![]() |
กรณีการเปิดดำเนินการ ข้อมูลทะเบียนสินทรัพย์ ในข้อมูลส่วนอะไหล่เครื่องจักร ต้องระบุรายละเอียดเลขที่ทะเบียนสินทรัพย์, รายชื่ออะไหล่เครื่องจักรตามอินวอยซ์นำเข้าและในประเทศ จะต้องจัดทำข้อมูลเข้าไปในแบบฟอร์มขอเปิดดำเนินการด้วยหรือไม่ค่ะ
|
![]() |
ขอสอบถามเพิ่มเติม |
![]() |
1. อะไหล่เครื่องจักรที่นำเข้ามาทดแทน เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้ตามวัตถุประสงค์เดิม จะไม่บันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ แต่จะลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าซ่อม ฯลฯ) 2. แต่ในการรายงานรายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ในขั้นเปิดดำเนินการ ต่อ BOI จะต้องแสดงให้ครบทุกรายการที่บริษัทนำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร 3. ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถแสดงรายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ เฉพาะที่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ แต่จะต้องแสดงให้ครบทุกรายการที่ใช้สิทธิสั่งปล่อยตามมาตรา 28 และ 29 4. เจ้าหน้าที่ BOI ผู้พิจารณาแต่ละคน อาจต้องการให้บริษัทแสดงรายละเอียดตามวิธีที่ จนท เห็นว่าตรวจสอบได้ง่าย ดังนั้น บริษัทจึงอาจจัดเตรียมร่างรายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามทะเบียนสินทรัพย์ และรายการอะไหล่ที่ใช้สิทธินำเข้า แต่ไม่ได้อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ เพื่อนำไปหารือกับเจ้าหน้าที่ ก่อนจะยื่นคำร้องขอเปิดดำเนินการก็ได้ 5. ส่วนอะไหล่ที่ซื้อในประเทศ เป็นรายการที่ไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า และไม่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ตั้งแต่แรก จะไม่แสดงรายการนั้นในการยื่นขอเปิดดำเนินการก็ได้ แต่หากต้องการนำมูลค่าอะไหล่รายการนั้น มารวมคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ ก็สามารถแสดงรายละเอียดได้ 6. การแสดงรายละเอียดเครื่องจักรในการขออนุมัติเปิดดำเนินการ สามารถใช้แนวทางคือ 6.1 เครื่องจักรทุกเครื่องที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี (รวมถึงอะไหล่ ส่วนประกอบ แม่พิมพ์ ฯลฯ ทั้งหมด) 6.2 เครื่องจักรเท่าที่ทำให้กรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับอนุมัติ / แต่หากขั้นตอนการผลิตมากหรือน้อยกว่า สามารถแก้ไขเพื่ม/ลดขั้นตอนการผลิตได้ 6.3 เครื่องจักรเท่าที่ทำให้กำลังผลิตครบตามที่ได้รับอนุมัติ / แต่หากกำลังผลิตมากหรือน้อยกว่า สามารถยื่นแก้ไขเพิ่ม/ลดกำลังผลิตได้ 6.4 เครื่องจักรเท่าที่ต้องการนำมาคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ครับ |
![]() |
ตอบข้อ #1 ใช้ราคาตามที่บันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ ครับ |
![]() |
รายการอะไหล่ที่ใช้สิทธิBOI และไม่ได้บันทึกในทะเบียนทรัพย์สินตั้งแต่แรก จะใช้ราคา CIF ตามใบขนสินค้าขาเข้าใช่หรือไม่ค่ะ |
![]() |
อะไหล่ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ และไม่ได้บันทึกเป็นสินทรัพย์ ให้ใช้ราคาตามอินวอยซ์หรือใบเสร็จรับเงิน ครับ |
![]() |
ราคาอะไหล่ในอินวอยซ์ เป็น YEN และ USD ดังนั้น ใช้ราคา CIF ตามใบขนสินค้าขาเข้าใช่หรือไม่ค่ะ |
![]() |
แนวทางการรายงานรายละเอียดเครื่องจักร/อุปกรณ์ ในแบบขออนุญาตเปิดดำเนินการ 1. กรณีใช้สิทธิสั่งปล่อย และบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ 1.1 ช่องรายการเครื่องจักร ต้องระบุเลขที่ทะเบียนสินทรัพย์ด้วย 1.2 ช่อง INVOICE/ใบเสร็จ และช่องหนังสือสั่งปล่อย ให้ระบุเลขที่วันที่ใบขน และหนังสือสั่งปล่อย 1.3 ช่องราคาทุน ตามราคาทุนในทะเบียนสินทรัพย์ 2. กรณีใช้สิทธิสั่งปล่อย และบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ให้ทำเอกสารแนบเพิ่มเติม และแนบสำเนาบัญชีรายการค่าใช้จ่ายในหมวดค่าซ่อมหรือหมวดที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายนั้น 2.1 ช่อง INVOICE/ใบเสร็จ และช่องหนังสือสั่งปล่อย ให้ระบุเลขที่วันที่ใบขน และหนังสือสั่งปล่อย 2.2 ช่องราคาทุน ตามมูลค่าที่บันทึกในบัญชีค่าใช้จ่าย 3. กรณีไม่ได้ใช้สิทธิสั่งปล่อย และบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ 3.1 ช่องหนังสือสั่งปล่อย ไม่ต้องระบุ 3.2 ช่อง INVOICE/ใบเสร็จ อาจระบุเลขที่ใบเสร็จ หรือระบุว่านำเข้าโดยชำระภาษี หรือซื้อในประเทศก็ได้ 3.3 ช่องราคาทุน ตามราคาทุนในทะเบียนสินทรัพย์ 4. กรณีไม่ได้ใช้สิทธิสั่งปล่อย และบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ให้ทำเอกสารแนบเพิ่มเติม และแนบสำเนาบัญชีรายการค่าใช้จ่ายในหมวดค่าซ่อมหรือหมวดที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายนั้น 4.1 ช่องหนังสือสั่งปล่อย ไม่ต้องระบุ 4.2 ช่อง INVOICE/ใบเสร็จ อาจระบุเลขที่ใบเสร็จ หรือระบุว่านำเข้าโดยชำระภาษี หรือซื้อในประเทศก็ได้ 4.3 ช่องราคาทุน ตามมูลค่าที่บันทึกในบัญชีค่าใช้จ่าย ------------------------------------------------------------------------- ข้อ 1 และ 2 ต้องแสดงให้ครบทุกรายการ เนื่องจากเป็นรายการที่ใช้สิทธิสั่งปล่อย ข้อ 3 สามารถแสดงรายการเฉพาะเท่าที่จำเป็น คือเพื่อทำให้กำลังผลิตและกรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม และได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้เท่าที่เพียงพอ ข้อ 4 ปกติจะไม่แนะนำให้ยื่น ยกเว้นกรณีที่บริษัทคำนวณแล้วว่า วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่เพียงพอในการใช้สิทธิ จึงต้องการนำมูลค่าในข้อ 4 มารวมคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย ครับ |
![]() |
การคำนวณกำลังการผลิต เดิมตอนขอรับการส่งเสริม ได้คำนวณกำลังการผลิตจากรายการเครื่องจักร 2 เครื่อง ที่ชื่อไม่เหมือนกัน แล้วนำมารวมกัน หากเปิดดำเนินการต้องใช้เครื่องจักรทั้ง 2 รายการมาคำนวณหรือไม่ หรือว่าสามารถเลือกเครื่องใดเครื่องหนึ่งมาคำนวณกำลังการผลิตของบัตรส่งเสริมค่ะ |
![]() |
หากเป็นเครื่องจักรในขั้นตอนเดียวกัน แต่คนละขนาด เช่น เครื่องฉีดพลาสติก 100 ตัน 1 เครื่อง และเครื่องฉีดพลาสติก 400 ตัน 1 เครื่อง ก็ต้องคำนวณกำลังผลิตสูงสุดของแต่ละเครื่อง และนำมารวมกัน เพื่อให้ได้กำลังผลิตสูงสุดของโครงการ เพราะหากคำนวณโดยใช้เพียงเครื่องใดเครื่องหนึ่ง จะได้กำลังผลิตน้อยกว่ากำลังผลิตสูงสุดที่มีอยู่จริง ครับ |
![]() |
ขอบคุณค่ะ กรณีในบัตรส่งเสริมมีการขอใช้เครื่องจักรร่วมกับบัตรส่งเสริมเดิมที่มีอยู่ ต้องระบุรายการเครื่องจักรและจำนวนที่ขอใช้ร่วมหรือไม่ค่ะ |
![]() |
ยกตัวอย่างเช่น ในกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม ระบุขั้นตอนการผลิตว่า ฉีดพลาสติก และพ่นสี บริษัทจะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรในขั้นตอนพ่นสีด้วย แต่หากบริษัทได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรในขั้นตอนพ่นสี ร่วมกับโครงการอื่น บริษัทจะไม่มีการลงทุนเครื่องจักรพ่นสีในโครงการนี้ก็ได้ แต่ต้องแสดงหลักฐานว่าใช้เครื่องพ่นสีร่วมกับโครงการใด การแสดงหลักฐานว่า บริษัทใช้เครื่องพ่นสี ร่วมกับโครงการใด ในขั้นขออนุญาตเปิดดำเนินการ ควรปรึกษากับ จนท BOI ว่าจะให้แสดงอย่างไร เช่น แสดงเครื่องพ่นสีรวมไว้ในรายละเอียดเครื่องจักรของโครงการ แต่ระบุหมายเหตุให้ชัดว่า เป็นเครื่องพ่นสีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ร่วมกับบัตรเลขที่ .. ตามหนังสืออนุญาตที่ .. หรืออาจแยกรายการในส่วนนี้ออกมาเป็นเอกสารแนบ ครับ |
![]() ![]() |
สวัสดีค่ะ ADMIN รบกวนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ กรณีบริษัทได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรตลอดอายุบัตรส่งเสริม 1. นำเครื่องจักรเข้ามาครบแล้ว สามารถยื่นขอเปิดดำเนินการได้เลยไหมคะ 2. กรณีมีการผลิตครบก่อนเปิดดำเนินการ แล้วมีรายได้ ไม่ผิดต่อระเบียบของ BOI ใช่ไหมคะ 3. ถ้ากรณียังไม่ยื่นเปิดดำเนินการ แต่รอให้ครบกำหนด 36 เดือน สามารถยื่นขอเปิด ณ วันครบกำหนดได้หรือไม่ 4. สิทธิประโยชน์ด้านภาษี สามารถเริ่มใช้หลังเปิดดำเนินการ หรือ สามารถใช้ได้ ณ วันที่มีรายได้ครั้งแรกคะ 5. ระยะเวลาดำเนินการของ BOI ในการเปิดดำเนินการกี่วันคะ ขอบคุณค่ะ |
![]() ![]() |
ตอบคำถามตามนี้ครับ 1. หากมีการลงทุนครบถ้วนตามที่ได้ยื่นขอรับการส่งเสริมแล้ว สามารถยื่นขอเปิดดำเนินการ ก่อนที่จะครบกำหนดเปิดดำเนินการได้ 2. "การเปิดดำเนินการ" ตามความหมาย BOI หมายถึงมีการลงทุนครบตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม เช่น ในบัตรส่งเสริมกำหนดขนาดกิจการเป็นมีกำลังผลิต A ปีละ 1,000,000 ชิ้น B ปีละ 2,000,000 ชิ้น การเปิดดำเนินการ จึงหมายความว่าต้องลงทุนให้ครบเพื่อผลิตทั้ง A และ B โดยมีกำลังผลิตสูงสุดตามที่กำหนด แต่บริษัทสามารถเริ่มผลิต/จำหน่าย A หรือ B อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ได้ โดยจะยังมีกำลังผลิตสูงสุดไม่ครบก็ได้ แต่จะต้องผลิตจำหน่าย A ตามกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม ซึ่งการเริ่มผลิตจำหน่ายนี้ ไม่ต้องยื่นขออนุญาตจาก BOI 3. จะยื่นขอเปิดดำเนินการเมื่อไรก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกำหนดเปิดดำเนินการที่ระบุในบัตรส่งเสริม 4. สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรกของโครงการนั้นๆ 5. ระยะเวลาพิจารณาการขอเปิดดำเนินการ : 45 วันทำการ คำแนะนำคือ ไม่จำเป็นต้องยื่นขอเปิดดำเนินการก่อนครบกำหนดเร็วเกินไป เนื่องจากจะทำให้เสียสิทธิการนำมูลค่าการลงทุน (แม่พิมพ์ อุปกรณ์ สินทรัพย์ ค่าก่อสร้างต่อเติม ฯลฯ) ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากนั้น มารวมคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุน ที่จะกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>