กิจการผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถจักรยานยนต์ | | กสท.2 |
3.4.2.1 | กิจการผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบ ตั้งแต่ 248 ซีซี ขึ้นไป | | กสท.2 |
1. | การผลิตเครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 248 ซีซี ขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 500 ซีซี ต้องมีการขึ้นรูปชิ้นส่วนในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 4 ใน 6 ชิ้น ดังนี้ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankcase, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod ไม่ว่าจะดำเนินการโดยตนเอง หรือโดยผู้ผลิตรายอื่น | A3 | |
2. | การผลิตเครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 500 ซีซี ขึ้นไป ต้องมีการขึ้นรูปชิ้นส่วนในประเทศ ไทยไม่น้อยกว่า 2 ใน 6 ชิ้น ดังนี้ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankcase, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod ไม่ว่าจะดำเนินการโดยตนเอง หรือโดยผู้ผลิตรายอื่น | A3 | |
3. | กรณีการประกอบเครื่องยนต์ | A4 | |
3.4.2.2 | กิจการผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถจักรยานยนต์ ที่มีความจุกระบอกสูบ ต่ำกว่า 248 ซีซี | | กสท.2 |
1. | ต้องมีการขึ้นรูปชิ้นส่วน ดังนี้ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankcase, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod | A3 | |
2. | กรณีการประกอบเครื่องยนต์ | A4 | |
3.4.3 | กิจการผลิตเครื่องยนต์สำหรับเครื่องจักรกล | | กสท.2 |
1. | ต้องมีการขึ้นรูปชิ้นส่วนไม่น้อยกว่า 2 ใน 6 ชิ้น ดังนี้ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankcase, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod | A3 | |
2. | กรณีการประกอบเครื่องยนต์ | A4 | |
3.4.4 | กิจการผลิตเครื่องยนต์อเนกประสงค์ หรืออุปกรณ์ | | กสท.2 |
1. | ต้องมีการขึ้นรูปชิ้นส่วน ดังนี้ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankcase, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod | A3 | |
2. | กรณีการประกอบเครื่องยนต์ ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | A4 | |
3.4.5 | กิจการผลิตอุปกรณ์หรือชิ้นส่วน เครื่องยนต์ (Engine System Parts) | | กสท.2 |
3.4.5.1 | กิจการผลิต Crankshaft | A3 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.2 | กิจการผลิต Camshaft | A3 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.3 | กิจการผลิต Gear | A3 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.4 | กิจการผลิต Turbocharger | | กสท.2 |
1. | กรณีมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | A3 | |
2. | กรณีการประกอบ Turbocharger | A4 | |
3.4.5.5 | กิจการผลิตชิ้นส่วน Turbocharger ได้แก่ Turbine Blade, Turbine Housing และ Bearing Housing | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.6 | กิจการผลิต Cylinder Head | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.7 | กิจการผลิต Cylinder Block และ Crankcase | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.8 | กิจการผลิต Connecting Rod | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.9 | กิจการผลิต Valve | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.10 | กิจการผลิต Piston | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.11 | กิจการผลิต Starting Motor or Parts | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.12 | กิจการผลิต Alternator or Parts | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.13 | กิจการผลิต Rocker Arm | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.4.5.14 | กิจการผลิต Waste Gate Actuator | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5 | กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ | | กสท.2 |
3.5.1 | การผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง | A2 | กสท.2 |
3.5.1.1 | กิจการผลิต Substrate สำหรับ Catalytic Converter | A2 | กสท.2 |
3.5.1.2 | กิจการผลิต Electronic Fuel Injection System | A2 | กสท.2 |
3.5.1.3 | กิจการผลิต Transmission | A2 | กสท.2 |
3.5.1.4 | กิจการผลิต Electronic Control Unit (ECU) | A2 | กสท.2 |
3.5.2 | กิจการผลิตชิ้นส่วนความปลอดภัย (Safety Parts) | | กสท.2 |
3.5.2.1 | กิจการผลิตระบบหรือส่วนประกอบของเบรก ABS (Anti-Lock Brake System) หรือ Electronic Brake Force Distribution (EBD) | A2 | กสท.2 |
3.5.2.2 | กิจการผลิตถุงลมนิรภัย/เข็มขัดนิรภัย | A4 | กสท.2 |
3.5.2.3 | กิจการผลิต Airbag Inflator, Gas Generator, Gas Generant | A3 | กสท.2 |
3.5.2.4 | กิจการผลิตชิ้นส่วนถุงลมนิรภัย ได้แก่ Initiator, Coolant Filter และ Ignitor | A4 | กสท.2 |
3.5.2.5 | กิจการผลิตชิ้นส่วนเข็มขัดนิรภัย ได้แก่ Interlock, Retractor และ Buckle | A4 | กสท.2 |
3.5.3 | กิจการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการควบคุมหรือ เพิ่มประสิทธิภาพระบบต่างๆ สำหรับยานพาหนะ | | กสท.2 |
3.5.3.1 | กิจการผลิต Electronic Stability Control (ESC) | A2 | กสท.2 |
3.5.3.2 | กิจการผลิต Regenerative Braking System | A2 | กสท.2 |
3.5.3.3 | กิจการผลิต Idling Stop System | A2 | กสท.2 |
3.5.3.4 | กิจการผลิต Autonomous Emergency Braking System | A2 | กสท.2 |
3.5.3.5 | กิจการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ สำหรับยานพาหนะ | A2 | กสท.2 |
| ต้องมีกรรมวิธีการผลิตตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.4 | กิจการผลิตอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า | | กสท.2 |
3.5.4.1 | กิจการผลิตแบตเตอรี่ | | กสท.2 |
1. | กรณีมีขั้นตอนการผลิต Cell โดยให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นตามมาตรา 30 ในอัตราร้อยละ 90 สำหรับชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่ไม่มีการผลิตในประเทศ เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ จะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี นับจากวันที่นำเข้าวัตถุดิบครั้งแรก | A1 | |
2. | กรณีนำ Cell มาเริ่มผลิต เช่น ผลิตเป็น Module หรือ Battery Pack เป็นต้น โดยให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นตามมาตรา 30 ในอัตราร้อยละ 90 สำหรับชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่ไม่มีการผลิตในประเทศ เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ จะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี นับจากวันที่นำเข้าวัตถุดิบครั้งแรก | A2 | |
3. | กรณีนำ Module มาผลิตเป็น Battery Pack | A3 | |
3.5.4.2 | กิจการผลิต Traction Motor | A2 | กสท.2 |
3.5.4.3 | กิจการผลิตระบบปรับอากาศด้วยไฟฟ้า ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ | A2 | กสท.2 |
3.5.4.4 | กิจการผลิตระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) | A2 | กสท.2 |
3.5.4.5 | กิจการผลิตระบบควบคุมการขับขี่ | A2 | กสท.2 |
3.5.4.6 | กิจการผลิต On-board Charger | A2 | กสท.2 |
3.5.4.7 | กิจการผลิตอุปกรณ์สำหรับอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานพาหนะ ไฟฟ้า เช่น เต้ารับ- เต้าเสียบ Wallbox เป็นต้น | A2 | กสท.2 |
3.5.4.8 | กิจการผลิต DC/DC Converter | A2 | กสท.2 |
3.5.4.9 | กิจการผลิต Inverter | A2 | กสท.2 |
3.5.4.10 | กิจการผลิต Portable Electric Vehicle Charger | A2 | กสท.2 |
3.5.4.11 | กิจการผลิต Electrical Circuit Breaker | A2 | กสท.2 |
3.5.4.12 | กิจการพัฒนาระบบอัดประจุไฟฟ้า อัจฉริยะ (EV Smart Charging System) | A2 | กสท.2 |
3.5.4.13 | กิจการผลิตคานหน้า/คานหลังสำหรับรถโดยสารไฟฟ้าและ รถบรรทุกไฟฟ้า | A2 | กสท.2 |
3.5.4.14 | กิจการผลิตชุดสายไฟแรงดันสูง (High Voltage Harness) | A2 | กสท.2 |
3.5.4.15 | กิจการผลิต Reduction Gear | A2 | กสท.2 |
3.5.4.16 | กิจการผลิต Battery Cooling System | A2 | กสท.2 |
3.5.4.17 | กิจการผลิต Regenerative Braking System | A2 | กสท.2 |
3.5.5 | กิจการผลิตยางล้อสำหรับยานพาหนะ | A2 | กสท.2 |
3.5.6 | กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบเชื้อเพลิง (Fuel System Parts) | | กสท.2 |
3.5.6.1 | กิจการผลิต Fuel Pump | A3 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.6.2 | กิจการผลิต Injection Pump | A3 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.6.3 | กิจการผลิต Injector | A3 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.6.4 | กิจการผลิต Fuel Pipe/Tube | A4 | กสท.2 |
3.5.7 | กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบส่งกำลัง (Transmission System Parts) | | กสท.2 |
1. | กรณีมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | A3 | |
2. | กรณีการประกอบตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | A4 | |
3.5.8 | กิจการผลิตระบบเบรก และชิ้นส่วน (Brake System & Parts) | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.9 | กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบกันสะเทือน (Suspension System Parts) | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.10 | กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบบังคับเลี้ยว (Steering System Parts) | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.11 | กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบระบายความร้อน (Cooling System Parts) | | กสท.2 |
3.5.11.1 | กิจการผลิต Water Pump | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.11.2 | กิจการผลิตอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) เช่น Radiator และ Air Cooler เป็นต้น | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.12 | กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบท่อไอเสีย (Exhaust System Parts) | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.13 | กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System Parts) | | กสท.2 |
3.5.13.1 | กิจการผลิต Air Compressor | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.13.2 | กิจการผลิต Condenser / Condensing Coil | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.13.3 | กิจการผลิต Evaporator / Cooling Coil | A4 | กสท.2 |
| ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
3.5.14 | กิจการผลิตชิ้นส่วนตัวถังที่ใช้เหล็กทนแรงดึงสูง (Ultimate Tensile Strength Steel) | A4 | กสท.2 |
| ต้องใช้เหล็กที่มีค่า Ultimate Tensile Strength (UTS) มากกว่า 700 เมกะปาสคาล (MPa) ขึ้นไป | | |
3.5.15 | กิจการผลิต Rolling Bearing สำหรับยานพาหนะ | | กสท.2 |
1. | กรณีมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | A3 | |
2. | กรณีการประกอบ Rolling Bearing | A4 | |
3.5.16 | กิจการผลิตโครงรถจักรยานยนต์ (Motorcycle Frame) สำหรับรถจักรยานยนต์ขนาดตั้งแต่ 248 ซีซี ขึ้นไป โครงรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และโครงรถจักรยานไฟฟ้า | A4 | กสท.2 |
1. | ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนหรือการเชื่อมประกอบที่ทันสมัย ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
2. | กรณีการผลิตโครงรถจักรยานไฟฟ้า จะต้องผลิตจากวัสดุน้ำหนักเบา เช่น Aluminium Alloy, Chromiummolybdenum Alloy Steel, Titanium Alloy และ Carbon Fiber เป็นต้น | | |
3.5.17 | กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะอื่นๆ | | กสท.2 |
1. | กรณีมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | A4 | |
2. | กรณีอื่นๆ | B | |
3.6 | กิจการผลิตยานยนต์ทั่วไป | B | กสท.2 |
3.7 | กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ (ยกเว้นที่มีความจุกระบอกสูบต่ำกว่า 248 ซีซี) | | กสท.2 |
1. | ต้องมีการขึ้นรูปชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ในประเทศ ดังนี้ Cylinder Head, Cylinder Block, Crankshaft, Crankcase, Camshaft และ Connecting Rod ไม่ว่าจะเป็นของตนเอง หรือของผู้ผลิตรายอื่น | | |
1.1 | การผลิตรถจักรยานยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 248 ซีซี ขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 500 ซีซี ต้องมีการขึ้นรูปชิ้นส่วนไม่น้อยกว่า 4 ใน 6 ชิ้น | | |
1.2 | การผลิตรถจักรยานยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 500 ซีซี ขึ้นไป ต้องมีการขึ้นรูปชิ้นส่วนไม่น้อยกว่า 2 ใน 6 ชิ้น | | |
2. | ต้องมีขั้นตอนการเชื่อมประกอบโครงรถและพ่นสี ไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือโดยผู้ผลิตรายอื่น | | |
3. | ต้องเสนอแผนการลงทุนผลิตชิ้นส่วน และการใช้ชิ้นส่วน และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ | | |
| สิทธิและประโยชน์ | | |
1. | กรณีปฏิบัติครบเงื่อนไขข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 | A3 | |
2. | กรณีปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 2 และข้อ 3 | B | |
3.8 | กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Battery Electric Vehicle (BEV), Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV), Hybrid Electric Vehicle (HEV) และแพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) | | กสท.2 |
1. | ต้องเสนอเป็นแผนงานรวม (Package) ที่ประกอบด้วยโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) เป็นอย่างน้อย และโครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้ผลิตรายอื่น แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) ในปีที่ 1-3 แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ แผนการพัฒนาสถานีประจุไฟฟ้าหรือสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้า (เฉพาะการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่) แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ (Local Supplier) ที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค | | |
2. | รถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในประเทศต้องเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด ดังนี้ | | |
2.1 | มาตรฐานความปลอดภัยของระบบส่งกำลังไฟฟ้าตามข้อกำหนด UN R100 | | |
2.2 | มาตรฐานด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) โดยจะต้องมีระบบ ABS และ ESC (UN R13H W/ABS & ESC) เป็นอย่างน้อย | | |
2.3 | มาตรฐานการป้องกันผู้โดยสารกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง (UN R94 & UN R95) | | |
2.4 | มาตรฐานด้านมลพิษระดับ Euro 5 ขึ้นไป (UN R83) (เฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า HEV และ PHEV) | | |
2.5 | มาตรฐานและข้อกำหนดอื่นๆ ตามที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกรมการขนส่งทางบก เป็นต้น ทั้งนี้ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) ให้ยกเว้นเงื่อนไขมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานการป้องกันผู้โดยสารกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง (UN R94 & UN R95) เป็นต้น | | |
3. | แพลตฟอร์มต้องประกอบด้วย Energy Storage System, Charging Module และ Front & Rear Axle Module | | |
4. | ต้องเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) ตามที่ได้รับอนุมัติ โดยต้องมีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอนการนำ Cell มาเริ่มผลิต เช่น ผลิตเป็น Module หรือ Battery Pack เป็นต้น ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม | | |
5. | ต้องมีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเพิ่มเติมอย่างน้อยอีก 1 ชิ้น ใน 3 ชิ้น ดังนี้ Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ ภายใน 3 ปีนับจากวันเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) | | |
6. | เฉพาะรถยนต์ HEV และ PHEV ต้องมีการผลิตชิ้นส่วนเพิ่มเติมอย่างน้อยอีก 2 ชิ้น ตามประเภทกิจการ 3.5.4 กิจการผลิตอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า ภายใน 3 ปี นับจากวันเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้า | | |
7. | ไม่ให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรยกเว้นกรณีมีเหตุอันสมควร | | |
8. | กรณีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ของโครงการรวม (Package) ได้แก่ การผลิตรถยนต์ BEV และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) และการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ (แบตเตอรี่ไฟฟ้า Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และ ระบบควบคุมการขับขี่ ทั้งของตนเองและผู้ผลิต ชิ้นส่วน (Suppliers) รวมกันไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้ | | |
- | สำหรับผลิตภัณฑ์รถยนต์ PHEV | A4 | |
- | สำหรับผลิตภัณฑ์รถยนต์ BEV และแพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) และสามารถขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ตามมาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ/หรือ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด | A2 | |
9. | กรณีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนของโครงการรวม (Package) ได้แก่ การผลิตรถยนต์ BEV และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) และการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ (แบตเตอรี่ไฟฟ้า Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ ทั้งของตนเองและผู้ผลิต ชิ้นส่วน (Suppliers) รวมกันน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้ | | |
- | สำหรับผลิตภัณฑ์รถยนต์ PHEV | A4 | |
- | สำหรับผลิตภัณฑ์รถยนต์ BEV และ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ แบตเตอรี่ (BEV Platform) | A4 | |
| สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม | | |
9.1 | หากมีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญสำหรับรถยนต์ BEV และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) ยกเว้นแบตเตอรี่ไฟฟ้า เพิ่มเติมจากข้อกำหนดพื้นฐาน ภายใน 3 ปี นับจากวันเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และ/หรือแพลตฟอร์ม สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมชิ้นละ 1 ปี | | |
9.2 | หากมีปริมาณการผลิตจริง (Actual Production) สำหรับรถยนต์ BEV และ/ หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) มากกว่า 10,000 คัน (หน่วย) ต่อปีในปีใดปีหนึ่ง ภายใน 3 ปีนับจากวันเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี | | |
9.3 | สามารถยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ในประเภทการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ/หรือ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด | | |
10. | ไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม | | |
11. | กรณีผู้ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco-car) ให้สามารถนับปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทภายใต้โครงการ เป็นปริมาณการผลิตจริง (Actual Production) ของกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลได้ ทั้งนี้ สำหรับรถยนต์ที่ผลิตเพื่อตลาดในประเทศ จะต้องมีคุณสมบัติด้านสิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล | | |
3.9 | กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ | A4 | กสท.2 |
1. | ต้องเสนอเป็นแผนงานรวม (Package) ที่ประกอบด้วยโครงการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และโครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้ผลิตรายอื่น แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในปีที่ 1-3 แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ แผนการพัฒนาสถานีประจุไฟฟ้าหรือสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้า แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ (Local Supplier) ที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค | | |
2. | ต้องมีการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม | | |
3. | รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ที่จำหน่ายในประเทศต้องเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ | | |
3.1 | มาตรฐานความปลอดภัยของระบบส่งกำลังไฟฟ้าตามข้อกำหนด UN R136 | | |
3.2 | มาตรฐานยางล้อตามข้อกำหนด มอก.2720 หรือ UN R75 | | |
3.3 | มาตรฐานระบบเบรก ABS หรือ CBS ตามข้อกำหนด UN R78 | | |
3.4 | มาตรฐานและข้อกำหนดอื่นๆ ตามที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรมการขนส่งทางบก เป็นต้น | | |
4. | ไม่ให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นกรณีมีเหตุอันสมควร | | |
5. | สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม | | |
5.1 | หากมีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอนการนำ Cell มาเริ่มผลิต เช่น ผลิตเป็น Module หรือ Battery Pack เป็นต้น ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี | | |
5.2 | หากมีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆเพิ่มเติม ได้แก่ Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม ชิ้นละ 1 ปี | | |
5.3 | สามารถยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ตามมาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ/หรือ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด | | |
6. | 6. ไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม | | |
3.10 | กิจการผลิตรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และแพลตฟอร์มสำหรับรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ | A4 | กสท.2 |
1. | ต้องเสนอเป็นแผนงานรวม (Package) ที่ประกอบด้วยโครงการผลิตรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และโครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้ผลิตรายอื่น แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนความเชื่อมโยงสถานีประจุไฟฟ้าหรือสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้า (เฉพาะการผลิตรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่) แผนการผลิตรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ในปีที่ 1-3 แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ (Local Supplier) ที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค | | |
2. | แพลตฟอร์มต้องประกอบด้วย Energy Storage System, Charging Module และ Front & Rear Axle Module | | |
3. | ต้องมีการผลิตรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และ/ หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม | | |
4. | รถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่และแพลตฟอร์มสำหรับรถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ที่จำหน่ายในประเทศ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด ดังนี้ | | |
4.1 | มาตรฐานความปลอดภัยของระบบส่งกำลังไฟฟ้าตามข้อกำหนด UN R136 | | |
4.2 | มาตรฐานและข้อกำหนดอื่นๆ ตามที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกรมการขนส่งทางบก เป็นต้น | | |
5. | ไม่ให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นกรณีมีเหตุอันสมควร | | |
6. | สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม | | |
6.1 | หากมีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอนการนำ Cell มาเริ่มผลิต เช่น ผลิตเป็น Module หรือ Battery Pack เป็นต้น ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี | | |
6.2 | หากมีการผลิตชิ้นส่วนสาคัญอื่นๆเพิ่มเติม ได้แก่ Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม ให้ได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคลเพิ่มเติม ชิ้นละ 1 ปี | | |
6.3 | สามารถยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ตามมาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ และ/หรือ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด | | |
7. | ไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม | | |
3.11 | กิจการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และแพลตฟอร์มสำหรับรถโดยสารไฟฟ้า และรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ | A4 | กสท.2 |
1. | ต้องเสนอเป็นแผนงานรวม (Package) ที่ประกอบด้วยโครงการผลิตรถโดยสารไฟฟ้า หรือรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถโดยสารไฟฟ้าหรือรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และโครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้ผลิตรายอื่น แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถโดยสารไฟฟ้าหรือรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ในปีที่1-3 แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ แผนการพัฒนาสถานีประจุไฟฟ้าหรือสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้า (เฉพาะการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่) แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ (Local Supplier) ที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค | | |
2. | แพลตฟอร์มต้องประกอบด้วย Energy Storage System, Charging Module และ Front & Rear Axle Module | | |
3. | ต้องมีการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าหรือรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และ/หรือ แพลตฟอร์มสำหรับรถโดยสารไฟฟ้าหรือรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม | | |
4. | รถโดยสารไฟฟ้าหรือรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และแพลตฟอร์มสำหรับรถโดยสารไฟฟ้าหรือรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ที่จำหน่ายในประเทศ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ | | |
4.1 | มาตรฐานความปลอดภัยของระบบส่งกำลังไฟฟ้าตามข้อกำหนด UN R100 | | |
4.2 | มาตรฐานและข้อกำหนดอื่นๆ ตามที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกรมการขนส่งทางบก เป็นต้น | | |
5. | ไม่ให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นกรณีมีเหตุอันสมควร | | |
6. | สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม | | |
6.1 | หากมีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอนการนำ Cell มาเริ่มผลิต เช่น ผลิตเป็น Module หรือ Battery Pack เป็นต้น ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี | | |
6.2 | หากมีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆเพิ่มเติม ได้แก่ Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม ชิ้นละ 1 ปี | | |
6.3 | สามารถยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ตามมาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ และ/หรือ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด | | |
7. | ไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม | | |
3.12 | กิจการผลิตรถจักรยานไฟฟ้า (Electric Bicycle หรือ E-Bike) | A4 | กสท.2 |
1. | ต้องเสนอเป็นแผนงานรวม (Package) ที่ประกอบด้วย (1) โครงการผลิตรถจักรยานไฟฟ้า (2) โครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้ผลิตรายอื่น และ (3) แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว | | |
2. | ต้องมีการผลิตรถจักรยานไฟฟ้าและการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม | | |
3. | ต้องใช้โครงรถจักรยานไฟฟ้าจากวัสดุน้ำหนักเบา เช่น Aluminium Alloy, Chromium- Molybdenum Alloy Steel, Titanium Alloy และ Carbon Fiber เป็นต้น | | |
4. | รถจักรยานไฟฟ้าที่ผลิตตามโครงการต้องเป็นไปตามมาตรฐาน EN15194 หรือเทียบเท่า | | |
5. | แบตเตอรี่ที่ใช้กับรถจักรยานไฟฟ้า จะต้องเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | | |
6. | อนุญาตให้ผลิตรถจักรยานร่วมกับรถจักรยานไฟฟ้าในโครงการได้ แต่รถจักรยานจะไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล | | |
7. | ไม่ให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นกรณีมีเหตุอันสมควร | | |
8. | สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม | | |
8.1 | หากมีการผลิต Traction Motor ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี | | |
8.2 | หากมีการผลิตโครงรถจักรยานไฟฟ้าจากวัสดุน้ำหนักเบาภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 1 ปี | | |
8.3 | สามารถยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ตามมาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด | | |
9. | ไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม | | |
3.13 | กิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles : FCEV) และอุปกรณ์สำหรับระบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell System) | | กสท.2 |
3.13.1 | กิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles : FCEV | A2 | กสท.2 |
| กรณีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles : FCEV) ต้องเสนอเป็นแผนงานรวม (Package) ที่ประกอบด้วย โครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles หรือ FCEV) และโครงการผลิตเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้ผลิตรายอื่น แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตในปีที่ 1-3 แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ แผนการพัฒนาสถานีเติมก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen Fueling Station) แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ (Local Supplier) ที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค | | |
3.13.2 | กิจการผลิตอุปกรณ์สำหรับระบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell System) | A2 | กสท.2 |
3.14 | กิจการผลิตเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) และชิ้นส่วน | A2 | กสท.2 |
3.15 | กิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือ | | กสท.2 |
3.15.1 | กิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือ ขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอส | A2 | กสท.2 |
| ต้องได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 14000 ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ | | |
3.15.2 | กิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือ ขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส (เฉพาะเรือโลหะหรือไฟเบอร์กลาส ที่มีการติดตั้งเครื่องยนต์หรือระบบขับเคลื่อนและอุปกรณ์) | A2 | กสท.2 |
| ต้องได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 14000 ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ | | |
3.16 | กิจการผลิตและ/หรือซ่อมรถไฟ ชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์สำหรับระบบราง | | กสท.2 |
3.16.1 | กิจการผลิตขบวนรถและ/หรือ ตู้รถ เช่น ตู้รถโดยสาร ตู้สินค้า เป็นต้น | | กสท.2 |
3.16.1.1 | กิจการผลิตขบวนรถ และ/หรือ ตู้รถ เช่น ตู้รถโดยสาร ตู้สินค้า เป็นต้น ที่มีการออกแบบทางวิศวกรรม | A1 | กสท.2 |
1. | ต้องมีขั้นตอนการออกแบบทางวิศวกรรม | | |
2. | ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือข้อกำหนดของ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง | | |
3.16.1.2 | กิจการผลิตขบวนรถและ/หรือ ตู้รถ เช่น ตู้รถโดยสาร ตู้สินค้า เป็นต้น | A2 | กสท.2 |
| ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล หรือข้อกำหนดของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง | | |
3.16.2 | กิจการซ่อมรถไฟ หรือชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์สำหรับระบบราง | A3 (ไม่กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) | กสท.2 |
| ต้องมีการซ่อมบำรุงหนัก (Overhaul) และ/หรือ การซ่อมแซม (Repair) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง | | |
3.16.3 | กิจการผลิตชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์สำหรับระบบราง | A2 | กสท.2 |
1. | ต้องมีกรรมวิธีการผลิตตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | | |
2. | ต้องเป็นการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์สำหรับระบบราง ได้แก่ | | |
1) | โครงสร้างหลัก | | |
2) | ตู้โดยสาร | | |
3) | ห้องควบคุมรถและอุปกรณ์ | | |
4) | โบกี้ | | |
5) | ระบบห้ามล้อ และ/หรือ ชิ้นส่วนสำคัญ | | |
6) | อุปกรณ์เชื่อมต่อตู้โดยสาร | | |
7) | ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ และ/ หรือ ชิ้นส่วนสำคัญ | | |
8) | ระบบผลิตและจ่ายลม และ/หรือ ชิ้นส่วนสำคัญ | | |
9) | ระบบประตูโดยสาร และ/หรือ ชิ้นส่วนสำคัญ | | |
10) | ระบบส่องสว่างของรถ และ/หรือ ชิ้นส่วนสำคัญ | | |
11) | ระบบสื่อสารและเฝ้าสังเกตการณ์ และ/หรือ ชิ้นส่วนสำคัญ | | |
12) | ระบบควบคุมและอาณัติสัญญาณ และ/หรือ ชิ้นส่วนสำคัญ | | |
13) | ระบบไฟฟ้าและระบบจ่ายไฟ และ/หรือ ชิ้นส่วนสำคัญ | | |
14) | รางหรือชิ้นส่วนราง | | |
3.17 | กิจการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) และสถานีบริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping Station) สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า | | กสท.2 |
3.17.1 | กิจการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) | | กสท.2 |
1. | ต้องเสนอแผนการจัดหาอุปกรณ์และชิ้นส่วน | | |
2. | ต้องเสนอแผนพัฒนาระบบอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging System) หรือแผนการเชื่อมโยงระบบอัดประจุไฟฟ้าเข้ากับแพลตฟอร์มบูรณาการหรือแพลตฟอร์มส่วนกลาง สำหรับบริหารจัดการเครือข่ายระบบอัดประจุไฟฟ้า | | |
3. | ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านมาตรฐานและความปลอดภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น | | |
4. | ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้ | | |
- | กรณีที่มีหัวจ่ายประจุไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 40 หัวจ่าย โดยเป็นประเภท Quick Charge ซึ่งหมายถึงแบบจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 | A3 | |
- | กรณีอื่นๆ | A4 | |
3.17.2 | กิจการสถานีบริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping Station) | A3 | กสท.2 |
1. | ต้องเสนอแผนการจัดหาอุปกรณ์และชิ้นส่วน | | |
2. | ต้องเสนอแผนพัฒนาระบบอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging System) หรือแผนการเชื่อมโยงระบบอัดประจุไฟฟ้าเข้ากับแพลตฟอร์มบูรณาการ หรือแพลตฟอร์มส่วนกลางสำหรับบริหารจัดการเครือข่ายระบบอัดประจุไฟฟ้า | | |
3. | ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านมาตรฐานและความปลอดภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น | | |
4. | ไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 28 สำหรับแบตเตอรี่ | | |
3.18 | กิจการด้านอากาศยานและอวกาศ | | กสท.2 |
3.18.1 | กิจการผลิตและซ่อมแซมอากาศยาน อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วน | | กสท.2 |
3.18.1.1 | กิจการผลิตอากาศยานหรือชิ้นส่วน | A1 | กสท.2 |
| ต้องเป็นการผลิตอากาศยานหรือชิ้นส่วน เช่น ลำตัวอากาศยาน ชิ้นส่วนประกอบสำคัญของอากาศยาน บริภัณฑ์ และชิ้นส่วนอื่นๆ เป็นต้น | | |
3.18.1.2 | กิจการผลิตเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ภายในอากาศยาน | A3 | กสท.2 |
| ต้องเป็นการผลิตเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ภายในอากาศยาน เช่น เก้าอี้ ชูชีพ รถเข็น หรือ อุปกรณ์ประกอบอาหาร เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงการผลิตเครื่องใช้ หรือวัสดุสิ้นเปลืองและหมุนเวียน | | |
3.18.1.3 | กิจการซ่อมอากาศยาน หรือชิ้นส่วน | A2 | กสท.2 |
| ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นตามมาตรา 30 ในอัตราร้อยละ 90 สำหรับชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่ไม่มีการผลิตในประเทศ เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ จะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี นับจากวันที่นำเข้าวัตถุดิบครั้งแรก | | |
3.18.1.4 | กิจการซ่อมเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ภายในอากาศยาน | A4 | กสท.2 |
| ไม่ให้การส่งเสริมการซ่อมเครื่องใช้หรือวัสดุสิ้นเปลือง และหมุนเวียน | | |
3.18.1.5 | กิจการผลิตอุปกรณ์ซ่อมบำรุงและ งานบริการภาคพื้น (Ground Support Equipment) | | กสท.2 |
1. | ไม่ให้การส่งเสริมการผลิตรถบัสบริการเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร (Bus or Passenger Transport Vehicles) รถเข็นสัมภาระในสนามบิน (Airport Trolley) สายรัด (Aviation Belt) และกระบะรองสัมภาระ (Air Transport Aviation Freight Pallet) | | |
2. | กรณีมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน และ/หรือ การออกแบบทางวิศวกรรมเองในโครงการ | A3 | |
3. | กรณีมีขั้นตอนการประกอบตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ | A4 | |
3.18.2 | กิจการผลิตอุปกรณ์การออกแบบและพัฒนาเกี่ยวกับอวกาศ และการให้บริการเกี่ยวกับอวกาศ | | กสท.2 |
3.18.2.1 | กิจการผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับอวกาศ | A1 | กสท.2 |
1. | ต้องเป็นการผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับอวกาศ เช่น ยานอวกาศ ดาวเทียม ระบบขับเคลื่อนจรวดนำส่ง และยานอวกาศ เป็นต้น | | |
2. | ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นตามมาตรา 30 ในอัตราร้อยละ 90 สำหรับชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่ไม่มีการผลิตในประเทศ เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ จะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี นับจากวันที่นำเข้าวัตถุดิบครั้งแรก | | |
3.18.2.2 | กิจการผลิตชิ้นส่วน Mechanical Parts และ/หรือ Electronic Parts สำหรับดาวเทียม หรือวัตถุอวกาศ รูปแบบต่างๆ | A2 | กสท.2 |
3.18.2.3 | กิจการการออกแบบและพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ ที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม และสถานีภาคพื้นดิน | A1 | กสท.2 |
| ต้องเป็นการออกแบบและพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ เช่น ระบบหรือซอฟต์แวร์สำหรับแพลตฟอร์ม ดาวเทียม ระบบสัมภาระ (Payload) ระบบค้นหา ระบบป้องกันขยะอวกาศ (Space Debris) และระบบนำทางในอวกาศ เป็นต้น | | |
3.18.2.4 | กิจการบริการนำส่งวัตถุสู่อวกาศ (Launching Services) หรือกิจการผลิตระบบควบคุมภารกิจนำส่ง | A1 | กสท.2 |
3.18.2.5 | กิจการสนับสนุนเกี่ยวกับอวกาศ | A2 | กสท.2 |
| ต้องเป็นกิจการสนับสนุนเกี่ยวกับอวกาศ เช่น ห้องปฏิบัติการเพื่อการทดสอบดาวเทียมและวัตถุอวกาศ และ/หรือ การรับรองมาตรฐานชิ้นส่วน เป็นต้น | | |
3.19 | กิจการผลิตยานพาหนะและระบบอาวุธเพื่อการป้องกันประเทศ และชิ้นส่วน และ/หรือซ่อม | A2 | กสท.2 |
1. | ต้องเป็นการผลิตยานพาหนะและระบบอาวุธ เพื่อการป้องกันประเทศ ได้แก่ รถถัง รถเกราะ ยานพาหนะรบ หรือยานพาหนะช่วยรบ | | |
2. | ต้องได้รับการรับรองว่าผ่านการทดสอบหรือได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
3. | กรณีซ่อม ต้องเป็นการซ่อมบำรุงหนัก หรือการซ่อมแซมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
3.20 | กิจการผลิตยานไร้คนขับ (Unmanned System) เพื่อการป้องกันประเทศ และชิ้นส่วน และ/หรือการซ่อม | | กสท.2 |
3.20.1 | กิจการผลิตยานภาคพื้นไร้คนขับ (Unmanned Ground System: UGS) และชิ้นส่วน และ/หรือซ่อม | A1 | กสท.2 |
1. | ต้องเป็นการผลิตยานภาคพื้นไร้คนขับ (Unmanned Ground System: UGS) เช่น ยานภาคพื้นไร้คนขับ (Unmanned Ground Vehicle: UGV) หุ่นยนต์สำหรับการปฏิบัติการทางทหาร และหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว เป็นต้น | | |
2. | ต้องเป็นการผลิตชิ้นส่วนยานไร้คนขับ (Unmanned System) เช่น ตัวโครงสร้างหลัก แขนกล มือจับ ระบบติดต่อสื่อสารระบบกล้อง ระบบสมองกล ระบบไฟฟ้า และแบตเตอรี่ เป็นต้น | | |
3. | กรณีซ่อม ต้องเป็นการซ่อมบำรุงหนัก หรือการซ่อมแซมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
4. | ต้องได้รับการรับรองว่าผ่านการทดสอบหรือได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
3.20.2 | กิจการผลิตยานทางน้ำไร้คนขับ (Unmanned Maritime System: UMS) และชิ้นส่วน และ/หรือซ่อม | A1 | กสท.2 |
1. | ต้องเป็นการผลิตยานทางน้ำไร้คนขับ (Unmanned Maritime System: UMS) เช่น ยานผิวน้ำไร้คนขับ (Unmanned Surface Vehicle: USV) และยานใต้น้ำไร้คนขับ (Unmanned Underwater Vehicle: UUV) เป็นต้น | | |
2. | ต้องเป็นการผลิตชิ้นส่วนยานไร้คนขับ (Unmanned System) เช่น ตัวโครงสร้างหลัก แขนกล มือจับ ระบบติดต่อสื่อสาร ระบบกล้อง ระบบสมองกล ระบบไฟฟ้า และแบตเตอรี่ เป็นต้น | | |
3. | กรณีซ่อม ต้องเป็นการซ่อมบำรุงหนัก หรือการซ่อมแซมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
4. | ต้องได้รับการรับรองว่าผ่านการทดสอบหรือได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
3.20.3 | กิจการผลิตอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System: UAS) และชิ้นส่วน และ/หรือซ่อม | A1 | กสท.2 |
1. | ต้องเป็นการผลิตอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System: UAS) เช่น อากาศยานไร้คนขับแบบปีกติดลำตัว (Fixed Wing) อากาศยานไร้คนขับแบบปีกหมุน (Rotor) และอากาศยานไร้คนขับแบบผสม (Fixed Wing/Rotor) เป็นต้น | | |
2. | ต้องเป็นการผลิตชิ้นส่วนยานไร้คนขับ (Unmanned System) เช่น ตัวโครงสร้างหลัก แขนกล มือจับ ระบบติดต่อสื่อสาร ระบบกล้อง ระบบสมองกล ระบบไฟฟ้า และแบตเตอรี่ เป็นต้น | | |
3. | กรณีซ่อม ต้องเป็นการซ่อมบำรุงหนัก หรือการซ่อมแซมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
4. | ต้องได้รับการรับรองว่าผ่านการทดสอบหรือได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
3.21 | กิจการผลิตและ/หรือซ่อมอาวุธ และเครื่องช่วยฝึกเพื่อการป้องกันประเทศ และชิ้นส่วน | | กสท.2 |
3.21.1 | การผลิต และ/หรือ ซ่อมอาวุธ | | กสท.2 |
3.21.1.1 | กิจการผลิตอาวุธปืนและชิ้นส่วน และ/หรือ การซ่อมอาวุธปืน | A2 | กสท.2 |
1. | ต้องได้รับการรับรองว่าผ่านการทดสอบหรือได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
2. | กรณีซ่อม ต้องเป็นการซ่อมบำรุงหนัก หรือการซ่อมแซมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
3. | ต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. 2550 | | |
4. | ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน ยกเว้นกรณีกิจการที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจัดตั้งหรือร่วมกับบุคคลอื่น ในการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล จะได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 | | |
3.21.1.2 | กิจการผลิตกระสุนปืน และชิ้นส่วน | A2 | กสท.2 |
1. | ต้องได้รับการรับรองว่าผ่านการทดสอบหรือได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
2. | ต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. 2550 | | |
3. | ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน ยกเว้นกรณีกิจการที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจัดตั้งหรือร่วมกับบุคคลอื่น ในการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล จะได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 | | |
3.21.1.3 | กิจการผลิตระบบจรวดและชิ้นส่วน และ/หรือ การซ่อมระบบจรวด | A2 | กสท.2 |
1. | ต้องเป็นการผลิตระบบจรวด ให้รวมถึงระบบควบคุม รถยิง หรือสิ่งนำพาไปของระบบจรวด | | |
2. | ต้องได้รับการรับรองว่าผ่านการทดสอบหรือได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
3. | กรณีซ่อม ต้องเป็นการซ่อมบำรุงหนัก หรือการซ่อมแซมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
4. | ต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. 2550 | | |
5. | ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน ยกเว้นกรณีกิจการที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจัดตั้งหรือร่วมกับบุคคลอื่น ในการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล จะได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 | | |
3.21.2 | การผลิตระบบจำลองยุทธ์และการฝึกเสมือนจริง และชิ้นส่วน และ/หรือ การซ่อมระบบจำลองยุทธ์และการฝึกเสมือนจริง | A1 | กสท.2 |
1. | ต้องเป็นระบบจำลองยุทธ์และการฝึกเสมือนจริง เช่น ระบบเครื่องช่วยฝึกยานรบเสมือนจริง ระบบเครื่องช่วยฝึกใช้อาวุธเสมือนจริง และระบบสนามฝึกยิงอาวุธประจำกายและอาวุธประจำหน่วย ระบบจำลองยุทธ์ปฏิบัติการร่วม (JTLS) เป็นต้น | | |
2. | ต้องได้รับการรับรองว่าผ่านการทดสอบหรือได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
3. | กรณีซ่อม ต้องเป็นการซ่อมบำรุงหนัก หรือการซ่อมแซมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
4. | ต้องมีการออกแบบระบบหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เอง | | |
3.22 | กิจการผลิตและ/หรือซ่อมอุปกรณ์ช่วยรบ | A2 | กสท.2 |
1. | ต้องเป็นการผลิตอุปกรณ์ช่วยรบ เช่น เสื้อเกราะกันกระสุนและสะเก็ดระเบิด แผ่นเกราะหรือโล่ป้องกันกระสุนและสะเก็ดระเบิด เป็นต้น | | |
2. | ต้องได้รับการรับรองว่าผ่านการทดสอบหรือได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |
3. | กรณีซ่อม ต้องเป็นการซ่อมบำรุงหนัก หรือการซ่อมแซมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เห็นชอบโดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม หรือสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | | |