ZATH โพสต์เมื่อวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564, 15:39:44 (157 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียนสอบถามกรณีเราส่งออกวัตถุดิบไปต่างประเทศ โดยวัตถุดิบนั้นเป็นวัตถุดิบที่ซื้อมาจากผู้ผลิตในประเทศที่นำเข้าชิ้นส่วนภายใต้ ม.36 แล้วนำมาประกอบบางส่วนก่อนส่งขายให้เรา ในกรณีนี้เราจะคืนวัตถุดิบให้เวนเดอร์อย่างไรคะ สอบถามทางไอซีไปบอกว่าทำไม่ได้ (เพระาเราไม่สามารถระบุ เลข นร นำเข้าของเวนเดอร์ได้) ขอยกตัวอย่าง คือ เราซื้อวัตถุดิบ ก. มาจากเวนเดอร์ (เวนเดอร์นำเข้า วัตถุดิบ ก.1 ภายใต้ ม.36 มาประกอบกับ ก.2 แล้วกลายเป็นวัตถุดิบ ก.) ขอแบ่งเป็น 2 กรณีย่อย คือ 1.เราส่งออกวัตถุดิบ ก. ไปต่างประเทศ ต้องการคืน วัตถุดิบ ก. ให้เวนเดอร์ 2. เรานำวัตถุดิบ ก. มาผลิตต่อ กลายเป็น วัตถุดิบ ข. (Semi FG) แล้วส่งออกไปต่างประเทศ ต้องการคืน วัตถุดิบ ก. ให้เวนเดอร์ ปล ปกติกรณ๊เราผลิตจนเป็นผลิตภัณฑ์ พอตัดบัญชีสามารถโอนยอด วัตถุดิบ ก. ให้เวนเดอร์ ได้ตามปกติค่ะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564, 16:24:49 (157 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอเปลี่ยนคำถามให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ (หากไม่ถูกต้อง ช่วยแจ้งเพิ่มเติมด้วยครับ) 1. บริษัท A ซื้อวัตถุดิบจากบริษัท B มาผลิตเป็นสินค้าส่งออก จากนั้นตัดบัญชี และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับบริษัท B ได้ตามขั้นตอนปกติ 2. หากบริษัท A ซื้อวัตถุดิบจากบริษัท B แล้วนำไปส่งออก จะตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้บริษัท B ได้หรือไม่ ตอบ) 2.1 หากบริษัท A ไม่ได้รับส่งเสริมในกิจการ ITC หรือ IPO - การที่บริษัท A ซื้อวัตถุดิบจาก B มาส่งออก ถือเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ได้รับส่งเสริม จึงไม่สามารถขออนุมัติสูตรการผลิตเพื่อตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับ B ได้ - กรณีนี้บริษัท A สามารถระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัทผู้รับโอน (คือบริษัท B) ในช่อง remark ของใบขนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้รับโอนสามารถดึงใบขนดังกล่าวไปตัดบัญชีได้โดยตรง 2.2 หากบริษัท A ได้รับส่งเสริมในกิจการ ITC หรือ IPO - สามารถขออนุมัติสูตรการผลิต (สูตรแบบ 1:1) เพื่อตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับบริษัท B ได้ตามขั้นตอนปกติ 3. หากบริษัท A ซื้อวัตถุดิบจากบริษัท B แล้วนำไปผลิตเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพื่อส่งออก จะตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้บริษัท B ได้หรือไม่ ตอบ) - หากในบัตรส่งเสริมไม่ระบุให้มีการผลิตสินค้ากึ่งสำเร็จรูป บริษัท A จะไม่สามารถขออนุมัติสูตรสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพื่อตัดบัญชีและ/หรือโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับบริษัท B - และไม่สามารถใช้วิธีตามข้อ 2.1 เพื่อโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับบริษัท B เนื่องจากสินค้าที่บริษัท A ส่งออก เป็นคนละรายการกับวัตถุดิบที่ซื้อมาจาก B ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564, 18:22:47 (157 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณมากค่ะ ของเราเป็นกรณี ข้อ 2.1 ค่ะ จะนำวิธี ระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัทผู้รับโอน ไปสอบถามทางไอซีและผู้รับโอนอีกทีนะคะ |
ZATH โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564, 10:19:32 (157 สัปดาห์ ก่อน)
|
สอบถามไปทางเวนเดอร์เขาไม่เคยทำเคสแบบนี้ค่ะ พอสอบถามไปทางไอซีแหลมฉบังว่าทางเวนเดอร์สามารถนำใบขนนี้มาปรับยอดได้หรือไม่ ทางไอซีแจ้งว่าไม่เคยทำเคสนี้เช่นเดียวกันค่ะ ดิฉันขอทำความเข้าใจกระบวนการนี้ว่าเป็นดังนี้หรือไม่นะคะ 1. เราส่งออกวัตถุดิบที่ซื้อมาจากเวนเดอร์ โดยตอนทำใบขนให้ระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัทผู้รับโอน (คือบริษัท B) ในช่อง remark 2. ส่งใบขนดังกลาวให้เวนเดอร์นำใบปรับยอด 3. เวนเดอร์นำใบขนไปคีย์ไฟล์ xxx ? เพือปรับยอดที่ไอซี --> ขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างไรคะ (ทางไอซีแจ้งว่าให้สอบถามกับ จนท บีโอไอค่ะ)
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564, 13:04:31 (157 สัปดาห์ ก่อน)
|
การส่งออกผ่าน Trading (ตามตัวอย่างที่สอบถาม A คือ Trading และ B คือผู้ผลิต) มีขั้นตอนในการตัดบัญชีตาม ประกาศ สกท ที่ ป.2/2564 คือ 1. A ต้องทำใบขนอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 8 (1.4) ของประกาศ และระบุเลข 13 หลักของ B ในช่อง remark ของรายการสินค้าในใบขนฯ ที่จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้ B 2. จากนั้น A แจ้งเลขที่/วันที่ใบขนฯ ให้ B ทราบ 3. หลังจากใบขนฯขึ้นระบบ IC Online แล้ว B จะสามารถดึงข้อมูลใบขนดังกล่าว เฉพาะรายการที่ระบุการโอนสิทธิให้ B มาตัดบัญชีตามขั้นตอนปกติต่อไป ครับ |
ZATH โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564, 16:32:59 (157 สัปดาห์ ก่อน)
|
กรณีที่สอบถาม A เป็นผู้ผลิตเหมือนกันน่ะค่ะ แต่จะขอส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศค่ะ ทำวิธีนี้ได้เหมือนกันใช่ไหมคะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564, 16:45:32 (157 สัปดาห์ ก่อน)
|
สามารถทำได้ โดยกิจการในส่วนซื้อมา-ขายไป (ส่งออก) นี้ จะเป็นกิจการส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริม โดยหากกิจการที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมยังอยู่ในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทจะต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการซื้อมา-ขายไปนี้ แยกจากกิจการส่วนที่ได้รับส่งเสริม และจะนำสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิมมาใช้กับกิจการส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริมนี้ไม่ได้ และหาก A เป็นนิติบุคคลต่างชาติ (หุ้นต่างชาติมากกว่ากึ่งหนึ่ง) จะต้องไม่ใช่การซื้อมาเพื่อนำไปจำหน่ายในประเทศ มิฉะนั้นจะขัดกับ พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ด้วย ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>