giftkea โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กรกฏาคม 2557, 10:15:59 (539 สัปดาห์ ก่อน)
Top

รบกวนสอบถามนะคะ ในกรณีที่บริษัทเป็น BOI แล้วมีลูกค้ามาติดต่อลูกค้าอยู่ในเขต EPZ Zone ให้ผลิตงานให้โดยที่ลูกค้า Support Mat'l and Mold ให้โดยให้เรามีหน้าที่ผลิตสินค้าให้กับลูกค้าอย่างเดียว บริษัทต้องยื่นเรื่องแจ้งต่อ BOI หรือไม่คะและสามารถทำได้หรือไม่คะ รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กรกฏาคม 2557, 10:48:25 (539 สัปดาห์ ก่อน)
#1 Top

การรับจ้างผลิตสินค้า หากเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่บริษัทได้รับส่งเสริม และมีกรรมวิธีผลิตครบตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ ก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องแจ้งอะไรต่อ BOI

ส่วนในการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและแม่พิมพ์จาก EPZ ก็สามารถใช้สิทธิได้เสมือนกับการนำเข้าจากต่างประเทศ คือ

วัตถุดิบ

  1. เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ (EPZ) เมื่อผลิตเสร็จก็ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ (EPZ) จึงสามารถใช้สิทธิมาตรา 36(1) ในการยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบได้
  2. แม้ว่าลูกค้าใน EPZ จะส่งวัตถุดิบมาให้โดยไม่คิดมูลค่า แต่ก็ต้องสำแดงราคาเพื่อประโยชน์ในการประเมินภาษีอากร
  3. กรณีเกิดส่วนสูญเสียจากการผลิต ขึ้นอยู่กับว่ามีข้อตกลงกับลูกค้าอย่างไร หากไม่ส่งส่วนสูญเสียคืนกลับไปให้ลูกค้าใน EPZ ก็ต้องทำลายหรือชำระภาษีตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยเรื่องส่วนสูญเสียตามมาตรา 36(1)

แม่พิมพ์

  1. ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าตามมาตรา 28 ได้
  2. ต้องสำแดงราคา เพื่อประโยชน์ในการประเมินภาษีอากร ทั้งนี้ในทางบัญชี ถือว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่ส่งมาให้บริษัทใช้ผลิตชิ้นงานให้ลูกค้า
  3. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ก็ยื่นเรื่องขออนุญาตส่งแม่พิมพ์คืนไปต่างประเทศ (EPZ) ครับ
giftkea โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กรกฏาคม 2557, 11:23:25 (539 สัปดาห์ ก่อน)
#2 Top

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมนะคะ ในกรณีที่บริษัทมีกรรมวิธีการผลิต คือ 1. ปั้มขึ้นรูป 2. ตัด ดัด เจาะรู 3. ตกแต่งชิ้นงาน 4. ตรวจสอบ แพ็ค จำหน่าย แต่ในวิธีการที่ลูกค้าจ้างผลิตไม่มีขั้นตอนที่ 3 อย่างนี้ต้องขออนุญาติกับ BOI ก่อนหรือไม่คะ และในกรณีที่บริษัทยังไม่ได้เปิดดำเนินการ (ขยายเวลาเครื่องจักรอยู่) บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะและการสำแดงราคาหมายถึงอะไรคะ รบกวนสอบถามด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กรกฏาคม 2557, 12:24:45 (539 สัปดาห์ ก่อน)
#3 Top

ขอตอบคำถามดังนี้

  1. ขั้นตอนการตบแต่งชิ้นงานหลังจากการขึ้นรูป เป็นขั้นตอนที่อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งๆ ตามความจำเป็นหลังการขึ้นรูปชิ้นงาน
    ดังนั้น หากของที่ผลิตได้ แม้จะไม่มีการตบแต่งชิ้นงาน ยังใช้ชื่อสินค้าตามบัตรส่งเสริม (คือ ไม่เป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป) ก็คิดว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไขกรรมวิธีผลิตก็ได้
  2. หรือหากบริษัทจะขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต จากเดิมที่มีการตบแต่งชิ้นงาน เป็น "บางกรณีตบแต่งชิ้นงาน" ก็ได้
    โดยการแก้ไขในกรณีนี้ จะยื่นก่อนหรือหลังเปิดดำเนินการก็ได้ เพราะไม่กระทบกับการนำเข้าเครื่องจักร
  3. การสำแดงราคาเพื่อประโยชน์ในการประเมินอากรคือ เมื่อลูกค้าส่งวัตถุดิบจาก EPZ มาให้บริษัท จะมีการเปิดอินวอยซ์มาด้วย แต่เนื่องจากเป็นการส่งวัตถุดิบมาว่าจ้าง ดังนั้น มูลค่าตามอินวอยซ์จะเป็น 0 ซึ่งจะคำนวณอากรขาเข้าไม่ได้
    ดังนั้น ลูกค้าจึงต้องระบุมูลค่าวัตถุดิบในอินวอยซ์ เพื่อประโยชน์สำหรับการคำนวณภาษีอากร แม้จะไม่ได้มีการซื้อขายวัตถุดิบเกิดขึ้นก็ตาม ครับ
giftkea โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กรกฏาคม 2557, 13:07:04 (539 สัปดาห์ ก่อน)
#4 Top

ขอบคุณมากนะคะ ได้รับคำตอบที่ชัดเจนและรวดเร็วมากค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กรกฏาคม 2557, 15:31:10 (539 สัปดาห์ ก่อน)
#5 Top

ยินดีครับ

giftkea โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557, 15:49:46 (536 สัปดาห์ ก่อน)
#6 Top

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมนะคะ ในกรณีที่ลูกค้าที่อยู่ใน EPZ Zone ส่งวัตถุดิบมาให้บริษัททำการผลิตสินค้าให้ เมื่อบริษัทผลิตสินค้าเสร็จแล้วทำการส่งออกไปในเขต EPZ Zone อันนี้เราไม่ต้องใช้สิทธิ BOI ได้ใช่มั้ยคะ เพราะยังไงก็เสีย 0% อยู่แล้วถึงแม้เราจะใช้แม่พิมพ์ที่เราใช้สิทธิ BOI นำเข้ามาเพราะลูกค้าแจ้งว่าจะ Support วัตถุดิบให้โดยที่ไม่เอาเศษซากกลับคืนด้วย ให้เราคิดราคาหักค่าเศษซากไปด้วยอันนี้เราสามารถทำได้มั้ยคะ สำหรับส่วนสูญเสียแบบนี้แล้วเราสามารถขายเป็น Scrap ปกติได้มั้ยคะ รบกวนสอบถามหน่อยนะคะ พอดียังงงๆ อยู่น่ะค่ะ ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557, 19:48:30 (536 สัปดาห์ ก่อน)
#7 Top
  1. แม้ว่าลูกค้าใน EPZ จะส่งวัตถุดิบมาว่าจ้างโรงงานในประเทศให้ผลิตและรับคืนกลับไปใน EPZ โดยไม่คิดราคาวัตถุดิบ แต่ก็ถือเป็นการนำเข้าวัตถุจากต่างประเทศ (EPZ) ซึ่งต้องชำระอากรขาเข้า
    ดังนั้น หากต้องการยกเว้นอากรขาเข้า ก็ต้องยื่นขอสั่งปล่อยโดยใช้สิทธิ BOI
  2. ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 เป็นภาระรับผิดชอบของโรงงานในประเทศที่ใช้สิทธิสั่งปล่อยวัตถุดิบ
    หากไม่จัดการตามข้อกำหนดเรื่องส่วนสูญเสียตามมาตรา 36 โรงงานในประเทศก็ต้องรับผิดชอบภาษีนั้น โดยจะไปชาร์จจากผู้ว่าจ้างเป็นค่าจัดการเศษซาก ก็แล้วแต่จะตกลงกันเองครับ
giftkea โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557, 09:13:29 (536 สัปดาห์ ก่อน)
#8 Top

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557, 16:09:58 (536 สัปดาห์ ก่อน)
#9 Top

ยินดีครับ

<< ก่อนหน้า       1       ถัดไป >>

ถ้าหากคุณต้องการโพสต์ในกระทู้นี้ กรุณา ลงชื่อเข้าใช้ หรือ ลงทะเบียนใช้งานเว็บบอร์ด