![]() |
กรณีโครงการเปิดดำเนินการแล้วและมีการหยุดผลิตสินค้าในบางไลน์การผลิต ส่งผลให้กำลังการผลิตลดลงมากกว่า 20% โดยเครื่องจักรยังอยู่ครบถ้วน 2 แบบคือ 1.ตั้งอยู่ในไลน์การผลิตตามเดิม (พร้อมผลิตสินค้า) 2.จัดเก็บไว้ที่คลัง (เก็บไว้โดยไม่มีแผนนำมาใช้งาน) สถานะโครงการปัจจุบัน คือ ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล , ใช้สิทธิยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร (ตัดบัญชี 5 ปีแล้ว) และปัจจุบันใช้สิทธิวัตถุดิบ (เป็นสต๊อครวมกับอีกบัตร) มีข้อสอบถาม คือ 1. กรณีแบบนี้ บริษัทจะต้องขอปรับลดกำลังการผลิตของโครงการ หรือ หยุดผลิตเกิน 1 เดือนคะ บริษัทควรใช้หลักการใดในการพิจารณา 2. หากเข้าข่ายที่ต้องปรับลดกำลังการผลิตของโครงการ จะส่งผลต่อสต๊อควัตถุดิบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันหรือไม่ และจะต้องดำเนินการอย่างไรคะ รบกวนแนะนำหน่อยนะคะ |
![]() |
กรณีที่สอบถาม บริษัทได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และไม่ได้มีการจำหน่ายเครื่องจักรออกจากโครงการ (แม้บางส่วนจะไม่ได้ติดตั้งในสายการผลิต) บริษัทจึงยังคงมีศักยภาพการผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม และไม่ต้องขอลดขนาดกิจการ ครับ |
![]() ![]() |
เรียน แอดมิน บริษัทได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ (ประเภท 2.4.3) ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2567 โดยเครื่องจักรในโครงการยังมีอยู่ครบ (พร้อมทำการผลิต) และได้ยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรที่มีอายุครบ 5 ปีแล้ว คำถาม 1. บริษัทอยากทราบว่าใน 1 เดือน หรือ เดือนใดเดือนหนึ่ง บริษัทจะไม่ทำการผลิตเลยสามารถทำได้หรือไม่ 2. สำนักงานฯ มีข้อกำหนดหรือไม่ว่าต่อเดือน บริษัทจะต้องมียอดการผลิตขั้นต่ำกี่เปอร์เซ็นของยอดกำลังการผลิตที่ได้รับอนุมัติตามโครงการ
|
![]() ![]() |
ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ 1. หลังจากเปิดดำเนินการแล้ว หากบริษัทมียอดการผลิตที่ต่ำมาก เช่น เหลือประมาณ 1% ของกำลังการผลิตฯ สำนักงานฯ จะปิดโครงการของบริษัทหรือไม่ 2. หลังจากเปิดดำเนินการแล้ว หากบริษัทไม่มียอดการผลิตเลย สำนักงานฯ จะปิดโครงการของบริษัทหรือไม่ 3. หากบริษัทโดนสั่งปิดโครงการ เครื่องจักรที่ยังมีภาระภาษี บริษัทจะต้องชำระภาษีในส่วนนี้หรือไม่ (หรือสำนักงานฯ จะยกเว้นภาษีส่วนนี้ให้บริษัท) |
![]() ![]() |
ตอบคำถาม #2 และ #3 รวมกันเลยนะครับ 1. ในบัตรส่งเสริมและในประกาศของ BOI ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับปริมาณการผลิตจริงขั้นต่ำในแต่ละเดือน จะมีเพียงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง คือ การหยุดดำเนินกิจการเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 เดือนต้องได้รับอนุญาตจาก BOI 2. ดังนั้น หากบริษัทได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว แม้จะมียอดการผลิตต่ำมากเพียงใด หากบริษัทไม่ได้หยุดกิจการเกินกว่า 2 เดือน ก็ไม่ขัดกับเงื่อนไขที่ได้รับการส่งเสริม 3. หากบริษัทมียอดการผลิตต่ำมากเป็นเวลานานต่อเนื่อง (แต่ไม่ได้หยุดกิจการ) อาจมีผลกับการพิจารณาอนุมัติขยายเวลาตำแหน่งของคนต่างชาติ ซึ่งอาจจะมีการพิจารณาเป็นกรณีๆไป 4. หากหลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ บริษัทไม่มีการผลิตเลย (แต่ไม่ได้หยุดกิจการ) เหตุการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะปกติบริษัทน่าจะหยุดดำเนินการชั่วคราว เพื่อลดความเสียหายทางธุรกิจ แต่หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง (คือบริษัทไม่หยุดกิจการ จ่ายเงินเดือนพนักงานตามปกติ แต่ไม่มีการผลิต) 5. หากบริษัทได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว แต่ต่อมา BOI สั่งเพิกถอนบัตรส่งเสริม บริษัทจะต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักรและวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันที่สั่งเพิกถอน |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>