ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565, 11:23:29 (105 สัปดาห์ ก่อน)
|
การขอชำระภาษีวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้ผลิตส่งออก ให้ยื่นขออนุมัติต่อ BOI จากนั้น BOI จะมีหนังสือถึงกรมศุล แจ้งให้เรียกเก็บภาษี และมีหนังสือถึงบริษัท แจ้งให้ไปชำระภาษี เมื่อชำระภาษีเสร็จสิ้นแล้ว บริษัทจะนำวัตถุดิบส่วนนั้นไปจัดการอย่างไรก็ได้ (เช่น ขาย ทำลาย ฯ) เอกสารที่ต้องยื่นต่อ BOI ประกอบด้วย 1. หนังสือบริษัท เรื่อง ขออนุมัติชำระอากรขาเข้าวัตถุดิบ (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง) 2. ใบสรุปรายการวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้ผลิตส่งออก (ไม่เป็นเอกสารบังคับ ไม่มีแบบฟอร์ม แต่อาจเตรียมเพิ่มเติมด้วยเพื่อความสะดวก) 3. บัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุจําเป็นที่ไม่ผลิตเพื่อส่งออก (F IN RM 35) หน้า 2 จำนวน 3 แผ่น 4. บัญชีรายการวัตถุดิบที่ให้ชําระอากรขาเข้าตามสภาพ ณ วันนำเข้า (F IN RM 35) หน้า 3 จำนวน 3 แผ่น 5. สำเนาหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย (เช่น ภาพแคปหน้าจอ บนระบบ RMTS online ที่แสดงเลข นร อนุมัติ) 6. รายการวัตถุดิบสั่งปล่อย ที่ขอชำระภาษี (เช่น ภาพแคปหน้าจอ ที่แสดงรายการ/ปริมาณวัตถุดิบที่อนุมัติ โดยอาจ hilight รายการที่ขอชำระภาษีให้ชัดเจน) 7. ใบขนสินค้าขาเข้า ที่แสดงเลข นร ใช้สิทธิ (หากในใบขน มีวัตถุดิบหลายรายการ อาจ hilight นร ของวัตถุดิบที่ขอชำระภาษี ให้ชัดเจน) 8. สำเนาอินวอยซ์ 9. เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณาการใช้สิทธิและประโยชน์วัตถุดิบ (F IN RM 01) เลือกติ๊กที่ข้อ 10.1 10. แบบฟอร์มพิจารณาของ จนท (F IN RM 35) หน้า 1 11. หนังสือแจ้งกรมศุลกากรให้เรียกเก็บภาษี (F IN RM 43) และสำเนา 2 ชุด 12. หนังสือแจ้งบริษัทให้ชำระภาษี (F IN RM 44) และสำเนา 2 ชุด ตามหลัก BOI จะต้องเป็นผู้จัดทำเอกสาร 10-12 ขึ้นเอง หากบริษัทจะจัดเตรียมเอกสาร 10-12 แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565, 11:24:56
|
Khun Ao โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565, 13:22:21 (104 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณมากค่ะ ขอบสอบถามเพิ่มค่ะ และขอคำแนะนำค่ะ เมื่อ Inspector เข้ามาตรวจสอบส่วนสูญเสีย และออกใบ CER ให้กับบริษัทแล้ว
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565, 15:01:24 (104 สัปดาห์ ก่อน)
|
ตอบคำถามดังนี้ 1. หากจะให้ vendor (เข้าใจว่าบริษัทหมายถึงผู้รับซื้อส่วนสูญเสีย) ขนส่วนสูญเสียออกนอกโรงงาน ก่อนการชำระภาษี
2. หากปริมาณส่วนสูญเสียตามใบรับรองจาก inspector และตามที่บริษัทไปชำระภาษีแล้ว (เช่น 100 กก.) มากกว่าปริมาณส่วนสูญเสียที่มีอยู่จริง (เช่น 80 กก.) ตามความเห็นส่วนตัว เนื่องปริมาณตามใบรับรองของ inspector เป็นปริมาณที่บริษัทเป็นผู้ให้ข้อมูล และ inspector ตรวจสอบถูกต้องตามนั้นแล้ว และได้ชำระภาษีตามปริมาณนั้นแล้ว จึงไม่น่าจะมีเหตุผลหรือหลักฐานที่จะแก้ไข ไม่น่าจะคุ้มค่าคุ้มเวลาที่จะดำเนินการเพิ่มเติมไปกว่านี้ ในกรณีกลับกัน หากปริมาณที่ inspector รับรอง และบริษัทชำระภาษีแล้ว (เช่น 100 กก.) น้อยกว่าปริมาณส่วนสูญเสียที่มีอยู่จริง (เช่น 120 กก.) แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565, 17:06:46
|
GUEST โพสต์เมื่อวันพุธที่ 28 ธันวาคม 2565, 16:50:55 (99 สัปดาห์ ก่อน)
|
เอกสารที่ใช้ยื่น ขออนุมัติวิธีการทำลายส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) นอกจากตัวอย่างที่ 3 แล้ว 1. มีเอกสารอะไรแนบบ้าง 2. เอกสารตัวอย่างที่ 3 ที่ยื่น ต้องไปยื่น ที่ BOI หรือยื่นผ่านออนไลน ค่ะ บ.Yo..... |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 28 ธันวาคม 2565, 17:34:46 (99 สัปดาห์ ก่อน)
|
การขออนุมัติวิธีทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร ให้ใช้เอกสารตาม link เผยแพร่ของ BOI : ขั้นตอนที่ 1 การขออนุมัติวิธีการทำลายส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) (ไฟล์ word) คือ 1. หนังสือหัวจดหมายบริษัท เรื่อง ขออนุมัติวิธีทำลายส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) 2. หนังสือขออนุมัติวิธีทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร (ไม่ใช้หัวจดหมายบริษัท) ตามตัวอย่างที่ 1 ตาม link 3. ใบสรุปส่วนสูญเสียแต่ละรายการพร้อมระบุวิธีทำลาย ตามตัวอย่าง 2,3.4,5 จำนวน 2 ชุด ตาม link 4. ภาพถ่ายส่วนสูญเสียก่อนทำลาย แยกตามรายการที่จะขออนุมัติวิธีทำลาย จำนวน 1 ชุด การยื่นขออนุมัติวิธีทำลาย ให้ยื่นเป็นเอกสาร ที่กองหรือศูนย์ต่างจังหวัด ที่บริษัทใช้สิทธิประโยชน์วัตถุดิบ ครับ |
GUEST โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม 2566, 12:08:32 (96 สัปดาห์ ก่อน)
|
1.บริษัทผู้ทำลาย ถ้าไม่ใช่ เป็นบริษัทที่ได้รับส่งเสริม BOI กรณี ใช้วีธีเผาทำลาย ต้องขอใบอนุญาติของบริษัท ผู้ทำลายไหมค่ะ หรือดำเนินการอย่างไรค่ะ 2. กรณีที่เรายื่นเอกสารกับ BOI แล้ว หลังจากนั้น ดำเนินการอย่างไรต่อค่ะ 3. ขั้นตอนการตรวจสอบทำลาย นี้ นั้นหมายว่า ถ้า BOI อนุมัตืให้ทำลาย เราต้องจ้างให้บริษัท ฯ ตัวแทน BOI มาตรวจสอบวิธีการทำลายด้วยใช่ไหมค่ะ ถ้ากรณีที่เรา ว่าจ้างบริษัทผู้ทำลาย โดยที่ไม่ใช่ บริษัท ฯ ตัวแทน BOI แต่บริษัทผู้ทำลาย มีรายการ รูปแบบการทำลาย สามารถใช้ได้ไหมค่ะ. บริษัท Yo.. |
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม 2566, 12:32:53 (96 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอตอบเรื่องการทำลายวัตถุดิบโดยรวม ดังนี้ครับ 1. กรณีได้รับอนุมัติวิธีทำลายโดยการตัดให้เป็นชิ้นๆ หรือการทุบ บด อัด ให้เสียสภาพ ผู้ทำลายจะเป็นผู้ใดก็ได้ เช่น บริษัทผู้ได้รับส่งเสริมจะหาเครื่องมือ อุปกรณ์ มาทำลายด้วยตนเอง หรือจะจ้างบริษัทอื่นให้มาทำลายให้ก็ได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของบริษัท Inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI 2. ส่วนกรณีที่ได้รับอนุมัติวิธีทำลาย/กำจัด โดยการเผา จะต้องส่งไปกำจัดยังโรงงานที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยก่อนจะส่งไปกำจัด จะต้องให้ inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณส่วนสูญเสียก่อน ตลอดจนในการขนย้าย จะต้องมีเอกสารรับรองการขนย้ายจากโรงงานที่ได้รับส่งเสริม ไปยังโรงงานของผู้กำจัดโดยตรง ครับ |
GUEST โพสต์เมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม 2566, 13:00:13 (96 สัปดาห์ ก่อน)
|
การควบคุมกำกับของบริษัท Inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI โดยก่อนจะส่งไปกำจัด จะต้องให้ inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณส่วนสูญเสียก่อนตลอดจนในการขนย้าย มีค่าใช้จ่าย สำหรับ inspector ไหมค่ะ ถ้ามี ประมาณเท่าไหร่ มีเลสไหมค่ะ บ.Yo... |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม 2566, 13:17:09 (96 สัปดาห์ ก่อน)
|
1.บริษัท Inspector ที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตรวจสอบและออกใบรับรองส่วนสูญเสีย จาก BOI มีประมาณ 10 ราย รายชื่อค้นได้จากประกาศ BOI : https://faq108.co.th/boi/announcement/ และพิมพ์คำว่า สูญเสีย ในช่องค้นหา 2.อัตราค่าบริการของบริษัท Inspector รบกวนติดต่อสอบถามกับบริษัทนั้นๆ โดยตรง ครับ |
Kook โพสต์เมื่อวันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566, 11:50:24 (59 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียน ADMIN ค่ะ รบกวนสอบถามและขอคำแนะนำค่ะ บริษัทฯ ได้ส่งเสริมประเภท 3.16และ3.5 อุปกรณ์กีฬาหรือชิ้นส่วน ส่งสินค้าสำเร็จรูปไปต่างประเทศแล้ว ลูกค้าแจ้งจะคืนสินค้าสำเร็จรูป(รองเท้ากีฬาทางน้ำ) ที่ไม่ได้คุณภาพมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถซ่อมแซมได้ ถ้าบริษัทฯ ประสงค์จะทำลายแบบ สามารถนำส่วนสูญเสียที่ได้ไป รีไซเคิลได้ ทางบริษัทฯ สามารถทำได้หรือไม่ หรือมีวิธีจัดการแบบไหนบ้าง รวมถึงบริษัทฯ ที่รับทำลายที่จะนำส่วนสูญเสียที่ได้ไปรีไซเคิลด้วยค่ะ ขอได้โปรดแนะนำ ขอบพระคุณมากค่ะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566, 11:35:00 (59 สัปดาห์ ก่อน)
|
1. เมื่อทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร ตามวิธีทำลายที่ได้รับอนุมัติ 1.1 เศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ เช่น เศษโลหะ เศษพลาสติก 2. เศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ตามข้อ 1.1 จะต้องชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซากก่อน จึงจะจำหน่ายและตัดบัญชีวัตถุดิบได้ 3. การรีไซเคิล ที่บริษัทสอบถาม หากเป็นในความหมายของข้อ 1.1 เช่น จำหน่ายเศษพลาสติก ให้กับบริษัทที่รับซื้อไปผลิตเป็นวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ สามารถทำได้ โดยต้องปฏิบัติตามข้อ 2 คือชำระภาษีตามสภาพเศษซาก ให้เสร็จสิ้นก่อน ครับ |
tuboi โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567, 14:01:02 (15 สัปดาห์ ก่อน)
|
สอบถามกรณีทำลายวัตถุดิบไปแล้ว ได้ใบเซอแล้ว แต่ยังไม่ได้ขออนุญาต BOI ต้องทำอย่างไรคะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567, 11:50:55 (15 สัปดาห์ ก่อน)
|
หากเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรชนิดเดียวกับที่เคยได้รับอนุมัติวิธีทำลายไว้แล้ว 1. สามารถทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุมัติวิธีทำลายใหม่อีก โดยให้ บ.Inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI เข้าร่วมตรวจสอบการทำลาย และออกใบรับรองการทำลายตามที่ BOI กำหนด 2. จากนั้น ให้ยื่นขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร (กรณีทำลาย) - หากเศษซากที่เกิดจากการทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นรายงานขอชำระภาษีไปพร้อมกัน - และหากต้องมีการโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับเวนเดอร์ ก็ให้ยื่นรายงานการขอโอนสิทธิไปพร้อมกัน 3. เมื่อ BOI อนุมัติตามข้อ 2 หากเป็นเศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อชำระภาษีตามสภาพเศษซากให้เสร็จสิ้น 4. จากนั้นนำหนังสืออนุมัติตามข้อ 2 (และหลักฐานการชำระภาษีตามข้อ 3 กรณีต้องชำระภาษีเศษซาก) ไปยื่นต่อสมาคม IC เพื่อตัดบัญชี (ปรับยอด) ส่วนสูญเสียนอกสูตรต่อไป ครับ |
OHT โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567, 14:09:02 (15 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขออนุญาตสอบถามต่อจากคำตอบ Admin ค่ะ หาก บ.Inspector ออกใบรับรองการทำลายให้แล้ว
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567, 15:47:18 (15 สัปดาห์ ก่อน)
|
กรณีทำลายส่วนสูญเสียและส่งออกไปต่างประเทศตามสภาพเศษซาก ขั้นตอนที่ถูกต้องคือ 1. ทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ โดยให้ บ.Inspector ตรวจสอบและออกใบรับรอง 2. ยื่นขออนุญาตส่งออกส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ตามสภาพเศษ 3. ระบุเลข นร ที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 2 ในใบขนสินค้าขาออก 4. ยื่นขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) กรณีส่งออก 5. นำหนังสืออนุมัติตามข้อ 4 ไปยื่นขอตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่สมาคม IC กรณีที่สอบถาม บริษัทไม่ได้ยื่นขออนุญาตส่งออกส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ตามข้อ 2 จึงไม่สามารถยื่นขอตัดบัญชีได้ แนะนำให้ติดต่อกับ จนท BOI ที่รับผิดชอบงานวัตถุดิบของบริษัท เพื่อขอคำปรึกษาโดยตรงว่าจะให้บริษัทดำเนินการตัดบัญชีอย่างไร ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 | 2 | 3 | 4 ถัดไป >>