ปริมาณสต็อกสูงสุด
3. การปันส่วนการใช้สิทธิมาตรา 30 และ 36
โครงการที่ได้รับสิทธิทั้งมาตรา 30 และมาตรา 36 จะต้องกำหนดสัดส่วนที่ขอใช้สิทธิลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตจำหน่ายในประเทศ ตามมาตรา 30
และสัดส่วนที่จะขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตส่งออก ตามมาตรา 36 โดยสามารถขอสัดส่วนที่แตกต่างกัน ตามแต่ละผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริมได้
หากบริษัทยังไม่ประสงค์จะใช้สิทธิมาตรา 30 สามารถกำหนดสัดส่วนที่จะใช้สิทธิมาตรา 30 เป็น 0%
และกำหนดสัดส่วนที่จะใช้สิทธิมาตรา 36 เป็น 100% และสามารถเปลี่ยนแปลงสัดส่วนนี้ได้ในภายหลัง แต่จะทำให้ปริมาณสต็อกสูงสุดที่เคยได้รับอนุมัติไว้แล้วตามมาตรานั้นๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย
4. กรรมวิธีผลิต และปริมาณสต็อกสูงสุด
ตัวอย่าง : กรณีเป็นวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น สำหรับกิจการทั่วไป
ไม่รวมกิจการ IPO/ITC และกิจการ 4.14 Fabrication Industry
Product Card | MOTOR |
Product Capacity | 1,200,000 |
Product Unit | C62 |
Usage Per | 1 |
|
GRP_NO | DESC | UOM | ESS_MAT | PROCESS | Max Usage | Max Stock | Max import | BOM |
000001 | A | MTR | N | process 1 | 1.5 | 600,000 | 0 | 000001.pdf |
000003 | B | GRM | N | process 2 | 1 | 400,000 | 0 | 000003.pdf |
000004 | C | C62 | S | process 3 | 2 | 0 | 240,000 | 000004.pdf |
อธิบายความหมายของตารางตัวอย่างด้านบน ดังนี้ :
ผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม คือ Motor กำลังการผลิตปีละ 1,200,000 ชิ้น
ในการผลิต Motor จำนวน 1 ชิ้น
- ต้องใช้วัตถุดิบ group no 000001 คือ A
- หน่วยนำเข้าเป็นเมตร
- สถานะเป็นวัตถุดิบ
- ใช้ในกรรมวิธีการผลิตคือ process 1
- ปริมาณการใช้สูงสุด (ต่อ Motor 1 ชิ้นที่เป็นสินค้ารุ่นหลัก) คือ 1.5 เมตร
- จะได้รับอนุมัติ Max Stock แบบหมุนเวียน 600,000 เมตร (ระบบคำนวณให้เอง)
- รายละเอียดแสดงปริมาณการใช้สูงสุด ตามไฟล์ 000001.pdf
- และต้องใช้วัตถุดิบ group 000002 คือ B, group 000003 คือ C ตามความหมายในลักษณะเดียวกัน
|
|
ชื่อคอลัมน์ | ความหมาย | เงื่อนไข / ข้อกำหนด |
Product Card | ชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม |
- หากผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมมีหลายรายการ ให้แยกบันทึกความสัมพันธ์ของวัตถุดิบกับกรรมวิธีผลิต ของผลิตภัณฑ์แต่ละรายการ
- กรณีกิจการ IPO/ITC จะกำหนดชนิดผลิตภัณฑ์ตามแผนการจำหน่ายของบริษัท
|
Product Capacity | กำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม |
- กรณีกิจการ IPO/ITC จะกำหนดกำลังผลิตตามแผนการจำหน่ายของบริษัท
|
Product Unit | หน่วยผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม |
- สำคัญ!
หากผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ระบุกำลังผลิตและหน่วยผลิตภัณฑ์ไว้ 2 หน่วย เช่น ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนเหล็กหล่อ ปีละ 1,000,000 ชิ้น หรือประมาณ 50,000 กิโลกรัม
บริษัทสามารถเลือกหน่วยใดหน่วยหนึ่ง เพื่อใช้ขออนุมัติบัญชีสต็อกวัตถุดิบได้ แต่จะต้องใช้หน่วยเดียวกันนั้น ในการแก้ไขบัญชีสต็อกวัตถุดิบในครั้งต่อๆไป
เช่น หากเลือกใช้กำลังผลิต 50,000 กิโลกรัม ในการขออนุมัติบัญชีสต็อกวัตถุดิบ ก็จะต้องใช้หน่วยผลิตภัณฑ์เดียวกันนี้ (กิโลกรัม) ในการแก้ไขบัญชีสต็อกในครั้งต่อๆไป เว้นแต่จะมีการแก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม จนเหลือเพียงหน่วยอื่นที่ไม่ใช่กิโลกรัม
- กรณีกิจการ IPO/ITC จะกำหนดหน่วยผลิตภัณฑ์ตามแผนการจำหน่ายของบริษัท
|
PROCESS | กรรมวิธีผลิต |
- (ยังไม่กำหนดชื่อคอลัมน์นี้)
- กรรมวิธีการผลิตที่ใช้วัตถุดิบรายการนี้ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม
|
Usage Per | ปริมาณการใช้วัตถุดิบต่อผลิตภัณฑ์จำนวนเท่าใด |
- ให้ระบุเป็น 1 เท่านั้น
- ตามตารางด้านบน จะมีความหมายว่า
ในการผลิต MOTOR จำนวน 1 C62 (ชิ้น) จะใช้วัตถุดิบสูงสุดคือ
- วัตถุดิบ A จำนวน 1.5 เมตร (MTR)
- วัตถุดิบ B จำนวน 1 กรัม (GRM)
- วัตถุดิบ C จำนวน 2 ชิ้น (C62)
Max Usage | ปริมาณการใช้สูงสุด |
- (ยังไม่กำหนดชื่อคอลัมน์นี้)
- ปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงสุด ต่อ 1 หน่วยผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมที่เป็นสินค้ารุ่นหลัก
- สามารถระบุ max usage เป็น 0 ได้ โดยจะได้รับอนุมัติ max stock เป็น 0
เช่น ในกรณีที่ไม่ต้องการขอ max stock เนื่องจากจะไม่นำเข้าวัตถุดิบเอง แต่จะซื้อวัตถุดิบนั้นจากผู้ผลิตในประเทศ (BOI vendor) สามารถขออนุมัติสต็อกวัตถุดิบรายการนั้นเป็น 0 เพื่อให้ได้รับอนุมัติเฉพาะรายการวัตถุดิบ สำหรับโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ BOI vendor ได้
|
Max Stock | ปริมาณสต็อกสูงสุด แบบหมุนเวียน |
- เป็นปริมาณสต็อกสูงสุดของผลิตภัณฑ์นี้ ที่ระบบคำนวณให้
- กรณีเป็นวัตถุดิบ/หรือวัสดุจำเป็น มาตรา 36(1)
max stock = ปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงสุด ของกำลังผลิต 4 เดือนตามบัตรส่งเสริม
ดังนั้น max stock ของ group no 000001 จึงเป็น 600,000 เมตร
|
Max Import | ปริมาณสต็อกสูงสุด แบบไม่หมุนเวียน |
- แยกอธิบายไว้ในหัวข้อ บัญชีสต็อกชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป (semi-finished part) ซึ่งอยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูล
|
BOM | เอกสารแสดงปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงสุด |
- (ยังไม่กำหนดชื่อคอลัมน์นี้)
- ไฟล์เอกสารเพื่อแสดงปริมาณการใช้สูงสุด (max usage) ของวัตถุดิบรายการนั้นๆ
- หากระบุชื่อไฟล์ให้ตรงกับ GRP_NO ไม่ต้องกรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้
|
|
สรุปข้อควรทราบ ข้อควรระวัง
- กรณีได้รับส่งเสริมหลายผลิตภัณฑ์
จะต้องแสดงรายการวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต และปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงสุด แยกตามแต่ละชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม
เช่น หากบัตรส่งเสริม ระบุขนาดกิจการเป็น Car Navigator ปีละ 1,000,000 เครื่อง และ Tablet ปีละ 500,000 เครื่อง
ระบบจะแยกคำนวณปริมาณ max stock ของแต่ละผลิตภัณฑ์ก่อน จากนั้นจึงจะนำทั้งหมดมารวมเป็น max stock ของโครงการ
- การแสดงปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุดิบ ไม่ต้องอิงกับผลิตภัณฑ์หรือโมเดลเดียวกัน
เช่น หากบัตรส่งเสริม ระบุขนาดกิจการเป็น ชิ้นส่วนโลหะ เช่น X, Y เป็นต้น ปีละ 9,000,000 ชิ้น
สามารถแสดงปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุดิบ A ในการผลิตสินค้า X โมเดล 111 ซึ่งเป็นสินค้าหลัก
และแสดงปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุดิบ B ในการผลิตสินค้า Y โมเดล 222 ซึ่งเป็นสินค้าหลัก ก็ได้
โดยไม่ต้องระบุปริมาณที่คาดว่าจะผลิต ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าหลัก แต่ละชนิด/แต่ละโมเดล
- สำคัญ!
การขออนุมัติ/หรือแก้ไข max stock จะต้องแสดงปริมาณการใช้วัตถุดิบ ต่อ 1 หน่วยสินค้าตามบัตรส่งเสริมเท่านั้น
เช่น หากบริษัทได้รับส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ปีละ 1,000,000 กิโลกรัม (KGM)
แม้บริษัทจะผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นชิ้น (C62) ก็ตาม บริษัทจะต้องคำนวณปริมาณการใช้วัตถุดิบให้เป็นต่อผลิตภัณฑ์ 1 กิโลกรัม (KGM) และบันทึกปริมาณการใช้สูงสุดของวัตถุดิบต่อผลิตภัณฑ์ 1 กิโลกรัม (KGM) นั้น เพื่อขออนุมัติ/หรือแก้ไข max stock
- กรณีที่ผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม มี 2 หน่วยผลิตภัณฑ์ เช่น
มีกำลังผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ปีละ 10,000 กิโลกรัม (KGM) หรือประมาณ 200,000 ชิ้น (C62)
บริษัทสามารถเลือกหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ของหน่วยผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม คือ กิโลกรัม (KGM) หรือ ชิ้น (C62) ในการขออนุมัติ max stock ในครั้งแรกได้
แต่ในการแก้ไข max stock ในครั้งต่อๆไป บริษัทจะต้องใช้หน่วยผลิตภัณฑ์หน่วยเดียวกับที่เคยเลือกใช้ในครั้งแรกเท่านั้น
|