ad-group โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2557, 16:35:19 (522 สัปดาห์ ก่อน)
|
ถ้าบริษัทต้องการทำลายเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว โดยเครื่องจักรดังกล่าวได้นำเข้ามาเกินระยะเวลา 5 ปี ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างคะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2557, 17:31:28 (522 สัปดาห์ ก่อน)
|
หากเครื่องจักรนำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี และไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป แนะนำให้ยื่นขอจำหน่ายจะดีกว่า เนื่องจากการขอจำหน่ายเครื่องจักรที่นำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี สามารถอนุญาตให้จำหน่ายได้โดยไม่มีภาระภาษี จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำลายครับ |
ad-group โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557, 08:09:48 (522 สัปดาห์ ก่อน)
|
ในการทำเรื่องขอจำหน่าย นี่หมายความถึงขอจำหน่ายออกจาก BOI ใช่รึเปล่าคะ แล้วถ้าทำเรื่องขอจำหน่ายกับทางBOI เรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทก็จะสามารถทำลายเครื่องจักรได้เลยใช่มั้ยคะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557, 08:52:27 (522 สัปดาห์ ก่อน)
|
การขอจำหน่าย คือการจะขายออกจากโครงการครับ เมื่อได้รับอนุมัติจำหน่ายจากบีโอไอแล้ว จะขายเป็นเครื่องจักรมือสองไปก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำลาย เสียค่าใช้จ่ายในการทำลายเปล่าๆครับ |
itsaradha โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2558, 14:11:29 (472 สัปดาห์ ก่อน)
|
หากบริษัทฯ ยื่นขออนุมัติวิธีการทำลายและได้รับอนุมัติจากสำนักงานแล้ว third party เข้ามาตรวจสอบ และออกใบรับรองให้แล้ว คำถามคือ 1. หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับใบรับรองจาก third party แล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปค่ะ 2. บริษัทฯ ควรจะขายเครื่องจักรที่ขอทำลายในประเทศ หรือ ควรจะส่งออกไปทิ้งต่างประเทศ ( เครื่องจักรเกิน 5 ปีและตัดบัญชี 5 ปีแล้ว)
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2558, 16:53:41 (472 สัปดาห์ ก่อน)
|
หลังจากที่ได้รับอนุมัติวิธีทำลาย และได้ให้ inspector มาตรวจสอบรับรองการทำลายแล้ว 1. ให้ยื่นเรื่องขออนุญาตตัดบัญชีเครื่องจักรต่อ BOI โดยแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาหนังสืออนุมัติให้ทำลาย และหนังสือรับรองการทำลายจาก inspector 2. BOI จะอนุญาตให้ตัดบัญชีเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายและได้ทำลายตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ โดยไม่มีภาระภาษี 3. เครื่องจักรที่ทำลายและตัดบัญชีแล้ว สามารถจำหน่ายในประเทศได้ตามสภาพ (เศษเหล็ก) โดยไม่มีภาระภาษี 4. คำว่า "ตัดบัญชี" ในที่นี้ ไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบ eMT ดังนั้น จำนวนเครื่องจักรที่ได้รับให้ตัดบัญชี จึงจะไม่ถูกหักลบจากปริมาณเครื่องจักรที่นำเข้าที่บันทึกในระบบ eMT เช่น บริษัทนำเข้าเครื่องจักรมา 3 เครื่อง ได้ทำลายและตัดบัญชีไปแล้ว 1 เครื่อง แต่ในระบบก็ยังแสดงปริมาณนำเข้าเป็น 3 เครื่องเช่นเดิม ดังนั้น หากบริษัทจะขอนำเข้ามาอีก 1 เครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่ทำลายและจำหน่ายออกไป ก็ต้องขอแก้ไขปริมาณอนุมัติใน Master List จาก 3 เครื่อง เป็น 4 เครื่อง ครับ -------------------------------------------- เครื่องจักรที่บริษัทสอบถาม นำเข้าเกิน 5 ปี และได้ตัดบัญชีปลอดภาษีไปแล้ว ดังนั้น หากเครื่องจักรดังกล่าวชำรุดเสียหาย ก็สามารถขอจำหน่ายได้โดยไม่ต้องทำลาย และไม่ต้องเสียภาษี การทำลาย เป็นวิธีเพื่อทำให้เครื่องจักรหมดภาระภาษี แต่เมื่อเครื่องจักรดังกล่าวตัดบัญชีปลดภาระภาษีไปแล้ว ก็ไม่ต้องทำลายให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นครับ |
unknown[173] โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 08:40:56 (434 สัปดาห์ ก่อน)
|
ถ้าในกรณีที่จะทำลายแม่พิมพ์ที่ไม่ใช้แล้วที่ได้นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ์BOI จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเหมือนกับ "การทำลายส่วนสูญเสีย" หรือไม่คะ เนื่องจากแม่พิมพ์สามารถนำออกจำหน่ายได้ค่ะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 09:42:57 (434 สัปดาห์ ก่อน)
|
การทำลายเครื่องจักร ให้ดำเนินการตาม ประกาศ ที่ ป.3/2555 ดังนี้ครับ 1. ขออนุมัติวิธีทำลาย 2, ให้บริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตจาก BOI เป็นตัวแทนปฏิบัติงานตรวจสอบการทำลาย เข้าร่วมตรวจสอบและรายงานผลการทำลาย 3. ส่งหลักฐานการทำลายให้ BOI เพื่อพิจารณาอนุมัติตัดบัญชีเครื่องจักรต่อไป เครื่องจักรที่ทำลายตามขั้นตอนข้างต้น จะไม่มีภาระภาษี แม้ว่าหลังจากนั้นจะจำหน่ายเป็นเศษเหล็กก็ตาม |
unknown[173] โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2559, 09:47:53 (434 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณมากค่ะ^^ |
unknown[80] โพสต์เมื่อวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559, 13:18:40 (414 สัปดาห์ ก่อน)
|
เครื่องจักรของบริษัทเกิน 5 ปี และะเป็นเครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ บางรายการนำเข้าแต่ไม่ได้ใช้สิทธิ์ แต่รายการดังกล่าว มีผลต่อกำลังการผลิตหากทำลาย ในกรณีนี้ต้องขออนุมัติจาก BOI หรือทำหนังสือแจ้งหรือไม่ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559, 14:33:50 (414 สัปดาห์ ก่อน)
|
เครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ และเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยชำระภาษีอากร ไม่อยู่ในขอบข่ายการควบคุมเรื่องอายุเครื่องจักร 5 ปี ตามประกาศ สกท ที่ ป.3/2548 ดังนั้น บริษัทจะขายหรือทำลายเครื่องจักรดังกล่าวเมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI แต่เนื่องจากในบัตรส่งเสริมกำหนดเงื่อนไขเฉพาะโครงการว่า บริษัทจะต้องดำเนินการตามสาระสำคัญที่ได้รับส่งเสริม คือ จะต้องมีกำลังผลิต ........ ปีละประมาณ ............ ชิ้น ดังนั้น หากบริษัทขายหรือทำลายเครื่องจักรดังกล่าว และทำให้ขนาดกิจการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม บริษัทจะต้องแจ้ง BOI เพื่อขอลดขนาดกิจการด้วย ครับ |
NTCCC โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564, 14:10:43 (198 สัปดาห์ ก่อน)
|
หากบริษัท นำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิบีโอไอ แต่เครื่องยังไม่ถึง5ปี ซึ่งเครื่องจักรดังกล่าวล้าสมัยใช้ไม่ได้กับงานในปัจจุบันแล้ว มีวิธีการจัดการกับเครื่องจักรนั้นอย่างไรบ้าง? |
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564, 14:37:16 (198 สัปดาห์ ก่อน)
|
สามารถดำเนินการได้ 2 วิธีดังนี้ 1.ขอส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ โดยไม่มีภาระภาษีอากร 2.ขอจำหน่ายในประเทศ โดยชำระภาษีอากรตามสภาพ ทั้งนี้ หากเป็นเครื่องจักรหลัก ที่จะทำให้กรรมวิธีการผลิตไม่ครบถ้วน หรือทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% จะต้องมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน หรือต้องขอแก้ไขโครงการเพื่อลดกำลังผลิตหรือลดขั้นตอนการผลิตแล้วแต่กรณี ครับ |
NTCCC โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564, 16:55:31 (198 สัปดาห์ ก่อน)
|
อยากทราบวิธิคิดภาษีอากรที่เรียกเก็บตามสภาพ ณ วันที่สำนักงานกำหนด และภาษีอากรที่เรียกเก็บตามสภาพ ณ วันนำเข้า สามารถหาข้อมูลได้จากที่ไหน? |
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564, 17:50:10 (198 สัปดาห์ ก่อน)
|
รายละเอียดขอให้ติดต่อสอบถามกับกรมศุลกากร หรือ บ.ชิปปิ้ง โดยหลักการคร่าวๆ คือ การชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันที่ BOI อนุมัติ จะคำนวณมูลค่าฐาน ตามสัดส่วนของระยะเวลาที่นำเข้า โดยกำหนดอายุของเครื่องจักรเป็นเวลา 5 ปี เช่น หากนำเข้ามาแล้ว 2 ปี ก็จะมีมูลค่าฐานเป็น 3/5 = 60% ของมูลค่าเครื่องจักรที่นำเข้ามา และคำนวณภาษีอากรตามบนฐานภาษีนี้ ครับ |
tuboi โพสต์เมื่อวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564, 15:26:32 (197 สัปดาห์ ก่อน)
|
บริษัทได้ยื่นเอกสารเพื่อยกเลิกและเพิกถอนบัตร ตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ต้องการทำลายเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์และมีการตัดบัญชีนำเข้าเกิน 5 ปีแล้วเรียบร้อย ทั้งนี้บริษัทสามารถทำลายได้เลยหรือต้องขออนุญาตทำลายกับ BOI ก่อนคะ ส่วนเครื่องจักรที่ซื้อภายในประเทศและนำเข้าโดยชำระภาษีสามารถทำลายได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต และบริษัทที่รับทำลายไม่ต้องได้รับการรับรองจาก BOI ก็ได้ใช่ไหมคะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564, 14:03:39 (197 สัปดาห์ ก่อน)
|
เครื่องจักรที่นำเข้าเกิน 5 ปี และได้รับอนุญาตตัดภาระภาษี 5 ปีแล้ว ยังคงต้องใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมต่อไป กรณีของบริษัท หากได้ยื่นขอยกเลิกบัตรส่งเสริมแล้ว สามารถยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตตัดภาระภาษีข้างต้นได้ และเมื่อได้รับอนุมัติให้จำหน่ายแล้ว จะจำหน่ายหรือทำลายก็ได้ ส่วนเครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ จะจำหน่ายหรือทำลายก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI ครับ แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564, 14:05:00
|
tuboi โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564, 09:43:07 (197 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณมากค่ะ ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ 1. บริษัทได้รับอนุมัติยกเลิกเพิกถอนบัตรส่งเสริมแล้ว สำหรับเครื่องจักรที่นำเข้าเกิน 5 ปี และได้รับอนุญาตตัดภาระภาษี 5 ปีแล้ว หากจะขายเหรือทำลายต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอีกหรือไม่ หากต้องขออนุญาตจะดำเนินการอย่างไรคะ 2. สำหรับเครื่องจักรที่นำเข้าเกิน 5 ปี และได้รับอนุญาตตัดภาระภาษี 5 ปีแล้ว ทราบมาว่าไม่ต้องขอนุญาตทำลายหรือขายกับทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้วก็ได้ หากเครื่องจักรนั้นไม่มีผลกระทบต่อการผลิตหรือไม่ใช่เครื่องจักรหลักจริงหรือไม่คะ 3. การขายหรือทำลายเศษซากสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ BOI บริษัทที่รับทำลายต้องเป็นบริษัทที่ได้รับการรับรองจาก BOI หรือไม่คะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564, 14:10:29 (197 สัปดาห์ ก่อน)
|
การได้รับอนุมัติยกเลิกบัตรส่งเสริมแล้ว หมายความว่า บริษัทได้ทำการชำระภาษีเครื่องจักร/วัตถุดิบ หรือได้ตัดภาระภาษีเสร็จสิ้นแล้ว ดังนั้น เครื่องจักรที่ครอบครองอยู่ จะนำไปทำลาย จำหน่าย ส่งออก อย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้ง BOI อีก ครับ |
tuboi โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564, 14:05:53 (196 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณมากค่ะ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>