GUEST โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2564, 11:27:27 (129 สัปดาห์ ก่อน)
Top

ตามประกาศข้อที่ 2.2 โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอยู่เดิม...
กินความหมายเฉพาะโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือความหมายเชิงกว้างโครงการต่างๆ ที่ได้รับการส่งเสริมอยู่ครับ

บริษัท ควอ......

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2564, 11:36:55 (129 สัปดาห์ ก่อน)
#1 Top

มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ตาม ประกาศ กกท ที่ 1/2564 ข้อ 2.2

โครงการที่ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม หมายถึง โครงการที่ทั้งหมดที่ยังได้รับส่งเสริมอยู่ (บัตรส่งเสริมเดิมยังไม่ถูกยกเลิก) แต่การจะเข้าข่ายเงื่อนไขตามที่กำหนดในประกาศ คือ ต้องสิ้นสุดสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว หรือไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมโครงการที่ไม่รับสิทธิยกเว้นภาษีจากประกาศอื่นที่กำหนดไว้ ครับ

tuboi โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565, 17:12:09 (109 สัปดาห์ ก่อน)
#2 Top

บริษัทฯ ต้องการติดตั้งระบบ Evaporative Biokool K30T ไม่ทราบว่าสามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน ตามประกาศที่ 9/2560 ได้หรือไม่คะ

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมตามบัตรเลขที่ ****(2)/2550 ลว.** **** 2550 ใบอนุญาตเปิดดำเนินการ ที่ ***/สบท.**/2556 ลงวันที่ ** **** 2556 ค่ะ ไม่เคยใช้สิทธิ์ภาษีเงินได้นิติบุคคล 

 

แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565, 17:54:27
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565, 17:53:34 (109 สัปดาห์ ก่อน)
#3 Top

ระบบที่กล่าวถึงทำหน้าที่อะไร จะช่วยในการประหยัดพลังงานที่ใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมหรือไม่

หากช่วยในการประหยัดพลังงาน ตามเงื่อนไขข้อ 2.5 ของประกาศ กกท ที่ 1/2564 และมีเงื่อนไขอื่นเป็นไปตามเกณฑ์ ก็สามารถยื่นขอรับการส่งเสริม ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตได้


แอดมินขอลบเลขที่บัตรส่งเสริมและหนังสือเปิดดำเนินการของบริษัทออก เนื่องจากเป็นการถามตอบแบบสาธารณะ ที่ไม่เจาะจงผู้ที่สอบถาม ครับ

tuboi โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565, 11:54:12 (109 สัปดาห์ ก่อน)
#4 Top

ขอบคุณ Admid ค่ะ  

ขออธิบายเพิ่มเติมค่ะ ปัจจุบันบริษัทฯ ติดตั้งพัดลมอุตสาหกรรมในพื้นการทำงาน แล้วจะเปลี่ยนมาติดตั้งเป็นระบบ Evap ค่ะ ซึ่งระบบพัดลมอีแวป (EVAPORATIVE COOLING) จะสร้างลมเย็น ลดความร้อน EVAPORATIVE เพื่อให้พื้นที่การทำงานเย็นขึ้นโดย EVAP จะช่วยในการลดอุณหภูมิของพื้นที่การทำงานให้อยุ่ในระดับที่รู้สึกสบายมากขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการผลิตและสุขภาพของพนักงาน ระบบ EVAP เป็นการนำประโยชน์ของหลักการแลกเปลี่ยนความความร้อนอาศัยหลักการระเหยน้ำผ่านสื่อการระเหยน้ำ (แผ่นคูลลิ่งแพด CeLPad) ที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่ออากาศร้อนผ่านสื่อ แผ่นคูลลิ่งแพด CeLPad มีอุณหภูมิต่ำลง เมื่อผสมพสานกับการออกแบบการไหลเวียนของอากาศให้เหมาะสมกับพื้นที่ จะทำให้ได้อากาศบริสุทธิ์ที่มีความเย็นสบาย นำมาสร้างลมเย็นซึ่งใช้พลังงานเพียง 10% เมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบปรับอากาศทั่วไป  และเมื่อเปลี่ยนจากการใช้พัดลมอุตสาหกรรมมาใช้ระบบ Evap นี้ จะทำให้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 

หลังจากที่ทำการติดตั้งระบบ Evap เสร็จ มีแผนจะดำเนินติดตั้งแผงโซล่า หากไม่ลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเอง มีผู้ลงทุนติดตั้งให้แล้วทางบริษัทฯ ซื้อไฟกับผู้ลงทุนอีกทีค่ะ

ไม่ทราบว่าจะสามารถขอรับการส่งเสริม ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 1/2564 ได้หรือไม่คะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565, 13:02:27 (109 สัปดาห์ ก่อน)
#5 Top

1. การติดตั้งพัดลม Evap Cooling เพื่อลดพลังงานในการสร้างความเย็นในโรงงาน จัดอยู่ในข่ายการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน ตามประกาศ กกท ที่ 1/2564

2. หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการพิจารณา กำหนดไว้ใน คำชี้แจงของ สกท ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 โดยมีเงื่อนไขคือ มูลค่าของพลังงานที่ประหยัดได้ในช่วงเวลา 5 ปี ต้องไม่น้อยกว่ามูลค่าของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้น

3. ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทยื่นคำขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมีมูลค่าการลงทุนพัดลม Evap Cooling รวม 10 ล้านบาท

หากได้รับส่งเสริม จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุน คือ 5 ล้านบาท

ดังนั้น เงื่อนไขที่จะใช้กำหนดตัวชี้วัด คือ ค่าพลังงานที่ประหยัดได้ในช่วงเวลา 5 ปี จะต้องไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท

4. การติดตั้งแผงโซลาร์ ถือเป็นการประหยัดพลังงาน ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพเช่นกัน

5. กรณีที่ติดตั้งพัดลม Evap Cooling พร้อมกับแผงโซลาร์ สามารถนำมูลการลงทุนทั้ง 2 ส่วน มารวมยื่นขอรับส่งเสริมได้

6. แต่หากแยกติดตั้งพัดลม Evap Cooling ก่อน แล้วจึงติดตั้งแผงโซลาร์ภายหลัง จะต้องรอให้การยกเว้นภาษีเงินได้จากการติดตั้งพัดลม Evap Cooling สิ้นสุดไปก่อน จึงจะขอยื่นขอรับส่งเสริมเพื่อลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์ได้ 

7. การให้บริษัทอื่นเป็นผู้ลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับโรงงานของผู้ได้รับส่งเสริม ไม่สามารถยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพได้ เนื่องจากไม่ใช่การลงทุนของผู้ได้รับส่งเสริมรายนั้น ครับ

tuboi โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 26 เมษายน 2565, 17:11:26 (100 สัปดาห์ ก่อน)
#6 Top

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

บริษัทฯ ลงทุนเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 6 ล้านบาท ภาษีที่จะได้รับการยกเว้นเงินได้นิติบุคคลสัดส่วน 50% ของเงินลงทุนคือ 3 ล้านบาท รบสอบถาม

หากบริษัทฯ ได้รับอนุมัติบัตรส่งเสริมลงวันที่ 15/06/2565 

1. ระยะเวลาในการคำนวณมูลค่าพลังงานที่ประหยัดได้ 5 ปี คำนวณอย่างไร มีวิธีการคำนวณไหมคะ

2. ระยะเวลาในการคำนวณมูลค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้นตามระยะเวลาที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 ปี คำนวณอย่างไร มีวิธีการคำนวณไหมคะ

3. หากบริษัทไม่สามารถลดการใช้พลังงานได้ตามเงื่อนไขจะเป็นอย่างไรคะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565, 10:00:57 (100 สัปดาห์ ก่อน)
#7 Top

ตอบคำถามดังนี้

1. ระยะเวลาในการคำนวณมูลค่าประหยัดพลังงาน
- ใช้ปีก่อนปีที่ยื่นคำขอ เป็นปีฐาน
- นับปีที่ยื่นคำขอ เป็นปีที่ 1 และนับต่อไปทีละปี ถึงปีที่ 5

2. ระยะเวลาในการใช้สิทธิยกเว้นภาษี
- นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม ไปเป็นเวลา 3 ปี 
- (ขอแก้ไขเป็น) นับจากวันมีรายได้ภายหลังออกบัตรส่งเสริม ไปเป็นเวลา 3 ปี

3. หากบริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไขไม่ได้
- ตามความเข้าใจคือ จะถูกเพิกถอนสิทธิที่ได้รับจากมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
- แต่กิจการยังคงดำเนินการต่อไปได้ และยังคงมีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริมได้ (เท่าเทียมกับสถานะเดิมก่อนยื่นคำขอรับส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพ) เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม แต่ควรตรวจสอบกับ BOI โดยตรงด้วยครับ

แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565, 15:12:43
tuboi โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565, 14:56:19 (100 สัปดาห์ ก่อน)
#8 Top

ขอบคุณค่ะ 

ระยะเวลาในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีนับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม ไปเป็นระยะเวลา 3 ปี จากเงินลงทุนในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 6 ล้านบาท ภาษีที่จะได้รับการยกเว้นเงินได้นิติบุคคลสัดส่วน 50% คือ 3 ล้านบาท รบกวนสอบถามค่ะ

1. ระยะเวลาในการคำนวณมูลค่าพลังงานที่ลดได้ 5 ปี คือ ทุกปีจะต้องลดการใช้พลังให้ได้ 3 ล้านบาท หรือ ภายในระยะเวลา 5 ปีรวมกันได้ 3 ล้านบาท คะ

 

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565, 15:22:47 (100 สัปดาห์ ก่อน)
#9 Top

มูลค่าพลังงานที่ประหยัดได้ ให้คำนวณเป็นเวลาระยะเวลา 5 ปี ไม่ใช่มูลค่าที่ประหยัดได้ในแต่ละปี


ขอสรุปตัวอย่างอีกครั้งหนึ่งคือ

1. บริษัทจะลงทุนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงาน มูลค่าเครื่องจักรรวม 6 ล้านบาท

2. จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 3 ปี รวมไม่เกิน 3 ล้านบาท (= 50% ของมูลค่าเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงาน)

3. เงื่อนไขคือ มูลค่าพลังงานที่ประหยัดได้ ในระยะเวลา 5 ปี ต้องรวมไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท (= ไม่น้อยกว่ามูลค่าภาษีเงินได้ที่จะได้รับการยกเว้น) ครับ


หมายเหตุ : แอดมินมีการแก้ไขคำตอบ #7 ข้อ 2 การนับวันเริ่มได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ... ต้องขออภัยด้วยครับ

<< ก่อนหน้า       1       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด