เนื่องจากไม่สามารถอ้างอิงจากประกาศ BOI ได้ จึงขอตอบความเข้าใจของแอดมิน ดังนี้ครับ
การจำนองคือการนำอสังหาริมทรัยพ์ หรือสังหาริมทรัพย์ เช่น เครื่องจักร ไปจดทะเบียนเป็นหลักประกันการชำระหนี้
ซึ่งหากผู้จำนองผิดสัญญาการชำระหนี้ จะถูกยึดหลักประกันนั้น
กรณีนำเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ BOI ไปจำนอง จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน โดย
- หากผู้จำนอง ถูกเพิกสิทธิหรือยกเลิกบัตรส่งเสริม ภายใน 5 ปีนับจากวันนำเข้าเครื่องจักรนั้น ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องเป็นผู้ชำระอากรเข้าเครื่องจักรดังกล่าว
- หากผู้จำนอง ผิดสัญญาการชำระหนี้ และถูกยึดเครื่องจักร ภายใน 5 ปีนับจากวันนำเข้าเครื่องจักรนั้น กรรมสิทธิของเครื่องจักรจะเปลี่ยนจากผู้ได้รับส่งเสริม เป็นผู้รับจำนอง โดยจะถือว่าผู้รับจำนองเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรนั้นในวันรับโอน (ตาม พรบ ส่งเสริมลงทุน มาตรา 42) โดยหากผู้รับจำนองไม่อาจชำระอากรเครื่องจักรได้ครบถ้วน ผู้จำนองจะต้องรับผิดชอบชำระอากรจนครบ
หากผู้ได้รับส่งเสริมนำเข้าเครื่องจักรนั้น ครบ 5 ปี และยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้น หากผิดสัญญาชำระหนี้ และถูกยึดเครื่องจักร
จะไม่มีผลกระทบด้านภาระภาษี แต่อาจต้องแก้ไขโครงการ เพื่อลดขนาดกิจการ เนื่องจากเครื่องจักรดังกล่าว ถูกยึดไปแล้ว ไม่สามารถใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมอีกต่อไป
กรณีที่สอบถาม หากเครื่องจักรนั้นนำเข้าเกิน 5 ปี ให้ยื่นตัดบัญชีก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงทั้งหมด
ส่วนการโอนกิจการที่ได้รับส่งเสริมจาก A ไป B โดยมีเครื่องจักรที่ A นำไปจำนองกับ B รวมอยู่ด้วยนั้น
ในส่วนของ BOI ไม่น่าจะมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม
แต่ในส่วนของสัญญากู้ ซึ่ง A นำเครื่องจักรไปจดทะเบียนจำนองไว้กับ B นั้น
--> เข้าใจว่าต้องมีการแก้ไข/หรือยกเลิกสัญญากู้ดังกล่าวด้วย ซึ่งในส่วนนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับ BOI ครับ