DUCK โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563, 14:18:28 (222 สัปดาห์ ก่อน)
|
ทางบริษัทได้รับสิทธิพิเศษมาตรา 36 (1) และ (2) ปกติแล้วจะใช้แต่มาตรา 36(1) อยากสอบถามเกี่ยวกับ มาตรา 36 (2) เนื่องจากบริษัท จะต้องนำเข้า วัตถุดิบทั้งหมด 4 รายการ ซึ่งทั้งหมด 4 รายการจะมาจากหลายประเทศ ซึ่งทางประเทศไทยต้องรวบรวมวัตถุดิบ ทั้งหมด 4 รายการ และทำการส่งออก (ขายไปยังลูกค้าที่ต่างประเทศ) อยากทราบว่าทางเราสามารถใช้สิทธิ์ มาตรา 36 (2) ได้ไหมค่ะ และ ทางบริษัทต้องดำเนินการอย่างไร มีวิธีปฎิบัติหรือไม่ ขอบคุณมากค่ะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563, 19:18:19 (222 สัปดาห์ ก่อน)
|
มาตรา 36(2) คือ การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไปในสภาพเดิม โดยไม่ผ่านกระบวนการผลิต ผสม ประกอบ ใดๆ เช่น การนำสินค้าตัวอย่างเข้ามา แล้วส่งกลับออกไป เป็นต้น กรณีที่สอบถาม เป็นการนำวัตถุดิบเข้ามาจัดชุด แล้วจำหน่าย ไม่อยู่ในข่ายที่จะใช้สิทธิมาตรา 36(2) และหากเป็นกิจการผลิต ก็ไม่อยู่ในข่ายจะใช้สิทธิมาตรา 36(1) ด้วย เนื่องจากกิจการผลิต จะต้องมีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย และมีมูลค่าเพิ่มตามหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด ไม่ใช่เป็นการจัดชุด เพื่อจำหน่าย ครับ |
MIT_G2 โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563, 09:20:51 (206 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ หากบริษัทนำเข้าวัตถุดิบเป็น BOI แล้ว ต่อมาบริษัทแม่ที่ ตปท.มีความต้องการใช้วัตถุดิบเร่งด่วน จึงขอให้บริษัทขายต่อให้ อยากทราบว่ามีเงื่อนไขหรือข้อระวังอย่างไรบ้างคะ // บ.ได้รับสิทธิ ม.36(1) /(2) |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563, 16:16:16 (206 สัปดาห์ ก่อน)
|
กรณีที่สอบถาม เป็นวัตถุดิบที่บริษัทนำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36(1) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต ผสม ประกอบ เป็นสินค้าที่ได้รับการส่งเสริม เพื่อการส่งออก แต่เนื่องจากมีความจำเป็นต้องส่งออกวัตถุดิบนั้นไปต่างประเทศ จึงน่าจะอยู่ในข่ายที่ BOI จะอนุญาตให้ส่งวัตถุดิบนั้นไปต่างประเทศได้ กรณีที่เข้าข่ายอนุญาตให้ส่งออก ให้บริษัทยื่นขออนุญาตส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศ ผ่านระบบ RMTS Online และเมื่อส่งออกแล้ว ให้ยื่นปรับยอดวัตถุดิบต่อไป ครับ แก้ไขเพิ่มเติม ขอตอบตามความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมดังนี้ 1.การขอส่งออกวัตถุดิบ ควรเป็นกรณีที่บริษัทนำวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิมาตรา 36(1) เพื่อ ผลิต ผสม ประกอบ เป็นผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม แต่ไม่สามารถนำวัตถุดิบนั้นไปใช้ตามวัตถุประสงค์ได้ เช่น นำเข้าวัตถุดิบผิด spec หรือวัตถุดิบด้อยมาตรฐาน หรือมีการยกเลิกคำสั่งซื้อและกลายเป็น dead stock 2.แต่หากเป็นการนำเข้าเพื่อมีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์หรือประโยชน์อื่นทางธุรกิจ เช่น การนำเข้าและส่งออกเป็น service parts หรือนำเข้าเพื่อส่งออกในเชิงพาณิชย์ น่าจะไม่อยู่ในข่ายที่จะขอส่งออกวัตถุดิบได้ ซึ่งกรณีที่ 2 นี้ สามารถยื่นขอรับส่งเสริมในข่ายกิจการ ITC / IPO ซึ่ง BOI จะเปิดให้การส่งเสริมใหม่อีกครั้งหนึ่ง 3.เรื่องที่บริษัทสอบถาม ค่อนข้างเป็น grey area หากตีความเคร่งครัด จะเข้าข่ายตามข้อ 2 ซึ่งไม่ตรงกับเจตนาของมาตรา 36 ตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน จึงควรปรึกษากับ จนท BOI โดยตรงด้วย ครับ แก้ไขโดย ADMIN เมื่อวันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563, 14:17:16
|
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>