ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566, 16:57:40 (89 สัปดาห์ ก่อน)
|
คุณ Zath จะสอบถามเรื่องการติดตั้ง Solar Roof หรือสอบถามเรื่องสิทธิประโยชน์ของประกาศ กกท ที่ 8/2565 ของกิจการที่อ้างถึง ช่วยตั้งคำถามที่ตรงกับหัวข้อของกระทู้ด้วยนะครับ สิทธิประโยชน์ของกิจการแต่ละประเภท 1. จะได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐาน ตามที่กำหนดในบัญชีประเภทกิจการ ตามประกาศ กกท ที่ 9/2565 2. สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เป็นไปตามข้อ 10-13 ของประกาศ กกท ที่ 8/2565 ครับ |
runn โพสต์เมื่อวันพุธที่ 6 กันยายน 2566, 10:17:22 (63 สัปดาห์ ก่อน)
|
มาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) กิจการในส่วนไม่เคยได้รับการส่งเสริม มีเครื่องจักรที่ดำเนินการอยู่แล้ว และเป็นกิจการที่อยู่ในประเภทให้การส่งเสริม สามารถขอรับการส่งเสริมได้ใช่หรือไม่ครับ โดยลงทุนในการติดตั้งโซล่าเซล์เพียงอย่างเดียว (กิจการมีส่วนที่ได้รับส่งเสริม และไม่ได้รับการส่งเสริม) การติดตั้งโซล่าเซลล์ กรณีที่มีเครื่องจักรที่ไม่ได้รับการส่งเสริมฯ 6 เครื่อง ใช้ไฟ 800 MW ขอติดตั้งโซล่าเซลล์ 600 MW โดยใช้ไฟที่เหลือจากการไฟฟ้า บริษัทจะได้สิทธิ์ประโยชน์ตามเดิมหรือไม่ครับ มีเงื่อนไขเพิ่มเติมหรือไม่ กรณีที่มีเครื่องจักรไม่ได้รับการส่งเสริมฯ 6 เครื่อง ใช้ไฟ 800 MW ขอติดตั้งโซล่าเซลล์ 1000 MW โดยมีไฟเหลือจากโซล่าเซลล์ สามารถนำไปใช้อย่างอื่นได้หรือไม่ และบริษัทจะได้สิทธิ์ประโยชน์ตามเดิมหรือไม่ครับ มีเงื่อนไขเพิ่มเติมหรือไม่ สามารถเปิด PO สั่งซื้อโซล่าเซลล์ก่อนที่จะยื่นคำขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่ครับ |
runn โพสต์เมื่อวันพุธที่ 6 กันยายน 2566, 11:20:01 (63 สัปดาห์ ก่อน)
|
1.4 มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิและประโยชน์ 1) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร 2) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง ทั้งนี้ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลจากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม 3) ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม อยากทราบว่า กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคล 3 ปี สัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน **โดยลงทุน 20 ล้าน จะได้ยกเว้นภาษี 10 ล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี 1.กรณีที่ ได้ยกเว้นภาษี 10 ล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี ถ้าใช้ปีแรก ปีเดียวเต็มวงเงินที่ได้รับยกเว้นได้หรือไม่ 2.กรณีที่ต้องเสีย ภาษีปีละ 20 ล้าน ต้องหักไป 10 ล้าน ส่วนที่เหลือ 10 ล้าน เสียภาษีปกติใช่หรือไม่ แล้วใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีหมดแล้วต้องดำเนินการอย่างไร |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566, 13:42:44 (63 สัปดาห์ ก่อน)
|
ตอบคำถามดังนี้ครับ 1. หากได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 3 ปี จะใช้สิทธิเต็มวงเงินตั้งแต่ปีแรกปีเดียวก็ได้ 2. เช่น หากปีแรกมียอดที่พึงชำระ 20 ล้านบาท สามารถใช้ยกเว้นภาษีเต็มวงเงินคือ 10 ล้าน และส่วนที่เหลือชำระปกติ 10 ล้านบาท 3. เมื่อใช้สิทธิเต็มวงเงินแล้ว ปีต่อๆไปก็ไม่ต้องแบบขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี แต่เงื่อนไขอื่นๆยังคงต้องปฏิบัติตามที่ได้รับส่งเสริมต่อไป ครับ |
runn โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566, 09:40:46 (62 สัปดาห์ ก่อน)
|
การขอติดตั้งโซล่าเซลล์ 1.ในกรณีเครื่องจักรทั้งโครงการใช้ไฟ 800 KW ติดตั้งโซล่าเซลล์ใช้ไฟได้ 1000KW ส่วนที่เกินมาต้องทำอย่างไรครับ 2.ในกรณีเครื่องจักรทั้งโครงการใช้ไฟ 800 KW ติดตั้งโซล่าเซลล์ใช้ไฟได้ 600KW ส่วนที่ขาดใช้ไฟจากการไฟฟ้า จะปันผลการใช้สิทธิ์อย่างไรครับ 3.การติดตั้งโซล่าเซลล์ของเครื่องจักร ในกรณีมี 6 เครื่อง ต้องติดมิเตอร์แยกทุกเครื่องเพื่อใช้ตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเครื่องใช่หรือไม่ 4.การใช้โซล่าเซลล์เป็นบางช่วงเวลา เช่นในช่วงเวลามีฝนตกติดต่อกันไม่สามารถใช้ได้ จะใช้สลับกับไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ต้องคำนวนอย่างไรครับ 5.ในการขอรับการส่งเสริมการติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องแสดงกำลังการผลิตของเครื่องจักรที่ผลิตสินค้าทั้งโครงการที่ขอติดตั้งโซล่าเซลล์ด้วยหรือไม่ครับ 6.ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์จากโครงการนับเป็นรายได้ BOI ทั้งหมด รวมการจำหน่ายเศษ ของเสียด้วยหรือไม่ครับ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566, 18:14:14 (62 สัปดาห์ ก่อน)
|
กรณีปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยการใช้พลังงานทดแทน (ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์) 1. หากแผงโซลาร์ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า แต่ผลิตไฟได้เกินกว่าที่ระบุในคำขอ ถือเป็นการใช้สิทธิเกินกว่าที่ได้รับอนุมัติ และต้องชำระอากรขาเข้าแผงโซลาร์ส่วนที่เกิน 2. หากแผงโซลาร์ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า แต่ผลิตไฟได้เกินกว่าที่ระบุในคำขอ ถือว่าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข แต่หากยังคงเป็นการผลิตพลังงานทดแทนภายใต้โครงการเดิม จะอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ 3. ไม่มีเงื่อนไขให้แสดง/พิสูจน์การใช้ไฟฟ้าของเครื่องจักรแต่ละเครื่อง เพียงแต่ให้แสดงหลักฐานที่ตรวจสอบได้ว่า เป็นการใช้พลังงานทดแทนในสายการผลิต และใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพฯ เท่านั้น 4. น่าจะสามารถแสดงปริมาณผลิตไฟฟ้าเป็นรายเดือนได้ สิ่งที่ BOI จะตรวจสอบ น่าจะเป็นหลักฐานแสดงปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ (รายเดือนและปี) 5. กำลังผลิตของเครื่องจักรในโครงการ มีการตรวจสอบในขั้นเปิดดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องคำนวณกำลังผลิตใหม่อีก 6. ตามประกาศระบุไว้ "รายได้ของกิจการที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม" จึงน่าจะรวมถึงผลพลอยได้ ตามที่ระบุในโครงการเดิมด้วย แต่ปกติ การใช้สิทธิเฉพาะส่วนที่เป็นผลิตภัณฑ์ ก็น่าจะวงเงินยกเว้นภาษีไปมากแล้ว ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 | 2 | 3 ถัดไป >>