Home | สาระน่ารู้

มาตรการส่งเสริมการลงทุนระยะสั้น (ปี 2559-2560)

11 มีนาคม 2559
ที่มา: แผ่นพับ BOI เรื่องมาตรการระยะสั้น

ปี 2559 เป็นปีที่รัฐบาลมีนโยบายหลายด้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายระยะสั้นเพื่อเร่งรัดให้เกิดการลงทุนจริงภายในปี 2560 โดยมีระยะเวลาสิ้นสุดแตกต่างกันตามเงื่อนไขของแต่ละมาตรการ คือภายในเดือนมิถุนายน 2559 เดือนธันวาคม 2559 และ เดือนธันวาคม 2560 ตามลำดับ (รายละเอียดตามตารางด้านใน)

สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน
(พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนปี 2520 แก้ไขเพิ่มเติมปี 2534 และ 2544)
การส่งเสริมการลงทุนในประเทศเป็นมาตรการการให้สิทธิและประโยชน์ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 8 ปี
  • ลดหย่อนภาษีเงินได้ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี (เฉพาะบางกรณี)
  • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
  • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับผลิตเพื่อการส่งออก
  • ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ (ไม่เกินร้อยละ 90)
 
สิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี
  • อนุญาตต่างชาติถือหุ้นร้อยละ 100 (ยกเว้นกิจการ ตามบัญชีหนึ่ง ท้ายพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
  • อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • อนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงาน

การให้สิทธิประโยชน์ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี
(ประกาศ กกท. ที่ 2/2557 วันที่ 3 ธ.ค. 2557)

สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ
(Activity-based Incentives)
กำหนดสิทธิประโยชน์ตามลำดับความสำคัญของประเภทกิจการ
สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม
  1. สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ
    (Merit-based Incentives)
    เช่น R&D การฝึกอบรมเทคโนโลยีชั้นสูง การพัฒนา Local Supplier การออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
  2. สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเชิงพื้นที่
    -เขต 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวตำ
    -นิคม/เขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริม (ยกเว้นกิจการในกลุ่ม B)
    -เขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลยกเว้นอากรเครื่องจักรยกเว้นอากรวัตถุดิบ
ผลิตเพื่อส่งออก
สิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี
A18 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน) + MeritOOO
A28 ปี + MeritOOO
A35 ปี + MeritOOO
A43 ปี + MeritOOO
B1ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
แต่ได้รับ Merit (บางกิจการ)
OOO
B2---O

มาตรการส่งเสริมการลงทุนระยะสั้น

1 มาตรการเร่งรัดการลงทุน (ประกาศ กกท. ที่ 11/2558 วันที่ 15 ธันวาคม 2558) : ระยะเวลาสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2559 ประกอบด้วยการลงทุน 4 กรณีดังนี้ สิทธิประโยชน์ เงื่อนไข
1.1 ลงทุนจริง นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 จนถึง 30 มิถุนายน 2559 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเงินลงทุน ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มเติม 4 ปี + ลดหย่อนร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี
  • สำหรับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557-30 มิถุนายน 2559 และต้องไม่มีรายได้ก่อนวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558
    *การลงทุนจริง เช่น สร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรเฉพาะด้าน (เฉพาะกิจการฐานความรู้) ที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ (16 พฤศจิกายน 2558) จนถึงระยะเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไข ไม่น้อยกว่าสัดส่วนที่กำหนด
  • ระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี
1.2 ลงทุนจริง นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 จนถึง 30 มิถุนายน 2559 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเงินลงทุน ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มเติม 3 ปี + ลดหย่อนร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี
1.3 ลงทุนจริง นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 จนถึง 31 ธันวาคม 2559 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเงินลงทุน ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มเติม 2 ปี + ลดหย่อนร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี
1.4 ลงทุนจริง นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 จนถึง 31 ธันวาคม 2559 ไม่ถึงร้อยละ 50 ของเงินลงทุน แต่สามารถเริ่มผลิต/บริการ และมีรายได้ภายใน 31 ธันวาคม 2560 ทั้งนี้ ต้องไม่มีรายได้ก่อนวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ (16 พฤศจิกายน 2558)

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มเติม 1 ปี สำหรับพื้นที่ทั่วไป /เพิ่มเติม 2 ปี สำหรับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

2 นโยบายส่งเสริมคลัสเตอร์ (ประกาศ กกท. ที่ 10/2558 วันที่ 27 ตุลาคม 2558*) : ระยะเวลาสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร: ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเพื่อการส่งออก
มาตรการกระทรวงการคลัง:
  • กิจการเพื่ออนาคตที่มีความสำคัญสูง ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10-15 ปี
  • ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับนานาชาติทั้งคนไทยและต่างชาติ
  • ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในสิ้นปี 2559 และต้องมีรายได้ครั้งแรกภายใน สิ้นปี 2560
  • ต้องมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หรือศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ที่อยู่ในคลัสเตอร์ เพื่อพัฒนาบุคลากรและยกระดับเทคโนโลยี เช่น ความร่วมมือในโครงการ Talent Mobility, Work- intergrated Learning สหกิจศึกษา ทวิภาคี หรือความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลากรหรือเทคโนโลยี ตามที่ได้รับความเห็นชอบ
2.1 Super Cluster ได้แก่ คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คลัสเตอร์ดิจิทัล Food Innopolis คลัสเตอร์ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ คลัสเตอร์อากาศยาน และคลัสเตอร์สุขภาพ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 8 ปี และลดหย่อนร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งสถานประกอบการอยู่ใน 9 จังหวัด (ขึ้นกับประเภทอุตสาหกรรม) ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครราชสีมา เชียงใหม่ ภูเก็ต
2.2 คลัสเตอร์เป้าหมายอื่น ได้แก่ คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป คลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3-8 ปี (ตามประเภทกิจการ) เพิ่มเติมลดหย่อนร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ป ตั้งสถานประกอบการอยู่ใน 19 จังหวัด (ขึ้นกับประเภทอุตสาหกรรม) ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา
2.3 กิจการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ ได้แก่ กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน กิจการขนส่งมวลชนและสินค้าขนาดใหญ่ กิจการบริการศูนย์บริการโลจิสติกส์ กิจการวิจัยและพัฒนา กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ กิจการบริการออกแบบทางวิศวกรรม กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน กิจการสถานฝึกฝนวิชาชีพ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3-8 ปี (ตามประเภทกิจการ) เพิ่มเติมลดหย่อนร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งสถานประกอบการอยู่ใน 28 จังหวัด ในพื้นที่คลัสเตอร์
3 นโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (ประกาศ กกท. ที่ 4/2557 วันที่ 18 ธันวาคม 2557*) : ระยะเวลาสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 (ยกเว้นกิจการในข้อ 3.3 มีระยะเวลาสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2559) สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร: ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการส่งออก
  • หักค่าขนส่งไฟฟ้า ประปา 2 เท่า เป็นระยะเวลา 10 ปี
  • หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุนนอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมตามปกติ
สิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษีอากรเพิ่มเติม: อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ
มาตรการสนับสนุนอื่นๆ:
  • ลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เป็นเวลา 10 ปี
  • อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาทำงานแบบไป–กลับ หรือไม่เกิน 7 วัน
  • ให้ยื่นคำขอภายใน 31 ธันวาคม 2560
  • ตั้งสถานประกอบการอยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด 23 อำเภอ 90 ตำบล ได้แก่ ตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร สงขลา หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม กาญจนบุรี
หากเป็นกิจการ SMEs ไทย จะได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไขดังนี้
  • เงินลงทุนขั้นตำไม่น้อยกว่า 500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
  • อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมได้มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท
3.1 กิจการเป้าหมาย 13 กลุ่มอุตสาหกรรม (ดูรายละเอัยดเพิ่มเติมในคู่มือส่งเสริมการลงทุน) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 8 ปี (จำกัดวงเงินไม่เกินร้อยละ 100) และลดหย่อนร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี
3.2 กิจการทั่วไป ตามบัญชีประเภทกิจการ (ดูรายละเอัยดเพิ่มเติมในคู่มือส่งเสริมการลงทุน) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ 3 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี หากเป็นกิจการในกลุ่ม A1 หรือ A2 ให้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เพิ่มเป็นระยะเวลา 5 ปี
3.3 6 ประเภทกิจการเพิ่มเติม (ประกาศ กกท. ที่ ส. 2/2558 วันที่ 15 ธันวาคม 2558) นอกเหนือจากกิจการทั่วไป ได้แก่
  • กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์
  • กิจการผลิตวัสดุก่อสร้างและกิจการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงสำหรับงานสาธารณูปโภค (ยกเว้นการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาเซรามิกส์และการผลิตกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง)
  • กิจการผลิตสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกาย เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน (ยกเว้นเครื่องสำอาง)
  • กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับสินค้าอุปโภค เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก
  • กิจการผลิตสิ่งของจากเยื่อ หรือกระดาษ เช่น กล่องกระดาษ
  • กิจการพัฒนาอาคารสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม/หรือคลังสินค้า
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 8 ปี (จำกัดวงเงินไม่เกินร้อยละ 100) ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายใน 30 มิถุนายน 2559
4 มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ประกาศ กกท. ที่ 3/2557 18 ธันวาคม 2557*): ระยะเวลาสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน) + ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี
  • อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ
  • ให้ยื่นคำขอภายใน 31 ธันวาคม 2560
  • ตั้งสถานประกอบการอยู่ในจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ จะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย
4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ + 4 อำเภอของสงขลา
5 นโยบายส่งเสริม SMEs ไทย (ประกาศ กกท. ที่ 5/2557 วันที่ 18 ธันวาคม 2557) : ระยะเวลาสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 2 ปี ตามประเภทกิจการจากเกณฑ์ปกติ
  • ผ่อนปรนเงื่อนไขเงินลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
  • อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมได้มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท และต้องลงทุนใหม่ในเครื่องจักรหลักไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการ
  • ให้ยื่นคำขอภายใน 31 ธันวาคม 2560
  • มีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
  • เมื่อรวมกิจการทั้งหมดทั้งที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมแล้ว ต้องมีสินทรัพย์ถาวรสุทธิหรือเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่เกิน 200 ล้านบาท
38 ประเภทกิจการ
6 มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต (ประกาศ กกท. ที่ 1/2557 วันที่ 16 กันยายน 2557) : ระยะเวลาสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี สัดส่วนร้อยละ 50 ของวงเงินลงทุนในการปรับปรุง (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
  • ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม
  • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
  • ให้ยื่นคำขอภายใน 31 ธันวาคม 2560
  • ใช้สำหรับโครงการที่หมดสิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว หรือโครงการที่ไม่เคยได้รับการส่งเสริมการลงทุน
  • เป็นกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมในปัจจุบัน และอยู่ในข่ายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ยกเว้น SMEs ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 แสนบาท
  • ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
6.1ปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน หรือลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
6.2ปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
6.3ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ


views 11,541
Total pageviews 4,415,071 since Jan 2014

FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน
เว็บไซต์ | เฟสบุ๊ค | เว็บบอร์ด | ติดต่อเรา
Copyright © FAQ 108 COMPANY LIMITED. All rights reserved.