Home | สาระน่ารู้
6 ตุลาคม 2558
นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์
คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 22 กันยายน 2558 เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ ดังนี้
- เห็นชอบนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป
- มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ให้เป็นรูปธรรม และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานการพัฒนาในแต่ละคลัสเตอร์
สาระสำคัญ
- นายกรัฐมนตรีได้มอบแนวทางการดำเนินนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนสำหรับธุรกิจที่ใช้แรงงานจำนวนมาก ธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นบริเวณชายแดนหรือประเทศเพื่อนบ้าน และธุรกิจด้านโลจิสติกส์ และ
- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ ซึ่งจะอยู่บริเวณพื้นที่ตอนใน สำหรับธุรกิจที่ไม่เหมาะสมกับชายแดน เช่น กิจการวิจัยและพัฒนา กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและใช้แรงงานน้อย
และคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำข้อเสนอนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ โดยเน้นคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพและมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
- การพัฒนาคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพในระยะแรก ประกอบด้วย
- | คลัสเตอร์สิ่งทอ |
- | คลัสเตอร์ไอที |
- | คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน |
- | คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
- | คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ |
- | คลัสเตอร์แปรรูปอาหาร |
- | คลัสเตอร์แปรรูปยางพารา (ไม่รวมไม้ยาง) |
- วัตถุประสงค์ของการพัฒนาคลัสเตอร์ มีดังนี้
- เพื่อสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) และนำไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
- เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการลงทุนของประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนที่มีคุณค่า ทั้งจากนักลงทุนรายเดิมและรายใหม่
- เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs
- การกำหนดคลัสเตอร์เป้าหมายในระยะแรก ได้แก่
- Super Cluster เป็นคลัสเตอร์สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น
- คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน
- คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม
- คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- คลัสเตอร์ดิจิทัล
- คลัสเตอร์เป้าหมายอื่น ๆ ได้แก่
- คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป
- คลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- กิจการเป้าหมายที่จะส่งเสริมเป็นพิเศษในแต่ละคลัสเตอร์ ประกอบด้วย 2 กลุ่มที่สำคัญ ดังนี้
- โครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคลัสเตอร์ ได้แก่ กิจการฐานความรู้ และกิจการโลจิสติกส์
- กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตที่มีความสำคัญสูง ได้แก่ กิจการต้นน้ำที่สำคัญของแต่ละคลัสเตอร์ อุตสาหกรรมสนับสนุนที่จะส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
- สิทธิประโยชน์สำหรับคลัสเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- สิทธิประโยชน์สำหรับ Super Cluster
-
Super Cluster | สิทธิประโยชน์ |
คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน |
- | ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และลดหย่อนร้อยละ 50 เพิ่มเติมอีก 5 ปี |
- | สำหรับกิจการเพื่ออนาคตที่มีความสำคัญสูง กระทรวงการคลังจะพิจารณายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 10 – 15 ปี |
- | ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร |
- | ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับนานาชาติที่ทำงานในพื้นที่ที่กำหนด ทั้งคนไทยและต่างชาติ |
- | จะพิจารณาให้ถิ่นที่อยู่ถาวร (Permanent Residence) สำหรับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับนานาชาติ |
- | อนุญาตให้ต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้ |
|
คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม |
คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
คลัสเตอร์ดิจิทัล |
- สิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มคลัสเตอร์อื่นๆ
-
กลุ่มคลัสเตอร์อื่นๆ | สิทธิประโยชน์ |
คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป |
- | ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 – 8 ปี และลดหย่อนร้อยละ 50 เพิ่มเติมอีก 5 ปี |
- | ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร |
- | จะพิจารณาให้ถิ่นที่อยู่ถาวร (Permanent Residence) สำหรับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับนานาชาติ |
- | อนุญาตให้ต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้ |
|
คลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม |
- สิทธิประโยชน์สำหรับกิจการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์
-
กิจการฐานความรู้ | สิทธิประโยชน์ |
กิจการวิจัยและพัฒนา |
- | ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน) และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เพิ่มเติมอีก 5 ปี |
|
กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ |
กิจการออกแบบทางวิศวกรรม |
กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ |
กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน |
กิจการสถานฝึกฝนวิชาชีพ |
กิจการโลจิสติกส์ | สิทธิประโยชน์ |
กิจการสนามบินพาณิชย์ |
- | ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 - 8 ปี และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เพิ่มเติมอีก 5 ปี |
|
กิจการขนส่งทางราง |
กิจการขนถ่ายสินค้าสำหรับเรือบรรทุกสินค้า |
กิจการ Inland Container Depot (ICD) |
กิจการ International Distribution Center (IDC) |
เงื่อนไขสำหรับคลัสเตอร์
-
กำหนดเงื่อนไขทั้ง 3 กลุ่ม ดังนี้
- จะต้องร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หรือ Center of Excellence ที่มีอยู่ในคลัสเตอร์
- ต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในสิ้นปี 2559 และต้องเริ่มดำเนินการภายในสิ้นปี 2560
ที่มา : มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 กันยายน 2558
www.thaigov.go.th
(เพิ่มเติม) เงื่อนไขที่ตั้งสำหรับคลัสเตอร์
-
กำหนดเงื่อนไขที่ตั้งของคลัสเตอร์ ดังนี้
-
กลุ่มคลัสเตอร์ | เงื่อนไขที่ตั้ง |
Super Cluster |
คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน | พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครราชสีมา |
คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม |
คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | ชลบุรี ระยอง |
คลัสเตอร์ดิจิทัล | เชียงใหม่ ภูเก็ต |
กลุ่มคลัสเตอร์อื่นๆ |
คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป | กลุ่มที่ 1: เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา |
กลุ่มที่ 2: กาญจนบุรี ระยอง สงขลา |
คลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม | กลุ่มที่ 1: กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว |
กลุ่มที่ 2: กรุงเทพมหานคร |
กิจการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ |
กิจการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ | พื้นที่เดียวกับเงื่อนไขของคลัสเตอร์นั้นๆ |
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และสิทธิประโยชน์
-
รายละเอียดตาม ประกาศณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 10/2558 เรื่อง นโยบายส่งสริมการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์
|