GUEST โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566, 16:21:18 (64 สัปดาห์ ก่อน)
|
ทางบริษัทได้รับการอนุมัติเปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว โดยลดกำลังผลิตในขั้นเปิดดำเนินการ คือ จากเดิม 300,000 ตัน/ปี เป็น 100,000 ตัน/ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ... พค 2564 ซึ่งเป็นวันที่บริษัทยื่นขอเปิดดำเนินการ สำหรับเครื่องจักรที่นำเข้าในส่วนที่ลดกำลังผลิต ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เท่าที่อยู่ได้เดิม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ .... มีค 2556 ซึ่งเป็นวันที่บริษัทยื่นคำขอรับการส่งเสริม คำถาม 1.ตามวรรคข้างต้นนี้ ขอทราบวันที่มีผลบังคับใช้ 2.กรณีที่กำลังการผลิตที่เกินจากวันที่มีผลบังคับใช้ตามข้อ1 ถือเป็นรายได้ที่ได้รับการส่งเสริมหรือไม่ (ในกรณีที่ไม่ได้จำหน่ายเกิน) 3.กรณีวัตถุดิบนำเข้าที่เกินจากกำลังการผลิตสามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าได้หรือไม่ ขอบคุณมากค่ะ บริษัท S......... |
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566, 17:35:42 (64 สัปดาห์ ก่อน)
|
ตอบคำถามดังนี้ 1. กำลังผลิตก่อนลดโครงการ (300,000 ตัน/ปี) กำลังผลิตหลังลดโครงการ (100,000 ตัน/ปี) 2. กำลังผลิตเกินกว่า 100,000 ตัน/ปี ตั้งแต่ ... พค 64 เป็นกำลังผลิตที่ไม่ได้รับส่งเสริม เนื่องจากบริษัทยืนยันและ BOI ตรวจสอบในขั้นเปิดดำเนินการแล้วว่า เครื่องจักรตามโครงการ มีกำลังผลิตสูงสุดเพียง 100,000 ตัน/ปี 3. เมื่อลดกำลังผลิต บริษัทจะต้องยื่นแก้ไขบัญชีสต็อกวัตถุดิบ เพื่อลดปริมาณ Max stock ด้วย โดย BOI จะอนุมัติให้แก้ไข Max Stock เป็นจำนวน 4 เดือน ของกำลังผลิตหลังลดโครงการ หากบริษัทนำเข้าวัตถุดิบและตัดบัญชี ให้มียอดคงเหลือ (balance) ไม่เกินกว่า Max Stock จะนำเข้าสะสมในรอบปีนั้นเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ครับ |
GUEST โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566, 11:04:53 (63 สัปดาห์ ก่อน)
|
รบกวนถามเพิ่มเติมในข้อ 2 ที่แจ้งว่าเป็นกำลังการผลิตที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ในกรณีนี้หากทางบริษัทได้จัดทำและได้รับการรับรองงบดุลของปี 64 แล้ว จะมีผลกระทบอะไรไหมคะ และหากมีต้องดำเนินการอย่างไรคะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566, 12:38:42 (63 สัปดาห์ ก่อน)
|
1. จะต้องยื่นแก้ไขแบบภาษีปี 64 และชำระภาษีและค่าปรับกับกรมสรรพากร 2. ส่วนจะต้องแก้ไขงบการเงินด้วหรือไม่ คงจะต้องปรึกษากับผู้สอบบัญชีเป็นกรณีไป ครับ |
runn โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566, 16:32:44 (63 สัปดาห์ ก่อน)
|
การกรอกข้อมูล รายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ติดตั้งใชในโครงการ (ทั้งที่นําเข้าโดยใช้สิทธิฯ/ชําระภาษ และซอในประเทศ) คำว่าอุปกรณ์คือทรัพย์สินที่ทางบัญชีลงเป็นหมวดอุปกรณ์ใช่มั้ยครับ เช่น พัดลมโรงงาน สว่าน เครื่องชั่ง ตู่้เชื่อม ถังดับเพลิง ชั้นวางสินค้า |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566, 18:59:12 (63 สัปดาห์ ก่อน)
|
หากบริษัทคำนวณแล้วว่า วงเงินในส่วนค่าเครื่องจักรและค่าก่อสร้าง มีเพียงพอสำหรับใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่แนะนำให้กรอกมูลค่าการลงทุนในส่วนอุปกรณ์ ครับ |
GUEST โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 12 กันยายน 2566, 10:51:55 (62 สัปดาห์ ก่อน)
|
ในกรณีที่เปิดดำเนินการแล้วปริมาณการผลิตที่ได้รับอนุมัติลดลง คำถามคือทางบริษัทมีกิจการที่รับจ้างผลิตโดยใช้วัตถุดิบของทางลูกค้า บ. S.... |
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 12 กันยายน 2566, 11:10:13 (62 สัปดาห์ ก่อน)
|
1. การลดกำลังผลิตในขั้นเปิดดำเนินการ มีความหมายว่า บริษัทมีเครื่องจักรที่ติดตั้งจริง ณ วันเปิดดำเนินการ ไม่ครบกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม จึงอนุญาตให้เปิดดำเนินการตามกำลังผลิตของเครื่องจักรที่มีอยู่จริง 2. การรับจ้างผลิตสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม และมีกรรมวิธีผลิตครบตามขั้นตอนที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นการผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม สามารถใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ตามปกติ 3. กรณีที่สอบถาม ปริมาณการผลิตที่รับจ้างผลิตตามข้อ 2 นับเป็นกำลังผลิตของโครงการด้วย ครับ |
GUEST โพสต์เมื่อวันพุธที่ 27 กันยายน 2566, 14:58:05 (60 สัปดาห์ ก่อน)
|
สอบถามเพิ่มเติมอีกหนึ่งคำถามนะคะ ในกรณีที่ได้รับอนุมัติให้เปิดดำเนินการแล้ว ทางบริษัทฯสามารถขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิตได้หรือไม่ ต้องทำอย่างไรคะ บริษัท S..... |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 27 กันยายน 2566, 15:45:43 (60 สัปดาห์ ก่อน)
|
1. การแก้ไขโครงการที่มีการลงทุนเพิ่ม เพื่อเพิ่มกำลังผลิตของผลิตภัณฑ์เดิม หรือเพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ใหม่ กำหนดหลักเกณฑ์ตามประกาศ สกท ที่ ป.3/2547 คือจะต้องเป็นโครงการที่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการเต็มโครงการ 2. กรณีที่สอบถาม เป็นการแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ซึ่งอาจมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มด้วยหรือไม่ก็ได้ เป็นกรณีที่ไม่เข้าข่ายของประกาศตามข้อ 1 จึงสามารถแก้ไขโครงการได้ แม้จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรที่อาจลงทุนเพิ่ม และไม่สามารถนำมูลค่าเครื่องจักรที่อาจลงทุนเพิ่ม มารวมคำนวณเป็นขนาดการลงทุน เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล --> คือจะเป็นการอนุญาตให้แก้ไขกรรมวิธีผลิต เพื่อให้สามารถแก้ไขบัญชีรายการสต็อกวัตถุดิบได้ โดยได้รับสิทธิเท่าที่เหลืออยู่เดิม ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>