Suji โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567, 12:01:56 (5 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียนแอดมิน บริษัทฯ ต้องการลงทุนในมาตราการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ซึ่งเป็นโครงการดำเนินการอยู่แล้ว สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดแล้ว จะลงทุนใน "มาตราการปรับปรุงประสิทธิภาพ ด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" โดยได้เก็บข้อมูลมาแล้ว 1 ปี เป็นการลงทุนทำระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (The water cooled system) แต่ทางบริษัทฯมีหลายโครงการ ใน 1 ระบบที่ลงทุน กล่าวคือ จะลงทุนใน 1 โรงงานใหญ่ 1 ระบบ โดยมีหลายบัตรส่งเสริมอยู่รวมกัน 5 บัตร แบบนี้ สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมในมาตราการนี้ได้หรือไม่ค่ะ หรือพิจารณาอย่างไร? ขอบคุณค่ะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567, 17:04:23 (5 สัปดาห์ ก่อน)
|
1. กรณีที่สอบถาม บริษัทจะลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประเภทสิทธิภาพฯ โดยเป็นการลงทุนครั้งเดียว 1 ระบบ แต่ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงฯ พร้อมกัน มากกว่า 1 โครงการ 2. หากทุกโครงการตามข้อ 1 สิ้นสุดสิทธิการยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้แล้ว และได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว 2.1 บริษัทสามารถยื่นคำขอปรับปรุงฯ เพียง 1 คำขอ โดยรวมของทุกโครงการเข้าด้วยกัน โดยจะได้รับอนุมัติเป็นบัตรปรับปรุงฯ 1 ฉบับ ซึ่งเป็นการรวมโครงการ และการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ไปในคราวเดียวกัน 2.2 หรือจะยื่นคำขอปรับปรุงฯ เป็น 5 คำขอ และออกบัตรปรับปรุงฯ เป็น 5 ฉบับ เหมือนเดิมก็ได้ โดยจะต้องปันส่วนมูลค่าการลงทุนของ 1 ระบบ เป็น 5 ส่วน สอดคล้องกับแต่ละบัตรส่งเสริม เพื่อกำหนดมูลค่าการลงทุน และวงเงินยกเว้น/ลดหย่อนภาษี ของแต่ละโครงการได้อย่างถูกต้อง 3. กรณีที่สอบถาม จะเป็นการลงทุน 1 ระบบ ในครั้งเดียว จึงควรเป็นวิธีตามข้อ 2.1 ซึ่งนอกเหนือจากการได้รับสิทธิจากการลงทุนปรับปรุงฯ แล้ว การรวมโครงการ น่าจะทำให้การบริหารจัดการด้านเครื่องจักร วัตถุดิบ ฯลฯ มีความสะดวกมากขึ้นการแยกเป็นหลายโครงการ ครับ |
Suji โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567, 11:03:01 (4 สัปดาห์ ก่อน)
|
บริษัทฯลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประเภทสิทธิภาพฯ โดยเป็นการลงทุนครั้งเดียว 1 ระบบ แต่ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงฯ พร้อมกัน มากกว่า 1 โครงการ ซึ่งเป็นการรวมโครงการ และการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ไปในคราวเดียวกัน สอบถามเพิ่มเติมว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ดังนี้ค่ะ 1. หากรวมทุกโครงการแล้ว เครื่องจักร วัตถุดิบ ฯลฯ จะอยู่ภายใต้ 1 บัตรฯใหม่ ที่เป็นบัตรปรับปรุงฯนี้ และสิทธิต่างๆ จะเกิดขึ้นหลังจากบัตรใหม่อนุมัติ 2. การผลิตผลิตภัณฑ์ ยังคงเดิมทุกโครงการ 3. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ของทุกโครงการจะคิดรวมกัน เพื่อใช้สิทธิของบัตรฯปรับปรุงประสิทธิภาพนี้ 4. สิทธิยกเว้นภาษีฯ ในระยะเวลา 3 ปีรวมกันไม่เกิน 50% ของเงินลงทุน เช่น ลงทุนโครงการไป 60ล้าน ปีที่ 1-3 มีกำไร เช่น ปีที่ 1=10ล้าน , ปีที่ 2=10ล้าน , ปีที่3=10ล้าน เป็นต้น ก็สามารถใช้ได้สิทธิ์ได้ทั้ง 3 ปี 5. หลังจากการยื่นคำขอใหม่ในมาตราการต่างๆ นี้ ในการดำเนินขั้นต่อๆไป คือ ตอบรับมติ ออกบัตรฯ ทำบัญชีรายการเครื่องจักร เปิดดำเนินการ ฯลฯ ขอบคุณมากค่ะ แก้ไขโดย Suji เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567, 13:06:29
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567, 17:38:26 (4 สัปดาห์ ก่อน)
|
ตอบคำถามกรณียื่นคำขอตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ โดยการรวมหลายโครงการเข้าด้วยกัน 1. บัตรเดิมจะถูกยกเลิกทั้งหมด (ยกเว้นกรณีตามข้อ 6) 2. สิทธิประโยชน์ด้าน non-tax เช่น ช่างฝีมือ ที่ดิน จะได้รับอยู่ตามเดิม 3. สิทธิด้านภาษีเงินได้ - ยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าการลงทุนปรับปรุงฯ 4. สิทธิด้านเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงฯ - ส่วนเครื่องจักรในส่วนของโครงการเดิม ให้ได้ตามสิทธิเดิม เช่น หากโครงการเดิมได้รับสิทธินำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม จะยังคงให้ได้รับสิทธิในส่วนนั้นตามที่ได้รับอยู่เดิม 5. สิทธิด้านวัตถุดิบ - ได้รับตามสิทธิของโครงการเดิม เช่น หากโครงการเดิมมีทั้งโครงการที่ได้รับสิทธิ ม.36 และโครงการที่ไม่รับสิทธิ ม.36 ก็จะได้รับสิทธิตามที่ได้รับอยู่เดิมเช่นกัน 6. ไม่จำเป็นต้องนำผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของทุกโครงการ มายื่นขอปรับปรุงฯ ก็ได้ เช่น บัตรที่ 1 ผลิตสินค้า A บัตรที่ 2 ผลิตสินค้า A และ B อาจยื่นคำขอปรับปรุงฯ เฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์ A ก็ได้ ผลที่เกิดขึ้นคือ - จะเกิดบัตรปรับปรุงฯ ฉบับใหม่ ผลิตสินค้า A (เป็นการรวม A ของบัตรที่ 1 และบัตรที่ 2) - บัตรที่ 1 จะถูกยกเลิก เนื่องจากมีการออกบัตรปรับปรุงฯ - บัตรที่ 2 จะถูกแก้ไขเป็นผลิตสินค้า B เท่านั้น 7. การดำเนินการขั้นตอนต่างๆ เช่น ตอบรับมติ ขอออกบัตร ขอใช้สิทธิต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามขั้นตอนตอนปกติ แต่มีเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เช่น 7.1 วัตถุดิบ - ต้องสร้างบัญชีรายการสต็อกวัตถุดิบใหม่ (เนื่องจากส่วนใหญ่จะต้องแก้ไข group no ใหม่ทั้งหมด) และขอโอนย้ายยอดวัตถุดิบคงเหลือ และโอนย้ายสูตรการผลิต ไปยังบัตรปรับปรุงฯ 7.2 ช่างฝีมือ - อาจต้องขอแก้ไข/เปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อาจซ้ำซ้อนกัน 7.3 เครื่องจักร - การจัดการเครื่องจักรที่นำเข้ามาในโครงการเดิม เช่น การขอจำหน่าย ตัดบัญชี ฯลฯ ต้องยื่นในโครงการใหม่ โดยถือเป็นรายการนอกบัญชีของบัตรปรับปรุงฯ เป็นต้น การยื่นคำขอปรับปรุงฯ กรณีรวมหลายบัตร (ทั้งกรณีรวมเต็มบัตร และรวมไม่เต็มบัตร) ควรปรึกษากับ จนท BOI ที่รับผิดชอบงานด้านนั้นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ครับ ตอบคำถามกรณียื่นคำขอตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ โดยการรวมหลายโครงการเข้าด้วยกัน 1. บัตรเดิมจะถูกยกเลิกทั้งหมด (ยกเว้นกรณีตามข้อ 6) 2. สิทธิประโยชน์ด้าน non-tax เช่น ช่างฝีมือ ที่ดิน จะได้รับอยู่ตามเดิม 3. สิทธิด้านภาษีเงินได้ - ยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าการลงทุนปรับปรุงฯ 4. สิทธิด้านเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงฯ - ส่วนเครื่องจักรในส่วนของโครงการเดิม ให้ได้ตามสิทธิเดิม เช่น หากโครงการเดิมได้รับสิทธินำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม จะยังคงให้ได้รับสิทธิในส่วนนั้นตามที่ได้รับอยู่เดิม 5. สิทธิด้านวัตถุดิบ - ได้รับตามสิทธิของโครงการเดิม เช่น หากโครงการเดิมมีทั้งโครงการที่ได้รับสิทธิ ม.36 และโครงการที่ไม่รับสิทธิ ม.36 ก็จะได้รับสิทธิตามที่ได้รับอยู่เดิมเช่นกัน 6. ไม่จำเป็นต้องนำผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของทุกโครงการ มายื่นขอปรับปรุงฯ ก็ได้ เช่น บัตรที่ 1 ผลิตสินค้า A บัตรที่ 2 ผลิตสินค้า A และ B อาจยื่นคำขอปรับปรุงฯ เฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์ A ก็ได้ ผลที่เกิดขึ้นคือ - จะเกิดบัตรปรับปรุงฯ ฉบับใหม่ ผลิตสินค้า A (เป็นการรวม A ของบัตรที่ 1 และบัตรที่ 2) - บัตรที่ 1 จะถูกยกเลิก เนื่องจากมีการออกบัตรปรับปรุงฯ - บัตรที่ 2 จะถูกแก้ไขเป็นผลิตสินค้า B เท่านั้น 7. การดำเนินการขั้นตอนต่างๆ เช่น ตอบรับมติ ขอออกบัตร ขอใช้สิทธิต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามขั้นตอนตอนปกติ แต่มีเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เช่น 7.1 วัตถุดิบ - ต้องสร้างบัญชีรายการสต็อกวัตถุดิบใหม่ (เนื่องจากส่วนใหญ่จะต้องแก้ไข group no ใหม่ทั้งหมด) และขอโอนย้ายยอดวัตถุดิบคงเหลือ และโอนย้ายสูตรการผลิต ไปยังบัตรปรับปรุงฯ 7.2 ช่างฝีมือ - อาจต้องขอแก้ไข/เปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อาจซ้ำซ้อนกัน 7.3 เครื่องจักร - การจัดการเครื่องจักรที่นำเข้ามาในโครงการเดิม เช่น การขอจำหน่าย ตัดบัญชี ฯลฯ ต้องยื่นในโครงการใหม่ โดยถือเป็นรายการนอกบัญชีของบัตรปรับปรุงฯ เป็นต้น การยื่นคำขอปรับปรุงฯ กรณีรวมหลายบัตร (ทั้งกรณีรวมเต็มบัตร และรวมไม่เต็มบัตร) ควรปรึกษากับ จนท BOI ที่รับผิดชอบงานด้านนั้นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ครับ แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567, 17:38:26
|
Suji โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567, 09:44:35 (1 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขออนุญาตสอบถามเพิ่มเติม เรื่องสิทธิประโยชน์การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลจากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม โดยระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม คำถาม หากบริษัทได้รับบัตรส่งเสริมออกวันที่ 1 มีนาคม 2568 โดยมีแผนลงทุนปรับปรุงเครื่องจักร 60 ล้านบาท สามารถลดหย่อนได้ร้อยละ 50 คือ 30 ล้านบาท โดยผลตัวชี้วัดที่คำนวณล่วงหน้าสามารถประหยัดค่าไฟได้ปีละ 10 ล้านบาท แต่บริษัทนำเข้าเครื่องจักรและเริ่มใช้ในเดือน มกราคม 2569 หากครบกำหนด 3 ปี หลังจากได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว ปีที่ 1 ไม่มีผลตัวชี้วัดจริง เนื่องจากเครื่องจักรเริ่มนำเข้าและใช้จริงในปีที่ 2 หลังได้รับบัตร บริษัทจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามตัวชี้วัดที่คำนวณล่วงหน้าปีละ 10 ล้านบาทได้หรือไม่? ปีที่ 2 มีผลตัวชี้วัดสามารถลดค่าไฟได้ 10 ล้านบาท / ใช้สิทธิลดหย่อน 10 ล้านบาท ปีที่ 3 มีผลตัวชี้วัดสามารถลดค่าไฟได้ 10 ล้านบาท / ใช้สิทธิลดหย่อน 10 ล้านบาท บริษัทจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเท่าไร จะขึ้นอยู่กับผลการประหยัดไฟจริงในระยะเวลา 3 ปีหลังได้รับบัตร หรือจำนวนเงินร้อยละ 50 ของเงินที่ลงทุน ขอบคุณค่ะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567, 13:50:14 (1 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอเวลาตรวจสอบข้อมูล และจะแจ้งคำตอบให้ทราบต่อไปครับ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567, 19:20:13 (5 วัน ก่อน)
|
BOI กำหนดตัวชี้วัดของการลงทุนตามมาตรการประหยัดพลังงาน คือ มูลค่าพลังงานที่ประหยัดได้ใน 5 ปี ต้องไม่น้อยกว่ามูลค่ายกเว้นภาษีเงินได้ใน 3 ปี โดยกำหนดมูลค่ายกเว้นภาษีเงินได้เป็นสัดส่วน 50% ของมูลค่าการลงทุนประหยัดพลังงาน ขอสรุปและตอบคำถามดังนี้ 1. บริษัทจะลงทุนตามมาตรการประหยัดพลังงาน โดยมีมูลค่าการลงทุน 60 ล้านบาท โดยในปีที่ 1 จะประหยัดพลังงานได้ 0 บาท 2. ดังนั้น จะประหยัดพลังงานใน 5 ปี ได้จำนวน 40 ล้านบาท 3. กรณีนี้จึงเป็นไปตามตัวชี้วัดของมาตรการประหยัดพลังงาน สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เต็มวงเงิน 30 ล้านบาท ตั้งแต่ปีที่ 1 บนความรับผิดชอบของบริษัทเอง 4. แต่หากในการตรวจสอบเปิดดำเนินการ พบว่าบริษัทปฏิบัติไม่ได้ตามโครงการที่ขอรับส่งเสริม อาจถูกเพิกถอนสิทธิ และต้องชำระภาษีและค่าปรับ ในส่วนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว 5. และในเมื่อปีที่ 1 (ปี 2568) จะยังไม่มีการลงทุนใดๆ บริษัทอาจจะชลอการยื่นขอรับส่งเสริม (หรือชลอการออกบัตรส่งเสริม) เพื่อให้ปีที่ 1 เป็นปีที่จะเริ่มการลงทุนจริง ซึ่งจะทำให้มูลค่าพลังงานที่จะประหยัดได้ เพิ่มสูงขึ้นเป็น 50 ล้านบาท การตรวจสอบตามเงื่อนไขตัวชี้วัด ยิ่งจะไม่น่าจะเกิดปัญหาใดๆ ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>