Khun Ao โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565, 15:51:25 (146 สัปดาห์ ก่อน)

เรียน แอดมิน

ขอสอบถามดังนี้ค่ะ

การขอรับการส่งเสริมการลงทุนปกติ (ทั่วไป) มีข้อแตกต่างกับการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อย่างไรคะ

ถ้าบริษัทต้องการขอรับการส่งเสริมการลงทุน และตั้งอยู่ในจังหวัดในเขต (EEC) รบกวนขอคำแนะนำค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565, 17:22:06 (146 สัปดาห์ ก่อน)
#1

สรุปโดยย่อคือ

กิจการกลุ่ม A1, A2, A3, และกิจการพัฒนา/สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายในหมวด 8 ที่ตั้งใน EEC

1. หากตั้งในเขต/นิคมอุตสาหกรรม จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 1 ปี

2. หากมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 2 ปี หรือลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 3 ปี

3. หากตั้งในเขตพิเศษ ในเขต EEC จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 1 ปี หรือลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 2 ปี ครับ

แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565, 17:24:30
Khun Ao โพสต์เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2565, 09:11:32 (146 สัปดาห์ ก่อน)
#2

ขอบคุณมากค่ะ

Royal โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567, 13:45:30 (47 สัปดาห์ ก่อน)
#3

เรียน แอดมิน

กรณีบริษัทต้องการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยขั้นตอนการผลิตสินค้ามีทั้งหมด 10 ขั้นตอน ตอนที่บริษัทยื่นเอกสารขอรับการส่งเสริม

อยากทราบและขอคำแนะนำดังนี้ค่ะ

1. บริษัทจะใส่ข้อมูลเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และนำเข้าเครื่องจักรมาไม่ครบทุกขั้นตอนการผลิตได้หรือไม่ เช่น แต่ละขั้นตอนใช้เครื่องจักรขั้นตอนละ 1 เครื่อง

   (รวมเป็น 10 เครื่อง) แต่บริษัทจะเขียนข้อมูลใช้เครื่องจักรแค่ 7 เครื่อง

2. จะสามารถตรวจเปิดดำเนินการได้หรือไม่ ถ้ามีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตไม่ครบทุกขั้นตอนการผลิต

 

ขอบคุณค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567, 14:33:23 (47 สัปดาห์ ก่อน)
#4

ขออธิบายแนวทางพิจารณาเรื่องขั้นตอนการผลิตและเครื่องจักร ดังนี้

1. กรรมวิธีการผลิต

กรรมวิธีผลิตที่ยื่นขอรับส่งเสริมและได้รับอนุมัติ เป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง คือต้องผลิตครบทุกขั้นตอน

หากไม่ครบ ถือเป็นการผลิตไม่ตรงตามที่ได้รับส่งเสริม ไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ใดๆได้

และจะไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง

ดังนั้น จึงควรกรอกกรรมวิธีการผลิตให้ถูกต้องตามที่จะลงทุนจริง

2. เครื่องจักร

การใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ต้องเป็นเครื่องจักรที่สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ และมีปริมาณไม่เกินกำลังผลิตสูงสุดที่ได้รับอนุมัติ


ตอบคำถามดังนี้

1. การกรอกข้อมูลเครื่องจักรในคำขอรับการส่งเสริม

ควรกรอกให้ครบถ้วนทั้งรายการและปริมาณ ทั้งที่จะซื้อในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ

  • การกรอกรายการเครื่องจักรไม่ครบ
    จะทำให้ไม่สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ยื่นขอรับส่งเสริม
  • กรณีกรอกจำนวนเครื่องจักรไม่ครบ
    จะทำให้ไม่สอดคล้องกับกำลังผลิตสูงสุดที่ยื่นขอรับส่งเสริม
    และทั้ง 2 กรณี จะทำให้มูลค่าการลงทุนเครื่องจักร และมูลค่าการลงทุนของโครงการ ไม่สอดคล้องกับมูลค่าการลงทุนจริง

2. การเปิดดำเนินการ

หากบริษัทมีเครื่องจักรไม่ครบตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการ ครับ

OHT โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567, 15:01:57 (3 สัปดาห์ ก่อน)
#5

รบกวนปรึกษาและสอบถามค่ะ
ปัจจุบัน บริษัทมี Project 1  : ITC 1 บัตร แและ Project 2  ผลิตเพื่อการส่งออก 1 บัตร (งานอิเล็กทรอนิกส์)
แผนปีหน้ามี ขอ Project ผลิตเพิ่ม  บัตร ผลิตเหมือนกันกับ Project 2 ดังนั้นในการจัดเตรียมข้อมูลสำหรับขอบัตรใหม่
ในการกรอกข้อมูล ข้อ 1.6 - 1.8 (เป็นการกรอกข้อมูล ย้อนหลัง 3 ปี ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับการส่งเสริม) ถูกต้องไหมคะ
ข้อ 2 แผนการเงิน 2.1.1 เงินทุนจดทะเบียน ต้องเป็น นิติบุคคลเดิมและมีผลประกอบการแล้ว (ถูกต้องไหมคะ) ในส่วนนี้ ก็ดูว่าจะใช้เงินส่วนใดมากลงทุน เช่น ใช้เงินจากกำไรสะสม หรือ จะเพิ่มทุนจดทะเบียน (ในส่วนนี้ เดิมทุนจดทะเบียน 300 กว่าล้าน จะเพิ่ม 15 ล้าน ก็ใส่ลงช่อง เพิ่มทุนจดทะเบียน ถูกต้องไหมคะ)

กรณีที่สอบถามนี้ ไม่ได้เรียกโครงการขยาย ใช่ไหมคะ เพราะเป็นการขอบัตรใหม่ การลงทุนใหม่ สถานที่ตั้งใหม่ค่ะ

*** คำถามเพิ่มเติม ค่ะ กรณียังไม่มีโรงงานสำหรับที่ตั้งใหม่นี้ ยังคงขอบัตรได้ไหม (กรณีแบบ boi อนุมัติ โปรเจค ถึงจะตั้งโรงงานค่ะ)

แก้ไขโดย OHT เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567, 15:44:52
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567, 18:59:30 (3 สัปดาห์ ก่อน)
#6

จากข้อมูลที่แจ้งมาคือ บริษัทได้รับส่งเสริม 2 โครงการ

บัตรที่ 1 เป็นกิจการ ITC

บัตรที่ 2 เป็นกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

บริษัทจะลงทุนเพิ่มเติมและขอรับส่งเสริมเป็นโครงการที่ 3


ตอบคำถามดังนี้

1. แบบคำขอรับการส่งเสริม ข้อ 1.6-1.8 ผลการดำเนินการย้อนหลัง 3 ปี

ให้กรอกข้อมูลทั้งส่วนที่ได้รับส่งเสริมและไม่ได้รับส่งเสริม รวมกันทั้งบริษัท

2. ข้อ 2.1.1 เงินทุนจดทะเบียน

หากบริษัทจะเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 15 ล้านบาท และเรียกชำระ 15 ล้านบาท เพื่อการลงทุนในครั้งนี้

ก็ให้ติ๊กและกรอกในช่องที่ตรงกับความหมายนี้

3. ในนิยามการให้การส่งเสริมของ BOI มีแค่โครงการใหม่ (โครงการริเริ่ม) กับโครงการขยาย เท่านั้น

การลงทุนครั้งนี้ ไม่ใช่โครงการริเริ่มของบริษัท

BOI จึงถือเป็นโครงการขยาย ครับ

OHT โพสต์เมื่อวันพุธที่ 18 ธันวาคม 2567, 09:59:37 (3 สัปดาห์ ก่อน)
#7

คำถามเพิ่มเติมค่ะ

สามารถขอโครงการที่ 3 โดยที่ ยังไม่มีโรงานงานได้ไหม (กรณีแบบ ขอบัตรควบคู่กับจัดหาสถานที่โรงงานผลิตไปด้วย)
หรือมีระยะเวลากำหนดไหมคะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 18 ธันวาคม 2567, 11:55:05 (3 สัปดาห์ ก่อน)
#8

การยื่นขอรับการส่งเสริม ยังไม่จำเป็นต้องมีโรงงาน เนื่องจากโครงการนั้นยังไม่เกิดการลงทุน

แต่จะต้องระบุที่ตั้งสถานประกอบการด้วย

สถานที่ตั้งที่ระบุในคำขอรับการส่งเสริม จะเป็นเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม

จึงควรระบุที่ตั้งที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด เพื่อจะได้ไม่ต้องขอแก้ไขสถานที่ตั้งในภายหลัง ครับ

<< ก่อนหน้า       1 | 2       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด