Home | สาระน่ารู้
วิธีปฎิบัติเกี่ยวกับส่วนสูญเสีย ตามมาตรา 36
วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยการยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 จะต้องใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรนั้น อาจไม่ได้ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกทั้งหมด เช่น วัตถุดิบที่นำเข้าอาจไม่ได้คุณภาพ จึงไม่ได้นำไปผลิตเป็นสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นอาจไม่ได้มาตรฐานจึงไม่สามารถส่งออกได้ เป็นต้น
ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนสูญเสียของวัตถุดิบ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการใช้สิทธิประโยชน์ และการเรียกเก็บภาษีอากร
ประเภทของส่วนสูญเสีย
BOI ได้กำหนดนิยามของส่วนสูญเสียไว้ 3 ประเภท ตามประกาศสำนักงานที่ ป.5/2543 ดังนี้
-
- วัตถุดิบก่อนจะใช้ หรือที่เหลือจากการผลิต ที่มีตำหนิ ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้
เช่น วัตถุดิบที่เสียหายจากการขนส่ง วัตถุดิบที่เสื่อมสภาพหลังจากการเก็บไว้นานๆ วัตถุดิบที่นำเข้ามาแต่ผิด Spec หรือวัตถุดิบที่นำเข้ามาเกินกว่าที่จะใช้ในการผลิต เป็นต้น
- เศษวัตถุดิบ หรือของที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
เช่น เศษโลหะจากการปั๊มขึ้นรูป หรือชิ้นส่วนที่เกิดการเสียหายในขั้นตอนการผลิต เป็นต้น
- ผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ หรือของที่ผลิตมาจากวัตถุดิบดังกล่าว ที่มีตำหนิ ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมได้
เช่น ผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นมาแล้ว แต่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างประเทศ และนำหลักฐาน เช่น ใบขนสินค้าขาออก มาตัดบัญชีวัตถุดิบ BOI จะคำนวณปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิตสินค้าจากสูตรการผลิต เพื่อตัดบัญชีวัตถุดิบที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเข้ามาจากต่างประเทศ
ในกรณีที่มีเศษวัตถุดิบที่เกิดจากกระบวนการผลิต ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอให้บริษัทผู้ได้รับอนุญาตจาก BOI ให้ทำการตรวจสอบรับรองส่วนสูญเสียดังกล่าว และนำปริมาณที่ผ่านการรับรองมาตัดยอดวัตถุดิบได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ในการผลิตสินค้าบางชนิด ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถคำนวณอัตราการเกิดเศษวัตถุดิบจากการผลิตสินค้าได้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน ดังนั้น เพื่อลดขั้นตอนในการตรวจสอบปริมาณส่วนสูญเสียดังกล่าว และเพื่อให้ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถตัดบัญชีเศษวัตถุดิบไปพร้อมกับการตัดบัญชีผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้สามารถนำวัตถุดิบใน Lot ต่อๆ ไปเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง BOI จึงได้กำหนดแนวทางการอนุมัติส่วนสูญเสียในสูตรการผลิตและนอกสูตรการผลิต ดังนี้
-
- ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
หมายถึงส่วนสูญเสียที่สามารถพิสูจน์ทางทฤษฎีได้ว่าเกิดจากกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม และมีปริมาณที่แน่นอนที่ยอมให้รวมอยู่ในสูตรการผลิตได้
เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมนำหลักฐานการส่งออกสินค้ามาตัดบัญชีวัตถุดิบ BOI จะตัดยอดส่วนสูญเสียในสูตรการผลิตนี้ให้ไปพร้อมกัน ดังนั้น ผู้ได้รับส่งเสริมจึงไม่ต้องเก็บเศษวัตถุดิบในส่วนนี้ไว้รอการตรวจสอบจาก BOI อีก
แต่หากส่วนสูญเสียนี้มีมูลค่าตามสภาพเศษซาก เช่น เศษโลหะ หรือเศษพลาสติก ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องชำระอากรวัตถุดิบตามสภาพเศษซากก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายหรือเคลื่อนย้ายออกจากโรงงานได้
- ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
หมายถึง ส่วนสูญเสียที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดขึ้นมากน้อยเท่าใด ดังนั้น ผู้ได้รับส่งเสริมจึงต้องเก็บรักษาส่วนสูญเสียเหล่านี้ไว้ เพื่อรอการพิสูจน์จาก BOI หรือบริษัทที่ได้อนุญาตให้ตรวจสอบส่วนสูญเสียจาก BOI ก่อน จึงจะสามารถนำปริมาณตามผลการตรวจสอบดังกล่าว มาตัดยอดวัตถุดิบได้
ขั้นตอนดำเนินการเกี่ยวกับส่วนสูญเสีย
ขั้นตอนดำเนินการ | ประเภทของส่วนสูญเสีย |
ในสูตรการผลิต | นอกสูตรการผลิต |
|
แยกเก็บรักษาไว้เพื่อรอการตัดบัญชีวัตถุดิบ |
|
1.1 | แยกเก็บรักษาไว้เพื่อรอการตรวจสอบ |
1.2 | ติดต่อบริษัทผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบส่วนสูญเสีย เพื่อให้ตรวจสอบรายละเอียดของส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้น |
|
2. | เมื่อนำหลักฐานส่งออกมาตัดบัญชี |
|
2.1 | จะตัดบัญชีส่วนสูญเสีย ให้พร้อมกับการตัดบัญชีวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ |
2.2 | ส่วนสูญเสียที่ไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ สามารถเคลื่อนย้ายจากโรงงานหรือทำลายทิ้งได้ |
2.3 | ส่วนสูญเสียที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์จะต้องเก็บรักษาไว้ก่อน จนกว่าจะชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซาก |
|
-
|
3. | เมื่อนำหลักฐานจากผู้ตรวจสอบมาปรับยอดวัตถุดิบ |
|
-
|
3.1 | จะตัดบัญชีวัตถุดิบ (ปรับยอด) ตามปริมาณส่วนสูญเสียที่ได้รับการตรวจสอบรับรองจากบริษัทผู้ได้รับอนุญาตจาก BOI ให้เป็นผู้ตรวจสอบส่วนสูญเสีย |
3.2 | ส่วนสูญเสียที่ไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ สามารถเคลื่อนย้ายจากโรงงานหรือทำลายทิ้งได้ |
3.3 | ส่วนสูญเสียที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์จะต้องเก็บรักษาไว้ก่อน จนกว่าจะชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซาก |
|
4. | เมื่อมีการชำระภาษีตามสภาพเศษซาก |
|
สามารถเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายเศษซากวัตถุดิบที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้
|
สามารถเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายเศษซากวัตถุดิบที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้
|
วิธีการจัดการกับส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
"ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต" นอกจากจะหมายถึง เศษวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าแล้ว ยังหมายถึง วัตถุดิบที่เหลือเกินความต้องการ วัตถุดิบที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ วัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ วัตถุดิบที่ชำรุดเสียหายระหว่างการผลิต เศษวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิต ตลอดจนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จแล้วแต่ไม่ได้คุณภาพอีกด้วย
ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิตนี้ นอกจากจะขอให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ทำการตรวจสอบ เพื่อนำหลักฐานมาตัดบัญชี (ปรับยอด) ได้แล้ว ยังสามารถตัดบัญชีด้วยวิธีการอื่นๆ ได้อีก โดยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้
- ขอส่งออกไปต่างประเทศ
-
| 1.1 | ต้องยื่นขออนุญาตก่อนการส่งส่วนสูญเสียออกไปต่างประเทศ |
| 1.2 | กรณีที่ส่วนสูญเสียไม่อยู่ในรูปของวัตถุดิบที่นำเข้า และไม่สามารถตรวจสอบปริมาณจากใบขนขาออกได้โดยตรง จะต้องให้บริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI ให้ตรวจสอบก่อนการส่งออก |
| 1.3 | เมื่อส่งส่วนสูญเสียไปต่างประเทศแล้ว ให้ยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสีย
|
| 1.4 | เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ยื่นเรื่องที่สมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) เพื่อปรับยอดวัตถุดิบต่อไป
|
- ขออนุมัติทำลาย
-
| 2.1 | ยื่นขออนุมัติวิธีทำลายส่วนสูญเสีย แต่หากในครั้งต่อๆ ไป หากจะทำลายส่วนสูญเสียชนิดเดิม ด้วยวิธีการเดิมที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว ก็ไม่ต้องยื่นขออนุมัติวิธีทำลายอีก
|
| 2.2 | การทำลาย จะต้องทำให้ส่วนสูญเสียอยู่ในสภาพเศษซากจนไม่เหลือสภาพเดิม และเศษซากจากการทำลายจะต้องมีวิธีกำจัดที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
|
| 2.3 | ติดต่อบริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI เพื่อให้ตรวจสอบรับรองขั้นตอนการทำลายให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติ และตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณเศษซากที่เกิดจากการทำลาย
|
| 2.4 | ยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสีย |
| 2.5 | กรณีที่เศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ BOI จะออกหนังสือเรียกเก็บภาษีอากรตามสภาพเศษซาก |
| 2.6 | ยื่นเรื่องต่อสมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) เพื่อขอปรับยอดวัตถุดิบ โดยแนบหลักฐานการชำระภาษี (เฉพาะกรณีที่มีเงื่อนไขให้ชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซากก่อน) |
- ขอบริจาค
-
| 3.1 | จะต้องยื่นขออนุมัติจาก BOI ก่อนที่จะทำการบริจาค |
| 3.2 | จะต้องบริจาคให้กับหน่วยงานราชการของรัฐบาล หรือองค์การสาธารณกุศลที่ BOI ให้ความเห็นชอบเท่านั้น โดยหน่วยงานที่จะรับบริจาคจะต้องนำส่วนสูญเสียดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานนั้นได้โดยตรง |
| 3.3 | จะต้องนำหนังสือรับรองของผู้รับบริจาค (ต้นฉบับ) ซึ่งแสดงชนิดและปริมาณส่วนสูญเสียที่รับบริจาคมายื่นขอตัดบัญชีต่อ BOI |
| 3.4 | ยื่นขอปรับยอดวัตถุดิบที่สมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) |
การชำระภาษีตามสภาพเศษซาก
เศษซากวัตถุดิบที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ หมายถึง เศษซากที่สามารถจำหน่าย จ่าย หรือโอนให้กับผู้อื่นได้ ซึ่งเศษซากวัตถุดิบซึ่งมีมูลค่าเชิงพาณิชย์เหล่านี้ จะต้องชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซากก่อน จึงจะสามารถจำหน่าย จ่าย หรือโอนได้ เว้นแต่ในกรณีที่ส่งเศษซากนั้นไปต่างประเทศ จึงจะไม่มีภาระภาษีอากร
ตัวอย่างการชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซาก
บริษัทต้องการชำระภาษีอากรสำหรับเศษเหล็กในสูตรการผลิต จำนวน 20 ตัน ราคาประเมิน ตันละ 11,000 บาท พิกัดภาษีเศษเหล็ก = 1%
-
- | ราคาประเมิน | = 20 x 11,000 | = 220,000 บาท |
- | อากรขาเข้า | = 220,000 x 1% | = 2,200 บาท |
- | ภาษีมูลค่าเพิ่ม | = (ราคาสินค้า + อากร) x 7% = (220,000 + 2,200) x 7% | = 15,554 บาท |
|