Khun Ao โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561, 13:22:56 (338 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียน แอดมิน ขอรบกวนสอบถามดังนี้ค่ะ ในกรณีที่บริษัทมีเครื่องจักรในโครงการ และกำลังการผลิตของเครื่องจักรที่ผลิตได้เกินจากกำลังการผลิตของบัตรส่งเสริมที่ได้รับอนุมัติจากบีโอไอ บริษัทจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ เพื่อขอแก้ไขกำลังการผลิต (เพิ่มกำลังการผลิต) ในบัตรส่งเสริมให้ถูกต้องตรงตามกำลังการผลิตของเครื่องจักร * บริษัทเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว * บริษัทได้รับการส่งเสริมในกิจการ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขอบคุณค่ะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561, 16:52:12 (338 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอตอบตามความเห็นแอดมินดังนี้ครับ กรณีที่เปิดดำเนินการแล้ว แต่ต่อมาภายหลังมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้น น่าจะเกิดจาก 3 สาเหตุคือ 1. แจ้งกำลังผลิตในขั้นเปิดดำเนินการ ต่ำกว่าความเป็นจริง - ไม่อยู่ในข่ายที่จะขอแก้ไขกำลังผลิต 2. cycle time ในการผลิตลดลง (เช่น สินค้ามีขนาดเล็กลง หรือ) ทำให้ผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้น - อาจขอแก้ไขได้เป็นกรณีๆไป ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ BOI 3. มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมหลังจากได้รับในอนุญาตเปิดดำเนินการไปแล้ว - ไม่อยู่ในข่ายที่จะขอแก้ไขกำลังผลิต |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561, 16:55:55 (338 สัปดาห์ ก่อน)
|
กิจการอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า สามารถแก้ไขกำลังผลิตได้ แม้ว่าจะเปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้วก็ตาม แต่หากบริษัทลงทุนเครื่องจักรเพิ่มขึ้นไปแล้ว โดยไม่ได้ยื่นขอแก้ไขโครงการต่อ BOI ก่อนที่จะซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติม ก็จะไม่นับกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นกำลังผลิตของโครงการที่ได้รับส่งเสริม ครับ |
Khun Ao โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2561, 16:53:50 (337 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียน แอดมิน ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ รบกวนขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ * จากคำตอบใน ข้อที่ 2 > เรื่อง cycle time ในการผลิต หากบริษัทให้ข้อมูลกำลังการผลิตของเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิต ผิด ตั้งแต่แรกที่มี การขออนุมัติรายการเครื่องจักร จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการขอกำลังการผลิตของโครงการตามบัตรส่งเสริม (ในการคำนวนกำลังการผลิตในการขอเปิดดำเนินการ) เช่น ตอนที่ขออนุมัติรายการเครื่องจักรไป ได้ใส่ข้อมูล เครื่อง A ว่า มี cycle time = 500 ชิ้น/ชม. ตามที่ได้รับข้อมูลมา แต่ต่อมาได้รับแจ้งมาใหม่ว่าข้อมูลไม่ถูกต้องจริง เครื่อง A ต้องมี cycle time = 1000 ชิ้น/ชม. เป็นต้น ในกรณีนี้บริษัทสามารถขอแก้ไขกำลังการผลิต (เพิ่มกำลังการผลิต) ได้หรือไม่คะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2561, 18:41:50 (337 สัปดาห์ ก่อน)
|
การให้เหตุผลว่าคำนวณกำลังผลิต (คำนวณcycle time ผิด ฯลฯ) เข้าข่ายข้อ 1 คือแจ้งกำลังผลิตในขั้นเปิดดำเนินการต่ำกว่าจริง แต่เนื่องจากการคำนวณกำลังผลิตในขั้นเปิดดำเนินการ ถือเป็นที่ยุติไปแล้ว เนื่องจากบริษัทเป็นผู้แจ้งกำลังผลิต และ BOI ตรวจสอบว่ามีกำลังผลิตตามนั้นจริง จึงไม่น่าจะขอแก้ไขเพื่อเพิ่มกำลังผลิต ด้วยเหตุผลว่า "คำนวณผิด" ได้แล้วครับ |
Khun Ao โพสต์เมื่อวันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561, 07:56:20 (337 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียน แอดมิน ขอบคุณมากๆ ค่ะ ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ * ในกรณีนี้ถ้าบริษัทคำนวนกำลังการผลิตของเครื่องจักรที่เป็นคอขวดผิด และทำให้ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตในโครงการได้แล้ว บริษัทสามารถขออนุมัติโครงการ ใหม่ได้หรือไม่คะ
แก้ไขโดย Khun Ao เมื่อวันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561, 08:09:37
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2561, 17:10:20 (337 สัปดาห์ ก่อน)
|
บริษัทสามารถยื่นขอรับส่งเสริมโครงการใหม่ (ขยายกิจการ) ได้ โดยจะผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมได้ แต่จะต้องมีการลงทุนใหม่ โดยไม่ใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการที่มีอยู่เดิม ครับ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2561, 17:14:32 (337 สัปดาห์ ก่อน)
|
การไม่อนุญาตให้แก้ไขกำลังผลิตหลังจากเปิดดำเนินการไปแล้ว โดยมีสาเหตุจากการคำนวณกำลังผลิต นั้น เป็นคำตอบตามหลักเกณฑ์ทั่วไปเท่านั้น บริษัทควรนำเอกสารหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ว่าเป็นการคำนวณผิด ไปปรึกษากับ BOI โดยตรงอีกทางหนึ่ง ครับ |
Khun Ao โพสต์เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2561, 09:39:46 (337 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียน แอดมิน ขอบคุณมากค่ะ |
Khun Ao โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2561, 10:27:54 (337 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียน แอดมิน ขอสอบถามเพิ่มเติม และขอคำแนะนำค่ะ * จากคำถามด้านบน กรณีที่บริษัทมีเครื่องจักรในโครงการ และกำลังการผลิตที่ผลิตได้เกินจากกำลังการผลิตของบัตรส่งเสริม (บริษัทเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์) เช่น กำลังการผลิตตามบัตร คือ 1,000 ล้านชิ้น บริษัทผลิตได้ 2,000 ล้านชิ้น ในกรณีบริษัทไม่สามารถขอแก้ไขโครงการได้ และบริษัทมีกำลังการผลิตที่เกินจากบัตรส่งเสริม ขอถามดังนี้ค่ะ 1. การที่บริษัทผลิตได้เกินจากบัตรส่งเสริม จะมีข้อเสีย หรือ มีผลอย่างไรกับบริษัทบ้างคะ 2. กำลังการผลิตที่บริษัทผลิตได้เกินมา 1,000 ล้านชิ้นนี้ บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไรคะ เช่น จะต้องแจ้งให้ใครทราบ หรือ ต้องทำอย่างไรคะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2561, 14:05:36 (337 สัปดาห์ ก่อน)
|
ตามหลักการ ต้องบอกว่า กำลังผลิตของบริษัทฯ ไม่เกินกว่าในบัตรส่งเสริม เนื่องจาก BOI ได้พิสูจน์เป็นที่ยุติแล้วว่าบริษัทมีกำลังผลิตตามนั้น และได้ออกใบอนุญาตเปิดดำเนินการให้ตามกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมแล้ว แต่ภายหลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ หากบริษัทมียอดขายเกินกว่าปริมาณที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม ส่วนที่เกินกว่ากำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้ แต่ปริมาณส่วนที่เกินนี้ ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ด้านวัตถุดิบ (สามารถตัดบัญชีวัตถุดิบได้) ตามที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม ครับ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2561, 14:27:39 (337 สัปดาห์ ก่อน)
|
เครื่องจักรที่จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้า จะต้องเป็นเครื่องจักรที่มีกำลังผลิตตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม ดังนั้น ในขั้นตรวจสอบเปิดดำเนินการ หาก BOI ตรวจพบว่าบริษัทมีกำลังผลิตเกินกว่าบัตรส่งเสริม และบริษัทไม่ประสงค์แก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม ให้เป็นไปตามที่ BOI ตรวจสอบพบ ก็จะถือว่าบริษัทใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักรเกินกว่ากำลังผลิตในบัตรส่งเสริม ซึ่งบริษัทจะต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักรในส่วนที่เกิน แต่กรณีของบริษัท BOI ได้ตรวจสอบแล้วว่ากำลังผลิตของบริษัท เป็นไปตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม จึงไม่เข้าข่ายที่ต้องชำระภาษีเครื่องจักรในส่วนที่เกิน ครับ
|
Khun Ao โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2561, 11:46:50 (336 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียน แอดมิน ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบ ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ # หากบริษัทไม่สามารถขอแก้ไขโครงการได้แล้ว บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมโครงการใหม่ภายใต้บัตรส่งเสริมเดิมได้หรือไม่คะ ( ถ้าเครื่องจักรที่จะนำมาใช้ในการผลิตของโครงการใหม่มีเครื่องจักรไม่ครบทุกกระบวนการผลิต เช่น กระบวนการผลิตมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ต้องใช้เครื่องจักรในการผลิตทั้งหมด 5 ชื่อ แต่โครงการที่จะขอใหม่มีเครื่องจักรในกระบวนการผลิต แค่ 4 ชื่อ เพราะเครื่องจักรบางตัวสามารถใช้ร่วมกับของโครงการเดิมได้ ) รบกวนขอคำแนะนำค่ะ ขอบคุณค่ะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2561, 14:38:40 (336 สัปดาห์ ก่อน)
|
การขอรับส่งเสริมโครงการใหม่ ภายใต้บัตรส่งเสริมฉบับเดิม ไม่สามารถทำได้ โดยการขอรับส่งเสริมโครงการใหม่ จะต้องยื่นแบบคำขอรับการส่งเสริม ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติ จะได้รับบัตรส่งเสริมฉบับใหม่ ซึ่งอาจมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์แตกต่างไปจากบัตรส่งเสริมฉบับเดิม แต่การแก้ไขโครงการภายใต้บัตรส่งเสริมฉบับเดิม จะต้องยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการ ครับ |
Khun Ao โพสต์เมื่อวันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2561, 09:53:21 (336 สัปดาห์ ก่อน)
|
เรียน แอดมิน ขอบคุณมากค่ะ
|
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>