![]() |
บริษัทคำนวณกำลังการผลิตเพื่อขอเปิดดำเนินการ โดย กำลังการผลิตที่ขอรับการส่งเสริม = 800,000 เครื่อง/ปี กำลังการผลิตที่ขอเปิดดำเนินการ = 680,000 เครื่อง/ปี รบกวนสอบถามว่าในเคสนี้จะเกิดปัญหาตอนการเปิดดำเนินการกับ BOI ไหมคะ ขอบคุณค่ะ |
![]() |
หากกำลังผลิตที่ BOI ตรวจสอบ ณ วันเปิดดำเนินการ มากกว่าหรือน้อยกว่าไม่เกิน 20% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม ถือว่ามีกำลังการผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม กรณีที่สอบถาม หากมีกำลังผลิตจริง 680,000 เครื่อง จากกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม 800,000 เครื่อง ถือว่าเป็นไปตามโครงการ ครับ |
![]() |
ขอบคุณมากค่ะ ขอสอบถามเป็นความรู้เพิ่มเติมนะคะ ในกรณีที่กำลังการผลิตน้อยกว่า 20% หมายความว่าผิดเงื่อนไขและไม่สามารถเปิดดำเนินการได้หรือคะ
แก้ไขโดย DKuser เมื่อวันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2565, 14:21:39
|
![]() |
หากในการตรวจสอบเปิดดำเนินการ พบกว่ากำลังผลิตที่มีอยู่จริง ต่ำกว่า 80% ของกำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม จะแก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม ให้เหลือเท่าที่ตรวจสอบได้จริง และเปิดดำเนินการให้ตามกำลังผลิตนั้น ครับ |
![]() |
ขอบคุณค่ะ ในกรณีที่เปิดตามการผลิตจริง อย่างนี้จะส่งผลกระทบต่อ MAX STOCK ไหมคะ ทางบริษัทต้องไปดำเนินการลด MAX STOCK ด้วยตามไหมคะ |
![]() |
Max Stock จะได้รับอนุมัติเป็นปริมาณเท่ากับกำลังผลิต 4 เดือนของกำลังผลิตที่ได้รับส่งเสริม ดังนั้น เมื่อมีการปรับลดกำลังผลิตในขั้นตอนเปิดดำเนินการ และแก้ไขบัตรส่งเสริม ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อปรับลด Max Stock ลงด้วยเช่นกัน ครับ |
![]() |
เรียน แอดมิน บริษัทขอสอบถามดังนี้ค่ะ 1. หากบริษัทได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการ และมีกำลังการผลิตตามโครงการ จำนวน 32,000,000 ชิ้น/ปี หลังจากที่ได้รับอนุมัติให้เปิดดำเนินการแล้ว บริษัทมีการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาใช้เพิ่มในโครงการ และมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 45,000,000 ชิ้น/ปี อยากทราบว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้จะมีผลอะไรกับบริษัทหรือไม่ เช่น จะต้องชำระภาษีในส่วนที่เกินจากกำลังการผลิตตามโครงการหรือไม่ ขอบคุณค่ะ
|
![]() |
1. ตามหลักเกณฑ์ทั่วไป หากบริษัทได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการนั้นอีก ยกเว้นกิจการในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น 2. จากคำถามของบริษัท แจ้งว่ามีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำลังผลิต ภายหลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ขอข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า เป็นกิจการในอุตสาหกรรมใด และการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มเติมดังกล่าว ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีหรือแจ้ง BOI ไว้อย่างไร ครับ |
![]() |
กรณีที่สอบถามตามข้อ #6 ของคุณ Royal เป็นตัวอย่างสมมุติว่า ถ้าได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว แต่นำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มกำลังผลิต โดยชำระภาษีอากรเครื่องจักรนั้นเอง จะได้หรือไม่ คำตอบคือ หากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว แต่บริษัทนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มกำลังผลิต โดยชำระภาษีเครื่องจักรเอง ถือว่ากำลังผลิตส่วนที่เกินกว่าบัตรส่งเสริม เป็นส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริม ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่เกินกว่าบัตรส่งเสริม และไม่สามารถอ้างกำลังผลิตที่เกินกว่าบัตร มาขอแก้ไขเพิ่ม Max stock ของวัตถุดิบได้ คำแนะนำคือ 1. หากยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ หรือยังไม่เคยยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้ง ให้ยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร และขยายเวลาเปิดดำเนินการออกไปก่อน จากนั้น ให้ยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตโดยการลงทุนเพิ่ม 2. หากได้รับอนุมัติ จะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น และใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรในส่วนที่ลงทุนเพิ่มเติมได้ แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาการได้รับสิทธิ จะยังคงนับต่อเนื่องจากที่ได้รับอยู่เดิม ครับ |
![]() |
ขอเพิ่มเติมคำตอบข้างต้นคือ การแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตโดยการลงทุนเพิ่ม กำหนดเงื่อนไขตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2547 จึงขอให้ตรวจสอบด้วยว่าเป็นไปตามเงื่อนไขหรือไม่ด้วย ครับ |
![]() |
ขอบคุณมากค่ะ |
![]() ![]() |
สอบถาม ** การเปิดดำเนินการบางส่วน ทำได้ไหมค่ะ ถ้าบริษัท ไม่แน่ใจว่าเครื่องจักรหลักผลิตจริง กำลังการผลิต เท่าบัตรส่งเสริมไหม อย่างให้เจ้าหน้าที่มาตรวจ เพราะเราอยากได้กำลังการผลิตเท่าบัตรส่งเสริม |
![]() ![]() |
ปัจจุบัน การเปิดดำเนินการ มีเพียงครั้งเดียว หากไม่เข้าใจวิธีการคำนวณกำลังผลิตในขั้นเปิดดำเนินการ สามารถตั้งคำถามได้ครับ |
![]() ![]() |
สอบถามค่ะ บริษัท ส่งเรื่อง ขอเปิดดำเนินการ ในระบบแล้ว เจ้าหน้าที่สำนักงาน มาตรวจการผลิตจริง และพบว่ากำลังการผลิด น้อยกว่าบัตรส่งเสริมมาก ไม่สอดคล้องกับบัตรส่งเสริม และ บริษัท ต้องการนำเข้าเครื่องจักร มาเพิ่ม ให้ครบกำลังการผลิตตามบัตรส่งเสริม เนื่องจากว่า การเปิดดำเนินการ มีเพียงครั้งเดียว *** บริษัท สามารถ แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงาน ในวันที่มาตรวจและได้แจ้งผล กำลังการผลิต ขอยกเลิก เรื่องขอเปิดดำเนินการ ที่มาตรวจใน ครั้งนี้ ได้ไหมคะ เพื่อที่จะได้ขอแก้ไขโครงการ นำเข้าเครื่องจักรหลัก *** **** หรือ มีวิธีแก้ไขปัญหานี้ ทางไหน ได้บ้าง
ขอบคุณค่ะ |
![]() ![]() |
บริษัทสามารถขอยกเลิกคำขอเปิดดำเนินการที่ยื่นไปแล้วได้ หากยังลงทุนไม่ครบตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม และยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ แต่ควรตรวจสอบเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่างๆ และศึกษาขั้นตอนดำเนินการให้ถูกต้องก่อน เพื่อว่าเมื่อยกเลิกคำขอเปิดดำเนินการแล้ว จะสามารถลงทุนได้ครบตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมจริง ครับ |
![]() ![]() |
เรียน แอดมิน ขอสอบถามค่ะ บริษัทได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้ว (โดยเพิ่มเวลาทำงาน และลดกำลังการผลิตให้เท่ากับความสามารถของเครื่องจักรที่มีอยู่จริง) บริษัทดำเนินการแก้ไขบัตรส่งเสริมแล้ว อยากทราบว่าบริษัทฯ จะต้องดำเนินการอะไรต่ออีกหรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ
|
![]() ![]() |
ถ้าแก้ไขบัตรส่งเสริมเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่อแล้วครับ แต่ถ้าจะให้ถูกต้องจริงๆ บริษัทควรยื่นขอแก้ไข max stock ตามกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมที่แก้ไขแล้วด้วย |
![]() ![]() |
ขอบคุณมากค่ะ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>