sanwatech โพสต์เมื่อวันพุธที่ 4 กันยายน 2567, 15:07:52 (12 สัปดาห์ ก่อน)
|
รบกวนสอบถาม กรณีที่บริษัท จะยื่นขอแก้ไข Max Stock โดยการเพิ่ม Group วัตถุดิบใหม่ เป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเรียบร้อยสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าได้ รบกวนขอสอบถามดังนี้ ข้อ.1 วิธีการคิดกำลังการผลิตชิ้นงานต่อปีตามบัตรส่งเสริม(ตรวจเปิดฯ)คือ15,600,000 ชิ้น/ปี คิดอย่างไร ข้อ. 2 จำนวนชิ้นงานที่ใช้ยื่น Group วัตถุดิบครั้งแรก (000001-000005) กับ Group ใหม่รวมแล้วต้องไม่เกิน กำลังผลิต ชิ้นงาน 4 เดือน ใช่หรือไม่ ข้อ. 3 ปริมาณการใช้วัถตุดิบจำเป็นต้องใช้ปริมาณการใช้จริงหรือไม่ ข้อ. 4 การยื่นแก้ไขผ่านระบบ online ครั้งแรกที่ใช้เอกสารและหรือ File อะไรบ้าง ขั้นตอนที่บริษัท ได้รับอนุมัติ คือ ฉีดชิ้นงานพลาสติก - ตัด-แต่ง-ขาย(ส่งออก) รบกวนขอคำแนะนำด้วย ขอบคุณครับ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 4 กันยายน 2567, 19:42:04 (12 สัปดาห์ ก่อน)
|
ตอบคำถามดังนี้ การขอแก้ไข Max Stock ไม่ว่าจะเพื่อเพิ่มวัตถุดิบรายการใหม่ หรือเพื่อแก้ไข max stock ของวัตถุดิบรายการเดิม สามารถแก้ไขได้ตลอดเวลาที่มีความจำเป็น ไม่ว่าจะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม 1. Max Stock คำนวณจากกำลังผลิต 4 เดือน ตามกำลังผลิตสูงสุดในบัตรส่งเสริม หากในการตรวจเปิดดำเนินการ พบว่ามีกำลังผลิต 15,600,000 ชิ้น/ปี และได้แก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมให้เป็น 15,600,000 ชิ้นปี เรียบร้อยแล้ว บริษัทสามารถแก้ไข Max Stock โดยใช้กำลังผลิต 4 เดือน คือ 5,200,000 ชิ้น ในการคำนวณ Max Stock ได้ การคำนวณ Max Stock จะต้องยื่นสูตรอ้างอิงเท่าที่จำเป็น และปันสัดส่วนแผนการผลิตของแต่ละสูตรอ้างอิง ให้เต็มตามกำลังผลิต 4 เดือน เช่น หากจะยื่นสูตรอ้างอิง 4 สูตร อาจปันสัดส่วนแผนการผลิตสูตรละ 1,300,000 ชิ้น หรืออย่างไรก็ได้ ให้รวมเป็น 5,200,000 ชิ้น 2. สูตรอ้างอิง ควรใช้สูตรที่มีการผลิตจริง เพื่อความสะดวกหากต้องมีการตรวจสอบพิสูจน์ แต่จะเลือกใช้สูตรอ้างอิงเพียงบางรุ่นก็ได้ โดยควรเลือกใช้สูตรที่มีการใช้วัตถุดิบครบทุกรายการ และมีปริมาณการใช้วัตถุดิบในอัตราสูง เพื่อให้ได้ max stock ที่มากเพียงพอไม่ว่าจะผลิตสินค้ารุ่นใดก็ตาม เช่น หากบริษัทผลิตสินค้า 2 รุ่น จากวัตถุดิบชนิดเดียวกัน ก็ควรใช้สูตรของสินค้ารุ่นที่มีขนาดใหญ่เป็นสูตรอ้างอิง 3. ข้อมูลที่ใช้ในการยื่นขอแก้ไข Max Stock ในระบบ IC online - สูตรอ้างอิง - ชื่อรองวัตถุดิบ - ภาพตัวอย่างวัตถุดิบ - กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ - หลักฐานแสดงการซื้อเครื่องจักร - รายละเอียดการใช้วัตถุดิบ (คำอธิบายวัตถุดิบ รายละเอียดแสดงรายการ/ปริมาณการใช้วัตถุดิบตามสูตรอ้างอิง) 4. การแก้ไข Max Stock ควรใช้ความระมัดระวัง เนื่องจากเป็นการใช้แทน Max Stock ที่ได้รับอยู่เดิม จึงควรตรวจสอบก่อนยื่นว่า ครอบคลุมรายการวัตถุดิบทั้งหมดหรือไม่ และวัตถุดิบแต่ละรายการจะได้ Max Stock เพียงหรือไม่ ครับ |
sanwatech โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567, 07:17:47 (12 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณครับ |
sanwatech โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567, 07:58:51 (12 สัปดาห์ ก่อน)
|
รบกวนสอบถามอีกครั้งครับ กรณีนี้ บริษัทขอ เพิ่ม Group R(Return Product) ด้วยได้รึเปล่าครับเพราะยังไม่มีGroup นี้เลย และต้องคิดอย่างไรครับ เพราะ product มีหลายประเภท/ชนิดผลิตภัณฑ์ รบกวนด้วยครับ ขอบคุณครับ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567, 10:04:50 (12 สัปดาห์ ก่อน)
|
1. หากจะขออนุมัติรายการและสต็อกของสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม ให้ยื่นไฟล์สูตรอ้างอิง (Return) เพิ่มเติมเข้าไปด้วย พร้อมกันกับไฟล์อื่นๆ ตามที่ตอบไว้แล้วในคำตอบ #1 2. หากมีหลายผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขอสต็อกเพื่อนำกลับเข้ามาซ่อม ก็ต้องเพิ่ม sheet ในไฟล์สูตรอ้างอิง (Return) ให้ครบตามชื่อสินค้าที่จะขอสต็อก ครับ |
sanwatech โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567, 14:31:11 (12 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณครับ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567, 14:40:28 (12 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนโลหะจากการปั๊มขึ้นรูป เช่น A, B, C เป็นต้น ปีละ 10,000,000 ชิ้น บริษัทสามารถขออนุมัติ Max Stock ของสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมได้ 10% ของกำลังผลิต คือ 1,000,000 ชิ้น แต่เนื่องจากข้อจำกัดของระบบ IC online ในปัจจุบัน แทนที่บริษัทจะสามารถขออนุมัติ Max Stock ของชิ้นส่วนโลหะจากการปั๊มขึ้นรูป ได้ 1,000,000 ชิ้น บริษัทจะสามารถขอสต็อกของสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม คือ A, B, C, D, E, .... ได้อย่างละ 1,000,000 ชิ้น ครับ |
sanwatech โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567, 16:42:21 (11 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>