ความรู้เกี่ยวกับงาน BOI
   - ภาพรวมการให้การส่งเสริม
 - พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
 - นโยบายส่งเสริมการลงทุน
 - หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
 - กิจการที่ให้ส่งเสริมการลงทุน
   - ภาพรวม
 - หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
 - การกรอกคำขอรับการส่งเสริม
 - การรวมบัตรส่งเสริม
 - การโอน / รับโอนกิจการ
 - การควบรวมกิจการ
 - การโยกย้ายสถานประกอบการ
 - การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม
   - มาตรการ STI
 - มาตรการสนับสนุนกิจการ SMEs
   - กิจการ IPO
 - กิจการ ROH
 - กิจการ TISO
 - กิจการซอฟต์แวร์
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 28 และ 29
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีเครื่องจักร (Master List)
 - การใช้เครื่องจักรเก่า
 - การสั่งปล่อยเครื่องจักร
 - การใช้ธนาคารค้ำประกัน
 - การส่งออกไปซ่อม หรือส่งคืน
 - การตัดบัญชีเครื่องจักร
 - การขออนุญาตอื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 30
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 36
 - ระยะเวลานำเข้าและการขยายเวลา
 - บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสต๊อคสูงสุด
 - สูตรการผลิต
 - ส่วนสูญเสียและเศษซาก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
 - การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
 - การนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
 - การโอน-รับโอนวัตถุดิบ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์มาตรา 31, 34, 35
 - วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก
 - ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
 - รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
 - วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
 - การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ
 - ขั้นตอนการขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี
   - ภาพรวม
 - สิทธประโยชน์มาตรา 24, 25, 26
 - ระบบ e-Expert
 - การอนุมัติตำแหน่ง
 - การบรรจุช่างฝีมือ
 - การขอใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่า
 - การนำช่างฝีมือมาปฏิบัติงานขั่วคราว
 - ข้อควรรู้
 - กฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 - อื่น ๆ
   - ภาพรวม
 - สิทธิประโยชน์ มาตรา 27
 - ขั้นตอนการใช้สิทธิ
   - ภาพรวม
 - กำหนดระยะเวลาการเปิดดำเนินการ
 - การเปิดดำเนินการ
   - ภาพรวม
 - แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
 - แก้ไขกำลังผลิต
 - แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
 - แก้ไขสภาพเครื่องจักร
 - แก้ไขที่ตั้งโรงงาน
 - แก้ไขทุนจดทะเบียน
   - ภาพรวม
 - การตอบรับมติ
 - การออกบัตรส่งเสริม
   - การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
 - การปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO
 - รายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310)
 - การหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว
 - การยกเลิกบัตรส่งเสริม

 ความรู้เกี่ยวกับงาน IC
   - การสมัครสมาชิก
 - การสมัครใช้บริการสิทธิประโยชน์
 - การฝึกอบรม
   - ภาพรวม
   - บัญชีวัตถุดิบและสต๊อคสูงสุด (MML)
 - บัญชีชื่อรอง (DESC)
 - บัญชีสูตรการผลิต (FRM)
 - การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก
 - การสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - การตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - การปรับยอดวัตถุดิบ
   - งานเครื่องจักร
 - งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ
 - งานตัดบัญชีวัตถุดิบ
 - งานฐานข้อมูลวัตถุดิบ
 - งานบริการฝึกอบรมและสัมมนา
 - ลงทะเบียนระบบฝึกอบรมออนไลน์
 - งานบัญชีและการเงิน

 Webboard
   - เว็บบอร์ดถามตอบคำถาม
 - เครื่องจักร
 - วัตถุดิบ
 - ช่างฝีมือ
 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 - การเปิดดำเนินการ
 - ลงทะเบียนเว็บบอร์ด










 
 ความคืบหน้าและภาพรวม : RMTS Online version ปรับปรุงใหม่

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ

ข้อมูลไม่เป็นทางการ
update : 1 ธันวาคม 2565

    BOI และสมาคมสโมสรนักลงทุน มีแผนจะพัฒนาระบบงานสิทธิประโยชน์ด้านวัตถุดิบ version ใหม่ : ระบบ RMTS online version ปรับปรุงใหม่ ในปี 2566 ภายใต้ขอบข่ายดังนี้

   Phase 1 : การอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและปริมาณสต็อกสูงสุด และการอนุมัติสูตรการผลิต
มาตรา 36(1), 36(2), 30 และมาตรา 30/1
Phase 2 : การรวมบัญชีสต็อกวัตถุดิบ มาตรา 36(1)

    ข้อมูลที่เผยแพร่นี้ เป็นข้อมูลไม่เป็นทางการ เพื่อประกอบการเตรียมตัวเบื้องต้น สาหรับบริษัทที่ได้การส่งเสริมเท่านั้น โดยจะอัพเดตความคืบหน้าให้ทราบเป็นระยะต่อไป

    เมื่อระบบพัฒนาเสร็จสิ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแจ้งประชาสัมพันธ์ และจัดฝึกอบรม ให้กับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริม ก่อนเปิดให้บริการระบบ RMTS online version ปรับปรุงใหม่ อย่างเป็นทางการต่อไป

 ภาพรวม : ความแตกต่างระหว่างระบบปัจจุบัน และระบบ RMTS online version ปรับปรุงใหม่

 หัวข้อระบบปัจจุบันRMTS online version ใหม่
1มาตราที่รองรับ- มาตรา 36(1)- มาตรา 36(1)
- มาตรา 36(2), 30, 30/1
2ประเภทงานที่รองรับ- บัญชีสต็อกวัตถุดิบ
- สูตรการผลิต
- บัญชีสต็อกวัตถุดิบ
- สูตรการผลิต
- การรวมบัญชีสต็อก
3การบันทึกข้อมูลและยื่นคำร้อง- excel file upload- e-form
- online spreadsheet
- excel file upload
4การขอรหัสโครงการ (project code)ยื่นที่สมาคม IC หรือสาขา IC ภูมิภาคบนระบบออนไลน์
5การขอแก้ไขวันนำเข้าครั้งแรกยื่นที่สมาคม IC หรือสาขา IC ภูมิภาคบนระบบออนไลน์
6การขอย้ายกอง/ศูนย์ภูมิภาค ที่จะขอใช้สิทธิประโยชน์-บนระบบออนไลน์
7การ copy/โคลนนิ่ง บัญชีสต็อกวัตถุดิบและสูตรการผลิตจากโครงการเดิม กรณีบัตรปรับปรุงประสิทธิภาพ บัตรโอน/รับโอนกิจการ บัตรรวมโครงการ บัตรควบรวมกิจการ-บนระบบออนไลน์
8การแจ้งผลอนุมัติ และแจ้งเตือนต่างๆ เช่น วันสิ้นสุดสิทธิประโยชน์แจ้งบนหน้าเว็บไซต์แจ้งทาง e-mail และบนหน้าเว็บไซต์
9การแจ้งเตือนการแก้ไขรายการวัตถุดิบและ ปริมาณสต็อกสูงสุด กรณีแก้ไขบัตรส่งเสริม (เพิ่ม/ลดผลิตภัณฑ์ เพิ่ม/ลดกาลังผลิต อื่นๆ)-บนระบบออนไลน์
10(รอสรุป) เพิ่มการ monitor และแจ้งเตือน สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด/หรือความผิดปกติของบัญชีสต็อกวัตถุดิบ เช่น ไม่มีการตัดบัญชีต่อเนื่องเกิน 4 เดือน ฯลฯ-แจ้งทาง e-mail และบนระบบออนไลน์

 เงื่อนไขและข้อกำหนดที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลง

  1. การบันทึกกรรมวิธีผลิต
    • เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาบัญชีรายการวัตถุดิบ
    • หลักการและเหตุผล
          วัตถุดิบที่จะอนุมัติให้ใช้สิทธิประโยชน์ จะต้องเป็นไปตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม จึงต้องมีการบันทึกกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม เพื่อผูกความสัมพันธ์กับวัตถุดิบแต่ละรายการ
          และเป็นแนวทางเดียวกับการอนุมัติให้ใช้สิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร ในระบบ eMT ซึ่งให้บันทึกกรรมวิธีการผลิตในระบบเช่นเดียวกัน

  2. บัญชีรายการวัตถุดิบ
    • ผูกความสัมพันธ์ของวัตถุดิบแต่ละรายการ กับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม
    • ตรวจสอบรายการวัตถุดิบ ไม่ให้มีวัตถุดิบชนิดเดียวกันในหลาย Group no (ยกเว้นกรณีมีหน่วยนำเข้าที่ต่าง dimension กัน)
    • หลักการและเหตุผล
          หากวัตถุดิบรายการเดียวกัน ขออนุมัติแยกเป็น 3 รายการ ที่มีหน่วยวัตถุดิบเป็นคนละหน่วย แต่เป็น dimension เดียวกัน เช่น กรัม (GRM), กิโลกรัม (KGM) และปอนด์ (LBR)
          จะเป็นการอนุมัติซ้อนในรายการเดียวกัน และทำให้ปริมาณ max stock เกินกว่าที่พึงได้รับอนุมัติ

    • ปรับปรุงวิธีการอนุมัติบัญชีรายการชิ้นงานกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished part) โดยไม่ต้องเพิ่มเป็น Group no ใหม่ในทุกรอบปี เพื่อลดภาระการขอแก้ไขสูตรการผลิตตาม Group no ใหม่ที่เพิ่มขึ้นใหม่
    • หลักการและเหตุผล
          ปัจจุบันการขออนุมัติบัญชีรายการชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished part) เป็นการผ่อนผันให้นำเข้าโดยจำกัดจำนวนในแต่ละรอบปี ดังนั้น จึงต้องมีการยื่นขออนุมัติใหม่ทุกๆรอบปี
          แต่เนื่องจากข้อจำกัดของระบบ RMTS เดิม จึงต้องยื่นขออนุมัติบัญชีรายการชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปนี้ เป็นกรุ๊ปใหม่ แม้จะเป็นชิ้นส่วนชนิดเดิมที่เคยได้รับอนุมัติในรอบปีก่อนก็ตาม
          ซึ่งเมื่อมีการอนุมัติวัตถุดิบรายการเดิม เป็นกรุ๊ปใหม่ บริษัทจึงจำเป็นต้องยื่นขอแก้ไขสูตรการผลิตเดิม เพื่อให้มีวัตถุดิบตรงกับ group no ใหม่ของชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปนั้นๆ ด้วย จึงเป็นภาระทั้งในการขอแก้ไขทั้งบัญชีสต็อก และการแก้ไขสูตรการผลิต
          การปรับปรุงระบบ RMTS ในครั้งนี้ จะอนุญาตให้การขออนุมัติชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปในรอบปีใหม่ สามารถเป็นกรุ๊ปเดิมที่เคยได้รับอนุมัติอยู่ก่อนหน้านั้นแล้วได้ จึงไม่ต้องขอแก้ไขสูตรการผลิตที่เคยได้รับอนุมัติอยู่เดิม

    • ปรับปรุงการอนุมัติบัญชีรายการสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งออก (สินค้า return) โดยกำหนด Group no ตามชื่อผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม จากเดิมที่กำหนดตามชื่อผลิตภัณฑ์ในสูตรการผลิต
    • หลักการและเหตุผล
          สินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งออก ปัจจุบันอนุมัติ max stock ให้ไม่เกิน 5%ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม แต่เนื่องจากสินค้าที่นำกลับมาซ่อม อาจมีหลายรุ่น แต่ละรุ่นอาจมีราคาที่แตกต่างกันมาก และปกติจะมีอัตราอากรขาเข้าสูงกว่าวัตถุดิบ
          ปัจจุบันจึงแยกสินค้าแต่ละรุ่นที่นำกลับเข้าซ่อม เป็นแต่ละรายการในบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบ และกำหนด max stock ของแต่ละรายการเท่ากับ 5% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม ซึ่งเมื่อรวมทั้งหมดจะเกินกว่าปริมาณ max stock ที่พึงอนุมัติ
      จึงอาจปรับปรุงวิธีพิจารณาอนุมัติ โดยใช้แนวทางการใช้สต็อกร่วมกัน (co-Stock) เพื่อให้ปริมาณสินค้าทุกรุ่น ที่นำเข้ามาซ่อม รวมกันไม่เกิน 5% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม

    • ยกเลิกการอนุมัติรายการสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งออก ของกิจการ IPO/ITC เฉพาะกรณีซื้อมา-ขายไป แบบ 1:1 เนื่องจากสามารถสั่งปล่อยได้ตาม Group no ของวัตถุดิบนั้นๆ

  3. ปริมาณสต็อกสูงสุด
    • ปรับปรุงการอนุมัติ Max Stock ของวัตถุดิบต้นน้ำ เช่น พลาสติก โลหะ และผ้า ให้สามารถใช้สต็อกร่วมกัน (co-Stock) ในกลุ่มวัตถุดิบนั้นๆได้ เพื่อลดภาระในการแก้ไข max stock ของวัตถุดิบแต่ละรายการ
    • หลักการและเหตุผล
          วัตถุดิบต้นน้ำในกลุ่มพลาสติก โลหะ และผ้า ปัจจุบันจะแยกอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบเป็นแต่ละรายการ เช่น ในกลุ่มพลาสติก จะอนุมัติ max stock แยกเป็น PP RESIN, PE RESIN, ABS RESIN เป็นต้น ทำให้ปริมาณ max stock ของวัตถุดิบบางรายการ อาจไม่เพียงพอในบางช่วงเวลา เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสินค้ารุ่นใหม่ๆ หรือในช่วงผลิตสินค้าตามฤดูกาล เป็นต้น จึงจำเป็นต้องแก้ไข max stock บ่อยครั้ง
          ปัจจุบัน อยู่ระหว่างหาข้อสรุปว่า อาจจะอนุญาตให้มีการใช้สต็อกร่วมกัน (co-Stock) สำหรับวัตถุดิบที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มโลหะ กลุ่มพลาสติก และกลุ่มผ้า เป็นต้น
          เช่น หากอนุมัติ max stock ของ Plastic Resin จำนวน 10,000 กิโลกรัม จะอนุญาตนำเข้าเรซินต่างๆ เช่น PP Resin, PE Resin, ABS Resin และ Resin ชนิดอื่นๆ เข้ามารายการละเท่าใดก็ได้ แต่ปริมาณถือครองสูงสุดของเรซินทุกประเภทรวมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 10,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้มีความยืดหยุ่น และลดปัญหา/ความจำเป็นในการแก้ไข max stock ลงได้มาก

    • ปรับปรุงแนวทางการคำนวณปริมาณสต็อกสูงสุด จากเดิมที่พิจารณาจาก ปริมาณที่บริษัทคาดว่าจะผลิต ของแต่ละสูตรอ้างอิง เป็นการพิจารณาจากปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงสุด (max usage) ที่เพียงพอต่อ การผลิตสินค้าหลักรุ่นใดก็ตาม
    • หลักการและเหตุผล
          วิธีพิจารณาอนุมัติ max stock ปัจจุบัน พิจารณาตามแผนการผลิตสินค้าอ้างอิงแต่ละรุ่นของบริษัท หากบริษัทปรับเปลี่ยนแผนการผลิต อาจทำให้ max stock ที่ได้รับอนุมัติไป มีไม่เพียงพอ ต้องแก้ไข max stock บ่อยครั้ง ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ความต้องการของตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
          การปรับปรุงวิธีพิจารณาอนุมัติ max stock วัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิตสินค้าหลักรุ่นใดก็ตาม จะทำให้บริษัทได้รับอนุมัติ max stock ที่เพียงพอ ทั้งในกรณีที่ต้องปรับเปลี่ยนแผนการผลิตตามฤดูกาล หรือในกรณีที่ความต้องการของตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องก็ตาม

    • ตัวอย่าง
      บริษัทมีสินค้าหลัก 2 โมเดล คือ สินค้า X โมเดล 1 และสินค้า X โมเดล 2
      โดย X1 ใช้วัตถุดิบ A จำนวน 1 ชิ้น วัตถุดิบ B จำนวน 2 ชิ้น
      ส่วน X2 ใช้วัตถุดิบ A จำนวน 2 ชิ้น วัตถุดิบ B จำนวน 1 ชิ้น

      ในการอนุมัติ max stock สำหรับการผลิตสินค้า X จำนวน 1,000 ชิ้น

      วิธีปัจจุบัน
      บริษัทต้องประมาณการแผนการผลิต เช่น จะผลิต X1 จำนวน 700 ชิ้น และ X2 จำนวน 300 ชิ้น
      ดังนั้น บริษัทจะได้รับอนุมัติ max stock ของวัตถุดิบ A = (700 x 1) + (300 x 2) = 1,300 ชิ้น
      และได้รับอนุมัติ max stock ของวัตถุดิบ B = (700 x 2) + (300 x 1) = 1,400 ชิ้น

      แต่หากคำสั่งซื้อไม่ตรงกับแผนการผลิต โดยเปลี่ยนไปเป็น X1 จำนวน 500 ชิ้น และ X2 จำนวน 500 ชิ้น
      จะต้องใช้วัตถุดิบ A = 1,500 ชิ้น และ B = 1,500 ชิ้น ซึ่ง max stock ที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม จะไม่เพียงพอ

      แนวทางปรับปรุง
      จะพิจารณาปริมาณวัตถุดิบแต่ละรายการที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อผลิตสินค้าหลักรุ่นใดก็ตาม
      คือ วัตถุดิบ A จำเป็นต้องใช้ 2 ชิ้น หากผลิตสินค้า X1
      และวัตถุดิบ B จำเป็นต้องใช้ 2 ชิ้น หากผลิตสินค้า X2

      ดังนั้น ปริมาณ max stock ที่เพียงพอต่อการผลิตสินค้า X1 หรือ X2 รุ่นใดรุ่นหนึ่ง จำนวน 1,000 ชิ้น คือ
      วัตถุดิบ A = 2,000 ชิ้น และ B = 2,000 ชิ้น

      ซึ่งจะเพียงพอต่อการผลิตสินค้า X จำนวน 1,000 ชิ้น
      ไม่ว่าความต้องการของตลาดจะเปลี่ยนไปเป็นโมเดล X1 หรือ X2 อย่างละเท่าใดก็ตาม

    • ปรับปรุงการขอแก้ไขบัญชีสต็อก ให้สามารถขอเพิ่ม/แก้ไขวัตถุดิบเป็นแต่ละรายการได้ แทนวิธีการเดิมที่ต้องยื่นสูตรอ้างอิงใหม่เพื่อแก้ไขทั้งบัญชี
    • หลักการและเหตุผล
          ระบบปัจจุบัน เป็นการพิจารณาอนุมัติ max stock ตามสูตรอ้างอิง จึงขาดความยืดหยุ่นในกรณีที่จำเป็นต้องแก้ไขวัตถุดิบเป็นบางรายการ
          แนวทางปรับปรุงใหม่ เป็นการพิจารณาปริมาณการใช้วัตถุดิบแต่ละรายการ จึงสามารถเพิ่ม/หรือแก้ไขวัตถุดิบได้เป็นแต่ละรายการ ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

    • ปรับปรุงแนวทางการคำนวณปริมาณสต็อกสูงสุด สำหรับชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished part หรือ semi part) และสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งออก (สินค้า return) ให้มีความชัดเจน

  4. สูตรการผลิต
    • กิจการ IPO (กรณีซื้อมา-ขายไปแบบ 1:1)
      ปรับปรุงการขออนุมัติสูตรการผลิตโดยไม่ต้องระบุ model สินค้า เพื่อลดภาระการขออนุมัติสูตรการผลิต และปรับปรุงระบบตัดบัญชีให้รองรับ

  5. อื่นๆ

 ข้อมูลที่มีการอัพเดตล่าสุด

- วันนำเข้าครั้งแรก [1 ธ.ค. 65]
- การบันทึกกรรมวิธีผลิต [1 ธ.ค. 65]
- บัญชีรายการวัตถุดิบ [1 ธ.ค. 65]
- หน่วยวัตถุดิบ [1 ธ.ค. 65]
- ประเภทของสต็อกวัตถุดิบ [1 ธ.ค. 65]
- ปริมาณสต็อกสูงสุด [1 ธ.ค. 65]
- บัญชีสต็อกชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished part)
- บัญชีสต็อกสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งออก (สินค้า return)
- บัญชีสต็อกวัตถุดิบและสูตรการผลิตกิจการ IPO/ITC
- บัญชีสต็อกวัตถุดิบสำหรับบัตรปรับปรุงประสิทธิภาพ
- ..........................

 ช่องทางติดต่อสอบถาม และให้ข้อเสนอแนะ

  1. กระดานเว็บบอร์ด FAQ108
    หัวข้อ new RMTS online / ภาพรวม
  2. ช่องทางชั่วคราว ก่อนการประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการจาก BOI/IC
    สำหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเว็บบอร์ด
    อีเมล์ info@faq108.co.th

หน้าแรก | เว็บบอร์ด | อ่านกระทู้ถามตอบ


views 51,519
Total pageviews 4,488,984 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.