nuchchy โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 7 กรกฏาคม 2558, 08:46:15 (489 สัปดาห์ ก่อน)
|
สอบถามค่ะ บริษัทมีความประสงค์จะนำเข้า แม่พิมพ์สำหรับฉีดชิ้นงานพลาสติก (บริษัทไม่ได้มีเครื่องจักรสำหรับฉีดพลาสติก) จึงจำเป็นจะต้องจ้าง Supplier ฉีดชิ้นส่วนพลาสติกนี้ให้ค่ะ คำถาม คือ 1. บริษัทสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอากร ตามมาตรา 28 ได้หรือไม่ค่ะ 2. แม่พิมพ์นี้ สามารถใช้เป็น CAP วงเงิน เพื่อใช้สิทธิตามมาตรา 31 ได้หรือไม่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันอังคารที่ 7 กรกฏาคม 2558, 09:21:26 (489 สัปดาห์ ก่อน)
|
การจะนำเข้าเครื่องจักร ชิ้นส่วน แม่พิมพ์ เข้ามาโดยขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร => เครื่องจักร ชิ้นส่วน แม่พิมพ์ นั้น ต้องสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม เช่น หากกรรมวิธีผลิต มีขั้นตอนฉีดชิ้นส่วนพลาสติก ก็สามารถขอนำเข้าเครื่องฉีดพลาสติก และแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เข้ามาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรได้ แต่หากกรรมวิธีผลิต ไม่มีขั้นตอนฉีดพลาสติก ก็ไม่สามารถขอนำเข้าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก โดยยกเว้นภาษีอากรได้
1. กรณีที่กรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม ไม่มีขั้นตอนฉีดพลาสติก แต่บริษัทต้องการนำเข้าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เพื่อว่าจ้างผู้อื่นให้ฉีดชิ้นส่วนพลาสติกให้ สามารถขอแก้ไขกรรมวิธีผลิต เพิ่มขั้นตอนการนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผู้อื่นให้ฉีดชิ้นส่วนพลาสติกบางรายการให้ ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติ จะสามารถนำเข้าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกเข้ามาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากร และเมื่อจะนำแม่พิมพ์ดังกล่าวออกนอกโรงงานเพื่อว่าจ้างฉีด จะต้องยื่นเรื่องขอนำแม่พิมพ์ไปให้ผู้อื่นใช้ ต่อ BOI อีกครั้งหนึ่ง
2. เมื่อแก้ไขกรรมวิธีผลิตให้มีขั้นตอนการนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างฉีด ก็ถือว่า แม่พิมพ์นั้นเป็นการลงทุนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม จึงสามารถนำมูลค่าแม่พิมพ์ดังกล่าวมารวมเป็นขนาดการลงทุน เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยครับ |
nuchchy โพสต์เมื่อวันพุธที่ 8 กรกฏาคม 2558, 08:50:09 (489 สัปดาห์ ก่อน)
|
สอบถามเพิ่มเติมค่ะ แล้วถ้าทางบริษัทนำเข้าโดยการเสียภาษีอากรเองทุกอย่าง และในกระบวนการผลิตไม่มีขี้นตอนของการฉีดพลาสติกขึ้นรูป แต่พลาสติกชิ้นส่วนนี้เป็นชิ้นส่วนที่เป็นวัตถุดิบในตัวสินค้าที่เราได้รับส่งเสริม เลยอยากจะทราบว่า แม่พิมพ์นี้ ถือเป็นเงินลงทุน ( CAP วงเงิน) ได้หรือเปล่าค่ะ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 8 กรกฏาคม 2558, 09:10:11 (489 สัปดาห์ ก่อน)
|
ถ้าในกรรมวิธีผลิตที่ได้รับการส่งเสริม ไม่มีขั้นตอนฉีดพลาสติก หรือขั้นตอนนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างฉีดพลาสติก แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ก็ไม่ใช่การลงทุนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม (พูดง่ายๆคือเป็น Non-BOI) จึงจะนำมานับเป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการ หรือนำมาคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของโครงการ ไม่ได้ ครับ |
nuchchy โพสต์เมื่อวันพุธที่ 8 กรกฏาคม 2558, 15:45:38 (489 สัปดาห์ ก่อน)
|
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำแนะนำ |
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 8 กรกฏาคม 2558, 16:39:28 (489 สัปดาห์ ก่อน)
|
ยินดีครับ |
mitsuwa โพสต์เมื่อวันพุธที่ 28 มิถุนายน 2560, 15:58:17 (386 สัปดาห์ ก่อน)
|
รบกวนสอบถามเพิ่มเติม ในกรณีที่บริษัทต้องการนำแม่พิมพ์ ไปว่าจ้าง supplier ผลิตงานให้ สามารถทำได้หรือไม่ รายะเอียดตามด้านล่างนี้ แม่พิมพ์ไม่ได้ใช้สิทธิ BOI วัตถุดิบใช้สิทธิ BOI บริษัท ส่งให้ supplier กรณีที่ไม่สามารถใช้วัตถุดิบที่ใช้สิทธิ BOI เราสามารถเปลี่ยนใช้วัตถุดิบที่ไม่ใช้สิทธิ BOI ได้หรือไม่ บริษัทเปิดดำเนินการแล้วเมื่อ ปี2559 กระบวนการผลิตของบริษัท คือ 1.ฉีดขึ้นรูป บางส่วนจำหน่าย 2.ตัด 3.พ่นสี บางส่วนว่าจ้าง 4.พิมพ์ บางส่วนว่าจ้าง 5.ประกอบ 6.บรรจุ 7.ส่งมอบ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันพุธที่ 28 มิถุนายน 2560, 19:58:53 (386 สัปดาห์ ก่อน)
|
กรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติ ตามที่แจ้งมา คือ ดังนั้น การจะว่าจ้างผู้อื่นฉีดขึ้นรูปชิ้นส่วนพลาสติก |
mitsuwa โพสต์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560, 10:06:42 (386 สัปดาห์ ก่อน)
|
เนื่องจากเครื่องจักรสำหรับฉีดงานของบริษัทมี 2 ประเภท คือ 1. เครื่องฉีดปกติ ฉีดออกมามีวัตถุดิบประเภทเดียว 2. เครื่องฉีดดับเบิบ คือฉีดออกมามี 2วัตถุดิบประกอบกัน และในส่วนของเครื่องฉีดดับเบิล กำลังการผลิตของเครื่องไม่เพียงพอต่อการผลิตงานให้ลูกค้า กรณีนี้มีวิธีการอย่างไรได้บ้างที่จะขออนุญาตทางสำนักงานส่งเสริมการลงทุน แก้ไขกรรมวิธีการผลิตได้หรือไม่ค่ะ
|
ADMIN โพสต์เมื่อวันเสาร์ที่ 1 กรกฏาคม 2560, 16:14:06 (386 สัปดาห์ ก่อน)
|
กิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ถือว่าการฉีดพลาสติกเป็นขั้นตอนสำคัญของโครงการ จึงไม่น่าจะขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เพื่อจ้างผู้อื่นให้ฉีดชิ้นส่วนพลาสติกแทนได้ ----------------------------------------------------------------------------------------- กรณีตามที่สอบถาม สินค้าของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เครื่องจักรที่มีอยู่เดิมจึงไม่สามารถรองรับความต้องการได้ หากบริษัทจะรับออร์เดอร์นี้ จะต้องลงทุนเครื่องจักรใหม่ เพื่อให้ผลิตสินค้าชนิดใหม่ได้ แต่เนื่องจากบริษัทเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว จึงไม่สามารถแก้ไขโครงการโดยมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมได้ หากจะลงทุนเพิ่ม จะต้องยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ (กิจการขยาย) ครับ |
<< ก่อนหน้า 1 ถัดไป >>