หน้าแรก | ประเภทกิจการ BOI

หมวด : ประเภทกิจการ : กอง : ค้นคำในประเภทกิจการ :  
ค้นหา : หมวด 2
(ค้นหาได้ครั้งละ 1 เงื่อนไข)

ประเภทกิจการ และเงื่อนไขสิทธิ
ประโยชน์
กอง
รับผิดชอบ
หมวด 2 อุตสาหกรรมการแพทย์กสท.1
2.1กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์กสท.1
2.1.1กิจการผลิต Non-woven Fabric หรือผลิตภัณฑ์สุขอนามัย (Hygienic Products) จาก Non-woven Fabricกสท.1
2.1.1.1กิจการผลิต Non-woven FabricA3กสท.1
2.1.1.2กิจการผลิตผลิตภัณฑ์สุขอนามัย (Hygienic Products) จาก Non- woven FabricA4กสท.1
2.1.2กิจการผลิตเครื่องมือแพทย์กสท.1
2.1.2.1กิจการผลิตเครื่องมือแพทย์ ที่จัดอยู่ในประเภทความเสี่ยงสูงหรือเทคโนโลยีสูงA2กสท.1
2.1.2.2กิจการผลิตเครื่องมือแพทย์ชนิดอื่นๆA3กสท.1
ไม่ให้การส่งเสริมการผลิตเครื่องมือแพทย์จากผ้าหรือเส้นใยชนิดต่างๆ
2.1.2.3กิจการผลิตเครื่องมือแพทย์จากผ้าหรือเส้นใยชนิดต่างๆA4กสท.1
1.ต้องเป็นการผลิตเครื่องมือแพทย์จากผ้าหรือเส้นใยชนิดต่างๆ เช่น เสื้อกาวน์ ผ้าคลุม หมวก ผ้าปิดปากและจมูก ผ้าก๊อซ และสำลี เป็นต้น
2.กรณีการผลิตผ้าก๊อซหรือสำลี ต้องเริ่มต้นจากผ้าฝ้ายดิบ หรือใยฝ้าย
2.1.2.4กิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์A4กสท.1
ต้องได้การรับรองมาตรฐาน ISO 13485 หรือมาตรฐานเครื่องมือแพทย์อื่นที่เทียบเท่า ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
2.1.3กิจการผลิตสารออกฤทธิ์สำคัญในยา (Active Pharmaceutical Ingredients)A2กสท.1
ต้องเป็นการผลิตสารออกฤทธิ์ หรือวัตถุดิบทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredients: APIs)
2.1.4กิจการผลิตยากสท.1
2.1.4.1กิจการผลิตยามุ่งเป้าA2กสท.1
1.ต้องเป็นการผลิตยาในกลุ่มบัญชียามุ่งเป้า ที่ประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม
2.ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานสถานที่ผลิต Good Manufacturing Practice (GMP) ตามแนวทาง Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme (PIC/S) ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
2.1.4.2กิจการผลิตยาแผนปัจจุบันA3กสท.1
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานสถานที่ผลิต Good Manufacturing Practice (GMP) ตามแนวทาง Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme (PIC/S) ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
2.2กิจการบริการทางการแพทย์และบริการสาธารณสุขกสท.1
2.2.1กิจการสถานพยาบาลกสท.1
2.2.1.1กิจการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางA2กสท.1
1.ต้องเป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางสาขาขาดแคลน ได้แก่ ด้านหัวใจ (โรคหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดหัวใจ และหัวใจล้มเหลว) ด้านมะเร็ง (เคมีบำบัด และรังสีวิทยา) ด้านไต (ศูนย์ไตเทียม) ด้านกายภาพบำบัด และด้านจิตเวช
2.ต้องมีแผนการจัดหาบุคลากรทางการแพทย์ที่เหมาะสม
3.ต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
4.ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
5.ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ หรือมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
6.ต้องพิจารณาถึงการกระจายการให้บริการและการเข้าถึงของประชาชน
7.อนุญาตให้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ กับผู้ป่วยหรือผู้ที่เข้ารับบริการในด้านอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับโครงการโดยตรงได้ แต่ไม่ให้นำรายได้มารวมคำนวณเป็นรายได้ของโครงการที่เข้าข่ายได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.2.1.2กิจการโรงพยาบาลผู้สูงอายุA3กสท.1
1.ต้องมีแผนการจัดหาบุคลากรทางการแพทย์ที่เหมาะสม
2.ต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการให้บริการตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.ต้องมีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 31 เตียง ขึ้นไป
4.ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ประเภทโรงพยาบาลเฉพาะผู้ป่วย หรือโรงพยาบาลผู้สูงอายุ ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
5.ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ หรือมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
6.ต้องมีหน่วยบริการและระบบสนับสนุนการให้บริการสำหรับโรงพยาบาลผู้สูงอายุ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ก่อนวันเปิดดำเนินการ
7.อนุญาตให้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ กับผู้ป่วยหรือผู้ที่เข้ารับบริการ ที่อายุต่ำกว่า 60 ปีได้ แต่ไม่ให้นำรายได้มารวมคำนวณเป็นรายได้ของโครงการที่เข้าข่ายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.2.1.3กิจการศูนย์การแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์ แผนไทยประยุกต์A3กสท.1
1.ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
2.ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ หรือมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1.4กิจการโรงพยาบาลA4กสท.1
1.ต้องมีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 31 เตียง ขึ้นไป
2.ต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการให้บริการตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
4.ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ หรือมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.2กิจการบริการสาธารณสุขกสท.1
2.2.2.1กิจการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิงA4กสท.1
1.ต้องมีบุคคลผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.ต้องเป็นกิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ตามกฎหมายว่าด้วยสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
3.ต้องมีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 31 เตียง ขึ้นไป
4.ต้องมีขอบข่ายการให้บริการดูแลและประคับประคองผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยมีการพักค้างคืน และต้องมีการจัดกิจกรรมดูแล ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพ แก่ผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง
5.ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลเพื่อสุขภาพ ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
2.2.2.2กิจการศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพBกสท.1
1.ต้องมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท
2.ต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการบำบัดผู้ติดยาเสพติดให้โทษ
3.ต้องมีการจัดโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาพแบบต่อเนื่อง และมีการพักค้างคืนสำหรับผู้มาใช้บริการ
2.3กิจการวิจัยทางคลินิก (Clinical Research)กสท.1
2.3.1กิจการสนับสนุนและบริหารจัดการการวิจัยทางคลินิก (Contract Research Organization)A1กสท.1
1.ต้องมีแผนการดำเนินการเพื่อสนับสนุนและรองรับการวิจัยทางคลินิก (Clinical Research) ดังนี้
1.1การบริหารจัดการงานวิจัยทางคลินิก
1.2การกำกับดูแลการวิจัยทางคลินิก เช่น
-การบริหารจัดการสิ่งส่งตรวจ และห้องเก็บสิ่งส่งตรวจ
-การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ที่ทำการวิจัยทางคลินิก
-การบริหารจัดการเพื่อการจัดเก็บเอกสารหรือข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยทางคลินิก
-การบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากการวิจัยทางคลินิก
-การบริหารจัดการเวชระเบียนสำหรับการวิจัยทางคลินิก
-การบริหารจัดการอาสาสมัครที่ใช้ในการวิจัยทางคลินิก
-การจัดหาหรือให้บริการอาคารสถานที่สำหรับการวิจัยทางคลินิก เช่น ห้องตรวจผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ห้องทดสอบ เป็นต้น
2.ต้องมีบุคลากรไทยปฏิบัติงานในส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยทางคลินิก เช่น Clinical Research Associate (CRA) เป็นต้น ที่ผ่านการอบรมตามแนวทางการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice: GCP) ของ ICH (International Conference on Harmonization) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
3.ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรไทยด้านการบริหารจัดการทางคลินิกเฉพาะในโครงการที่ขอรับการส่งเสริม ไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาทต่อปี โดยต้องเป็นการจ้างใหม่ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรไทยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยคำนวณเฉพาะโครงการที่ขอรับการส่งเสริม
4.ต้องมีความร่วมมือกับองค์กรด้านการวิจัยหรือบริการด้านสาธารณสุข หรือสถาบันการศึกษาในประเทศ ตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
2.3.2ศูนย์การวิจัยทางคลินิก (Clinical Research Center)A1กสท.1
1.ต้องมีขอบข่ายธุรกิจไม่น้อยกว่าหนึ่งข้อ ดังนี้
-การวิจัยทางคลินิกเพื่อศึกษาความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในสัตว์ทดลอง (Preclinical Research)
-การวิจัยทางคลินิกเพื่อศึกษาความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในมนุษย์ (Clinical Research)
-การศึกษาชีวประสิทธิผลและชีวสมมูลของผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Bioavailability and Bioequivalence Studies)
2.กรณีการวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ต้องดำเนินการไม่น้อยกว่า 1 ระยะ ตามที่กำหนดดังนี้
-การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 (Phase I: Safety and Dosage) เป็นการศึกษาความปลอดภัยในกลุ่มอาสาสมัคร
-การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 (Phase II: Efficacy and Side Effects) เป็นการศึกษาประสิทธิภาพ และภาวะแทรกซ้อน
-การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3 (Phase III: Efficacy and Monitoring of Adverse Reaction) เป็นการศึกษาประสิทธิภาพและติดตามอาการไม่พึงประสงค์
-การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 4 (Phase IV: Post- marketing Surveillance) เป็นการศึกษาเพื่อสังเกตผลในระยะยาว
3.ต้องเสนอรายละเอียดเกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลนักวิจัย โครงสร้างพื้นฐานของศูนย์วิจัย การดูแลและคุ้มครองอาสาสมัคร เป็นต้น
4.ต้องมีหรือจัดหาสถานที่และอุปกรณ์ (Facilities) ที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานการวิจัยทางคลินิก เช่น ห้องตรวจ ห้องเก็บยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการวิจัยทางคลินิก เป็นต้น
5.อนุญาตให้นำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีอยู่เดิม มาใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมได้ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
6.การดำเนินการวิจัยต้องเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติการวิจัยที่ดีทางคลินิก (Good Clinical Practice: GCP) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า
7.ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรไทยด้านการวิจัยทางคลินิก ไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาทต่อปี โดยต้องเป็นการจ้างใหม่ หรือมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดิน ทุนหมุนเวียน และค่ายานพาหนะ) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรไทย และ/หรือเงินลงทุน จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด โดยคำนวณเฉพาะโครงการที่ขอรับการส่งเสริม
8.ต้องมีบุคลากรไทยปฏิบัติงานในส่วนการวิจัยทางคลินิก และผ่านการอบรมตามแนวทางการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice: GCP) ของ ICH (International Conference on Harmonization) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า และต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรม (Ethics Committee: EC) หรือคณะกรรมการควบคุมสัตว์ทดลอง (Institutional Animal Care and Use Committee: IACUC) ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
9.ต้องมีความร่วมมือกับองค์กรด้านการวิจัยหรือบริการด้านสาธารณสุข หรือสถาบันการศึกษาในประเทศ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ


views 16,214
Total pageviews 4,040,506 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.